สืบเนื่องจากกระทรวงพลังงานจะให้สัมปทานแหล่งปิโตรเลียมรอบใหม่ในเดือนกรกฎาคมนี้จำนวน 22 แปลง (บนพื้นที่กว่า 8% ของพื้นที่ทั้งหมดประเทศ) ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์จากภาคประชาชนว่า รัฐควรจะหยุดดำเนินการชั่วคราวไว้ก่อน เพื่อทบทวนรายได้ที่เจ้าของประเทศได้รับซึ่งน้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ
ข้อมูลของภาคประชาชนซึ่งก็ได้มาจากภาครัฐนั่นแหละว่า สัดส่วนที่รัฐบาลได้รับ (government take) อยู่ที่ประมาณ 29-30% (มูลค่าปี 2553 ประมาณ 1.06 แสนล้านบาท) ที่เหลือบริษัทผู้ลงทุนสำรวจและขุดเจาะได้ไป 70-71% ในขณะเดียวกันทางรัฐบาลโดยกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติก็ยืนยันครั้งแล้วครั้งเล่าว่า รัฐบาลได้รับ 55-59% โดยที่บริษัทได้ไปเพียง 41-45% ตัวเลขสองชุดนี้ให้ความรู้สึกต่างกันเยอะครับ
เพื่อค้นหาความจริงที่สำคัญนี้ ทางคณะกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา (คุณรสนา โตสิตระกูล เป็นประธาน) จึงได้เชิญอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ (ความจริงเชิญรัฐมนตรีพลังงาน) เพื่อชี้แจงข้อมูลและนโยบายที่เกี่ยวข้อง ผมเองเป็นอนุกรรมการชุดเสริมสร้างธรรมาภิบาลด้านพลังงานได้มีโอกาสร่วมประชุมด้วย
ในที่สุด ผมก็มาถึงบางอ้อว่า ตัวเลขทั้งสองชุดนั้นถูกต้องทั้งคู่ แต่อยู่บน “วิธีคิด ที่แตกต่างกัน งงได้ครับ! แต่อย่าเพิ่งเลิกอ่านนะ เดี๋ยวจะมีอะไรที่รู้สึกเจ็บใจอย่างน้อยสองครั้ง ผมขออนุญาตอธิบายวิธีคิดของทางราชการซึ่งได้ใช้มาตั้งแต่เริ่มมีการขุดเจาะเมื่อ 30 ปีก่อนแล้วครับ
ทางราชการไทยคิดว่าปิโตรเลียมที่อยู่ใต้ดินของประเทศไม่ว่าจะบนที่ดินที่มีโฉนดของใครหรือในทะเลก็ตามนั้นเป็นของรัฐ เมื่อมีบริษัทมาสัมปทานขุดเจาะไป มูลค่าปิโตรเลียมเมื่อหักลบด้วยต้นทุนทั้งหมดของบริษัทแล้ว ที่เหลือเท่าใดให้นำมาแบ่งปันกันระหว่างรัฐกับบริษัท ตัวเลขของทางราชการคิดหลังจากหักต้นทุนของบริษัทไปหมดแล้ว ต้นทุนของบริษัทนั้นรวมทุกอย่าง ทั้งค่าการสำรวจและการขุดเจาะ ค่าบริหารสำนักงาน ค่าภาคหลวง ค่าบำเหน็จบำนาญพนักงาน ค่ารับรองรวมทั้งค่าหนี้สูญ (เจ็บใจไหม?)
แม้ขั้นตอนในการเก็บรายได้ของรัฐ (ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วน) จะเริ่มต้นด้วยการเก็บ (หนึ่ง) ค่าภาคหลวง (ในอัตราประมาณ 12.5% ของมูลค่าปิโตรเลียมที่ขายได้จากปากหลุม) แล้วตามด้วยการเก็บ (สอง) ภาษีเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายทุกอย่าง (รวมค่าภาคหลวงด้วย) ในอัตราร้อยละ 50% ของกำไรสุทธิ และ (สาม) โบนัสพิเศษ แต่ความสนใจในที่นี้ก็คือรัฐได้รับในสัดส่วนหรือร้อยละเท่าใดกันแน่
ในการคิดสัดส่วนที่รัฐบาลได้รับซึ่งอ้างว่าได้ 55-59 % นั้น เป็นการคิดหลังจากให้บริษัทหักต้นทุนของตนไปแล้ว ตรงนี้แหละครับที่ผมเข้าใจและถึงกับร้อง อ้อ! สรุป ไม่ว่าจะเป็น 29-30% หรือ 55-59% ก็คิดเป็นยอดเงินเท่ากันคือ 1.06 แสนล้านบาท
แต่ภาคประชาชนคิดว่าสัดส่วนที่รัฐได้รับนั้นต้องคิดจากมูลค่าปิโตรเลียมที่ขายได้ทั้ง 100 ส่วน โดยคิดว่าแหล่งปิโตรเลียมที่มีอยู่ในราชอาณาจักรก็เป็นต้นทุนเดิมของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นเลือดเนื้อของบรรพบุรุษที่พลีชีพรักษาดินแดน รักษาน่านน้ำรวมทั้งค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาอธิปไตยของรัฐด้วย
การสำรวจขุดเจาะของบริษัทก็มีต้นทุน ดังนั้น ต่างฝ่ายต่างมีต้นทุน การคิดผลประโยชน์ก็ควรจะเริ่มต้นคิดรวมถึงทุนเดิมของทั้งสองฝ่าย นั่นคือ คิดจาก 100% ไม่ใช่ให้บริษัทคิดต้นทุนของตนแต่ฝ่ายเดียว (เจ็บใจ)
หลายท่านอาจจะแย้งว่า ก็รัฐคิดต้นทุนแล้วไง! ในรูปของค่าภาคหลวงและภาษีเงินได้ ผมเรียนว่าก็คิดได้มีเหตุผลและชัดเจนดีครับ แต่คิดเท่าไหร่จึงจะเหมาะสม
หลังจากการประชุม ผมได้สืบค้นจากเอกสารของ Dr. Pedro van Meurs (ชาวเนเธอร์แลนด์ เป็นอดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยและประธานบริษัทที่ปรึกษาด้านปิโตรเลียม) พบว่าเขาก็คิดเช่นเดียวกับประเทศเรา
ประเด็นที่เป็นปัญหาในที่ประชุมก็คือ ประเทศไทยคิดค่าต้นทุนของบริษัทอย่างไรและเท่าใด สูงหรือต่ำเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ผมและ ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี ได้เรียนต่อที่ประชุมว่า ต้นทุนเฉลี่ยทั่วโลก(ยกเว้นสหรัฐอเมริกา) และตะวันออกกลาง อยู่ที่ $25 และ $17 ต่อที่บาร์เรล ตามลำดับ (ข้อมูลจาก EIA) หรือในเอเชียอยู่ที่ $8 เท่านั้น (ข้อมูล Hess) ในขณะที่องค์กรร่วมไทย-มาเลเซียอนุญาตให้หักค่าใช้จ่ายได้ 50% ของมูลค่าปิโตรเลียม (ขณะนี้ราคาปิโตรเลียมประมาณ $100 ต่อบาร์เรล ดังนั้นการใช้ 50% กับ $50 จึงใกล้เคียงกัน) ผมพยายามค้นหาการคิดต้นทุนของไทยแต่ไม่เจอครับ จึงขอใช้ขององค์กรร่วมไทย-มาเลเซียแทน
ท่านอธิบดีชี้แจงว่า “แหล่งปิโตรเลียมของไทยเป็นแหล่งเล็ก ดังนั้น ค่าต้นทุนในการผลิตต่อหน่วยจึงสูง” ผมเองได้เรียนแย้งไปว่า ต้นทุนของประเทศไทยสูงกว่าข้อมูลที่กล่าวมาแล้วหลายเท่าตัว
ประธานที่ประชุมได้ขอให้กระทรวงพลังงานส่งรายละเอียดการคิดค่าใช้จ่ายของไทย ท่านอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติเรียนว่า “การคิดค่าใช้จ่ายเป็นความรับผิดชอบของกรมสรรพากร และตามพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม มาตรา 11 การเปิดเผยข้อมูลถือเป็นความผิด”
เจ็บกระดองใจ! นี่เข้าตำรา “แบ่งแยกแล้วปกครอง” เปี๊ยบเลยครับ
ยังมีอีกคำถามที่คาใจคือ แหล่งปิโตรเลียมไทยเป็นแค่ “กระเปาะขนาดเล็ก” ทำให้ได้ส่วนแบ่งน้อยจริงหรือ? ผมก็ต้องสืบค้นอีกครับ โชคดีที่เจอ จากบทความวิชาการที่ชื่อ “Comparative Analysis of Upstream Petroleum Fiscal Systems of Pakistan,Thailand and Other Countries with Medium Ranked Oil Reserves” โดย Sara Zahidi นำเสนอใน PEA-AIT International Conference ที่เชียงใหม่ (มิถุนายน 2553)
สรุปว่า เมื่อเทียบบนพื้นฐานขนาดการขุดเจาะที่เท่ากันของ 5 ประเทศพบว่า ส่วนที่รัฐบาลต่างๆ ได้รับ จากน้อยไปหามาก ดังนี้คือ ตุรกี (33%) ไทย (53%) คองโก (60%) ปากีสถาน (68%) และแคเมอรูน (89%)
ปิดท้ายจริงๆ ครับ ข้อมูลจาก CIA world factbook พบว่าประเทศแคเมอรูนมีแหล่งน้ำมันสำรองที่พิสูจน์แล้วและมีการผลิตน้ำมันดิบน้อยกว่าไทยค่อนข้างเยอะ แต่รัฐแคเมอรูนได้รับส่วนแบ่งมากกว่ารัฐไทยเยอะ คราวนี้จะมีคำอธิบายว่าอย่างไรอีกครับ! /
ข้อมูลของภาคประชาชนซึ่งก็ได้มาจากภาครัฐนั่นแหละว่า สัดส่วนที่รัฐบาลได้รับ (government take) อยู่ที่ประมาณ 29-30% (มูลค่าปี 2553 ประมาณ 1.06 แสนล้านบาท) ที่เหลือบริษัทผู้ลงทุนสำรวจและขุดเจาะได้ไป 70-71% ในขณะเดียวกันทางรัฐบาลโดยกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติก็ยืนยันครั้งแล้วครั้งเล่าว่า รัฐบาลได้รับ 55-59% โดยที่บริษัทได้ไปเพียง 41-45% ตัวเลขสองชุดนี้ให้ความรู้สึกต่างกันเยอะครับ
เพื่อค้นหาความจริงที่สำคัญนี้ ทางคณะกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา (คุณรสนา โตสิตระกูล เป็นประธาน) จึงได้เชิญอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ (ความจริงเชิญรัฐมนตรีพลังงาน) เพื่อชี้แจงข้อมูลและนโยบายที่เกี่ยวข้อง ผมเองเป็นอนุกรรมการชุดเสริมสร้างธรรมาภิบาลด้านพลังงานได้มีโอกาสร่วมประชุมด้วย
ในที่สุด ผมก็มาถึงบางอ้อว่า ตัวเลขทั้งสองชุดนั้นถูกต้องทั้งคู่ แต่อยู่บน “วิธีคิด ที่แตกต่างกัน งงได้ครับ! แต่อย่าเพิ่งเลิกอ่านนะ เดี๋ยวจะมีอะไรที่รู้สึกเจ็บใจอย่างน้อยสองครั้ง ผมขออนุญาตอธิบายวิธีคิดของทางราชการซึ่งได้ใช้มาตั้งแต่เริ่มมีการขุดเจาะเมื่อ 30 ปีก่อนแล้วครับ
ทางราชการไทยคิดว่าปิโตรเลียมที่อยู่ใต้ดินของประเทศไม่ว่าจะบนที่ดินที่มีโฉนดของใครหรือในทะเลก็ตามนั้นเป็นของรัฐ เมื่อมีบริษัทมาสัมปทานขุดเจาะไป มูลค่าปิโตรเลียมเมื่อหักลบด้วยต้นทุนทั้งหมดของบริษัทแล้ว ที่เหลือเท่าใดให้นำมาแบ่งปันกันระหว่างรัฐกับบริษัท ตัวเลขของทางราชการคิดหลังจากหักต้นทุนของบริษัทไปหมดแล้ว ต้นทุนของบริษัทนั้นรวมทุกอย่าง ทั้งค่าการสำรวจและการขุดเจาะ ค่าบริหารสำนักงาน ค่าภาคหลวง ค่าบำเหน็จบำนาญพนักงาน ค่ารับรองรวมทั้งค่าหนี้สูญ (เจ็บใจไหม?)
แม้ขั้นตอนในการเก็บรายได้ของรัฐ (ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วน) จะเริ่มต้นด้วยการเก็บ (หนึ่ง) ค่าภาคหลวง (ในอัตราประมาณ 12.5% ของมูลค่าปิโตรเลียมที่ขายได้จากปากหลุม) แล้วตามด้วยการเก็บ (สอง) ภาษีเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายทุกอย่าง (รวมค่าภาคหลวงด้วย) ในอัตราร้อยละ 50% ของกำไรสุทธิ และ (สาม) โบนัสพิเศษ แต่ความสนใจในที่นี้ก็คือรัฐได้รับในสัดส่วนหรือร้อยละเท่าใดกันแน่
ในการคิดสัดส่วนที่รัฐบาลได้รับซึ่งอ้างว่าได้ 55-59 % นั้น เป็นการคิดหลังจากให้บริษัทหักต้นทุนของตนไปแล้ว ตรงนี้แหละครับที่ผมเข้าใจและถึงกับร้อง อ้อ! สรุป ไม่ว่าจะเป็น 29-30% หรือ 55-59% ก็คิดเป็นยอดเงินเท่ากันคือ 1.06 แสนล้านบาท
แต่ภาคประชาชนคิดว่าสัดส่วนที่รัฐได้รับนั้นต้องคิดจากมูลค่าปิโตรเลียมที่ขายได้ทั้ง 100 ส่วน โดยคิดว่าแหล่งปิโตรเลียมที่มีอยู่ในราชอาณาจักรก็เป็นต้นทุนเดิมของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นเลือดเนื้อของบรรพบุรุษที่พลีชีพรักษาดินแดน รักษาน่านน้ำรวมทั้งค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาอธิปไตยของรัฐด้วย
การสำรวจขุดเจาะของบริษัทก็มีต้นทุน ดังนั้น ต่างฝ่ายต่างมีต้นทุน การคิดผลประโยชน์ก็ควรจะเริ่มต้นคิดรวมถึงทุนเดิมของทั้งสองฝ่าย นั่นคือ คิดจาก 100% ไม่ใช่ให้บริษัทคิดต้นทุนของตนแต่ฝ่ายเดียว (เจ็บใจ)
หลายท่านอาจจะแย้งว่า ก็รัฐคิดต้นทุนแล้วไง! ในรูปของค่าภาคหลวงและภาษีเงินได้ ผมเรียนว่าก็คิดได้มีเหตุผลและชัดเจนดีครับ แต่คิดเท่าไหร่จึงจะเหมาะสม
หลังจากการประชุม ผมได้สืบค้นจากเอกสารของ Dr. Pedro van Meurs (ชาวเนเธอร์แลนด์ เป็นอดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยและประธานบริษัทที่ปรึกษาด้านปิโตรเลียม) พบว่าเขาก็คิดเช่นเดียวกับประเทศเรา
ประเด็นที่เป็นปัญหาในที่ประชุมก็คือ ประเทศไทยคิดค่าต้นทุนของบริษัทอย่างไรและเท่าใด สูงหรือต่ำเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ผมและ ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี ได้เรียนต่อที่ประชุมว่า ต้นทุนเฉลี่ยทั่วโลก(ยกเว้นสหรัฐอเมริกา) และตะวันออกกลาง อยู่ที่ $25 และ $17 ต่อที่บาร์เรล ตามลำดับ (ข้อมูลจาก EIA) หรือในเอเชียอยู่ที่ $8 เท่านั้น (ข้อมูล Hess) ในขณะที่องค์กรร่วมไทย-มาเลเซียอนุญาตให้หักค่าใช้จ่ายได้ 50% ของมูลค่าปิโตรเลียม (ขณะนี้ราคาปิโตรเลียมประมาณ $100 ต่อบาร์เรล ดังนั้นการใช้ 50% กับ $50 จึงใกล้เคียงกัน) ผมพยายามค้นหาการคิดต้นทุนของไทยแต่ไม่เจอครับ จึงขอใช้ขององค์กรร่วมไทย-มาเลเซียแทน
ท่านอธิบดีชี้แจงว่า “แหล่งปิโตรเลียมของไทยเป็นแหล่งเล็ก ดังนั้น ค่าต้นทุนในการผลิตต่อหน่วยจึงสูง” ผมเองได้เรียนแย้งไปว่า ต้นทุนของประเทศไทยสูงกว่าข้อมูลที่กล่าวมาแล้วหลายเท่าตัว
ประธานที่ประชุมได้ขอให้กระทรวงพลังงานส่งรายละเอียดการคิดค่าใช้จ่ายของไทย ท่านอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติเรียนว่า “การคิดค่าใช้จ่ายเป็นความรับผิดชอบของกรมสรรพากร และตามพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม มาตรา 11 การเปิดเผยข้อมูลถือเป็นความผิด”
เจ็บกระดองใจ! นี่เข้าตำรา “แบ่งแยกแล้วปกครอง” เปี๊ยบเลยครับ
ยังมีอีกคำถามที่คาใจคือ แหล่งปิโตรเลียมไทยเป็นแค่ “กระเปาะขนาดเล็ก” ทำให้ได้ส่วนแบ่งน้อยจริงหรือ? ผมก็ต้องสืบค้นอีกครับ โชคดีที่เจอ จากบทความวิชาการที่ชื่อ “Comparative Analysis of Upstream Petroleum Fiscal Systems of Pakistan,Thailand and Other Countries with Medium Ranked Oil Reserves” โดย Sara Zahidi นำเสนอใน PEA-AIT International Conference ที่เชียงใหม่ (มิถุนายน 2553)
สรุปว่า เมื่อเทียบบนพื้นฐานขนาดการขุดเจาะที่เท่ากันของ 5 ประเทศพบว่า ส่วนที่รัฐบาลต่างๆ ได้รับ จากน้อยไปหามาก ดังนี้คือ ตุรกี (33%) ไทย (53%) คองโก (60%) ปากีสถาน (68%) และแคเมอรูน (89%)
ปิดท้ายจริงๆ ครับ ข้อมูลจาก CIA world factbook พบว่าประเทศแคเมอรูนมีแหล่งน้ำมันสำรองที่พิสูจน์แล้วและมีการผลิตน้ำมันดิบน้อยกว่าไทยค่อนข้างเยอะ แต่รัฐแคเมอรูนได้รับส่วนแบ่งมากกว่ารัฐไทยเยอะ คราวนี้จะมีคำอธิบายว่าอย่างไรอีกครับ! /