ปากีสถานย่างก้าวเข้าสู่ระยะแห่งความไร้เสถียรภาพระยะใหม่ ภายหลังจากศาลสูงสุดของประเทศมีคำตัดสินซึ่งทำให้นายกรัฐมนตรียูซุฟ ราซา กิลานี หมดคุณสมบัติที่จะนั่งในตำแหน่งต่อไป ถึงแม้คณะรัฐบาลในปัจจุบันยังน่าที่จะรอดชีวิตจาก “รัฐประหารของฝ่ายตุลาการ” คราวนี้ไปได้ก็ตามที การที่ กิลานี แสดงความจงรักภักดีและพยายามพิทักษ์ปกป้องประธานาธิบดีอาซิฟ อาลี ซาร์ดารี ในที่สุดแล้วก็ทำให้ตัวเขาต้องเป็นผู้สูญเสียเก้าอี้ของตัวเอง ขณะที่ฝ่ายตุลาการซึ่งกำลังรู้สึกว่าตนเองมีชัยชนะเหนือฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ไม่น่าจะพึงพอใจเพียงแค่ได้การได้ กิลานี มาเป็นเครื่องเซ่น
อิสลามาบัด - บรรดาพรรคร่วมรัฐบาลผสมของปากีสถาน ต่างกำลังวิ่งเต้นดิ้นรนเสนอชื่อผู้ที่เหมาะสมเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ภายหลังจาก ยูซุฟ ราซา กิลานี (Yousuf Raza Gilani) นายกรัฐมนตรีคนเดิม ถูกศาลสูงสุดของประเทศตัดสินลงโทษในความผิดฐานหมิ่นศาล จนกระทั่งทำให้เขาขาดคุณสมบัติในการดำรงตำแหน่งนี้ต่อไป
ศาลสูงสุดของปากีสถานตัดสินเมื่อวันอังคาร(19 มิ.ย) ที่ผ่านมาว่า เนื่องจาก กิลานี ไม่ได้ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาในวันที่ 26 เมษายน ที่ตัดสินว่าเขามีความผิดฐานหมิ่นศาลจริง ดังนั้นเขาจึงขาดคุณสมบัติที่จะดำรงตำแหน่งนับตั้งแต่ที่ถูกพิพากษาความผิดแล้ว
คำตัดสินครั้งประวัติศาสตร์คราวนี้ นับเป็นการตีกระหน่ำใส่รัฐบาลอย่างรุนแรง ในความพยายามอย่างต่อเนื่องที่จะต่อสู้ช่วงชิงอำนาจกับฝ่ายตุลาการ ถ้าหากพรรคประชาชนปากีสถาน (Pakistan People's Party หรือ PPP) ที่เป็นแกนนำของคณะรัฐบาลผสม ไม่สามารถหาตัวบุคคลที่เหมาสมเข้าแทนที่ กิลานี ในสัปดาห์นี้แล้ว ผู้สังเกตการณ์ก็คาดกันว่า การเลือกตั้งทั่วไปที่มีกำหนดจะต้องจัดขึ้นในปี 2013 นั้น คงจะถูกเลื่อนขึ้นมาจัดกันในปีนี้เลย
มีบุคคลอยู่ 3 คนที่มองเห็นกันว่าน่าจะเป็นตัวเก็งแข่งขันกันขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ได้แก่ รัฐมนตรีดูแลน้ำประปาและไฟฟ้า อาเหม็ด มุคตาร์ (Ahmed Mukhtar), รัฐมนตรีสิ่งทอ มัคดูม ชาฮาบุดดิน (Makhdoom Shahabuddin), และรัฐมนตรีพาณิชย์ มัคดูม อามิน ฟาฮิม (Makhdoom Amin Fahim) ทั้งนี้ มุคตาร์ ซึ่งเป็นผู้นำอาวุโสคนหนึ่งของพรรคพีพีพี และเป็นอดีตรัฐมนตรีกลาโหม ได้รับการจับตามองว่ามีภาษีเหนือกว่าคนอื่นๆ
พวกเจ้าหน้าที่แจ้งแล้วว่า ถ้าหากพรรคพีพีพีและพรรคร่วมรัฐบาลผสมรายอื่นๆ สามารถตกลงกันได้ว่าจะเสนอชื่อใครภายในสัปดาห์นี้ บุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อก็เพียงต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาเท่านั้น จากนั้นก็สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้เลย ทั้งนี้ คณะรัฐบาลผสมที่นำโดยพรรคพีพีพี เวลานี้ครองเสียงเกินกึ่งหนึ่งในรัฐสภาอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม ปรากฏการณ์ที่นักวิเคราะห์บางรายขนานนามให้ว่า “การรัฐประหารของฝ่ายตุลาการ” (judicial coup) คราวนี้ ยังคงทำท่าจะผลักดันให้ประเทศชาติตกลงไปสู่ระยะแห่งความไร้เสถียรภาพทางการเมืองระยะใหม่มากกว่า ทั้งๆ ที่ปากีสถานก็เต็มไปด้วยปัญหาฉกาจฉกรรจ์มากมายอยู๋แล้ว ตั้งแต่เรื่องการก่อความไม่สงบของกลุ่มตอลิบาน, วิกฤตทางการเงิน, ไปจนถึงความสัมพันธ์กับพันธมิตรเก่าแก่อย่างสหรัฐฯที่กำลังเลวร้ายลงไปเรื่อยๆ
กิลานี ถูกพิพากษาในเดือนเมษายนว่า มีความผิดจริงฐาน “เยาะเย้ย” ฝ่ายตุลาการ จากการที่เขาไม่เคารพทำตามคำสั่งศาลที่ออกมาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2009 ให้เขาร่างหนังสือส่งถึงรัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อขอให้เปิดการไต่สวนคดีทุจริตคอร์รัปชั่นมูลค่าหลายล้านดอลลาร์ขึ้นมาใหม่ โดยที่ตัวประธานาธิบดีอาซิฟ อาลี ซาร์ดารี (Asif Ali Zardari) ตกเป็นจำเลยคนสำคัญ
กิลานี นั้นยืนยันมานานแล้วว่า ซาร์ดารี มีเอกสิทธิ์ในฐานะที่เป็นประมุขแห่งรัฐ จึงได้รับความคุ้มครองไม่ต้องรับความผิดใดๆ แถมการส่งหนังสือไปยังสวิตเซอร์แลนด์ จะกลายเป็นละเมิดรัฐธรรมนูญของปากีสถานเอง อย่างไรก็ตาม ในวันอังคารที่ผ่านมา ศาลสูงสุดประกาศว่า คำตัดสินเมื่อเดือนเมษายนที่ว่า กิลานีมีความผิดจริง “ถือเป็นเด็ดขาดสุดท้าย เนื่องจากไม่มีผู้ใดยื่นอุทธรณ์คดค้านคำตัดสิน”
ตามรัฐธรรมนูญปากีสถาน ผู้ใดก็ตามที่ถูกศาลตัดสินว่าผิดจริงฐาน “หมิ่นประมาท” หรือ “เย้ยหยัน” ฝ่ายตุลาการ จะเป็นบุคคลต้องห้ามไม่สามารถดำรงตำแหน่งสมาชิกสภา
ดังที่เอเชียไทมส์ออนไลน์ได้รายงานเอาไว้ในเรื่อง Swift justice for Pakistan's premier (Asia Times Online, May 1, 2012) คำสั่งศาลดังกล่าวนี้ เกี่ยวพันกับการที่ประธานาธิบดีซาร์ดารี และ เบนาซีร์ บุตโต ภรรยาที่ถูกลอบสังหารเสียชีวิตไปแล้วของเขา ได้เคยถูกศาลสวิสพิพากษาในปี 2003 ว่ามีความผิดจริงฐานฟอกเงิน
รายงานดังกล่าวเขียนเอาไว้ว่า “มีการตรวจสอบพบเงินจำนวนเป็นล้านๆ ดอลลาร์ ถูกแอบซุกซ่อนอยู่ตามธนาคารต่างๆ ของสวิตเซอร์แลนด์ ในบัญชีที่เป็นชื่อของคู่สมรสคู่นี้ เงินทุนเหล่านี้มีที่มาที่ไม่ชัดเจน แต่ขณะที่พวกเขากำลังจะถูกลงโทษตามความผิดนั้นเอง พล.อ.เปอร์เวซ มูชาร์รัฟ (Pervez Musharraf) ผู้เผด็จการฝ่ายทหารของปากีสถานในเวลานั้น ก็ได้ก้าวเข้ามาช่วยเหลือพวกเขาให้พ้นภัย (ในปี 2009) ด้วยการออกกฎหมายแบบใช้อำนาจของเขาคนเดียว ลบล้างคดีความต่างๆ จำนวนหนึ่ง รวมทั้งหลายๆ คดีที่ยังค้างคาอยู่ในศาลปากีสถาน ซึ่งมุ่งเล่นงานซาร์ดารีและเบนาซีร์ ในข้อหาความผิดทั้งเรื่องทุจริตคอร์รัปชั่น และการยักยอกเงินเป็นมูลค่าหลายพันล้าน
กฎหมายของมูชาร์รัฟ ที่มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า คำสั่งเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (National Reconciliation Order หรือ NRO) เป็นการยุติกระบวนการพิจารณาคดีที่ซาร์ดารีและเบนาซีร์ตกเป็นจำเลยในศาลสวิส รวมทั้งให้นิรโทษกรรมแก่นักการเมือง, เจ้าหน้าที่ทางการเมือง, ตลอดจนข้าราชการ จำนวนรวมแล้วหลายพันคน ผู้ซึ่งถูกกล่าวหาทำความผิดฐานทุจริตคอร์รัปชั่น, ยักยอกทรัพย์, ฟอกเงิน, ฆาตกรรม, และก่อการร้าย”
การประจันหน้ากันระหว่างฝ่ายตุลาการกับฝ่ายรัฐบาล เริ่มต้นขึ้นในเดือนธันวาคม 2009 เมื่อศาลสูงสุดประกาศว่า กฎหมายให้นิรโทษกรรมแก่การรับสินบนนี้เป็นโมฆะ
ตามคำกล่าวของแหล่งข่าวหลายๆ รายในคณะกรรมการการเลือกตั้งของปากีสถาน เวลานี้ต้องถือว่า กิลานี ขาดคุณสมบัติไม่สามารถมีบทบาททางการเมืองใดๆ ได้เป็นเวลา 5 ปี รวมทั้งไม่สามารถที่จะดำรงตำแหน่งอย่างเป็นทางการใดๆ ในพรรคพีพีพีอีกด้วย ภาพขนาดใหญ่ของเขาถูกปลดออกจากสำนักนายกรัฐมนตรีแล้ว และธงชาติก็ถูกถอดออกจากยานพาหนะของเขาเช่นกัน นอกเหนือจากพิธีการอื่นๆ ในทำนองเดียวกัน
การที่ศาลระบุว่า การขาดคุณสมบัติของเขาเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน ทำให้เกิดคำถามขึ้นมาเกี่ยวกับการวินิจฉัยสั่งการต่างๆ ที่ กิลานี กระทำไปด้วยอำนาจนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา ซึ่งก็มีเรื่องของงบประมาณแผ่นดินรวมอยู่ด้วย
ภายหลังการตัดสินของศาล บรรดาบุคลากรทางฝ่ายค้านต่างออกมายกย่องสดุดี โดยระบุว่านี่เป็นชัยชนะของหลักนิติธรรม คนหนึ่งในฝ่ายค้านเหล่านี้ ได้แก่ อะซัน อิกบัล (Ahsan Iqbal) ซึ่งบอกกับหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ว่า คำพิพากษานี้แสดงให้เห็นว่า “ประชาชนทุกคนต่างเท่าเทียมกันในสายตาของกฎหมาย”
ขณะที่ ชาห์ มะห์มูด กูเรชี (Shah Mahmood Qureshi) อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศ พูดทางสถานีโทรทัศน์แห่งชาติว่า “ผมไม่เห็นว่าจะมีการคุกคามใดๆ ต่อประชาธิปไตยเลยหลังจากการตัดสินนี้แล้ว” เขากล่าวต่อไปว่า รัฐบาลสามารถแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ หรือไม่ก็จัดการเลือกตั้งให้เร็วขึ้น “จากการทำเช่นนั้น เราก็จะเห็นว่ากระบวนการแบบประชาธิปไตยยังคงเดินหน้าได้ต่อไป”
อย่างไรก็ดี ผู้สังเกตการณ์บางคนกล่าวหา ประธานศาลสูงสุด อิฟติคาร์ มูฮัมหมัด เชาธรี (Iftikhar Muhammad Chaudhry) ว่ากำลังใช้อำนาจเกินขอบเขตของศาลสูงสุดไปแล้วในช่วงเวลาไม่กี่ปีหลังมานี้ โดยที่การประกาศให้ กิลานี ขาดคุณสมบัติ คือตัวอย่างอีกตัวอย่างหนึ่งของการที่ประธานศาลสูงสุดผู้นี้ทำการแก้แค้นเป็นการส่วนตัวต่อซาร์ดารี
เฟซัล ฮุสเซน นักวี (Feisal Hussain Naqvi) ทนายความที่พำนักอยู่ในเมืองละฮอร์ และทำงานคดีความในศาลสูงสุดอยู่บ่อยครั้ง บอกกับหนังสือพิมพ์วอลล์สตรีทเจอร์นัลเอเชียว่า คำตัดสินเช่นนี้ควรที่จะออกมาจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นองค์กรอิสระ
แต่อดีตนายกรัฐมนตรี นาวาซ ชาริฟ (Nawaz Sharif) ยืนยันว่า จากการที่ กิลานี ยืนกรานไม่เคารพเชื่อฟังคำสั่งศาลที่ให้เปิดคดีคอร์รัปชั่นที่ ซาร์ดารี ตกเป็นจำเลยขึ้นมาใหม่ กิลานี ก็ไม่เพียงแต่ไม่เคารพศาลเท่านั้น แต่ยังสร้างความด่างพร้อยให้แก่เกียรติศักดิ์ศรีของตนเองด้วย
“ไม่ว่าใครจะเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ก็ตามที บุคคลผู้นั้นจะต้องรีบทำหนังสือ [ส่งถึงเจ้าหน้าที่รับผิดชอบของฝ่ายสวิส เพื่อขอให้เปิดคดีรับสินบนที่ซาร์ดารีเป็นจำเลยขึ้นมาใหม่] หัวหน้าพรรคสันนิบาตมุสลิมปากีสถาน-ฝ่ายนาวาซ (Pakistan Muslim League-Nawaz หรือ PML-N) บอกกับโทรทัศน์ข่าวช่อง จีโอ นิวส์ (Geo News) ของปากีสถาน
จากการที่รัฐบาลผสมที่มีพรรคพีพีพีเป็นแกนนำ ทำท่าจะสามารถอยู่รอดต่อไปได้แม้ต้องเผชิญกับผลสะเทือนต่อเนื่องจากการถูกพิพากษาว่าขาดคุณสมบัติของนายกรัฐมนตรี ส่วนตัวซาร์ดารีก็ดูเหมือนจะไม่ได้รับบาดเจ็บทางการเมืองอะไรอย่างน้อยที่สุดก็ในตอนนี้ จึงเหลือเพียง กิลานี เท่านั้นที่ต้องแบกรับดอกผลทั้งปวงจากการที่เขาตัดสินใจทำตัวเป็นองครักษ์พิทักษ์ประธานาธิบดีในประเด็นปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นคราวนี้
มาลิก อายุบ ซุมบัล เป็นนักหนังสือพิมพ์แนวสืบสวนระดับอาวุโส ซึ่งพำนักอยู่ในกรุงอิสลามาบัด เขาเป็นได้รับรางวัล Syracuse University Mirror Award ประจำปี 2012 สามารถติดต่อเขาทางอีเมลได้ที่ ayubsumbal@gmail.com
อิสลามาบัด - บรรดาพรรคร่วมรัฐบาลผสมของปากีสถาน ต่างกำลังวิ่งเต้นดิ้นรนเสนอชื่อผู้ที่เหมาะสมเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ภายหลังจาก ยูซุฟ ราซา กิลานี (Yousuf Raza Gilani) นายกรัฐมนตรีคนเดิม ถูกศาลสูงสุดของประเทศตัดสินลงโทษในความผิดฐานหมิ่นศาล จนกระทั่งทำให้เขาขาดคุณสมบัติในการดำรงตำแหน่งนี้ต่อไป
ศาลสูงสุดของปากีสถานตัดสินเมื่อวันอังคาร(19 มิ.ย) ที่ผ่านมาว่า เนื่องจาก กิลานี ไม่ได้ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาในวันที่ 26 เมษายน ที่ตัดสินว่าเขามีความผิดฐานหมิ่นศาลจริง ดังนั้นเขาจึงขาดคุณสมบัติที่จะดำรงตำแหน่งนับตั้งแต่ที่ถูกพิพากษาความผิดแล้ว
คำตัดสินครั้งประวัติศาสตร์คราวนี้ นับเป็นการตีกระหน่ำใส่รัฐบาลอย่างรุนแรง ในความพยายามอย่างต่อเนื่องที่จะต่อสู้ช่วงชิงอำนาจกับฝ่ายตุลาการ ถ้าหากพรรคประชาชนปากีสถาน (Pakistan People's Party หรือ PPP) ที่เป็นแกนนำของคณะรัฐบาลผสม ไม่สามารถหาตัวบุคคลที่เหมาสมเข้าแทนที่ กิลานี ในสัปดาห์นี้แล้ว ผู้สังเกตการณ์ก็คาดกันว่า การเลือกตั้งทั่วไปที่มีกำหนดจะต้องจัดขึ้นในปี 2013 นั้น คงจะถูกเลื่อนขึ้นมาจัดกันในปีนี้เลย
มีบุคคลอยู่ 3 คนที่มองเห็นกันว่าน่าจะเป็นตัวเก็งแข่งขันกันขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ได้แก่ รัฐมนตรีดูแลน้ำประปาและไฟฟ้า อาเหม็ด มุคตาร์ (Ahmed Mukhtar), รัฐมนตรีสิ่งทอ มัคดูม ชาฮาบุดดิน (Makhdoom Shahabuddin), และรัฐมนตรีพาณิชย์ มัคดูม อามิน ฟาฮิม (Makhdoom Amin Fahim) ทั้งนี้ มุคตาร์ ซึ่งเป็นผู้นำอาวุโสคนหนึ่งของพรรคพีพีพี และเป็นอดีตรัฐมนตรีกลาโหม ได้รับการจับตามองว่ามีภาษีเหนือกว่าคนอื่นๆ
พวกเจ้าหน้าที่แจ้งแล้วว่า ถ้าหากพรรคพีพีพีและพรรคร่วมรัฐบาลผสมรายอื่นๆ สามารถตกลงกันได้ว่าจะเสนอชื่อใครภายในสัปดาห์นี้ บุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อก็เพียงต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาเท่านั้น จากนั้นก็สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้เลย ทั้งนี้ คณะรัฐบาลผสมที่นำโดยพรรคพีพีพี เวลานี้ครองเสียงเกินกึ่งหนึ่งในรัฐสภาอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม ปรากฏการณ์ที่นักวิเคราะห์บางรายขนานนามให้ว่า “การรัฐประหารของฝ่ายตุลาการ” (judicial coup) คราวนี้ ยังคงทำท่าจะผลักดันให้ประเทศชาติตกลงไปสู่ระยะแห่งความไร้เสถียรภาพทางการเมืองระยะใหม่มากกว่า ทั้งๆ ที่ปากีสถานก็เต็มไปด้วยปัญหาฉกาจฉกรรจ์มากมายอยู๋แล้ว ตั้งแต่เรื่องการก่อความไม่สงบของกลุ่มตอลิบาน, วิกฤตทางการเงิน, ไปจนถึงความสัมพันธ์กับพันธมิตรเก่าแก่อย่างสหรัฐฯที่กำลังเลวร้ายลงไปเรื่อยๆ
กิลานี ถูกพิพากษาในเดือนเมษายนว่า มีความผิดจริงฐาน “เยาะเย้ย” ฝ่ายตุลาการ จากการที่เขาไม่เคารพทำตามคำสั่งศาลที่ออกมาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2009 ให้เขาร่างหนังสือส่งถึงรัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อขอให้เปิดการไต่สวนคดีทุจริตคอร์รัปชั่นมูลค่าหลายล้านดอลลาร์ขึ้นมาใหม่ โดยที่ตัวประธานาธิบดีอาซิฟ อาลี ซาร์ดารี (Asif Ali Zardari) ตกเป็นจำเลยคนสำคัญ
กิลานี นั้นยืนยันมานานแล้วว่า ซาร์ดารี มีเอกสิทธิ์ในฐานะที่เป็นประมุขแห่งรัฐ จึงได้รับความคุ้มครองไม่ต้องรับความผิดใดๆ แถมการส่งหนังสือไปยังสวิตเซอร์แลนด์ จะกลายเป็นละเมิดรัฐธรรมนูญของปากีสถานเอง อย่างไรก็ตาม ในวันอังคารที่ผ่านมา ศาลสูงสุดประกาศว่า คำตัดสินเมื่อเดือนเมษายนที่ว่า กิลานีมีความผิดจริง “ถือเป็นเด็ดขาดสุดท้าย เนื่องจากไม่มีผู้ใดยื่นอุทธรณ์คดค้านคำตัดสิน”
ตามรัฐธรรมนูญปากีสถาน ผู้ใดก็ตามที่ถูกศาลตัดสินว่าผิดจริงฐาน “หมิ่นประมาท” หรือ “เย้ยหยัน” ฝ่ายตุลาการ จะเป็นบุคคลต้องห้ามไม่สามารถดำรงตำแหน่งสมาชิกสภา
ดังที่เอเชียไทมส์ออนไลน์ได้รายงานเอาไว้ในเรื่อง Swift justice for Pakistan's premier (Asia Times Online, May 1, 2012) คำสั่งศาลดังกล่าวนี้ เกี่ยวพันกับการที่ประธานาธิบดีซาร์ดารี และ เบนาซีร์ บุตโต ภรรยาที่ถูกลอบสังหารเสียชีวิตไปแล้วของเขา ได้เคยถูกศาลสวิสพิพากษาในปี 2003 ว่ามีความผิดจริงฐานฟอกเงิน
รายงานดังกล่าวเขียนเอาไว้ว่า “มีการตรวจสอบพบเงินจำนวนเป็นล้านๆ ดอลลาร์ ถูกแอบซุกซ่อนอยู่ตามธนาคารต่างๆ ของสวิตเซอร์แลนด์ ในบัญชีที่เป็นชื่อของคู่สมรสคู่นี้ เงินทุนเหล่านี้มีที่มาที่ไม่ชัดเจน แต่ขณะที่พวกเขากำลังจะถูกลงโทษตามความผิดนั้นเอง พล.อ.เปอร์เวซ มูชาร์รัฟ (Pervez Musharraf) ผู้เผด็จการฝ่ายทหารของปากีสถานในเวลานั้น ก็ได้ก้าวเข้ามาช่วยเหลือพวกเขาให้พ้นภัย (ในปี 2009) ด้วยการออกกฎหมายแบบใช้อำนาจของเขาคนเดียว ลบล้างคดีความต่างๆ จำนวนหนึ่ง รวมทั้งหลายๆ คดีที่ยังค้างคาอยู่ในศาลปากีสถาน ซึ่งมุ่งเล่นงานซาร์ดารีและเบนาซีร์ ในข้อหาความผิดทั้งเรื่องทุจริตคอร์รัปชั่น และการยักยอกเงินเป็นมูลค่าหลายพันล้าน
กฎหมายของมูชาร์รัฟ ที่มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า คำสั่งเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (National Reconciliation Order หรือ NRO) เป็นการยุติกระบวนการพิจารณาคดีที่ซาร์ดารีและเบนาซีร์ตกเป็นจำเลยในศาลสวิส รวมทั้งให้นิรโทษกรรมแก่นักการเมือง, เจ้าหน้าที่ทางการเมือง, ตลอดจนข้าราชการ จำนวนรวมแล้วหลายพันคน ผู้ซึ่งถูกกล่าวหาทำความผิดฐานทุจริตคอร์รัปชั่น, ยักยอกทรัพย์, ฟอกเงิน, ฆาตกรรม, และก่อการร้าย”
การประจันหน้ากันระหว่างฝ่ายตุลาการกับฝ่ายรัฐบาล เริ่มต้นขึ้นในเดือนธันวาคม 2009 เมื่อศาลสูงสุดประกาศว่า กฎหมายให้นิรโทษกรรมแก่การรับสินบนนี้เป็นโมฆะ
ตามคำกล่าวของแหล่งข่าวหลายๆ รายในคณะกรรมการการเลือกตั้งของปากีสถาน เวลานี้ต้องถือว่า กิลานี ขาดคุณสมบัติไม่สามารถมีบทบาททางการเมืองใดๆ ได้เป็นเวลา 5 ปี รวมทั้งไม่สามารถที่จะดำรงตำแหน่งอย่างเป็นทางการใดๆ ในพรรคพีพีพีอีกด้วย ภาพขนาดใหญ่ของเขาถูกปลดออกจากสำนักนายกรัฐมนตรีแล้ว และธงชาติก็ถูกถอดออกจากยานพาหนะของเขาเช่นกัน นอกเหนือจากพิธีการอื่นๆ ในทำนองเดียวกัน
การที่ศาลระบุว่า การขาดคุณสมบัติของเขาเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน ทำให้เกิดคำถามขึ้นมาเกี่ยวกับการวินิจฉัยสั่งการต่างๆ ที่ กิลานี กระทำไปด้วยอำนาจนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา ซึ่งก็มีเรื่องของงบประมาณแผ่นดินรวมอยู่ด้วย
ภายหลังการตัดสินของศาล บรรดาบุคลากรทางฝ่ายค้านต่างออกมายกย่องสดุดี โดยระบุว่านี่เป็นชัยชนะของหลักนิติธรรม คนหนึ่งในฝ่ายค้านเหล่านี้ ได้แก่ อะซัน อิกบัล (Ahsan Iqbal) ซึ่งบอกกับหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ว่า คำพิพากษานี้แสดงให้เห็นว่า “ประชาชนทุกคนต่างเท่าเทียมกันในสายตาของกฎหมาย”
ขณะที่ ชาห์ มะห์มูด กูเรชี (Shah Mahmood Qureshi) อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศ พูดทางสถานีโทรทัศน์แห่งชาติว่า “ผมไม่เห็นว่าจะมีการคุกคามใดๆ ต่อประชาธิปไตยเลยหลังจากการตัดสินนี้แล้ว” เขากล่าวต่อไปว่า รัฐบาลสามารถแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ หรือไม่ก็จัดการเลือกตั้งให้เร็วขึ้น “จากการทำเช่นนั้น เราก็จะเห็นว่ากระบวนการแบบประชาธิปไตยยังคงเดินหน้าได้ต่อไป”
อย่างไรก็ดี ผู้สังเกตการณ์บางคนกล่าวหา ประธานศาลสูงสุด อิฟติคาร์ มูฮัมหมัด เชาธรี (Iftikhar Muhammad Chaudhry) ว่ากำลังใช้อำนาจเกินขอบเขตของศาลสูงสุดไปแล้วในช่วงเวลาไม่กี่ปีหลังมานี้ โดยที่การประกาศให้ กิลานี ขาดคุณสมบัติ คือตัวอย่างอีกตัวอย่างหนึ่งของการที่ประธานศาลสูงสุดผู้นี้ทำการแก้แค้นเป็นการส่วนตัวต่อซาร์ดารี
เฟซัล ฮุสเซน นักวี (Feisal Hussain Naqvi) ทนายความที่พำนักอยู่ในเมืองละฮอร์ และทำงานคดีความในศาลสูงสุดอยู่บ่อยครั้ง บอกกับหนังสือพิมพ์วอลล์สตรีทเจอร์นัลเอเชียว่า คำตัดสินเช่นนี้ควรที่จะออกมาจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นองค์กรอิสระ
แต่อดีตนายกรัฐมนตรี นาวาซ ชาริฟ (Nawaz Sharif) ยืนยันว่า จากการที่ กิลานี ยืนกรานไม่เคารพเชื่อฟังคำสั่งศาลที่ให้เปิดคดีคอร์รัปชั่นที่ ซาร์ดารี ตกเป็นจำเลยขึ้นมาใหม่ กิลานี ก็ไม่เพียงแต่ไม่เคารพศาลเท่านั้น แต่ยังสร้างความด่างพร้อยให้แก่เกียรติศักดิ์ศรีของตนเองด้วย
“ไม่ว่าใครจะเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ก็ตามที บุคคลผู้นั้นจะต้องรีบทำหนังสือ [ส่งถึงเจ้าหน้าที่รับผิดชอบของฝ่ายสวิส เพื่อขอให้เปิดคดีรับสินบนที่ซาร์ดารีเป็นจำเลยขึ้นมาใหม่] หัวหน้าพรรคสันนิบาตมุสลิมปากีสถาน-ฝ่ายนาวาซ (Pakistan Muslim League-Nawaz หรือ PML-N) บอกกับโทรทัศน์ข่าวช่อง จีโอ นิวส์ (Geo News) ของปากีสถาน
จากการที่รัฐบาลผสมที่มีพรรคพีพีพีเป็นแกนนำ ทำท่าจะสามารถอยู่รอดต่อไปได้แม้ต้องเผชิญกับผลสะเทือนต่อเนื่องจากการถูกพิพากษาว่าขาดคุณสมบัติของนายกรัฐมนตรี ส่วนตัวซาร์ดารีก็ดูเหมือนจะไม่ได้รับบาดเจ็บทางการเมืองอะไรอย่างน้อยที่สุดก็ในตอนนี้ จึงเหลือเพียง กิลานี เท่านั้นที่ต้องแบกรับดอกผลทั้งปวงจากการที่เขาตัดสินใจทำตัวเป็นองครักษ์พิทักษ์ประธานาธิบดีในประเด็นปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นคราวนี้
มาลิก อายุบ ซุมบัล เป็นนักหนังสือพิมพ์แนวสืบสวนระดับอาวุโส ซึ่งพำนักอยู่ในกรุงอิสลามาบัด เขาเป็นได้รับรางวัล Syracuse University Mirror Award ประจำปี 2012 สามารถติดต่อเขาทางอีเมลได้ที่ ayubsumbal@gmail.com