กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน บอกว่าจะชะลอการเปิดสัมปทานสำรวจและผลิตปิโตรเลี่ยมรอบที่ 21 ออกไปก่อนจนถึงต้นปีหน้า เพราะมีเสียงทักท้วงจากภาคประชาชนเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ จึงจะใช้เวลาช่วงนี้ทำความเข้าใจและให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ภาคประชาชน
พูดทำนองนี้เหมือน ๆ จะบอกว่าภาคประชาชนเข้าใจผิดนะ
ซึ่งออกจะเป็นการกล่าวหากลาย ๆ
ใครจะผิด ใครจะถูก รัฐจะต้องเปิดพื้นที่ให้ภาคประชาชนที่มีข้อมูลแตกต่าง มีความเห็นแตกต่าง ได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นในเวทีสาธารณะผ่านสื่ออย่างจริงจัง ข้อมูลตัวเลขใดที่ภาคประชาชนไม่มีสมควรได้รับโดยไม่มีการปิดกั้น
ปัญหาเรื่องนโยบายพลังงานของประเทศมีหลากหลายมิติ มีข้อมูลรายละเอียดที่ต้องทำความเข้าใจมาก แต่ที่พูดกันถึงเรื่องการเปิดสัมปทานปิโตรเลี่ยมรอบที่ 21 นี้ประเด็นการถกเถียงและข้อมูลที่แตกต่างก็คือค่าตอบแทนที่รัฐได้รับจากบริษัทผู้รับสัมปทาน
ภาคประชาชนบอกว่าผลตอบแทนที่รัฐได้น้อยเกินไป
ภาครัฐบอกว่าได้พอดี ๆ แล้ว
หากลงรายละเอียดไปมีตัวเลขที่แต่ละฝ่ายเสนอมาไม่เหมือนกัน ภาคประชาชนบอกว่ารัฐได้แค่ 29 % ภาครัฐบอกว่านั่นเป็นตัวเลขที่เข้าใจผิดเพราะไม่ได้หักต้นทุนการผลิตของผู้รับสัมปทาน ตัวเลขที่รัฐได้รับจริง ๆ คือ 55 – 59 % ซึ่งสูงกว่าที่บริษัทผู้รับสัมปทานได้เสียอีก ถือว่าเหมาะสมแล้ว
ก่อนจะพูดถึงความเป็นจริงของตัวเลขนี้ วันนี้ผมขอพาพี่น้องไปดูรากฐานปรัชญาของระบบการให้สัมปทานปิโตรเลี่ยมของประเทศไทยกันก่อนดีกว่า
สัมปทานปิโตรเลี่ยมในประเทศไทยมีมาตั้งแต่ปี 2514 โดยใช้พ.ร.บ.ปิโตรเลี่ยม พ.ศ. 2514 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อ 24 เมษายน 2514 ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ให้น้ำมันดิบที่ขุดขึ้นมาได้มีโอกาสใช้ในประเทศเลย เพราะบัญญัติไว้ในมาตรา 64 (2) ว่า
"ให้ผู้รับสัมปทานได้รับหลักประกันว่า...รัฐจะไม่จำกัดการส่งปิโตรเลี่ยมออกนอกราชอาณาจักร..."
ประเด็นนี้สำคัญมากนะครับ บริบทของสถานการณ์และหลักคิดของประเทศไทย ณ วันที่ออกกฎหมายฉบับนี้คือการเปิดให้ต่างชาติเข้ามารับสัมปทานสำรวจและผลิตปิโตรเลี่ยมในประเทศไทย เพื่อให้บริษัทต่างชาตินำไปขายในตลาดโลก หรือในประเทศของเขาที่เริ่มประสบปัญหาพลังงาน และเริ่มมีความไม่แน่นอนจากวิกฤตความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับประเทศกลุ่มตะวันออกกลางที่เริ่มขึ้นแล้ว
และต้องไม่ลืมด้วยเช่นกันว่า ณ วันนั้นสหรัฐอเมริกาหัวหน้าตำรวจโลกมีฐานทัพในประเทศไทย เห็นประเทศไทยเป็นแนวหน้าของโลกเสรีในการต่อสู้กับภัยคอมมิวนิสต์
ไม่อยากจะพูดว่าสหรัฐอเมริกามีบทบาทต่อการวางรากฐานปรัชญาของกฎหมายปิโตรเลี่ยม 2514 เพราะยังไม่มีข้อมูลยืนยันได้ชัดเจน เป็นเพียงอนุมานจากบริบทของสถานการณ์การเมืองภายในและการเมืองระหว่างประเทศในขณะนั้น
แต่มีข้อมูลยืนยันได้ว่าการแก้ไขกฎหมายฉบับนี้ครั้งใหญ่ในปี 2532 ที่เปลี่ยนระบบการให้สัมปทานใหม่จาก THAILAND 1 เป็น THAILAND 3 นั้นมีผู้เชี่ยวชาญจากสหประชาชาติมาร่วมศึกษาและทำงานร่วมกับผุ้เชี่ยวชาญไทยในช่วงปี 2525 – 2528
เอาเป็นว่าไม่ได้ว่าอะไรก็แล้วกัน เพราะอาจเป็นความเหมาะสมกับสถานการณ์ ณ วันนี้
แต่วันนี้ 40 ปีผ่านไปแล้วเราควรพิจารณาใหม่หรือไม่ ?
40 ปีผ่านไป หลักการนี้ยังไม่เคยเปลี่ยน โดยเฉพาะกับผู้รับสัมปทานรุ่นแรกตามระบบ THAILAND 1 ที่พ.ร.บ.ปิโตรเลี่ยม พ.ศ. 2514 สร้างไว้ และยังไม่ได้แก้ไขบางส่วนในปี 2532 นั้น จะยังมีอายุสัมปทานเหลืออยู่รวมทั้งการต่ออายุตามสิทธิแล้วถึงปี 2566 โน่น
เราต้องคิดให้หนักว่าจะคงหลักการนี้ต่อไปหรือไม่ภายใต้บริบทสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
เพราะนอกจากจะให้สิทธิผู้รับสัมปทานส่งออกน้ำมันดิบที่ขุดขึ้นมาได้โดยไม่จำกัดตามมาตรา 64 (2) ดังกล่าวแล้ว พ.ร.บ.ปิโตรเลี่ยม พ.ศ. 2514 ยังระบุไว้ในมาตรา 57 (1) และ (2) ว่า...
หากจะขายน้ำมันดิบภายในราชอาณาจักรก็ให้ขายในราคาตลาดโลก !
ดังความต่อไปนี้
"ในกรณีที่ยังไม่มีผู้รับสัมปทานส่งน้ำมันดิบที่ผลิตได้ออกนอกราชอาณาจักรเป็นประจำ ให้ขายไม่เกินราคาน้ำมันดิบที่สั่งซื้อจากต่างประเทศส่งถึงโรงกลั่นน้ำมันภายในราชอาณาจักร" – มาตรา 57(1)
"ในกรณีที่มีผู้รับสัมปทานส่งน้ำมันดิบที่ผลิตได้ออกนอกราชอาณาจักรเป็นประจำ ให้ขายไม่เกินราคาเฉลี่ยที่ได้รับจริงสำหรับน้ำมันดิบที่ผู้รับสัมปทานทุกรายส่งออกนอกราชอาณาจักรในเดือนปฏิทินที่แล้วมา..." – มาตรา 57(2)
เห็นได้ชัดว่ากฎหมายเขียนเพื่อประโยชน์ผู้รับสัมปทานเพื่อการส่งออกจริง ๆ
เพราะจะมีกรณีเดียวที่การขายในราชอาณาจักรจะถูกลง ก็ต่อเมื่อเกิดเงื่อนไขตามมาตรา 57(3) เท่านั้น
คือน้ำมันดิบที่ผลิตได้มีปริมาณ 10 เท่าขึ้นไปของความต้องการใช้ในราชอาณาจักร !
ดังความต่อไปนี้
“ในกรณีที่น้ำมันดิบที่ผลิตได้ทั่วราชอาณาจักรมีปริมาณถึงสิบเท่าขึ้นไปของความต้องการใช้ภายในราชอาณาจักร ให้ขายในราคาที่มีกำไรตามสมควร โดยคำนึงถึงข้อตกลงที่เทียบเคียงกันได้ในประเทศผู้ผลิตน้ำมันดิบรายใหญ่” – มาตรา 57 (3)
ผมชอบคำในมาตรานี้นะครับ – ในราคาที่มีกำไรพอสมควร !
แต่ หนึ่ง...มันไม่มีโอกาสเกิดขึ้นเลย เพราะเงื่อนไขสูงมาก และสอง...แสดงว่าราคามาตรา 57 (1) (2) มันเป็นราคาที่ไม่ใช่ “ราคาที่มีกำไรตามสมควร” ใช่ไหม ?
หลักการสำคัญเฉพาะใน 2 มาตรานี้บอกเราว่าคนไทยไม่มีทางจะได้บริโภคน้ำมันดิบถูก หรือมีราคาที่ผู้ผลิตมีกำไรตามสมควรได้เลย แม้เราจะมีแหล่งน้ำมันดิบในประเทศเองในปริมาณประมาณไม่น้อยกว่า 40 % -ของความต้องใช้ภายในราชอาณาจักร
เรามีทรัพยากรน้ำมันดิบของเราเพื่อ “ขาย” ออกไป
ในขณะที่หากเราต้องการใช้น้ำมันดิบเราก็ต้อง “ซื้อมาใช้ในราคาตลาดโลก” ทั้งหมด !
ก่อนจะเปิดสัมปทานรอบที่ 21 หลักการนี้ควรได้รับการทบทวนหรือไม่ ?
และถ้าเราทบทวนหลักการสำคัญที่สุดประการนี้ได้แล้ว จะได้ตัดสินกันต่อไปว่าเราควรจะเก็บผลประโยชน์เข้ารัฐเท่าไร ที่เก็บอยู่น้อยไป หรือดีแล้ว
ถ้าตกลงกันไม่ลงตัวก็ขอประชามติจากประชาชนตามรัฐธรรมนูญมาตรา 165 เถิดครับ !
พูดทำนองนี้เหมือน ๆ จะบอกว่าภาคประชาชนเข้าใจผิดนะ
ซึ่งออกจะเป็นการกล่าวหากลาย ๆ
ใครจะผิด ใครจะถูก รัฐจะต้องเปิดพื้นที่ให้ภาคประชาชนที่มีข้อมูลแตกต่าง มีความเห็นแตกต่าง ได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นในเวทีสาธารณะผ่านสื่ออย่างจริงจัง ข้อมูลตัวเลขใดที่ภาคประชาชนไม่มีสมควรได้รับโดยไม่มีการปิดกั้น
ปัญหาเรื่องนโยบายพลังงานของประเทศมีหลากหลายมิติ มีข้อมูลรายละเอียดที่ต้องทำความเข้าใจมาก แต่ที่พูดกันถึงเรื่องการเปิดสัมปทานปิโตรเลี่ยมรอบที่ 21 นี้ประเด็นการถกเถียงและข้อมูลที่แตกต่างก็คือค่าตอบแทนที่รัฐได้รับจากบริษัทผู้รับสัมปทาน
ภาคประชาชนบอกว่าผลตอบแทนที่รัฐได้น้อยเกินไป
ภาครัฐบอกว่าได้พอดี ๆ แล้ว
หากลงรายละเอียดไปมีตัวเลขที่แต่ละฝ่ายเสนอมาไม่เหมือนกัน ภาคประชาชนบอกว่ารัฐได้แค่ 29 % ภาครัฐบอกว่านั่นเป็นตัวเลขที่เข้าใจผิดเพราะไม่ได้หักต้นทุนการผลิตของผู้รับสัมปทาน ตัวเลขที่รัฐได้รับจริง ๆ คือ 55 – 59 % ซึ่งสูงกว่าที่บริษัทผู้รับสัมปทานได้เสียอีก ถือว่าเหมาะสมแล้ว
ก่อนจะพูดถึงความเป็นจริงของตัวเลขนี้ วันนี้ผมขอพาพี่น้องไปดูรากฐานปรัชญาของระบบการให้สัมปทานปิโตรเลี่ยมของประเทศไทยกันก่อนดีกว่า
สัมปทานปิโตรเลี่ยมในประเทศไทยมีมาตั้งแต่ปี 2514 โดยใช้พ.ร.บ.ปิโตรเลี่ยม พ.ศ. 2514 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อ 24 เมษายน 2514 ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ให้น้ำมันดิบที่ขุดขึ้นมาได้มีโอกาสใช้ในประเทศเลย เพราะบัญญัติไว้ในมาตรา 64 (2) ว่า
"ให้ผู้รับสัมปทานได้รับหลักประกันว่า...รัฐจะไม่จำกัดการส่งปิโตรเลี่ยมออกนอกราชอาณาจักร..."
ประเด็นนี้สำคัญมากนะครับ บริบทของสถานการณ์และหลักคิดของประเทศไทย ณ วันที่ออกกฎหมายฉบับนี้คือการเปิดให้ต่างชาติเข้ามารับสัมปทานสำรวจและผลิตปิโตรเลี่ยมในประเทศไทย เพื่อให้บริษัทต่างชาตินำไปขายในตลาดโลก หรือในประเทศของเขาที่เริ่มประสบปัญหาพลังงาน และเริ่มมีความไม่แน่นอนจากวิกฤตความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับประเทศกลุ่มตะวันออกกลางที่เริ่มขึ้นแล้ว
และต้องไม่ลืมด้วยเช่นกันว่า ณ วันนั้นสหรัฐอเมริกาหัวหน้าตำรวจโลกมีฐานทัพในประเทศไทย เห็นประเทศไทยเป็นแนวหน้าของโลกเสรีในการต่อสู้กับภัยคอมมิวนิสต์
ไม่อยากจะพูดว่าสหรัฐอเมริกามีบทบาทต่อการวางรากฐานปรัชญาของกฎหมายปิโตรเลี่ยม 2514 เพราะยังไม่มีข้อมูลยืนยันได้ชัดเจน เป็นเพียงอนุมานจากบริบทของสถานการณ์การเมืองภายในและการเมืองระหว่างประเทศในขณะนั้น
แต่มีข้อมูลยืนยันได้ว่าการแก้ไขกฎหมายฉบับนี้ครั้งใหญ่ในปี 2532 ที่เปลี่ยนระบบการให้สัมปทานใหม่จาก THAILAND 1 เป็น THAILAND 3 นั้นมีผู้เชี่ยวชาญจากสหประชาชาติมาร่วมศึกษาและทำงานร่วมกับผุ้เชี่ยวชาญไทยในช่วงปี 2525 – 2528
เอาเป็นว่าไม่ได้ว่าอะไรก็แล้วกัน เพราะอาจเป็นความเหมาะสมกับสถานการณ์ ณ วันนี้
แต่วันนี้ 40 ปีผ่านไปแล้วเราควรพิจารณาใหม่หรือไม่ ?
40 ปีผ่านไป หลักการนี้ยังไม่เคยเปลี่ยน โดยเฉพาะกับผู้รับสัมปทานรุ่นแรกตามระบบ THAILAND 1 ที่พ.ร.บ.ปิโตรเลี่ยม พ.ศ. 2514 สร้างไว้ และยังไม่ได้แก้ไขบางส่วนในปี 2532 นั้น จะยังมีอายุสัมปทานเหลืออยู่รวมทั้งการต่ออายุตามสิทธิแล้วถึงปี 2566 โน่น
เราต้องคิดให้หนักว่าจะคงหลักการนี้ต่อไปหรือไม่ภายใต้บริบทสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
เพราะนอกจากจะให้สิทธิผู้รับสัมปทานส่งออกน้ำมันดิบที่ขุดขึ้นมาได้โดยไม่จำกัดตามมาตรา 64 (2) ดังกล่าวแล้ว พ.ร.บ.ปิโตรเลี่ยม พ.ศ. 2514 ยังระบุไว้ในมาตรา 57 (1) และ (2) ว่า...
หากจะขายน้ำมันดิบภายในราชอาณาจักรก็ให้ขายในราคาตลาดโลก !
ดังความต่อไปนี้
"ในกรณีที่ยังไม่มีผู้รับสัมปทานส่งน้ำมันดิบที่ผลิตได้ออกนอกราชอาณาจักรเป็นประจำ ให้ขายไม่เกินราคาน้ำมันดิบที่สั่งซื้อจากต่างประเทศส่งถึงโรงกลั่นน้ำมันภายในราชอาณาจักร" – มาตรา 57(1)
"ในกรณีที่มีผู้รับสัมปทานส่งน้ำมันดิบที่ผลิตได้ออกนอกราชอาณาจักรเป็นประจำ ให้ขายไม่เกินราคาเฉลี่ยที่ได้รับจริงสำหรับน้ำมันดิบที่ผู้รับสัมปทานทุกรายส่งออกนอกราชอาณาจักรในเดือนปฏิทินที่แล้วมา..." – มาตรา 57(2)
เห็นได้ชัดว่ากฎหมายเขียนเพื่อประโยชน์ผู้รับสัมปทานเพื่อการส่งออกจริง ๆ
เพราะจะมีกรณีเดียวที่การขายในราชอาณาจักรจะถูกลง ก็ต่อเมื่อเกิดเงื่อนไขตามมาตรา 57(3) เท่านั้น
คือน้ำมันดิบที่ผลิตได้มีปริมาณ 10 เท่าขึ้นไปของความต้องการใช้ในราชอาณาจักร !
ดังความต่อไปนี้
“ในกรณีที่น้ำมันดิบที่ผลิตได้ทั่วราชอาณาจักรมีปริมาณถึงสิบเท่าขึ้นไปของความต้องการใช้ภายในราชอาณาจักร ให้ขายในราคาที่มีกำไรตามสมควร โดยคำนึงถึงข้อตกลงที่เทียบเคียงกันได้ในประเทศผู้ผลิตน้ำมันดิบรายใหญ่” – มาตรา 57 (3)
ผมชอบคำในมาตรานี้นะครับ – ในราคาที่มีกำไรพอสมควร !
แต่ หนึ่ง...มันไม่มีโอกาสเกิดขึ้นเลย เพราะเงื่อนไขสูงมาก และสอง...แสดงว่าราคามาตรา 57 (1) (2) มันเป็นราคาที่ไม่ใช่ “ราคาที่มีกำไรตามสมควร” ใช่ไหม ?
หลักการสำคัญเฉพาะใน 2 มาตรานี้บอกเราว่าคนไทยไม่มีทางจะได้บริโภคน้ำมันดิบถูก หรือมีราคาที่ผู้ผลิตมีกำไรตามสมควรได้เลย แม้เราจะมีแหล่งน้ำมันดิบในประเทศเองในปริมาณประมาณไม่น้อยกว่า 40 % -ของความต้องใช้ภายในราชอาณาจักร
เรามีทรัพยากรน้ำมันดิบของเราเพื่อ “ขาย” ออกไป
ในขณะที่หากเราต้องการใช้น้ำมันดิบเราก็ต้อง “ซื้อมาใช้ในราคาตลาดโลก” ทั้งหมด !
ก่อนจะเปิดสัมปทานรอบที่ 21 หลักการนี้ควรได้รับการทบทวนหรือไม่ ?
และถ้าเราทบทวนหลักการสำคัญที่สุดประการนี้ได้แล้ว จะได้ตัดสินกันต่อไปว่าเราควรจะเก็บผลประโยชน์เข้ารัฐเท่าไร ที่เก็บอยู่น้อยไป หรือดีแล้ว
ถ้าตกลงกันไม่ลงตัวก็ขอประชามติจากประชาชนตามรัฐธรรมนูญมาตรา 165 เถิดครับ !