วานนี้ (19 ก.ค.) ที่รัฐสภา มีการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2556 โดยมี พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการฯ ทำหน้าที่เป็นประธาน ซึ่งเป็นการพิจารณางบประมาณในส่วนของ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) โดยมีนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดี ดีเอสไอ เข้าชี้แจง
ทั้งนี้นายวัชระ เพชรทอง ส.ส.บัญชีรายชื่อ และกรรมาธิการฯจากพรรคประชาธิปัตย์ ได้ซักถาม พร้อมติติงถึงบทบาทการทำงานของดีเอสไอ โดยระบุว่า สังคมตั้งประเด็นว่าทำงานไม่เป็นกลาง การดำเนินคดีการชุมนุมคนเสื้อแดง ผังล้มเจ้า ไม่มีความคืบหน้า ซึ่งนายธาริต ชี้แจงว่า ยอมรับว่าดีเอสไอ เป็นเครื่องมือรัฐบาล เพราะกรมสอบสวนคดีพิเศษ ต้องทำงานภายใต้การดูแลของรัฐบาล และที่สำคัญในกฎหมายที่ทางฝ่ายนิติบัญญัติเขียน ระบุชัดเจนว่า ข้าราชการพลเรือน ต้องปฏิบัติตามคำสั่ง และนโยบายของรัฐบาล หากไม่ทำงานตามนโยบายรัฐบาล จะต้องได้รับโทษ นอกจากนั้นแล้วในส่วนของความเป็นกลาง ตามกฎหมายระบุชัดเจนว่า ต้องวางตนเป็นกลาง เฉพาะการเลือกตั้งเท่านั้น
" สิ่งที่หลายคนได้สอบถามว่า ฐานะเป็นอธิบดีดีเอสไอ รู้สึกอย่างไรต่อประเด็นว่า ขาดมาตรฐาน ไม่เป็นกลาง ผมไม่สบายใจ เพราะข้อกล่าวหานั้น เกิดจากความขัดแย้งทางการเมือง ที่มีการแบ่งขั้วเป็น 2 ฝ่าย ช่วงที่รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ดีเอสไอ ก็เป็นเครื่องมือเช่นกัน ให้ตั้งข้อหาก่อการร้าย และดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 อย่างไรก็ตามการทำงานของดีเอสไอ ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อกล่าวหาที่ว่า ดีเอสไอ ขาดมาตรฐาน เป็นภาพใหญ่ของประเทศที่เราไปแก้ไม่ได้ ที่ทำได้ แค่ยืนยันการทำงานตามหน้าที่ อย่างมืออาชีพเท่าที่จะทำได้" นายธาริต ชี้แจง
นายธาริต กล่าวต่อว่า เมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน คณะกรรมาธิการพิทักษ์สถาบันฯ วุฒิสภา ได้เชิญตนไปชี้แจง ถามเกี่ยวกับผังล้มเจ้า ที่สั่งงดการสอบสวน ซึ่งเหตุที่ดีเอสไอ รับเป็นคดีพิเศษ เพราะเชื่อโดยสุจริตว่า เป็นผังจริง เพราะฝ่ายมั่นคงของทหารทำ
แต่เมื่อดีเอสไอรับมาสอบสวน ฝ่ายทหารกลับไม่ยอมมาเป็นพยาน และไม่ยอมเปิดเผยรายละเอียด โดยอ้างว่าเป็นความลับ ซึ่งดีเอสไอ ไม่ได้รับความร่วมมือ ในที่สุดจึงสั่งงดการสอบสวนชั่วคราว
ส่วนการดำเนินคดีข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ทางดีเอสไอ เคยเสนอไปยังรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ และรัฐบาลเพื่อไทย ให้คดีหมิ่น ตาม มาตรา 112 เป็นคดีพิเศษ โดยอัตโนมัติ แต่ทั้ง 2 รัฐบาลไม่เห็นด้วย ดังนั้นจึงถือว่าคดีหมิ่นนั้น ถือเป็นความรับผิดชอบของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
นายธาริต ยังกล่าวถึงการดำเนินคดีกับบุคคลที่มีความผิดตาม มาตรา 112 ว่า มีผู้ใหญ่ได้เรียกตนไปพบ และแสดงความห่วงใยว่า การดำเนินคดีเกี่ยวกับคดีหมิ่น หากพยานหลักฐานไม่ชัดเจน ก็อย่าดำเนินคดี เพราะจะกระทบถึงพระองค์ท่าน และขอให้ดีเอสไอ ใช้ดุลยพินิจอย่างรอบคอบ การดำเนินคดีไม่เป็นประโยชน์หรือผลร้ายต่อพระองค์ท่าน ก็ไม่ควรจะกระทำ และอัยการ ก็ได้เรียกตนไปถ่ายทอดในถ้อยคำดังกล่าวด้วย ซึ่งตนก็เห็นด้วยกับคำพูดดังกล่าว จะต้องหลักฐานที่ชัดเจน และการทำงานของพนักงานสอบสวนเรื่องนี้ ต้องคำนึงถึงหลายส่วน และดำเนินการตามพยานหลักฐานเท่านั้น
จากนั้น นายนิพิฎฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ ได้สอบถามถึงการดำเนินคดีการเสียชีวิตของพล.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม เนื่องจากที่ผ่านมา นายธาริต ได้ยืนยันว่าคนเสื้อแดง เป็นผู้กระทำ แต่ขณะนี้ยังไม่สามารถดำเนินคดีกับใครได้ ดังนั้นหากเป็นเช่นนี้ ตนเสนอให้ยุบ ดีเอสไอ
ขณะที่ นายธาริต ชี้แจงว่า เหตุการณ์ที่ พล.อ.ร่มเกล้า เสียชีวิตเป็นช่วงจลาจล แม้ในต่างประเทศยังยอมรับว่า จะหาพยาน หลักฐาน หรือนำบุคคลที่กระทำมาดำเนินคดีเป็นไปด้วยความลำบาก อย่างไรก็ตาม ประเด็นนี้อยู่ระหว่างการไต่สวน หากแล้วสร็จ ทางดีเอสไอ จะรับกลับมาดำเนินคดีอีกครั้ง
ทั้งนี้นายวัชระ เพชรทอง ส.ส.บัญชีรายชื่อ และกรรมาธิการฯจากพรรคประชาธิปัตย์ ได้ซักถาม พร้อมติติงถึงบทบาทการทำงานของดีเอสไอ โดยระบุว่า สังคมตั้งประเด็นว่าทำงานไม่เป็นกลาง การดำเนินคดีการชุมนุมคนเสื้อแดง ผังล้มเจ้า ไม่มีความคืบหน้า ซึ่งนายธาริต ชี้แจงว่า ยอมรับว่าดีเอสไอ เป็นเครื่องมือรัฐบาล เพราะกรมสอบสวนคดีพิเศษ ต้องทำงานภายใต้การดูแลของรัฐบาล และที่สำคัญในกฎหมายที่ทางฝ่ายนิติบัญญัติเขียน ระบุชัดเจนว่า ข้าราชการพลเรือน ต้องปฏิบัติตามคำสั่ง และนโยบายของรัฐบาล หากไม่ทำงานตามนโยบายรัฐบาล จะต้องได้รับโทษ นอกจากนั้นแล้วในส่วนของความเป็นกลาง ตามกฎหมายระบุชัดเจนว่า ต้องวางตนเป็นกลาง เฉพาะการเลือกตั้งเท่านั้น
" สิ่งที่หลายคนได้สอบถามว่า ฐานะเป็นอธิบดีดีเอสไอ รู้สึกอย่างไรต่อประเด็นว่า ขาดมาตรฐาน ไม่เป็นกลาง ผมไม่สบายใจ เพราะข้อกล่าวหานั้น เกิดจากความขัดแย้งทางการเมือง ที่มีการแบ่งขั้วเป็น 2 ฝ่าย ช่วงที่รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ดีเอสไอ ก็เป็นเครื่องมือเช่นกัน ให้ตั้งข้อหาก่อการร้าย และดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 อย่างไรก็ตามการทำงานของดีเอสไอ ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อกล่าวหาที่ว่า ดีเอสไอ ขาดมาตรฐาน เป็นภาพใหญ่ของประเทศที่เราไปแก้ไม่ได้ ที่ทำได้ แค่ยืนยันการทำงานตามหน้าที่ อย่างมืออาชีพเท่าที่จะทำได้" นายธาริต ชี้แจง
นายธาริต กล่าวต่อว่า เมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน คณะกรรมาธิการพิทักษ์สถาบันฯ วุฒิสภา ได้เชิญตนไปชี้แจง ถามเกี่ยวกับผังล้มเจ้า ที่สั่งงดการสอบสวน ซึ่งเหตุที่ดีเอสไอ รับเป็นคดีพิเศษ เพราะเชื่อโดยสุจริตว่า เป็นผังจริง เพราะฝ่ายมั่นคงของทหารทำ
แต่เมื่อดีเอสไอรับมาสอบสวน ฝ่ายทหารกลับไม่ยอมมาเป็นพยาน และไม่ยอมเปิดเผยรายละเอียด โดยอ้างว่าเป็นความลับ ซึ่งดีเอสไอ ไม่ได้รับความร่วมมือ ในที่สุดจึงสั่งงดการสอบสวนชั่วคราว
ส่วนการดำเนินคดีข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ทางดีเอสไอ เคยเสนอไปยังรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ และรัฐบาลเพื่อไทย ให้คดีหมิ่น ตาม มาตรา 112 เป็นคดีพิเศษ โดยอัตโนมัติ แต่ทั้ง 2 รัฐบาลไม่เห็นด้วย ดังนั้นจึงถือว่าคดีหมิ่นนั้น ถือเป็นความรับผิดชอบของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
นายธาริต ยังกล่าวถึงการดำเนินคดีกับบุคคลที่มีความผิดตาม มาตรา 112 ว่า มีผู้ใหญ่ได้เรียกตนไปพบ และแสดงความห่วงใยว่า การดำเนินคดีเกี่ยวกับคดีหมิ่น หากพยานหลักฐานไม่ชัดเจน ก็อย่าดำเนินคดี เพราะจะกระทบถึงพระองค์ท่าน และขอให้ดีเอสไอ ใช้ดุลยพินิจอย่างรอบคอบ การดำเนินคดีไม่เป็นประโยชน์หรือผลร้ายต่อพระองค์ท่าน ก็ไม่ควรจะกระทำ และอัยการ ก็ได้เรียกตนไปถ่ายทอดในถ้อยคำดังกล่าวด้วย ซึ่งตนก็เห็นด้วยกับคำพูดดังกล่าว จะต้องหลักฐานที่ชัดเจน และการทำงานของพนักงานสอบสวนเรื่องนี้ ต้องคำนึงถึงหลายส่วน และดำเนินการตามพยานหลักฐานเท่านั้น
จากนั้น นายนิพิฎฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ ได้สอบถามถึงการดำเนินคดีการเสียชีวิตของพล.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม เนื่องจากที่ผ่านมา นายธาริต ได้ยืนยันว่าคนเสื้อแดง เป็นผู้กระทำ แต่ขณะนี้ยังไม่สามารถดำเนินคดีกับใครได้ ดังนั้นหากเป็นเช่นนี้ ตนเสนอให้ยุบ ดีเอสไอ
ขณะที่ นายธาริต ชี้แจงว่า เหตุการณ์ที่ พล.อ.ร่มเกล้า เสียชีวิตเป็นช่วงจลาจล แม้ในต่างประเทศยังยอมรับว่า จะหาพยาน หลักฐาน หรือนำบุคคลที่กระทำมาดำเนินคดีเป็นไปด้วยความลำบาก อย่างไรก็ตาม ประเด็นนี้อยู่ระหว่างการไต่สวน หากแล้วสร็จ ทางดีเอสไอ จะรับกลับมาดำเนินคดีอีกครั้ง