ASTVผู้จัดการรายวัน - โครงการรับจำนำข้าวกระทบสภาพคล่องธ.ก.ส.หลังข้าวที่ข้าวร่วมโครงการทั้งนาปีและนาปรังออกเต็มปริมาณส่งผลกรอบวงเงินที่ครม.อนุมัติ 2.7 แสนล้านใกล้เต็ม พร้อมจี้รัฐบาลบริหารจัดการข้าวสู่ตลานเพิ่มสภาพคล่องวงเงินสำหรับใช้ในโครงการระยะต่อไป
นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์(ธ.ก.ส.)เปิดเผยว่า โครงการรับจำนำข้าวตามนโยบายรัฐบาลที่ปิดโครงการไปแล้วคือ ข้าวนาปี ซึ่งมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 7 ล้านตัน คิดเป็นเงิน 1.2 แสนล้านบาท และที่อยู่ระหว่างดำเนินการคือข้าวนาปรัง โดยเป็นการรับจำนำที่ต่อเนื่องจากปัญหาอุทกภัย ทำให้เกษตรกรเร่งรัดปลูกและได้ผลผลิตมาก โดยมีเกษตรเข้าโครงการทั้งสิ้นเกือบ 10 ล้านตัน คิดเป็นเงินเกือบ 1.4 แสนล้านบาท และคาดว่าเมื่อปิดโครงการในเดือนหน้าจะมีจำนวนข้าวเข้าโครงการทั้งสิ้น 11-12 ล้านตัน คิดเป็นเงิน 1.6 แสนล้านบาท
ทั้งนี้เมื่อรวมโครงการรับจำนำข้าวตามนโยบายรัฐบาลทั้งข้าวนาปีและนาปรังรวมเป็นเงิน 2.7 แสนล้านบาท โดยที่เป็นเงินของธ.ก.ส.เอง 9 หมื่นล้านบาท ส่วนที่เหลือเป็นเงินสนับสนุนจากรัฐบาลภายใต้กรอบที่คณะรัฐมนตรี(ครม.) อนุมัติไว้ 2.69 แสนล้านบาท และจำนวนข้าวที่เข้าโครงการยังเป็นไปตามที่สำรวจไว้แต่แรกว่า ข้าวนาปรังน่าจะถึง 11.1 ล้านตัน แต่เข้าโครงการแล้ว 10 ล้านตัน ยังเหลืออีก 1 เดือนก็น่าจะเป็นไปตามที่สำรวจไว้
อย่างไรก็ตาม หากรัฐบาลจะดำเนินการรับจำนำข้าวต่อเนื่องตามที่ประกาศไว้ชัดเจนแล้วว่า เกษตรกรจะเข้าโครงการได้ปีละ 2 ครั้ง จะต้องคำนึงถึงปริมาณของสถานที่เก็บข้าว เพราะยังมีข้าวจำนวนมากที่ยังเหลือค้างจากฤดูกาลผลิตที่ผ่านมา รวมถึงเงินทุนที่จะต้องนำมาดำเนินการรับจำนำ เพราะหากยังมีการกู้ยืมก็จะเป็นภาระต้นทุนเนื่อง จึงได้เสนอต่อคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและคณะกรรมการธ.ก.ส.เองว่า รัฐบาลจะต้องเร่งระบายข้าวสารในสต๊อกออกไป ซึ่งนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ในฐานะประธานกรรมการธ.ก.ส.รับที่นำเรื่องไปหารือในที่ประชุมคณะกรรมการข้าวแห่งชาติ(กขช.)
“เงินทุนที่ธ.ก.ส.จะใช้ไปในการรับจำนำข้าวมี 9 หมื่นล้านบาท เพราะสภาพคล่องที่เหลือยังต้องเก็บไว้เพื่อดูแลพืชผลอื่นๆ หากขายข้าวแล้วนำเงินมาชำระคืน ธ.ก.ส.ก็จะมีวงเงินเหลือมาใช้ในการรับจำนำข้าวนาปีรอบใหม่ได้ ส่วนเงินที่เหลือ รัฐบาลก็ต้องดำเนินการจัดการ หรือออกเป็นมติครม.มาใหม่ เพื่อบรรจุในแผนก่อนหนี้สาธารณะของประเทศ เพราะมติเดิมที่อนุมัติไว้ 2.69 แสนล้านบาท ได้ใช้เงินรับจำนำไปแล้วเมื่อสิ้นสุดโครงการน่าจะถึง 1.7-1.8 แสนล้านบาท เหลือประมาณ 7-8 หมื่นล้านบาท และใช้ไปในการรับจำนำข้าวและมันสำปะหลังบางส่วน จึงจะเหลือทั้งสิ้น 5-6 หมื่นล้านบาท ที่สามารถออกมาเป็นมติครม.ใหม่ เพื่อให้กับการรับจำนำข้าวนาปีได้”
สำหรับปีงบประมาณ 2556 รัฐบาลได้ตั้งงบประมาณเพื่อชำระคืนหนี้ที่ดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลทั้งสิ้น 6.07 หมื่นล้านบาท โดยเป็นโครงการเก่าคือ หมอหนี้ ปุ๋ย ประกันภัยข้าว ส่วนโครงการรับจำนำข้าวก่อนปี 2554 ที่ขาดทุน ในปีนี้ได้มา 1.8 หมื่นล้าบาทเมื่อเทียบกับปี 2555 ที่ได้รับชำระคืน 3 หมื่นกว่าล้านบาท หากตั้งงบประมาณชดเชยต่อเนื่องไปเช่นนี้ ครบ 5 ปีก็จะไม่มีหนี้สินค้าง นอกจากนั้นจะเป็นภาระชดเชยดอกเบี้ยเก่าๆ โครงการประกันรายได้ที่ชดเชยต้นทุนเงินมา 4 หมื่นล้านบาท ส่วนโครงการรับจำนำข้าวล่าสุดได้ชดเชยต้นทุนเงินไปแล้ 8 พันล้านบาท และยังชดเชยบัตรสินเชื่อเกษตรกร 1.1 พันล้านบาท ส่วนโครงการประกันภัยพืชผลรอบใหม่ ให้ธ.ก.ส.สำรองจ่ายไปก่อน
นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์(ธ.ก.ส.)เปิดเผยว่า โครงการรับจำนำข้าวตามนโยบายรัฐบาลที่ปิดโครงการไปแล้วคือ ข้าวนาปี ซึ่งมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 7 ล้านตัน คิดเป็นเงิน 1.2 แสนล้านบาท และที่อยู่ระหว่างดำเนินการคือข้าวนาปรัง โดยเป็นการรับจำนำที่ต่อเนื่องจากปัญหาอุทกภัย ทำให้เกษตรกรเร่งรัดปลูกและได้ผลผลิตมาก โดยมีเกษตรเข้าโครงการทั้งสิ้นเกือบ 10 ล้านตัน คิดเป็นเงินเกือบ 1.4 แสนล้านบาท และคาดว่าเมื่อปิดโครงการในเดือนหน้าจะมีจำนวนข้าวเข้าโครงการทั้งสิ้น 11-12 ล้านตัน คิดเป็นเงิน 1.6 แสนล้านบาท
ทั้งนี้เมื่อรวมโครงการรับจำนำข้าวตามนโยบายรัฐบาลทั้งข้าวนาปีและนาปรังรวมเป็นเงิน 2.7 แสนล้านบาท โดยที่เป็นเงินของธ.ก.ส.เอง 9 หมื่นล้านบาท ส่วนที่เหลือเป็นเงินสนับสนุนจากรัฐบาลภายใต้กรอบที่คณะรัฐมนตรี(ครม.) อนุมัติไว้ 2.69 แสนล้านบาท และจำนวนข้าวที่เข้าโครงการยังเป็นไปตามที่สำรวจไว้แต่แรกว่า ข้าวนาปรังน่าจะถึง 11.1 ล้านตัน แต่เข้าโครงการแล้ว 10 ล้านตัน ยังเหลืออีก 1 เดือนก็น่าจะเป็นไปตามที่สำรวจไว้
อย่างไรก็ตาม หากรัฐบาลจะดำเนินการรับจำนำข้าวต่อเนื่องตามที่ประกาศไว้ชัดเจนแล้วว่า เกษตรกรจะเข้าโครงการได้ปีละ 2 ครั้ง จะต้องคำนึงถึงปริมาณของสถานที่เก็บข้าว เพราะยังมีข้าวจำนวนมากที่ยังเหลือค้างจากฤดูกาลผลิตที่ผ่านมา รวมถึงเงินทุนที่จะต้องนำมาดำเนินการรับจำนำ เพราะหากยังมีการกู้ยืมก็จะเป็นภาระต้นทุนเนื่อง จึงได้เสนอต่อคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและคณะกรรมการธ.ก.ส.เองว่า รัฐบาลจะต้องเร่งระบายข้าวสารในสต๊อกออกไป ซึ่งนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ในฐานะประธานกรรมการธ.ก.ส.รับที่นำเรื่องไปหารือในที่ประชุมคณะกรรมการข้าวแห่งชาติ(กขช.)
“เงินทุนที่ธ.ก.ส.จะใช้ไปในการรับจำนำข้าวมี 9 หมื่นล้านบาท เพราะสภาพคล่องที่เหลือยังต้องเก็บไว้เพื่อดูแลพืชผลอื่นๆ หากขายข้าวแล้วนำเงินมาชำระคืน ธ.ก.ส.ก็จะมีวงเงินเหลือมาใช้ในการรับจำนำข้าวนาปีรอบใหม่ได้ ส่วนเงินที่เหลือ รัฐบาลก็ต้องดำเนินการจัดการ หรือออกเป็นมติครม.มาใหม่ เพื่อบรรจุในแผนก่อนหนี้สาธารณะของประเทศ เพราะมติเดิมที่อนุมัติไว้ 2.69 แสนล้านบาท ได้ใช้เงินรับจำนำไปแล้วเมื่อสิ้นสุดโครงการน่าจะถึง 1.7-1.8 แสนล้านบาท เหลือประมาณ 7-8 หมื่นล้านบาท และใช้ไปในการรับจำนำข้าวและมันสำปะหลังบางส่วน จึงจะเหลือทั้งสิ้น 5-6 หมื่นล้านบาท ที่สามารถออกมาเป็นมติครม.ใหม่ เพื่อให้กับการรับจำนำข้าวนาปีได้”
สำหรับปีงบประมาณ 2556 รัฐบาลได้ตั้งงบประมาณเพื่อชำระคืนหนี้ที่ดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลทั้งสิ้น 6.07 หมื่นล้านบาท โดยเป็นโครงการเก่าคือ หมอหนี้ ปุ๋ย ประกันภัยข้าว ส่วนโครงการรับจำนำข้าวก่อนปี 2554 ที่ขาดทุน ในปีนี้ได้มา 1.8 หมื่นล้าบาทเมื่อเทียบกับปี 2555 ที่ได้รับชำระคืน 3 หมื่นกว่าล้านบาท หากตั้งงบประมาณชดเชยต่อเนื่องไปเช่นนี้ ครบ 5 ปีก็จะไม่มีหนี้สินค้าง นอกจากนั้นจะเป็นภาระชดเชยดอกเบี้ยเก่าๆ โครงการประกันรายได้ที่ชดเชยต้นทุนเงินมา 4 หมื่นล้านบาท ส่วนโครงการรับจำนำข้าวล่าสุดได้ชดเชยต้นทุนเงินไปแล้ 8 พันล้านบาท และยังชดเชยบัตรสินเชื่อเกษตรกร 1.1 พันล้านบาท ส่วนโครงการประกันภัยพืชผลรอบใหม่ ให้ธ.ก.ส.สำรองจ่ายไปก่อน