คลังเร่งเคาะเบี้ยประกันภัยพืชผลก่อนขายกรมธรรม์ได้เดือนหน้า หลัง “กิตติรัตน์” สั่งเจรจาใหม่ เผยน้ำท่วมส่งผลเอกชนคิดเบี้ยพุ่ง 290 บาทต่อไร่ หวั่นเพิ่มภาระต้นทุนเกษตรกร
นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการ สำนักนโยบายระบบการคุ้มครองผลประโยชน์ทางการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการประกันภัยพืชผลข้าวนาปีในฤดูกาลผลิตปี 2555/56 ว่า ขณะนี้ยังไม่สามารถสรุปอัตราค่าเบี้ยประกันภัยรอบใหม่ได้ เพราะยังมีความเห็นแตกต่างกันในส่วนค่าเบี้ยซึ่งจะขึ้นอยู่กับการจ่ายเงินชดเชยความเสียหายของรัฐบาลด้วยที่จะจ่ายในอัตรา 606 บาทต่อไร่หรือ 2,222 บาทต่อไร่เหมือนปีก่อน เพื่อให้เอกชนรับผิดชอบจ่ายชดเชยส่วนที่เหลือจากที่ สศค.ประเมินว่าเกษตรกรควรได้รับการชดเชยไร่ละไม่เกิน 3,200 บาท เพราะต้นทุนต่อไร่จะอยู่ที่ 4,040 บาท
“เกษตรกรขอมาไร่ละ 3,700 บาทนั้นน่าจะสูงเกินไป จึงให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปทำตัวเลขมาพิจารณาร่วมกันอีกครั้งนอกเหนืออัตราที่เอกชนจะต้องจ่ายไร่ละ 1,400 บาท และ 1,500 บาท ขอให้กลับไปทำที่ไร่ละ 1,000 บาทด้วยเพื่อให้ค่าเบี้ยประกันภัยในปีนี้ไม่สูงจนเกินไป โดยจะดูแลไม่ให้เกินไร่ละ 300 บาท อีกทั้งได้ขอความชัดเจนไปยังกระทรวงเกษตรฯด้วยว่าการจ่ายชดเชยความเสียหายให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนั้นยังกำหนดที่ไร่ละ 2,222 บาทต่อไปหรือไม่”
ทั้งนี้ แหล่งข่าวจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า หลังจากที่ สศค.ได้รายงานความคืบหน้าต่อนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง ไปเมื่อวันที่ 30 เมษายนที่ผ่านมานั้น ทางนายกิตติรัตน์ไม่เห็นด้วยในหลักการที่มีการแบ่งการคุ้มครองออกเป็น 2 ช่วง คือ ความเสียหายที่เกิดขึ้นนับจากวันที่ปลุกจนถึง 60 วัน และหลัง 60 วันจนถึงเก็บเกี่ยว ซึ่งนายกิตติรัตน์ต้องการให้มีการคุ้มครองเหลือเพียงช่วงเดียวจากวันปลูกถึงวันเก็บเกี่ยว เพื่อจะได้สอดคล้องกับการจ่ายเงินชดเชยของรัฐบาล
กระทรวงการคลังจึงอยู่ระหว่างทำงานร่วมกับสมาคมประกันวินาศภัยเพื่อสรุปเบี้ยประกันภัยให้ได้ภายในเดือนพฤษภาคมนี้เพื่อให้สามารถขายกรมธรรม์ประกันภัยพืชผลให้ทันกับการปลูกข้าวนาปีที่จะเริ่มในเดือนกรกฎาคมนี้ โดยจะขยายการคุ้มครองให้ครอบคลุมศัตรูพืชและโรคระบาดด้วย จากเดิมที่จะคุ้มครองเพียงภัยแล้งเท่านั้น ทำให้บริษัทประกันคิดค่าเบี้ยประกันแพงขึ้นเป็นประมาณ 290 บาท จากปีก่อนที่คิดเพียง 130 บาท และแบ่งการคุ้มครองออกเป็น 2 ช่วง คือ 60 วันแรกจะจ่ายเงินชดเชย 2,222 บาท และหลังวันที่ 60 จะจ่ายเงินชดเชยให้อีก 1,500 บาท รวมเป็น 3,700 บาทต่อไร่ ทำให้ค่าเบี้ยประกันที่จะคิดจากเกษตรกรสูงขึ้น จึงมองว่าจะเป็นภาระแก่เกษตรมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม หากค่าเบี้ยประกันจะต้องเพิ่มขึ้นเพราะความเสี่ยงจากเหตุอุทกภัยเมื่อปลายปีก่อน รัฐบาลอยู่ระหว่างพิจารณาช่วยเหลือจ่ายค่าเบี้ยประกันแทนเกษตรกรได้มากน้อยเพียงใดและทำได้หรือไม่ เพราะปีก่อนค่าเบี้ยอยู่ที่ 129.47 บาทต่อไร่นั้น รัฐบาลจ่ายให้ 60.47 บาท ที่เหลือเกษตรกรรับผิดชอบเอง หากเป็นลูกค้า ธ.ก.ส.จะจ่ายลดลงเหลือ 50 บาทต่อไร่ โดยบริษัทประกันได้ค่าเบี้ยประกันเพียง 134 ล้านบาท แต่กลับต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนสูงถึง 600 ล้านบาท และขณะนี้ได้ทยอยจ่ายชดเชยให้เกษตรกรไปแล้ว 430 ล้านบาท
นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการ สำนักนโยบายระบบการคุ้มครองผลประโยชน์ทางการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการประกันภัยพืชผลข้าวนาปีในฤดูกาลผลิตปี 2555/56 ว่า ขณะนี้ยังไม่สามารถสรุปอัตราค่าเบี้ยประกันภัยรอบใหม่ได้ เพราะยังมีความเห็นแตกต่างกันในส่วนค่าเบี้ยซึ่งจะขึ้นอยู่กับการจ่ายเงินชดเชยความเสียหายของรัฐบาลด้วยที่จะจ่ายในอัตรา 606 บาทต่อไร่หรือ 2,222 บาทต่อไร่เหมือนปีก่อน เพื่อให้เอกชนรับผิดชอบจ่ายชดเชยส่วนที่เหลือจากที่ สศค.ประเมินว่าเกษตรกรควรได้รับการชดเชยไร่ละไม่เกิน 3,200 บาท เพราะต้นทุนต่อไร่จะอยู่ที่ 4,040 บาท
“เกษตรกรขอมาไร่ละ 3,700 บาทนั้นน่าจะสูงเกินไป จึงให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปทำตัวเลขมาพิจารณาร่วมกันอีกครั้งนอกเหนืออัตราที่เอกชนจะต้องจ่ายไร่ละ 1,400 บาท และ 1,500 บาท ขอให้กลับไปทำที่ไร่ละ 1,000 บาทด้วยเพื่อให้ค่าเบี้ยประกันภัยในปีนี้ไม่สูงจนเกินไป โดยจะดูแลไม่ให้เกินไร่ละ 300 บาท อีกทั้งได้ขอความชัดเจนไปยังกระทรวงเกษตรฯด้วยว่าการจ่ายชดเชยความเสียหายให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนั้นยังกำหนดที่ไร่ละ 2,222 บาทต่อไปหรือไม่”
ทั้งนี้ แหล่งข่าวจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า หลังจากที่ สศค.ได้รายงานความคืบหน้าต่อนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง ไปเมื่อวันที่ 30 เมษายนที่ผ่านมานั้น ทางนายกิตติรัตน์ไม่เห็นด้วยในหลักการที่มีการแบ่งการคุ้มครองออกเป็น 2 ช่วง คือ ความเสียหายที่เกิดขึ้นนับจากวันที่ปลุกจนถึง 60 วัน และหลัง 60 วันจนถึงเก็บเกี่ยว ซึ่งนายกิตติรัตน์ต้องการให้มีการคุ้มครองเหลือเพียงช่วงเดียวจากวันปลูกถึงวันเก็บเกี่ยว เพื่อจะได้สอดคล้องกับการจ่ายเงินชดเชยของรัฐบาล
กระทรวงการคลังจึงอยู่ระหว่างทำงานร่วมกับสมาคมประกันวินาศภัยเพื่อสรุปเบี้ยประกันภัยให้ได้ภายในเดือนพฤษภาคมนี้เพื่อให้สามารถขายกรมธรรม์ประกันภัยพืชผลให้ทันกับการปลูกข้าวนาปีที่จะเริ่มในเดือนกรกฎาคมนี้ โดยจะขยายการคุ้มครองให้ครอบคลุมศัตรูพืชและโรคระบาดด้วย จากเดิมที่จะคุ้มครองเพียงภัยแล้งเท่านั้น ทำให้บริษัทประกันคิดค่าเบี้ยประกันแพงขึ้นเป็นประมาณ 290 บาท จากปีก่อนที่คิดเพียง 130 บาท และแบ่งการคุ้มครองออกเป็น 2 ช่วง คือ 60 วันแรกจะจ่ายเงินชดเชย 2,222 บาท และหลังวันที่ 60 จะจ่ายเงินชดเชยให้อีก 1,500 บาท รวมเป็น 3,700 บาทต่อไร่ ทำให้ค่าเบี้ยประกันที่จะคิดจากเกษตรกรสูงขึ้น จึงมองว่าจะเป็นภาระแก่เกษตรมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม หากค่าเบี้ยประกันจะต้องเพิ่มขึ้นเพราะความเสี่ยงจากเหตุอุทกภัยเมื่อปลายปีก่อน รัฐบาลอยู่ระหว่างพิจารณาช่วยเหลือจ่ายค่าเบี้ยประกันแทนเกษตรกรได้มากน้อยเพียงใดและทำได้หรือไม่ เพราะปีก่อนค่าเบี้ยอยู่ที่ 129.47 บาทต่อไร่นั้น รัฐบาลจ่ายให้ 60.47 บาท ที่เหลือเกษตรกรรับผิดชอบเอง หากเป็นลูกค้า ธ.ก.ส.จะจ่ายลดลงเหลือ 50 บาทต่อไร่ โดยบริษัทประกันได้ค่าเบี้ยประกันเพียง 134 ล้านบาท แต่กลับต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนสูงถึง 600 ล้านบาท และขณะนี้ได้ทยอยจ่ายชดเชยให้เกษตรกรไปแล้ว 430 ล้านบาท