ASTVผู้จัดการรายวัน - "โต้ง" ยันโครงการลงทุนพื้นฐานวงเงิน 2.27 ล้านล้านบาทเริ่มลงทุนได้ไตรมาสแรกปี 56 พร้อมเร่งหน่วยงานรับผิดชอบต้นสังกัดวิเคราะห์โครงการภายใน 6 เดือนก่อเสนอร่างกฎหมายเงินกู้เข้าสภา
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง เปิดเผยว่า แผนยุทธศาสตร์ฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศที่จะใช้เงินลงทุน 2.27 ล้านล้านบาทนั้นหน่วยงานทีเกี่ยวข้องโดยเฉพาะกระทรวงคมนาคมเจ้าของโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งทั้งทางบก ทางอากาศและทางน้ำ รวมถึงกระทรวงพลังงาน ต้องเร่งวิเคราะห์โครงการที่เห็นว่ามีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้ที่จะเดินหน้าลงทุนได้เร็วเพื่อเสนอมาให้กระทรวงการคลังพิจารณาในขึ้นต่อไปก่อนจะจัดรวบรวมในร่างพ.ร.บ.กู้เงินเพื่อเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีและรัฐสภาต่อไป คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 6 เดือนจะได้เห็นความชัดเจนของโครงการและวงเงินที่ชัดเจน
ทั้งนี้ มองว่าวงเงินลงทุนที่ตั้งไว้เบื้องต้น 2.27 ล้านครอบคลุมทั้งการลงทุนด้าน พลังงาน สื่อสาร สาธารณูปโภคและการคมนาคมขนส่งที่ทางบกน่าจะใช้เงินมากสุด 1.46 ล้านล้านบาท ส่วนขนส่งทางน้ำและอากาศใช้วงเงินประมาณ 1.48 แสนล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโครงการเดิมที่เคยมีการศึกษาไว้แล้ว เช่น โครงการรถไฟทางคู่ที่ควรเดินหน้าต่อ โครงการรถไฟความเร็วสูง แต่บางส่วนอาจมีโครงการใหม่ เช่นเส้นทางเชื่อมท่าเรือน้ำลึกทวายกับกาญจนบุรีผ่านทางพุน้ำร้อน มองว่ามีความจำเป็นต้องลงทุนเพิ่มเพื่อความสะดวกในการขนส่งสินค้า หรือโครงการเชื่อมเส้นทางแอร์พอร์ต เรลลิงก์จากสุวรรณภูมิกับดอนเมือง และการสร้างสนามบินแห่งที่ 3
"หากโครงการได้รับการอนุมัติ แต่ในขั้นต่อไปไม่ผ่านคณะกรรมการอีไอเอ ที่พิจารณาด้านสิ่งแวดล้อม และไม่ผ่านการพิจารณาของสภาพัฒน์ในแง่ความคุ้มค่าของการลงทุนก็สามารถปรับเปลี่ยนโครงการใหม่ไม่ได้ล้มเลิกไป แต่เชื่อว่าอย่างน้อยในไตรมาสแรกปีหน้าจะเริ่มได้เห็นโครงการเกิดขึ้นเช่นรันเวย์ใหม่ของสนามบินสุวรรณภูมิ" นายกิตติรัตน์ กล่าว
สำหรับการใช้เงินลงทุนจริงนั้นมองว่าอยู่ที่ 1.6 ล้านล้านบาท หรืออย่างมากไม่เกิน 2 ล้านล้านบาท ดำเนินโครงการภายใน 7 ปี โดยส่วนใหญ่จะมาจากเงินกู้ เงินงบประมาณและเงินของรัฐวิสาหกิจเอง ที่เหลือมาจากการลงทุนของภาคเอกชนหรือการร่วมทุนในรูปแบบของพีพีพี ซึ่งรัฐบาลจะพยายามไม่ใช้เงินกู้จากต่างประเทศ นอกเหนือจากการกู้เพื่อใช้ในโครงการที่มีรายได้เป็นเงินตราต่างประเทศรองรับในอนาคต เช่น ลงทุนท่าเรือ การจัดซื้อเครื่องบิน เป็นต้น และเป็นการกู้เพื่อรักษาสถานะของไทยในเวทีโลก เช่นการเป็นสมาชิกของธนาคารโลก และธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย(เอดีบี) เป็นต้น รวมทั้งการออกพันธบัตรในต่างประเทศ เพื่อรักษาอันดับความน่าเชื่อถือจากสถาบันจัดอันดับ เป็นต้น
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง เปิดเผยว่า แผนยุทธศาสตร์ฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศที่จะใช้เงินลงทุน 2.27 ล้านล้านบาทนั้นหน่วยงานทีเกี่ยวข้องโดยเฉพาะกระทรวงคมนาคมเจ้าของโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งทั้งทางบก ทางอากาศและทางน้ำ รวมถึงกระทรวงพลังงาน ต้องเร่งวิเคราะห์โครงการที่เห็นว่ามีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้ที่จะเดินหน้าลงทุนได้เร็วเพื่อเสนอมาให้กระทรวงการคลังพิจารณาในขึ้นต่อไปก่อนจะจัดรวบรวมในร่างพ.ร.บ.กู้เงินเพื่อเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีและรัฐสภาต่อไป คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 6 เดือนจะได้เห็นความชัดเจนของโครงการและวงเงินที่ชัดเจน
ทั้งนี้ มองว่าวงเงินลงทุนที่ตั้งไว้เบื้องต้น 2.27 ล้านครอบคลุมทั้งการลงทุนด้าน พลังงาน สื่อสาร สาธารณูปโภคและการคมนาคมขนส่งที่ทางบกน่าจะใช้เงินมากสุด 1.46 ล้านล้านบาท ส่วนขนส่งทางน้ำและอากาศใช้วงเงินประมาณ 1.48 แสนล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโครงการเดิมที่เคยมีการศึกษาไว้แล้ว เช่น โครงการรถไฟทางคู่ที่ควรเดินหน้าต่อ โครงการรถไฟความเร็วสูง แต่บางส่วนอาจมีโครงการใหม่ เช่นเส้นทางเชื่อมท่าเรือน้ำลึกทวายกับกาญจนบุรีผ่านทางพุน้ำร้อน มองว่ามีความจำเป็นต้องลงทุนเพิ่มเพื่อความสะดวกในการขนส่งสินค้า หรือโครงการเชื่อมเส้นทางแอร์พอร์ต เรลลิงก์จากสุวรรณภูมิกับดอนเมือง และการสร้างสนามบินแห่งที่ 3
"หากโครงการได้รับการอนุมัติ แต่ในขั้นต่อไปไม่ผ่านคณะกรรมการอีไอเอ ที่พิจารณาด้านสิ่งแวดล้อม และไม่ผ่านการพิจารณาของสภาพัฒน์ในแง่ความคุ้มค่าของการลงทุนก็สามารถปรับเปลี่ยนโครงการใหม่ไม่ได้ล้มเลิกไป แต่เชื่อว่าอย่างน้อยในไตรมาสแรกปีหน้าจะเริ่มได้เห็นโครงการเกิดขึ้นเช่นรันเวย์ใหม่ของสนามบินสุวรรณภูมิ" นายกิตติรัตน์ กล่าว
สำหรับการใช้เงินลงทุนจริงนั้นมองว่าอยู่ที่ 1.6 ล้านล้านบาท หรืออย่างมากไม่เกิน 2 ล้านล้านบาท ดำเนินโครงการภายใน 7 ปี โดยส่วนใหญ่จะมาจากเงินกู้ เงินงบประมาณและเงินของรัฐวิสาหกิจเอง ที่เหลือมาจากการลงทุนของภาคเอกชนหรือการร่วมทุนในรูปแบบของพีพีพี ซึ่งรัฐบาลจะพยายามไม่ใช้เงินกู้จากต่างประเทศ นอกเหนือจากการกู้เพื่อใช้ในโครงการที่มีรายได้เป็นเงินตราต่างประเทศรองรับในอนาคต เช่น ลงทุนท่าเรือ การจัดซื้อเครื่องบิน เป็นต้น และเป็นการกู้เพื่อรักษาสถานะของไทยในเวทีโลก เช่นการเป็นสมาชิกของธนาคารโลก และธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย(เอดีบี) เป็นต้น รวมทั้งการออกพันธบัตรในต่างประเทศ เพื่อรักษาอันดับความน่าเชื่อถือจากสถาบันจัดอันดับ เป็นต้น