สวนดุสิตโพลชี้ ประชาชนร้อยละ 81.67 เห็นด้วยกับการวินิจฉัยของศาลรธน. และเห็นควรชะลอการแก้ไข รธน.ออกไปก่อน เพราะไม่อยากเห็นบ้านเมืองวุ่นวาย ด้านเอแบคโพล ซัดนักการเมืองเอาแต่ประโยชน์ส่วนตน ไม่ฟังเสียงชาวบ้าน
จากสถานการณ์ที่รอคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทำให้บรรยากาศทางการเมืองที่ผ่านมาค่อนข้างตึงเครียด แต่เมื่อมีการวินิจฉัยออกมาแล้ว ก็ยังมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆ นานา
โดย“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้สะท้อนความคิดเห็นของประชาชนทุกสาขาอาชีพ ที่เป็นตัวแทนของภูมิภาคต่างๆ ในหัวข้อ ควันหลงกรณีการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ โดยสุ่มตามจังหวัดใหญ่ 14 จ.ทั่วประเทศ จำนวน 1,262 คน ภายหลังจากที่การวินิจฉัยเสร็จสิ้นลง ระหว่างวันที่ 13-14 ก.ค.55 โดย1.ประชาชนมีความคิดเห็นอย่างไร ต่อการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่ง อันดับ1 โล่งใจ เบาใจที่ไม่มีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้น / ช่วยให้บรรยากาศทางการเมืองดีขึ้น / สถานการณ์ต่างๆ ที่หลายฝ่ายวิตกกังวลคลี่คลายลงถึงร้อยละ 62.55 ขอให้ทุกฝ่ายยอมรับและเคารพในการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญร้อย 18.52 แต่ก็ยังมีร้อยละ 11.93 ที่ระบุว่า ต้องรอดูว่า รัฐบาลจะเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญต่อไปอย่างไร
2. ประชาชนเห็นด้วยกับการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่ โดยร้อยละ 81.67 เห็นด้วย เพราะเป็นการตัดสินที่ช่วยสร้างบรรยากาศของบ้านเมืองให้ดีขึ้น ไม่มีการปะทะกัน หรือมีความรุนแรงเกิดขึ้นตามที่หลายๆ ฝ่ายคาดการณ์ไว้ เป็นการตัดสินที่ว่าไปตามตัวบทกฎหมาย ฯลฯ
3 ประชาชนคิดว่าเรื่องของการแก้ไขรัฐธรรมนูญควรจะดำเนินการอย่างไรร้อยละ 45.91 ระบุว่าควรชะลอไปก่อน เพราะไม่อยากเห็นบ้านเมืองวุ่นวาย สังคมขาดความสงบสุข, ยังมีปัญหาอื่นๆ อีกมากที่รัฐบาลควรให้ความสำคัญและเร่งแก้อย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะเรื่องความเดือดร้อนของประชาชน การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ หรือการป้องกันนํ้าท่วม ซึ่งเป็นภารกิจหลักที่แท้จริงของรัฐบาล ฯลฯ
ขณะที่ร้อยละ 35.13 ควรเดินหน้าต่อไป เพราะรัฐบาลจะได้เดินหน้าบริหารบ้านเมืองต่อไปได้อย่างเต็มที่, บางมาตราสมควรแก้ไขเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน ฯลฯ
ส่วนมุมมองจากการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ มีผลต่อความปรองดองของคนในชาติมากน้อยเพียงใดร้อยละ 42.57ระบุว่ามีผลอยู่บ้าง เพราะการแก้รัฐธรรมนูญเป็นปัญหาใหญ่และมีความสำคัญต่อการเมืองไทย เป็นเรื่องที่นักการเมืองต่างหยิบยกขึ้นมาทะเลาะกัน ฯลฯ และมีร้อยละ 17.47 ระบุ ไม่ค่อยมีผลร้อยละ 17.47 เพราะสังคมทุกวันนี้แตกแยกออกเป็นหลายกลุ่มอย่างชัดเจน ยังคงมีอีกหลายประเด็นที่เป็นปัญหาอยู่ในขณะนี้ ยากที่จะสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นได้ ฯลฯและ
4. ประชาชนคิดว่า “การเมือง” หลังจากนี้จะเป็นอย่างไร โดยระบุว่า ยังคงขัดแย้ง ทะเลาะเบาะแว้งกันเหมือนเดิม / ต่างฝ่ายต่างเล่นเกมการเมืองกันต่อไปร้อยละ 64.15
***เอแบคโพลชี้นักการเมืองไม่ฟังปชช.
ด้าน ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่องคนติดตามข่าวการเมืองคิดอย่างไรต่อผลการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ กับบทบาทของนายกรัฐมนตรีหญิงที่ประชาชนอยากได้เพื่อให้ประเทศไทยก้าวไปข้างหน้า กรณีศึกษาตัวอย่างเฉพาะคนที่ติดตามข่าวการเมืองใน 17 จังหวัดของประเทศ พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 61.4 ยอมรับและทราบผลการตัดสินของศาลฯ นอกจากผลสำรวจยังพบด้วยว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 57.2 มีความสุขมากถึงมากที่สุด หลังฟังผลการตัดสินของศาลฯ เพราะไม่มีเหตุการณ์รุนแรงบานปลาย และผลการตัดสินมีเหตุมีผลรับฟังได้
ที่น่าพิจารณาคือ เมื่อถามประชาชนว่า ประเทศไทยควรเดินไปในทิศทางใดหลังศาลรัฐธรรมนูญตัดสิน ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 72.8 อยากให้เลิกแบ่งสี แบ่งฝ่าย ทุกคนคือคนไทยด้วยกัน รองลงมาคือร้อยละ 72.6 อยากให้คนไทยรักกัน ก้าวสู่ความปรองดอง ร้อยละ 70.4 อยากให้เลิกเอาสถาบันพระมหากษัตริย์มายุ่งเกี่ยวกับการเมือง ร้อยละ 69.9 อยากให้ทุกคนที่อยู่ในประเทศไทยรู้บุญคุณกตัญญูต่อแผ่นดินไทย ร้อยละ 67.4 อยากให้ทุกคนรู้สิทธิและหน้าที่ที่ถูกต้องตามกฎหมาย และร้อยละ 66.4 อยากให้ฝ่ายการเมืองร่วมกันพัฒนาประเทศ เน้นนโยบายสาธารณะมากกว่าแย่งชิงอำนาจกัน
เมื่อพิจารณาผลวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึกกลุ่มคนที่อยากให้ฝ่ายการเมืองแข่งขันกันเชิงนโยบายสาธารณะ พบว่า ส่วนใหญ่พอใจต่อท่าทีของนายกรัฐมนตรีต่อประเด็นขัดแย้งทางการเมืองโดยไม่ได้มองว่านายกรัฐมนตรีลอยตัวเหนือปัญหาขัดแย้งทางการเมือง เพราะชาวบ้านส่วนใหญ่อยากเห็นนายกรัฐมนตรีทำงานเชิงนโยบายแก้ปัญหาเดือดร้อนของสาธารณชนมากกว่าเพื่อให้ประเทศไทยก้าวไปข้างหน้า
ที่น่าเป็นห่วงต่อสถานการณ์การเมือง คือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 57.9 กังวลต่อปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองจะรุนแรงบานปลายหลังการตัดสินของศาลฯ เพราะเวลานี้ฝ่ายการเมืองมุ่งแย่งชิงอำนาจกันไม่ฟังเสียงชาวบ้านส่วนใหญ่ ต่างฝ่ายต่างไม่ยอมถอย แต่ละฝ่ายมีเป้าหมายแอบแฝงที่ต้องแก้ให้ได้ มุ่งผลประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้อง จะเอาการแก้รัฐธรรมนูญเป็นทางผ่านเข้าสู่อำนาจและเอาตัวรอด.
จากสถานการณ์ที่รอคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทำให้บรรยากาศทางการเมืองที่ผ่านมาค่อนข้างตึงเครียด แต่เมื่อมีการวินิจฉัยออกมาแล้ว ก็ยังมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆ นานา
โดย“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้สะท้อนความคิดเห็นของประชาชนทุกสาขาอาชีพ ที่เป็นตัวแทนของภูมิภาคต่างๆ ในหัวข้อ ควันหลงกรณีการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ โดยสุ่มตามจังหวัดใหญ่ 14 จ.ทั่วประเทศ จำนวน 1,262 คน ภายหลังจากที่การวินิจฉัยเสร็จสิ้นลง ระหว่างวันที่ 13-14 ก.ค.55 โดย1.ประชาชนมีความคิดเห็นอย่างไร ต่อการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่ง อันดับ1 โล่งใจ เบาใจที่ไม่มีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้น / ช่วยให้บรรยากาศทางการเมืองดีขึ้น / สถานการณ์ต่างๆ ที่หลายฝ่ายวิตกกังวลคลี่คลายลงถึงร้อยละ 62.55 ขอให้ทุกฝ่ายยอมรับและเคารพในการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญร้อย 18.52 แต่ก็ยังมีร้อยละ 11.93 ที่ระบุว่า ต้องรอดูว่า รัฐบาลจะเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญต่อไปอย่างไร
2. ประชาชนเห็นด้วยกับการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่ โดยร้อยละ 81.67 เห็นด้วย เพราะเป็นการตัดสินที่ช่วยสร้างบรรยากาศของบ้านเมืองให้ดีขึ้น ไม่มีการปะทะกัน หรือมีความรุนแรงเกิดขึ้นตามที่หลายๆ ฝ่ายคาดการณ์ไว้ เป็นการตัดสินที่ว่าไปตามตัวบทกฎหมาย ฯลฯ
3 ประชาชนคิดว่าเรื่องของการแก้ไขรัฐธรรมนูญควรจะดำเนินการอย่างไรร้อยละ 45.91 ระบุว่าควรชะลอไปก่อน เพราะไม่อยากเห็นบ้านเมืองวุ่นวาย สังคมขาดความสงบสุข, ยังมีปัญหาอื่นๆ อีกมากที่รัฐบาลควรให้ความสำคัญและเร่งแก้อย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะเรื่องความเดือดร้อนของประชาชน การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ หรือการป้องกันนํ้าท่วม ซึ่งเป็นภารกิจหลักที่แท้จริงของรัฐบาล ฯลฯ
ขณะที่ร้อยละ 35.13 ควรเดินหน้าต่อไป เพราะรัฐบาลจะได้เดินหน้าบริหารบ้านเมืองต่อไปได้อย่างเต็มที่, บางมาตราสมควรแก้ไขเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน ฯลฯ
ส่วนมุมมองจากการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ มีผลต่อความปรองดองของคนในชาติมากน้อยเพียงใดร้อยละ 42.57ระบุว่ามีผลอยู่บ้าง เพราะการแก้รัฐธรรมนูญเป็นปัญหาใหญ่และมีความสำคัญต่อการเมืองไทย เป็นเรื่องที่นักการเมืองต่างหยิบยกขึ้นมาทะเลาะกัน ฯลฯ และมีร้อยละ 17.47 ระบุ ไม่ค่อยมีผลร้อยละ 17.47 เพราะสังคมทุกวันนี้แตกแยกออกเป็นหลายกลุ่มอย่างชัดเจน ยังคงมีอีกหลายประเด็นที่เป็นปัญหาอยู่ในขณะนี้ ยากที่จะสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นได้ ฯลฯและ
4. ประชาชนคิดว่า “การเมือง” หลังจากนี้จะเป็นอย่างไร โดยระบุว่า ยังคงขัดแย้ง ทะเลาะเบาะแว้งกันเหมือนเดิม / ต่างฝ่ายต่างเล่นเกมการเมืองกันต่อไปร้อยละ 64.15
***เอแบคโพลชี้นักการเมืองไม่ฟังปชช.
ด้าน ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่องคนติดตามข่าวการเมืองคิดอย่างไรต่อผลการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ กับบทบาทของนายกรัฐมนตรีหญิงที่ประชาชนอยากได้เพื่อให้ประเทศไทยก้าวไปข้างหน้า กรณีศึกษาตัวอย่างเฉพาะคนที่ติดตามข่าวการเมืองใน 17 จังหวัดของประเทศ พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 61.4 ยอมรับและทราบผลการตัดสินของศาลฯ นอกจากผลสำรวจยังพบด้วยว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 57.2 มีความสุขมากถึงมากที่สุด หลังฟังผลการตัดสินของศาลฯ เพราะไม่มีเหตุการณ์รุนแรงบานปลาย และผลการตัดสินมีเหตุมีผลรับฟังได้
ที่น่าพิจารณาคือ เมื่อถามประชาชนว่า ประเทศไทยควรเดินไปในทิศทางใดหลังศาลรัฐธรรมนูญตัดสิน ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 72.8 อยากให้เลิกแบ่งสี แบ่งฝ่าย ทุกคนคือคนไทยด้วยกัน รองลงมาคือร้อยละ 72.6 อยากให้คนไทยรักกัน ก้าวสู่ความปรองดอง ร้อยละ 70.4 อยากให้เลิกเอาสถาบันพระมหากษัตริย์มายุ่งเกี่ยวกับการเมือง ร้อยละ 69.9 อยากให้ทุกคนที่อยู่ในประเทศไทยรู้บุญคุณกตัญญูต่อแผ่นดินไทย ร้อยละ 67.4 อยากให้ทุกคนรู้สิทธิและหน้าที่ที่ถูกต้องตามกฎหมาย และร้อยละ 66.4 อยากให้ฝ่ายการเมืองร่วมกันพัฒนาประเทศ เน้นนโยบายสาธารณะมากกว่าแย่งชิงอำนาจกัน
เมื่อพิจารณาผลวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึกกลุ่มคนที่อยากให้ฝ่ายการเมืองแข่งขันกันเชิงนโยบายสาธารณะ พบว่า ส่วนใหญ่พอใจต่อท่าทีของนายกรัฐมนตรีต่อประเด็นขัดแย้งทางการเมืองโดยไม่ได้มองว่านายกรัฐมนตรีลอยตัวเหนือปัญหาขัดแย้งทางการเมือง เพราะชาวบ้านส่วนใหญ่อยากเห็นนายกรัฐมนตรีทำงานเชิงนโยบายแก้ปัญหาเดือดร้อนของสาธารณชนมากกว่าเพื่อให้ประเทศไทยก้าวไปข้างหน้า
ที่น่าเป็นห่วงต่อสถานการณ์การเมือง คือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 57.9 กังวลต่อปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองจะรุนแรงบานปลายหลังการตัดสินของศาลฯ เพราะเวลานี้ฝ่ายการเมืองมุ่งแย่งชิงอำนาจกันไม่ฟังเสียงชาวบ้านส่วนใหญ่ ต่างฝ่ายต่างไม่ยอมถอย แต่ละฝ่ายมีเป้าหมายแอบแฝงที่ต้องแก้ให้ได้ มุ่งผลประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้อง จะเอาการแก้รัฐธรรมนูญเป็นทางผ่านเข้าสู่อำนาจและเอาตัวรอด.