“IMF”พบ “ยิ่งลักษณ์”ถกความเห็นรับมือวิกฤตยูโร จับตา"โต้ง"เข้าทางขอกู้ 2 ล้านล้านลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ด้านผู้ว่าธปท.เผยไอเอ็มเอฟยังมองภูมิภาคเอเชียเชิงบวกที่เห็นการเติบโตต่อไปได้ แนะบางประเทศที่พึ่งพาส่งออกสูง ควรเน้นปฏิรูปการลงทุนมากขึ้น พรัอมรับเกิดวิกฤติยูโรส่งผลให้เงินสำรองฯ ในรูปยูโรที่ฝากไว้กับไอบีเอสมีผลตอบแทนติดลบ
วานนี้(12 ก.ค.55) เวลา 13.30 น. นางคริสติน ลาการ์ด (Christine Lagarde) กรรมการจัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund – IMF) และคณะเข้าเยี่ยมคารวะ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ณ ห้องสีม่วง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล โดยฝ่ายไทย มีผู้เข้าร่วมได้แก่ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
นางสาวยิ่งลักษณ์ได้กล่าวถึงสถานการณ์เศรษฐกิจไทย ว่าได้กลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้วภายหลังประสบวิกฤตอุทกภัยในปีที่ผ่านมา โดยอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจปีนี้ดีกว่าที่ได้คาดการณ์ไว้
นางลาการ์ด กล่าวว่าได้ติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจไทย และได้เห็นถึงพัฒนาการที่ดีมาก พร้อมกับชื่มชมนายกรัฐมนตรีที่สามารถนำพาประเทศผ่านพ้นวิกฤตได้แม้เพิ่งรับตำแหน่งได้เพียง 1 ปี
ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้สอบถามความเห็นของ IMF เกี่ยวกับสถานการณ์วิกฤตการเงินในเขตยูโร รวมทั้งการดำเนินการของ IMF และนายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงมาตรการเพื่อป้องกันผลกระทบจากวิกฤตดังกล่าวของประเทศไทย โดยเฉพาะภาคการส่งออก ซึ่งได้รับผลกระทบจากการลดลงของอุปสงค์โลกโดยตรง นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีได้ตั้งคณะทำงานพิเศษเพื่อติดตามผลกระทบในเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด เพื่อให้ไทยสามารถรับมือได้อย่างทันท่วงที
**ส่อเข้าทางขอกู้ 2 ล้านล้านบาท**
ผู้สือข่าวรายงานว่า สิ่งที่เป็นที่น่าจับตามองคือการที่ Ms.Christine Lagarde MD.IMF เข้าพบ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรอาจจะเข้ามาสอบถามถึงความคืบหน้าในการจะขอกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท โดยนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง มีแนวคิดที่จะกู้เงินผ่านการออกพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) กู้เงินเพื่อลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน วงเงินประมาณ 1.6 - 2 ล้านล้านบาท ในระยะเวลา 7 ปีข้างหน้า โดยคาดว่าจะนำเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาใน อีก 6 เดือนข้างหน้า เพื่อให้การลงทุนในโครงการสำคัญต่างๆ เช่น รถไฟฟ้า การพัฒนาสนามบิน ท่าเรือ
**IMFเตือนไทยลดพึ่งพาส่งออก**
นอกจากนี้ ในการจัดสัมมนาร่วมกับธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย(เอดีบี) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ) ภายใต้หัวข้อ "เดินทางสู่เสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจโลก" โดยงานจัดขึ้นที่โรงแรมแกรนด์ไฮแอท เอราวัณ
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยที่ค่อนข้างเปิดและมีการเชื่อมโยงระบบเศรษฐกิจโลกด้วย จึงเป็นเรื่องยากที่จะหาจุดสมดุลระหว่างความเสี่ยงและผลตอบแทนของการลงทุน หรือหาจุดสมดุลของความมีเสถียรภาพและการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ โดยขณะนี้ธนาคารกลางทั่วโลกพยายามเพิ่มเครื่องมือของตัวเองในการทำงาน ซึ่งจะเห็นว่าปรากฎการณ์ที่เป็นนโยบายแปลก ก็กลับเป็นไม่ไม่เรื่องแปลกอีกต่อไป แต่สิ่งที่ต้องติดตามคือ ผลที่ตามมานโยบายใหม่ๆ เหล่านี้จะมีผลอย่างไรต่อประเทศเอเชีย และจะได้ผลมากน้อยแค่ไหนกับประเทศที่ดำเนินการ
"ปัจจุบันเรามีการบริหารจัดการเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ซึ่งมีการถือเงินสกุลหลักอย่างดอลลาร์สหรัฐ ยูโร เงิน เยน ซึ่งขณะนี้หากนำเงินสำรองฯ ในรูปยูโรไปฝากที่ธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ(บีไอเอส) ผลตอบแทนจะติดลบ เพราะทางบีไอเอสจะคิดค่าธรรมเนียมในการฝาก ถือเป็นต้นทุนอย่างหนึ่ง ขณะเดียวกันเราก็ต้องถือเงินยูโรไว้ เพื่อการค้าขายระหว่างกันทำให้มีความท้าทายอย่างหนึ่งในการบริหารเงินทุนสำรองฯ อีกทั้ง ช่วงวิกฤตที่มีความเสี่ยงหรือนโยบายต่างๆ จะสวิงจากฝั่งหนึ่งไปอีกฝั่งหนึ่งอย่างไร"ผู้ว่าการธปท.กล่าว
ผู้ว่าการธปท.กล่าวเพิ่มเติมว่า ทางไอเอ็มเอฟมีมุมมองความเสี่ยงหนี้สินที่สูง โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา ทำให้เป็นอุปสรรคการฟื้นตัวเศรษฐกิจสหรัฐ ขณะที่ยูโรก็มีปัญหาที่ตลาดการเงินไม่เชื่อมั่นว่าจะมีการรวมโซนแบบเดิมต่อไปหรือไม่ แต่ในส่วนของภูมิภาคเอเชียยังคงมีความรู้สึกในเชิงบวก คือ เห็นว่าเศรษฐกิจยังคงสามารถเติบโตได้ แม้อาจจะได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกบ้าง จึงเห็นว่าควรมีการประสานงานที่ดีของแต่ละประเทศ เพราะเมื่อประสบปัญหา แต่ละประเทศจะออกมาตรการมาแก้ไขปัญหา ทำให้มาตรการเหล่านี้อาจกระทบประเทศอื่นด้วย
ทั้งนี้ ทางไอเอ็มเอฟไม่ได้หวังให้เศรษฐกิจเอเชียเป็นตัวผลักดันเศรษฐกิจโลก เพราะเห็นว่าเศรษฐกิจเอเชียยังเล็กอยู่ แต่มองเชิงรักษาเสถียรภาพภายในกระจายรายได้หรือโอกาส เพื่อให้ประชากรระดับล่างมีส่วนร่วมทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจของเอเชีย ซึ่งเรื่องการเงินจะช่วยสนับสนุนให้คนได้รับประโยชน์การเติบโตเศรษฐกิจ แต่ต้องอาศัยความมีส่วนร่วมและสร้างความรู้ควบคู่กันไปด้วย ดังนั้น การกระจายรายได้ให้เกิดความเท่าเทียมกัน ภาครัฐควรมีส่วนร่วมจะรอภาคเอกชนอย่างเดียวไมได้ จึงควรวางพื้นฐานให้ดีกว่าแจกเงินสดช่วงเวลาสั้นๆ ซึ่งไม่ใช่วัตถุประสงค์แท้จริง
อย่างไรก็ตาม ไอเอ็มเอฟไม่ได้แสดงความเป็นห่วงเป็นการเฉพาะในส่วนของเศรษฐกิจไทย แต่มีความกังวลต่อภูมิภาคเอเชียบ้าง เนื่องจากแต่ละประเทศจะมีสถานการณ์แตกต่างกันออกไป ทำให้แต่ละประเทศควรติดตามสถานการณ์โลก เพื่อเตรียมตัวให้พร้อมรับมือ ซึ่งขณะนี้เท่าที่เห็นแต่ละประเทศเอเชียมีแนวทางปรับตัวแตกต่างกัน อาทิ ประเทศจีนเน้นการลงทุนเป็นจำนวนมากในช่วงที่ผ่านมาแต่ระยะต่อไปเน้นการอุปโภคบริโภค เพื่อช่วยรักษาความสมดุลเศรษฐกิจโลก ขณะเดียวกันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กลับกันมีการลงทุนน้อย จึงเน้นปฏิรูปการลงทุนมากขึ้น
ด้านนางคริสติน ลาการ์ด กรรมการจัดการ ไอเอ็มเอฟ กล่าวว่า จีนและอินเดียยังคงเป็น 2 เสาหลักที่สำคัญที่จะสามารถรักษาการเติบโตในเอเชียได้ แต่ที่น่าเป็นห่วงภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทย เป็นกลุ่มประเทศขนาดเล็กและเศรษฐกิจค่อนข้างเปิดเสรีและมีการพึ่งพาการส่งออกค่อนข้างมาก เมื่อส่งออกลดลง เงินทุนไหลเข้าออกผันผวน ทำให้ประเทศเหล่านี้ปรับตัวได้ยาก โดยเฉพาะเมื่อเศรษฐกิจโลกมีปัญหา แตกต่างกับจีนและอินเดีย แม้พึ่งพาการส่งออกมาก แต่ไม่ได้เปิดประเทศมากนัก ทำให้ด้านการเงินไม่ผันผวนไม่มาก
วานนี้(12 ก.ค.55) เวลา 13.30 น. นางคริสติน ลาการ์ด (Christine Lagarde) กรรมการจัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund – IMF) และคณะเข้าเยี่ยมคารวะ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ณ ห้องสีม่วง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล โดยฝ่ายไทย มีผู้เข้าร่วมได้แก่ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
นางสาวยิ่งลักษณ์ได้กล่าวถึงสถานการณ์เศรษฐกิจไทย ว่าได้กลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้วภายหลังประสบวิกฤตอุทกภัยในปีที่ผ่านมา โดยอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจปีนี้ดีกว่าที่ได้คาดการณ์ไว้
นางลาการ์ด กล่าวว่าได้ติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจไทย และได้เห็นถึงพัฒนาการที่ดีมาก พร้อมกับชื่มชมนายกรัฐมนตรีที่สามารถนำพาประเทศผ่านพ้นวิกฤตได้แม้เพิ่งรับตำแหน่งได้เพียง 1 ปี
ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้สอบถามความเห็นของ IMF เกี่ยวกับสถานการณ์วิกฤตการเงินในเขตยูโร รวมทั้งการดำเนินการของ IMF และนายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงมาตรการเพื่อป้องกันผลกระทบจากวิกฤตดังกล่าวของประเทศไทย โดยเฉพาะภาคการส่งออก ซึ่งได้รับผลกระทบจากการลดลงของอุปสงค์โลกโดยตรง นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีได้ตั้งคณะทำงานพิเศษเพื่อติดตามผลกระทบในเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด เพื่อให้ไทยสามารถรับมือได้อย่างทันท่วงที
**ส่อเข้าทางขอกู้ 2 ล้านล้านบาท**
ผู้สือข่าวรายงานว่า สิ่งที่เป็นที่น่าจับตามองคือการที่ Ms.Christine Lagarde MD.IMF เข้าพบ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรอาจจะเข้ามาสอบถามถึงความคืบหน้าในการจะขอกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท โดยนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง มีแนวคิดที่จะกู้เงินผ่านการออกพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) กู้เงินเพื่อลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน วงเงินประมาณ 1.6 - 2 ล้านล้านบาท ในระยะเวลา 7 ปีข้างหน้า โดยคาดว่าจะนำเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาใน อีก 6 เดือนข้างหน้า เพื่อให้การลงทุนในโครงการสำคัญต่างๆ เช่น รถไฟฟ้า การพัฒนาสนามบิน ท่าเรือ
**IMFเตือนไทยลดพึ่งพาส่งออก**
นอกจากนี้ ในการจัดสัมมนาร่วมกับธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย(เอดีบี) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ) ภายใต้หัวข้อ "เดินทางสู่เสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจโลก" โดยงานจัดขึ้นที่โรงแรมแกรนด์ไฮแอท เอราวัณ
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยที่ค่อนข้างเปิดและมีการเชื่อมโยงระบบเศรษฐกิจโลกด้วย จึงเป็นเรื่องยากที่จะหาจุดสมดุลระหว่างความเสี่ยงและผลตอบแทนของการลงทุน หรือหาจุดสมดุลของความมีเสถียรภาพและการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ โดยขณะนี้ธนาคารกลางทั่วโลกพยายามเพิ่มเครื่องมือของตัวเองในการทำงาน ซึ่งจะเห็นว่าปรากฎการณ์ที่เป็นนโยบายแปลก ก็กลับเป็นไม่ไม่เรื่องแปลกอีกต่อไป แต่สิ่งที่ต้องติดตามคือ ผลที่ตามมานโยบายใหม่ๆ เหล่านี้จะมีผลอย่างไรต่อประเทศเอเชีย และจะได้ผลมากน้อยแค่ไหนกับประเทศที่ดำเนินการ
"ปัจจุบันเรามีการบริหารจัดการเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ซึ่งมีการถือเงินสกุลหลักอย่างดอลลาร์สหรัฐ ยูโร เงิน เยน ซึ่งขณะนี้หากนำเงินสำรองฯ ในรูปยูโรไปฝากที่ธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ(บีไอเอส) ผลตอบแทนจะติดลบ เพราะทางบีไอเอสจะคิดค่าธรรมเนียมในการฝาก ถือเป็นต้นทุนอย่างหนึ่ง ขณะเดียวกันเราก็ต้องถือเงินยูโรไว้ เพื่อการค้าขายระหว่างกันทำให้มีความท้าทายอย่างหนึ่งในการบริหารเงินทุนสำรองฯ อีกทั้ง ช่วงวิกฤตที่มีความเสี่ยงหรือนโยบายต่างๆ จะสวิงจากฝั่งหนึ่งไปอีกฝั่งหนึ่งอย่างไร"ผู้ว่าการธปท.กล่าว
ผู้ว่าการธปท.กล่าวเพิ่มเติมว่า ทางไอเอ็มเอฟมีมุมมองความเสี่ยงหนี้สินที่สูง โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา ทำให้เป็นอุปสรรคการฟื้นตัวเศรษฐกิจสหรัฐ ขณะที่ยูโรก็มีปัญหาที่ตลาดการเงินไม่เชื่อมั่นว่าจะมีการรวมโซนแบบเดิมต่อไปหรือไม่ แต่ในส่วนของภูมิภาคเอเชียยังคงมีความรู้สึกในเชิงบวก คือ เห็นว่าเศรษฐกิจยังคงสามารถเติบโตได้ แม้อาจจะได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกบ้าง จึงเห็นว่าควรมีการประสานงานที่ดีของแต่ละประเทศ เพราะเมื่อประสบปัญหา แต่ละประเทศจะออกมาตรการมาแก้ไขปัญหา ทำให้มาตรการเหล่านี้อาจกระทบประเทศอื่นด้วย
ทั้งนี้ ทางไอเอ็มเอฟไม่ได้หวังให้เศรษฐกิจเอเชียเป็นตัวผลักดันเศรษฐกิจโลก เพราะเห็นว่าเศรษฐกิจเอเชียยังเล็กอยู่ แต่มองเชิงรักษาเสถียรภาพภายในกระจายรายได้หรือโอกาส เพื่อให้ประชากรระดับล่างมีส่วนร่วมทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจของเอเชีย ซึ่งเรื่องการเงินจะช่วยสนับสนุนให้คนได้รับประโยชน์การเติบโตเศรษฐกิจ แต่ต้องอาศัยความมีส่วนร่วมและสร้างความรู้ควบคู่กันไปด้วย ดังนั้น การกระจายรายได้ให้เกิดความเท่าเทียมกัน ภาครัฐควรมีส่วนร่วมจะรอภาคเอกชนอย่างเดียวไมได้ จึงควรวางพื้นฐานให้ดีกว่าแจกเงินสดช่วงเวลาสั้นๆ ซึ่งไม่ใช่วัตถุประสงค์แท้จริง
อย่างไรก็ตาม ไอเอ็มเอฟไม่ได้แสดงความเป็นห่วงเป็นการเฉพาะในส่วนของเศรษฐกิจไทย แต่มีความกังวลต่อภูมิภาคเอเชียบ้าง เนื่องจากแต่ละประเทศจะมีสถานการณ์แตกต่างกันออกไป ทำให้แต่ละประเทศควรติดตามสถานการณ์โลก เพื่อเตรียมตัวให้พร้อมรับมือ ซึ่งขณะนี้เท่าที่เห็นแต่ละประเทศเอเชียมีแนวทางปรับตัวแตกต่างกัน อาทิ ประเทศจีนเน้นการลงทุนเป็นจำนวนมากในช่วงที่ผ่านมาแต่ระยะต่อไปเน้นการอุปโภคบริโภค เพื่อช่วยรักษาความสมดุลเศรษฐกิจโลก ขณะเดียวกันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กลับกันมีการลงทุนน้อย จึงเน้นปฏิรูปการลงทุนมากขึ้น
ด้านนางคริสติน ลาการ์ด กรรมการจัดการ ไอเอ็มเอฟ กล่าวว่า จีนและอินเดียยังคงเป็น 2 เสาหลักที่สำคัญที่จะสามารถรักษาการเติบโตในเอเชียได้ แต่ที่น่าเป็นห่วงภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทย เป็นกลุ่มประเทศขนาดเล็กและเศรษฐกิจค่อนข้างเปิดเสรีและมีการพึ่งพาการส่งออกค่อนข้างมาก เมื่อส่งออกลดลง เงินทุนไหลเข้าออกผันผวน ทำให้ประเทศเหล่านี้ปรับตัวได้ยาก โดยเฉพาะเมื่อเศรษฐกิจโลกมีปัญหา แตกต่างกับจีนและอินเดีย แม้พึ่งพาการส่งออกมาก แต่ไม่ได้เปิดประเทศมากนัก ทำให้ด้านการเงินไม่ผันผวนไม่มาก