“กิจธวัช” นายกสมาคมการขายตรงไทยคนใหม่ พร้อมสานต่อนโยบาย ผลักดันธุรกิจเครือข่ายสู่การยอมรับในทุกภาคส่วน ชี้เปิดเออีซี โอกาสโลคอลรายเล็กบุกตลาดต่างประเทศ พร้อมมองคำวินิจฉัยจากศาลรัฐธรรมนูญ ศุกร์ 13 นี้ มีผลต่ออุตสาหกรรมขายตรงในแง่จิตวิทยาเพียงระยะสั้นเท่านั้น มั่นใจทั้งปีตลาดขายตรงยังเติบโตที่ 7-8% จากมูลค่า 60,000 ล้านบาท
นายกิจธวัช ฤทธีราวี นายกสมาคมไทย เปิดเผยว่า ในวาระที่ตนได้เข้ามาดำรงตำแหน่งนายกสมาคมการขายตรงไทย ระหว่างเดือนก.ค. 2555-มิ.ย.2557 นี้ ตนพร้อมจะทำหน้าที่ให้ดีที่สุด เพื่อนำพาสมาคมฯสู่ความแข็งแกร่งยิ่งๆขึ้นไป บนวิสัยทัศน์ คือ สมาคมการขายตรงไทย โดยสมาชิกที่ล้วนมีธรรมาภิบาล จะเป็นแบบอย่างและส่งเสริมสร้างมาตรฐานสากลที่รับรองโดยสมาพันธ์การขายตรงโลก ให้ธุรกิจเครือข่ายเป็นที่ยอบรับของทุกภาคส่วน
ภายใต้กลยุทธ์หลัก 4 ข้อ คือ 1. เสริมสร้างภาพลักษณ์ของสมาคมการขายตรงไทย โดยมุ่งเน้นธรรมาภิบาลและมาตรฐานสากลที่รับรองโดยสมาพันธ์การขายตรงโลก 2.พร้อมรับสมาชิกใหม่ที่มีวิสัยทัศน์และธรรมาภิบาลที่สอดคล้อง ทั้งในธุรกิจเครือข่ายและอุตสาหกรรมที่เกี่ยว ร่วมเป็นสมาชิกวิสามัญ เช่น กลุ่มบริษัทเกี่ยวกับที่ปรึกษาทางกฏหมาย หรือ บริษัทด้านไมซ์ เป็นต้น 3.สนับสนุนและส่งเสริมให้สมาชิกผู้ประกอบการและนักธุรกิจ อย่างมีศักยภาพและถูกต้องตามจรรยาบรรณ และ4.เป็นศูนย์กลางและเผยแพร่ความรู้ให้กับทุกภาคส่วน เพื่อส่งเสริมธุรกิจเครืองข่ายอย่างมืออาชีพ
อย่างไรก็ตามมองว่าระหว่างการดำรงตำแหน่งในครั้งนี้ เชื่อว่าอุตสาหกรรมขายตรงไทยจะมีการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น อีกทั้งยังต้องเจอกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เช่น การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ที่กำลังจะเกิดขึ้นใน2-3ปีนี้ สำหรับทางสมาคมการขายตรง มองว่าเป็นโอกาสที่ดีสำหรับบริษัทขายตรงสัญชาติไทย ที่จะก้าวขึ้นไปทำตลาดในอาเซียนได้มากกว่า เพราะอุตสาหกรรมขายตรงในไทยมีศักยภาพสูงมาก และมีบริษัทขายตรงข้ามชาติเข้ามาทำตลาดในไทยเกือบจะหมดแล้ว
ดังนั้นการเปิดเออีซี อาจจะได้เห็นบริษัทขายตรงต่างชาติเข้ามาทำตลาดในไทยไม่มากนัก ส่วนมูลค่าของอุตสาหกรรมขายตรงไทย หลังเปิดเออีซีนั้น ยังมองว่าเป็นเค็กก้อนเดิม ที่มีผู้เล่นเข้ามาเพิ่มเท่านั้น จากปัจจุบันมีบริษัทขายตรงไทยที่ขึ้นทะเบียนกับสคบ.กว่า 828 บริษัท โดยในแง่การเติบโตก็ยังเติบโตไปตามปกติ หรือราวปีละ 7-8% เช่นปีที่ผ่านมา
“การเปิดเออีซี มองเป็นโอกาสสำหรับบริษัทขายตรงคนไทยสู่ตลาดอาเซียนมากกว่า แต่ถ้ามองโอกาสการเติบโตของขายตรงในกลุ่มเออีซีแล้ว ถ้านับจากฐานจำนวนประชากรแล้ว ตลาดที่น่าสนใจมากสุด คือ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ไทย มาเลเซีย ตามลำดับ แต่ถ้ามองศักยภาพของแต่ละประเทศแล้ว ไทยมีศักยภาพมากสุด”
นายกิจธวัช กล่าวต่อว่า อุตสาหกรรมขายตรงไทยมูลค่า 60,000 ล้านบาท ถือเป็นอุตสาหกรรมแรกๆที่ฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วไม่ว่าจะเจอกับเหตุการณ์ที่คาดการณ์ได้ยากตลอด 2-3 ปีที่ผ่านมา ดังนั้นในกรณีของสถานการณ์ทางการเมือง อย่างกรณีของศาลรัฐธรรมนูญที่จะมีการอ่านคำวินิจฉัยในวันที่13 ก.ค.ในเรื่องของ การแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ขัดต่อมาตรา 68 เข้าข่ายล้มล้างการปกครอง หรือไม่นั้น ในฐานtผู้ประกอบการค่อนข้างกังกลกับปัญหาที่จะตามมา
แต่สำหรับภาคอุตสาหกรรมขายตรงแล้ว มองว่าจะมีผลทางด้านจิตวิทยากับผู้บริโภคเท่านั้น และจะเป็นเพียงระยะเวลาสั้นๆ โดยขายตรงจะกลับมาฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วได้ไม่ยาก แต่กลุ่มที่จะได้รับผลกระทบอย่างหนัก น่าจะเป็นกลุ่มที่อ่อนไหวต่อเหตุการณ์และความเชื่อมั่นทางการเมือง เช่น อุตสาหกรรมท่องเที่ยว เป็นต้น ซึ่งยังมั่นใจว่า ปีนี้ภาพรวมอุตสาหกรรมขายตรงไทย ยังคงมีอัตราการเติบโตที่ 7-8% จากปัจจุบันมูลค่าตลาดอยู่ที่ประมาณ 60,000 ล้านบาทได้
ด้านนางนลินี ไพบูลย์ ประธานกรรมการ บริษัท กิฟฟารีน สกายไลน์ ยูนิตี้ จำกัด ผู้บริหารธุรกิจขายตรงแบรนด์ กิฟฟารีน กล่าวต่อว่า การตัดสินคดีทางการเมืองในวันศุกร์ที่ 13 ก.ค.นี้ถือว่าเป็นเรื่องที่ต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด เพราะหากผลการตัดสินออกมามีการยุบพรรคการเมืองจริง จะกระทบต่อปัญหาความวุ่นวายในประเทศอย่างแน่นอน และส่งผลไปยังเศรษฐกิจของประเทศด้วย โดยไม่รู้ว่าปัญหาดังกล่าวจะมีความยืดเยื้อมากน้อยแค่ไหน หากยืดเยื้อเศรษฐกิจไทยและกำลังซื้อของผู้บริโภคจะได้รับผลกระทบ
ทั้งนี้ จากปัจจัยลบดังกล่าวทำให้บริษัทได้ชะลอแผนการสร้างคลังสินค้าแห่งใหม่ที่ มีนบุรี ออกไปก่อน เพื่อประเมินสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ขณะที่ภาพรวมยอดขายของบริษัทในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมา เติบโต 8% ตามเป้าหมายที่วางไว้ ส่วนยอดขายในครึ่งปีหลัง หากไม่มีความวุ่นวายทางการเมือง คาดว่า ยอดขายของบริษัทจะเติบโตได้ 8% หรืออยู่ที่ 5,800 ล้านบาท
นายกิจธวัช ฤทธีราวี นายกสมาคมไทย เปิดเผยว่า ในวาระที่ตนได้เข้ามาดำรงตำแหน่งนายกสมาคมการขายตรงไทย ระหว่างเดือนก.ค. 2555-มิ.ย.2557 นี้ ตนพร้อมจะทำหน้าที่ให้ดีที่สุด เพื่อนำพาสมาคมฯสู่ความแข็งแกร่งยิ่งๆขึ้นไป บนวิสัยทัศน์ คือ สมาคมการขายตรงไทย โดยสมาชิกที่ล้วนมีธรรมาภิบาล จะเป็นแบบอย่างและส่งเสริมสร้างมาตรฐานสากลที่รับรองโดยสมาพันธ์การขายตรงโลก ให้ธุรกิจเครือข่ายเป็นที่ยอบรับของทุกภาคส่วน
ภายใต้กลยุทธ์หลัก 4 ข้อ คือ 1. เสริมสร้างภาพลักษณ์ของสมาคมการขายตรงไทย โดยมุ่งเน้นธรรมาภิบาลและมาตรฐานสากลที่รับรองโดยสมาพันธ์การขายตรงโลก 2.พร้อมรับสมาชิกใหม่ที่มีวิสัยทัศน์และธรรมาภิบาลที่สอดคล้อง ทั้งในธุรกิจเครือข่ายและอุตสาหกรรมที่เกี่ยว ร่วมเป็นสมาชิกวิสามัญ เช่น กลุ่มบริษัทเกี่ยวกับที่ปรึกษาทางกฏหมาย หรือ บริษัทด้านไมซ์ เป็นต้น 3.สนับสนุนและส่งเสริมให้สมาชิกผู้ประกอบการและนักธุรกิจ อย่างมีศักยภาพและถูกต้องตามจรรยาบรรณ และ4.เป็นศูนย์กลางและเผยแพร่ความรู้ให้กับทุกภาคส่วน เพื่อส่งเสริมธุรกิจเครืองข่ายอย่างมืออาชีพ
อย่างไรก็ตามมองว่าระหว่างการดำรงตำแหน่งในครั้งนี้ เชื่อว่าอุตสาหกรรมขายตรงไทยจะมีการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น อีกทั้งยังต้องเจอกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เช่น การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ที่กำลังจะเกิดขึ้นใน2-3ปีนี้ สำหรับทางสมาคมการขายตรง มองว่าเป็นโอกาสที่ดีสำหรับบริษัทขายตรงสัญชาติไทย ที่จะก้าวขึ้นไปทำตลาดในอาเซียนได้มากกว่า เพราะอุตสาหกรรมขายตรงในไทยมีศักยภาพสูงมาก และมีบริษัทขายตรงข้ามชาติเข้ามาทำตลาดในไทยเกือบจะหมดแล้ว
ดังนั้นการเปิดเออีซี อาจจะได้เห็นบริษัทขายตรงต่างชาติเข้ามาทำตลาดในไทยไม่มากนัก ส่วนมูลค่าของอุตสาหกรรมขายตรงไทย หลังเปิดเออีซีนั้น ยังมองว่าเป็นเค็กก้อนเดิม ที่มีผู้เล่นเข้ามาเพิ่มเท่านั้น จากปัจจุบันมีบริษัทขายตรงไทยที่ขึ้นทะเบียนกับสคบ.กว่า 828 บริษัท โดยในแง่การเติบโตก็ยังเติบโตไปตามปกติ หรือราวปีละ 7-8% เช่นปีที่ผ่านมา
“การเปิดเออีซี มองเป็นโอกาสสำหรับบริษัทขายตรงคนไทยสู่ตลาดอาเซียนมากกว่า แต่ถ้ามองโอกาสการเติบโตของขายตรงในกลุ่มเออีซีแล้ว ถ้านับจากฐานจำนวนประชากรแล้ว ตลาดที่น่าสนใจมากสุด คือ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ไทย มาเลเซีย ตามลำดับ แต่ถ้ามองศักยภาพของแต่ละประเทศแล้ว ไทยมีศักยภาพมากสุด”
นายกิจธวัช กล่าวต่อว่า อุตสาหกรรมขายตรงไทยมูลค่า 60,000 ล้านบาท ถือเป็นอุตสาหกรรมแรกๆที่ฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วไม่ว่าจะเจอกับเหตุการณ์ที่คาดการณ์ได้ยากตลอด 2-3 ปีที่ผ่านมา ดังนั้นในกรณีของสถานการณ์ทางการเมือง อย่างกรณีของศาลรัฐธรรมนูญที่จะมีการอ่านคำวินิจฉัยในวันที่13 ก.ค.ในเรื่องของ การแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ขัดต่อมาตรา 68 เข้าข่ายล้มล้างการปกครอง หรือไม่นั้น ในฐานtผู้ประกอบการค่อนข้างกังกลกับปัญหาที่จะตามมา
แต่สำหรับภาคอุตสาหกรรมขายตรงแล้ว มองว่าจะมีผลทางด้านจิตวิทยากับผู้บริโภคเท่านั้น และจะเป็นเพียงระยะเวลาสั้นๆ โดยขายตรงจะกลับมาฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วได้ไม่ยาก แต่กลุ่มที่จะได้รับผลกระทบอย่างหนัก น่าจะเป็นกลุ่มที่อ่อนไหวต่อเหตุการณ์และความเชื่อมั่นทางการเมือง เช่น อุตสาหกรรมท่องเที่ยว เป็นต้น ซึ่งยังมั่นใจว่า ปีนี้ภาพรวมอุตสาหกรรมขายตรงไทย ยังคงมีอัตราการเติบโตที่ 7-8% จากปัจจุบันมูลค่าตลาดอยู่ที่ประมาณ 60,000 ล้านบาทได้
ด้านนางนลินี ไพบูลย์ ประธานกรรมการ บริษัท กิฟฟารีน สกายไลน์ ยูนิตี้ จำกัด ผู้บริหารธุรกิจขายตรงแบรนด์ กิฟฟารีน กล่าวต่อว่า การตัดสินคดีทางการเมืองในวันศุกร์ที่ 13 ก.ค.นี้ถือว่าเป็นเรื่องที่ต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด เพราะหากผลการตัดสินออกมามีการยุบพรรคการเมืองจริง จะกระทบต่อปัญหาความวุ่นวายในประเทศอย่างแน่นอน และส่งผลไปยังเศรษฐกิจของประเทศด้วย โดยไม่รู้ว่าปัญหาดังกล่าวจะมีความยืดเยื้อมากน้อยแค่ไหน หากยืดเยื้อเศรษฐกิจไทยและกำลังซื้อของผู้บริโภคจะได้รับผลกระทบ
ทั้งนี้ จากปัจจัยลบดังกล่าวทำให้บริษัทได้ชะลอแผนการสร้างคลังสินค้าแห่งใหม่ที่ มีนบุรี ออกไปก่อน เพื่อประเมินสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ขณะที่ภาพรวมยอดขายของบริษัทในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมา เติบโต 8% ตามเป้าหมายที่วางไว้ ส่วนยอดขายในครึ่งปีหลัง หากไม่มีความวุ่นวายทางการเมือง คาดว่า ยอดขายของบริษัทจะเติบโตได้ 8% หรืออยู่ที่ 5,800 ล้านบาท