“การบูชามี 2 ประการ คือ อามิสบูชา และปฏิบัติบูชา ในการบูชา 2 ประการนี้ พระพุทธเจ้าตรัสว่า ปฏิบัติบูชาดีที่สุด” นี่คือนัยแห่งคำสอนของพระพุทธเจ้าเกี่ยวกับการบูชา
การบูชาอันได้แก่การนำสิ่งของมามอบให้หรือมาถวายบุคคลหรือวัตถุที่ตนเองเคารพนับถือ ศรัทธาเลื่อมใส ด้วยหวังว่าจะได้รับสิ่งตอบแทนจากการบูชานั้น เรียกว่าอามิสบูชา คือบูชาด้วยวัตถุ
การบูชาประเภทนี้เกิดขึ้นและมีอยู่ในประเทศอินเดีย หรือแม้กระทั่งในประเทศอื่นที่มีลัทธิความเชื่อ และมีการบูชาสิ่งที่แต่ละบุคคลเคารพนับถือก่อนหน้าที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้นานแล้ว แต่จะนานเท่าไหร่ยังไม่มีหลักฐานทางศาสนายืนยัน จะมีก็เพียงข้อสันนิษฐานว่าน่าจะเกิดขึ้นมาพร้อมกับศาสนาประเภทเทวนิยมเกิดขึ้นบนโลก และที่สันนิษฐานเช่นนี้ก็ด้วยเหตุผลที่ว่า เมื่อมนุษย์เคารพนับถือสิ่งใดก็มักจะหาสิ่งของที่ตนเองชอบมามอบให้เป็นการแสดงออกถึงความศรัทธาแห่งตนต่อสิ่งที่เคารพนับถือนั้น
ส่วนคำสอนที่เน้นให้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับคำสอน และนำมาปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นน่าจะพูดได้ว่ามีมาพร้อมกับการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ทั้งนี้อาศัยเหตุปัจจัยในทางตรรกะ และคำสอนที่เกี่ยวกับข้อนี้ ดังนี้
1. คำสอนของพระพุทธเจ้าแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ คือ
1.1 ปริยัติ อันได้แก่คำสอนที่ว่าด้วยหลักการหรือทฤษฎีในด้านต่างๆ ตั้งแต่ในระดับโลกียะจนถึงระดับโลกุตตระ แบ่งออกเป็น 3 หมวด คือ ศีล สมาธิ และปัญญา
1.2 ปฏิบัติ อันได้แก่คำสอนที่ว่าด้วยการนำหลักการหรือทฤษฎีตามข้อที่ 1 มาปฏิบัติเพื่อให้บรรลุผล และเกิดประโยชน์สูงสุดอย่างแท้จริง
1.3 ปฏิเวธ อันได้แก่คำสอนที่ว่าด้วยผล และวิธีการวัดผลอันเกิดจากการปฏิบัติตามข้อ 2
จากคำสอนทั้ง 3 ประการดังกล่าวมาแล้ว จะเห็นว่าพระพุทธองค์ทรงเน้นการปฏิบัติและการวัดผลไว้เป็นอันสุดท้าย และรองอันดับสุดท้าย จึงเท่ากับเป็นการยืนยันได้อย่างชัดเจนว่า คำสอนในทางพระพุทธศาสนาได้เน้นการปฏิบัติเป็นสำคัญ
2. ข้อความตอนหนึ่งในชั้นนิยามสูตรที่บอกว่า ตถาคตคือพระพุทธองค์จะตรัสรู้หรือไม่ก็ตาม ธรรมเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วในโลก เพียงแต่ขาดผู้ค้นพบเท่านั้น ดังนั้นตถาคตจึงเป็นเพียงผู้บอกเท่านั้น ส่วนการเข้าถึงธรรมพวกท่าน (หมายถึงสาวก) จะต้องลงมือทำเอง นี่ก็เป็นอีกบทหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าพระพุทธเจ้าทรงเน้นการปฏิบัติ
ยิ่งกว่านี้ คำตอบที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่พระกิมพิละ ผู้ซึ่งได้ทูลถามพระพุทธเจ้าว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่ทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ไม่ยั่งยืน เมื่อพระตถาคตเจ้าปรินิพพานแล้ว” ว่า “ดูก่อนกิมพิละ เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว ภิกษุ ภิกษุณี อุสาบก อุบาสิกาไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในการศึกษา ไม่เคารพยำเกรงกันและกัน นี่แลกิมพิละ เป็นเหตุ เป็นปัจจัยที่ทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ไม่ได้นาน เมื่อตถาคตปรินิพพานไปแล้ว”
ทั้งหมดที่ยกมาข้างต้นเป็นพุทธพจน์ที่ปรากฏที่มาในปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย พระไตรปิฎกเล่มที่ 22 หน้า 275
โดยนัยแห่งคำสอนข้อนี้บ่งบอกชัดเจนว่า สิ่งที่ทำให้พระพุทธศาสนาเสื่อมถึงขั้นอันตรธานได้นั้นคือการที่พุทธบริษัท 4 ไม่ทำตามคำสอนของพระพุทธองค์ที่มุ่งสอนให้พุทธบริษัทเคารพยำเกรงในพระรัตนตรัย และใฝ่ศึกษาแล้วนำมาปฏิบัติให้บรรลุผล คือการพ้นทุกข์อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา แต่ถ้าพุทธบริษัท 4 โดยเฉพาะภิกษุไม่ทำตามคำสอนแล้ว ก็จะยิ่งเสื่อมเร็ว และเป็นจุดด้อยให้ฝ่ายที่ต้องการทำลายถือเป็นโอกาสโจมตีได้ง่าย
ดังนั้น การปกป้องพระพุทธศาสนาที่จะทำให้พุทธศาสนาอยู่ได้นั้นก็ด้วยการทำตามคำสอน ทั้งในระดับของศีล สมาธิ และปัญญา หรือไตรสิกขา
ส่วนการปกป้องพระพุทธศาสนาด้วยวิธีอื่น เป็นต้นว่า การรวมกลุ่มกันต่อต้านศัตรูจากภายนอกที่กระทำย่ำยีพระพุทธศาสนา เช่น นำเอาสัญลักษณ์ของพุทธ จะเป็นคัมภีร์หรือแม้กระทั่งพระพุทธรูปอันถือว่าเป็นอุทเทสิกเจดีย์ไปกระทำย่ำยีในรูปแบบต่างๆ เช่น นำไปวางในสถานที่ไม่เหมาะไม่ควร เป็นต้น ถึงแม้จะทำให้พุทธศาสนาได้รับผลกระทบทางด้านจิตใจของชาวพุทธที่ได้พบเห็น แต่ก็ไม่สามารถทำลายพระพุทธศาสนาได้ถ้าชาวพุทธยังยึดมั่นในการปฏิบัติตามคำสอนทั้ง 3 ส่วน คือ ศึกษาในด้านทฤษฎีนำมาปฏิบัติ และวัดผลเพื่อประเมินการปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและเป็นไปตามแนวทางแห่งคำสอนแล้วพระพุทธศาสนาก็จะยังคงอยู่
แต่อย่างไรก็ตาม การที่มีคนกลุ่มหนึ่งรวมตัวกันภายใต้องค์กรที่เรียกว่า โนอิ้งบุดด้าเพื่อปกป้องการกระทำย่ำยีพระพุทธศาสนาจากบุคคลที่มิได้นับถือพุทธก็นับได้ว่ามีประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา แต่ถ้าจะให้ดีกว่านี้ คนกลุ่มนี้ก็ควรจะได้ออกมารณรงค์ให้ชาวพุทธด้วยกันศึกษาค้นคว้า และลงมือปฏิบัติอย่างจริงจังควบคู่ไปกับกิจกรรมป้องกันในรูปแบบต่างๆ ดังที่ได้กระทำอยู่
ชาวพุทธควรทำอะไรนอกจากใจเป็นพุทธ และต้องการปกป้องพุทธจากการย่ำยีของบุคคลนอกศาสนา
เกี่ยวกับประเด็นแห่งคำถามนี้ ผู้เขียนใคร่ขอให้ชาวพุทธลองย้อนไปศึกษาโดยเริ่มจากตัวท่านเองว่า ท่านเป็นพุทธแบบไหน ในรูปแบบต่อไปนี้
1. มีชื่อและระบุเป็นพุทธในสำมะโนครัว แต่ไม่เคยศึกษา และทำความเข้าใจในคำสอน ไม่ว่าจะด้วยการอ่าน การฟัง หรือนำมาปฏิบัติ
2. เข้าวัด และนำสิ่งของไปถวายพระในโอกาสสำคัญทางศาสนา หรือในโอกาสที่เกี่ยวกับตัวเอง เช่น วันเกิด เป็นต้น แต่ไม่รักษาศีล และฝึกสมาธิอย่างจริงจัง โดยอ้างไม่มีเวลาหรือยังไม่ถึงวัย
3. ไม่เข้าวัด ฟังธรรม ทำบุญ แต่เข้าวัดเพื่อแสวงหาของขลัง วัตถุมงคลจากเกจิชื่อดัง แต่ไม่สนใจคำสอนและนำมาปฏิบัติ
ถ้าท่านเป็นเพียงประเภทใดประเภทหนึ่งใน 3 ประเภทนี้ ท่านก็เป็นคนที่เข้าวัดไม่ถึงวัด และไปหาพระแต่ไม่พบพระ ก็ยังเป็นอุปสรรคต่อการเป็นพุทธที่แท้จริง และถึงแม้ท่านจะเป็นหนึ่งในการรวมกลุ่มที่ออกมาปกป้องพระพุทธศาสนาก็ไม่อาจช่วยให้พระพุทธศาสนาดำรงอยู่ได้ ตามนัยแห่งคำตอบที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่พระกิมพิละอยู่นั่นเอง
การบูชาอันได้แก่การนำสิ่งของมามอบให้หรือมาถวายบุคคลหรือวัตถุที่ตนเองเคารพนับถือ ศรัทธาเลื่อมใส ด้วยหวังว่าจะได้รับสิ่งตอบแทนจากการบูชานั้น เรียกว่าอามิสบูชา คือบูชาด้วยวัตถุ
การบูชาประเภทนี้เกิดขึ้นและมีอยู่ในประเทศอินเดีย หรือแม้กระทั่งในประเทศอื่นที่มีลัทธิความเชื่อ และมีการบูชาสิ่งที่แต่ละบุคคลเคารพนับถือก่อนหน้าที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้นานแล้ว แต่จะนานเท่าไหร่ยังไม่มีหลักฐานทางศาสนายืนยัน จะมีก็เพียงข้อสันนิษฐานว่าน่าจะเกิดขึ้นมาพร้อมกับศาสนาประเภทเทวนิยมเกิดขึ้นบนโลก และที่สันนิษฐานเช่นนี้ก็ด้วยเหตุผลที่ว่า เมื่อมนุษย์เคารพนับถือสิ่งใดก็มักจะหาสิ่งของที่ตนเองชอบมามอบให้เป็นการแสดงออกถึงความศรัทธาแห่งตนต่อสิ่งที่เคารพนับถือนั้น
ส่วนคำสอนที่เน้นให้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับคำสอน และนำมาปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นน่าจะพูดได้ว่ามีมาพร้อมกับการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ทั้งนี้อาศัยเหตุปัจจัยในทางตรรกะ และคำสอนที่เกี่ยวกับข้อนี้ ดังนี้
1. คำสอนของพระพุทธเจ้าแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ คือ
1.1 ปริยัติ อันได้แก่คำสอนที่ว่าด้วยหลักการหรือทฤษฎีในด้านต่างๆ ตั้งแต่ในระดับโลกียะจนถึงระดับโลกุตตระ แบ่งออกเป็น 3 หมวด คือ ศีล สมาธิ และปัญญา
1.2 ปฏิบัติ อันได้แก่คำสอนที่ว่าด้วยการนำหลักการหรือทฤษฎีตามข้อที่ 1 มาปฏิบัติเพื่อให้บรรลุผล และเกิดประโยชน์สูงสุดอย่างแท้จริง
1.3 ปฏิเวธ อันได้แก่คำสอนที่ว่าด้วยผล และวิธีการวัดผลอันเกิดจากการปฏิบัติตามข้อ 2
จากคำสอนทั้ง 3 ประการดังกล่าวมาแล้ว จะเห็นว่าพระพุทธองค์ทรงเน้นการปฏิบัติและการวัดผลไว้เป็นอันสุดท้าย และรองอันดับสุดท้าย จึงเท่ากับเป็นการยืนยันได้อย่างชัดเจนว่า คำสอนในทางพระพุทธศาสนาได้เน้นการปฏิบัติเป็นสำคัญ
2. ข้อความตอนหนึ่งในชั้นนิยามสูตรที่บอกว่า ตถาคตคือพระพุทธองค์จะตรัสรู้หรือไม่ก็ตาม ธรรมเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วในโลก เพียงแต่ขาดผู้ค้นพบเท่านั้น ดังนั้นตถาคตจึงเป็นเพียงผู้บอกเท่านั้น ส่วนการเข้าถึงธรรมพวกท่าน (หมายถึงสาวก) จะต้องลงมือทำเอง นี่ก็เป็นอีกบทหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าพระพุทธเจ้าทรงเน้นการปฏิบัติ
ยิ่งกว่านี้ คำตอบที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่พระกิมพิละ ผู้ซึ่งได้ทูลถามพระพุทธเจ้าว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่ทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ไม่ยั่งยืน เมื่อพระตถาคตเจ้าปรินิพพานแล้ว” ว่า “ดูก่อนกิมพิละ เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว ภิกษุ ภิกษุณี อุสาบก อุบาสิกาไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในการศึกษา ไม่เคารพยำเกรงกันและกัน นี่แลกิมพิละ เป็นเหตุ เป็นปัจจัยที่ทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ไม่ได้นาน เมื่อตถาคตปรินิพพานไปแล้ว”
ทั้งหมดที่ยกมาข้างต้นเป็นพุทธพจน์ที่ปรากฏที่มาในปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย พระไตรปิฎกเล่มที่ 22 หน้า 275
โดยนัยแห่งคำสอนข้อนี้บ่งบอกชัดเจนว่า สิ่งที่ทำให้พระพุทธศาสนาเสื่อมถึงขั้นอันตรธานได้นั้นคือการที่พุทธบริษัท 4 ไม่ทำตามคำสอนของพระพุทธองค์ที่มุ่งสอนให้พุทธบริษัทเคารพยำเกรงในพระรัตนตรัย และใฝ่ศึกษาแล้วนำมาปฏิบัติให้บรรลุผล คือการพ้นทุกข์อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา แต่ถ้าพุทธบริษัท 4 โดยเฉพาะภิกษุไม่ทำตามคำสอนแล้ว ก็จะยิ่งเสื่อมเร็ว และเป็นจุดด้อยให้ฝ่ายที่ต้องการทำลายถือเป็นโอกาสโจมตีได้ง่าย
ดังนั้น การปกป้องพระพุทธศาสนาที่จะทำให้พุทธศาสนาอยู่ได้นั้นก็ด้วยการทำตามคำสอน ทั้งในระดับของศีล สมาธิ และปัญญา หรือไตรสิกขา
ส่วนการปกป้องพระพุทธศาสนาด้วยวิธีอื่น เป็นต้นว่า การรวมกลุ่มกันต่อต้านศัตรูจากภายนอกที่กระทำย่ำยีพระพุทธศาสนา เช่น นำเอาสัญลักษณ์ของพุทธ จะเป็นคัมภีร์หรือแม้กระทั่งพระพุทธรูปอันถือว่าเป็นอุทเทสิกเจดีย์ไปกระทำย่ำยีในรูปแบบต่างๆ เช่น นำไปวางในสถานที่ไม่เหมาะไม่ควร เป็นต้น ถึงแม้จะทำให้พุทธศาสนาได้รับผลกระทบทางด้านจิตใจของชาวพุทธที่ได้พบเห็น แต่ก็ไม่สามารถทำลายพระพุทธศาสนาได้ถ้าชาวพุทธยังยึดมั่นในการปฏิบัติตามคำสอนทั้ง 3 ส่วน คือ ศึกษาในด้านทฤษฎีนำมาปฏิบัติ และวัดผลเพื่อประเมินการปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและเป็นไปตามแนวทางแห่งคำสอนแล้วพระพุทธศาสนาก็จะยังคงอยู่
แต่อย่างไรก็ตาม การที่มีคนกลุ่มหนึ่งรวมตัวกันภายใต้องค์กรที่เรียกว่า โนอิ้งบุดด้าเพื่อปกป้องการกระทำย่ำยีพระพุทธศาสนาจากบุคคลที่มิได้นับถือพุทธก็นับได้ว่ามีประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา แต่ถ้าจะให้ดีกว่านี้ คนกลุ่มนี้ก็ควรจะได้ออกมารณรงค์ให้ชาวพุทธด้วยกันศึกษาค้นคว้า และลงมือปฏิบัติอย่างจริงจังควบคู่ไปกับกิจกรรมป้องกันในรูปแบบต่างๆ ดังที่ได้กระทำอยู่
ชาวพุทธควรทำอะไรนอกจากใจเป็นพุทธ และต้องการปกป้องพุทธจากการย่ำยีของบุคคลนอกศาสนา
เกี่ยวกับประเด็นแห่งคำถามนี้ ผู้เขียนใคร่ขอให้ชาวพุทธลองย้อนไปศึกษาโดยเริ่มจากตัวท่านเองว่า ท่านเป็นพุทธแบบไหน ในรูปแบบต่อไปนี้
1. มีชื่อและระบุเป็นพุทธในสำมะโนครัว แต่ไม่เคยศึกษา และทำความเข้าใจในคำสอน ไม่ว่าจะด้วยการอ่าน การฟัง หรือนำมาปฏิบัติ
2. เข้าวัด และนำสิ่งของไปถวายพระในโอกาสสำคัญทางศาสนา หรือในโอกาสที่เกี่ยวกับตัวเอง เช่น วันเกิด เป็นต้น แต่ไม่รักษาศีล และฝึกสมาธิอย่างจริงจัง โดยอ้างไม่มีเวลาหรือยังไม่ถึงวัย
3. ไม่เข้าวัด ฟังธรรม ทำบุญ แต่เข้าวัดเพื่อแสวงหาของขลัง วัตถุมงคลจากเกจิชื่อดัง แต่ไม่สนใจคำสอนและนำมาปฏิบัติ
ถ้าท่านเป็นเพียงประเภทใดประเภทหนึ่งใน 3 ประเภทนี้ ท่านก็เป็นคนที่เข้าวัดไม่ถึงวัด และไปหาพระแต่ไม่พบพระ ก็ยังเป็นอุปสรรคต่อการเป็นพุทธที่แท้จริง และถึงแม้ท่านจะเป็นหนึ่งในการรวมกลุ่มที่ออกมาปกป้องพระพุทธศาสนาก็ไม่อาจช่วยให้พระพุทธศาสนาดำรงอยู่ได้ ตามนัยแห่งคำตอบที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่พระกิมพิละอยู่นั่นเอง