นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีตส.ว.สรรหา เปิดเผยว่า ตนอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 วรรคสอง ประกอบมาตรา 62 จะยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ในวันนี้ ( 9 ก.ค.) เพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณาวินิจฉัยสั่งการให้ผู้ตรวจการแผ่นดินทั้ง 3 ท่าน ซึ่งได้แต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านกฎหมายรัฐธรรมนูญ จนนำไปสู่การเสนอแนะการแก้ไขรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ด้วย ซึ่งถือว่าผู้ตรวจการแผ่นดินมีพฤติการณ์ในการใช้สิทธิ และเสรีภาพตาม รัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยการสนับสนุนให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ตามคำร้องที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เข้าข่ายเป็นการล้มล้างการปกครองตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 หรือไม่ รวมถึงคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ทั้ง 5 ท่าน ที่เสนอให้ กมธ.แก้ไขรัฐธรรมนูญ ร่าง พ.ร.บ. เลือกตั้ง ส.ส.ร.ด้วย เท่ากับว่าเป็นผู้สนับสนุนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ด้วย นายเรืองไกร กล่าวอีกว่า ตนได้ยื่นขอคัดค้านการเป็นองค์คณะของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญของ นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ นายจรัญ ภักดีธนากุล นายนุรักษ์ มาประณีต และนายสุพจน์ ไข่มุกด์ เนื่องจากเคยเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ในสภาร่างรัฐธรรมนูญ 2550 จึงเป็นกรณีที่มีส่วนได้เสีย ตามข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัย พ.ศ. 2550 ใน ข้อ10 (1) ประกอบการขจัดส่วนได้เสียตามรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 294 วรรค สอง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ รวมทั้งขอคัดค้านการเป็นองค์คณะของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญของ นายชัช ชลวร เนื่องจากยังไม่ได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จึงไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้
นอกจากนี้ ได้ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญ สั่งให้ยุบพรรคเพื่อไทย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคชาติพัฒนา พรรคพลังชล เนื่องจากได้ส่ง ส.ส.ของพรรค เข้ามาร่วมเป็นคณะกรรมาธิการพิจารณา ร่าง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... ของรัฐสภาด้วย
นอกจากนี้ ได้ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญ สั่งให้ยุบพรรคเพื่อไทย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคชาติพัฒนา พรรคพลังชล เนื่องจากได้ส่ง ส.ส.ของพรรค เข้ามาร่วมเป็นคณะกรรมาธิการพิจารณา ร่าง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... ของรัฐสภาด้วย