หลังจากบทกวีของพี่ใหญ่วงการเพลงเพื่อชีวิต น้าหงา-สุรชัย จันทิมาธร แพร่สะพัดในโลกออนไลน์ ในวันที่ 26 มิถุนายน ซึ่งเป็นวันสุนทรภู่ เสียงเซ็งแซ่ตอบโต้ของฝ่ายตรงข้ามก็โหมกระพือราวกับพายุใหญ่กระหน่ำเมือง
สุรชัยนั้นใช้ภาษาเชิงสัญลักษณ์สะท้อนปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมไทยได้อย่างไม่ก้าวร้าว แต่ลุ่มลึก
ขอเพียงศาลแห่งสีที่เคารพ
สีต้องใช้ไม่ครบกระบวนสี
มีกลุ่มคนผูกขาดในชาตินี้
ยึดสีแดงไปย่ำยีเป็นของตน
ทำให้สีแดงแย่มีแต่ยุ่ง
จะแต่งปรุงงานศิลป์ก็สับสน
ศิลปินเดือดร้อนเกินจะทน
เพราะสีแดงถูกปล้นขโมยไป
เอาสีแดงคืนมาให้ข้าเถิด
ก่อนจะเกิดสงครามห้ามไม่ได้
ทุกวันนี้พวกข้าไม่กล้าใช้
เพราะว่าใจไม่มีให้สีแดง...
ผมคิดว่า ปฏิกิริยาของสุรชัยนี้มิได้ก้าวล่วงในความเห็นทางการเมืองอุดมการณ์ของคนที่แตกต่างกันอีกฟากสี แต่น่าจะสะท้อนและเป็นตัวแทนความรู้สึกของคนจำนวนมากที่เรียกหาความพอดี เพราะมองเห็นพฤติกรรมอันก้าวร้าวเอาแต่ได้มากเกินไปและทำตัวเป็นเจ้าของประเทศของคนเสื้อแดง ความคิดแบบนี้นอกจากทำให้เกิดปฏิกิริยาต่อฝ่ายตรงข้ามแล้ว ก็รังแต่จะทำให้คนเสื้อแดงที่มีสำนึกดีไม่ผูกติดกับทักษิณแต่ต้องการให้เกิดความเท่าเทียมเสมอภาคอย่างแท้จริงในสังคมพลอยเสียหายไปด้วย
ก่อนหน้าที่บทกวีของน้าหงาจะปรากฏได้มีบทกวีของกวีซีไรต์เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ เรื่อง “เจ็ดซ้าย” ปรากฏออกมา บทกวีบทนั้นสร้างความไม่พอใจให้กับคนเสื้อแดงจำนวนมาก ทั้งเสื้อแดงที่เป็นกวีนักเขียนและนักวิชาการอย่างศาสตราจารย์คนนั้น เกษียร เตชะพีระ
ก่อนหน้านี้ความขัดแย้งในหมู่ศิลปินเหลืองแดงไม่ใช่เพิ่งเกิดขึ้นเนาวรัตน์เป็นกวีที่ถูกคนเสื้อแดงเอาไปค่อนแคะและพูดกระแทกแดกดันตลอดเวลาว่า รับใช้ศักดินา น้าหงาเองก็ถูกวิสา คัญทัพเอาไปพูดทำนองว่า ไม่ควรเอาบทเพลงแสงดาวแห่งศรัทธามาร้องบนเวทีพันธมิตรฯ วสันต์ สิทธิเขตต์ถูกนินทาจากศิลปินเสื้อแดงว่าไม่สมควรรับรางวัลมนัส เศียรสิงห์ซึ่งเป็นรางวัลของคนทำงานศิลปะในข้อหาทำนองเดียวกัน
ถ้าหากจะเรียกร้องจุดยืนพื้นที่ของแต่ละฝ่ายที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองแตกต่างกันตรงนี้ต่างหากที่ผมคิดว่า คือ การผูกขาดความถูกต้องแต่เพียงฝ่ายเดียว
ล่วงไปก่อนหน้าศาสตราจารย์ปราโมทย์ นาครทรรพ ก็เคยร่ายบทกวีตอบโต้บทกวีของเกษียร ปัญญาชนแดงมาแล้ว การร่ายบทกวีของน้าหงาจึงเป็นอีกหนึ่งสุนทรีวิวาทะของยุคสมัยที่ไม่จำเป็นต้องตอบโต้กันด้วยถ้อยคำรุนแรง แต่ก็ใช่ว่าภายใต้ความงดงามนั้นจะทำให้เรามองข้ามเนื้อหาสาระและข้อเท็จจริงที่ซ่อนอยู่ภายในไปได้
พลันที่บทกวีของน้าหงาปรากฏ คนรุ่นราวคราวเดียวกันอย่างวิสา คัญทัพ ได้เขียนบทกวีออกมาตอบโต้ในชื่อ “จึงเรียนมาด้วยความไม่เคารพศาลแห่งสี”
ขอเรียนศาลเลือกข้างสีที่ไม่เคารพ
สีไม่ครบเพราะถูกใช้เติมใส่สี
ไม่ระบายเลือดไพร่หาไม่ดี
สาดกระสุนส่องวิถีดับชีวิต
สีแดงคือเลือดมหาประชาชน
ผู้ทุกข์ทนคนไทยผู้ไร้สิทธิ์
ใช่คนปล้นสีไปไร้ความคิด
เขาถูกปลิดชีพเชือดจนเลือดริน
กระหายดื่มสีแดงแห่งเลือดข้น
จึงไล่ยิงกลางถนนคนใจหิน
เนาวรัตน์สุรชัยไม่ได้ยิน
จึงลืมดินไม่มีใจให้สีแดง
ความจริงแล้วสีแดงนั้นเป็นที่ยอมรับกันว่า เป็นสีสัญลักษณ์ของการต่อสู้เพื่อเปลี่ยนแปลงระบอบในทางสากล ผมคิดว่าความหมายของคนเสื้อแดงที่ต้องการสื่อก็เป็นทำนองนี้ แต่วิสาเอาสีแดงที่ใช้เป็นสัญลักษณ์ของพวกตัวเองมาปนกับเลือดของประชาชนที่เสียชีวิต ฟังดูก็เหมือนถูก แต่ถ้ามันจะถูกจริงๆ ก็แสดงว่า การเสียชีวิตของคนเสื้อแดงนั้นเป็นความตั้งใจจะให้เกิดขึ้นเช่นนั้นหรือ
และบทกวีของน้าหงาก็ไม่มีตรงไหนเลยที่หมิ่นเหยียดคนเสื้อแดงที่เสียชีวิต ทั้งคนเสื้อแดงที่คิดว่าออกมาสู้เพื่อร้องหาความเสมอภาคจริงๆ หรือทั้งที่ถูกหลอกมาให้เป็นโล่บังกระสุนเพราะรักทักษิณ
ผมคิดว่า ไม่มีคนไทยคนไหนอยากเห็นเพื่อนร่วมชาติเสียชีวิต กระบวนการถามหาคนผิดจึงควรดำเนินต่อไป แต่กลายเป็นว่า ตอนนี้หัวขบวนของคนเสื้อแดงต่างหากที่กำลังเรียกร้องให้ลบล้างความผิดทั้งหมด นั่นก็คงเป็นเพราะเป้าหมายการต่อสู้ของพวกเขาที่แท้จริงนั้น เพียงเพื่อให้ทักษิณพ้นผิด และถ้ากระบวนการสืบสวนดำเนินต่อไป มันก็จะปรากฏว่าใครเป็นผู้เริ่มลั่นกระสุน ผมคิดว่าเหตุการณ์วันที่ 10 เมษายนที่แยกคอกวัวและการยิงระเบิดเอ็ม 79 สถานที่ต่างๆ ก่อนหน้านั้น คงไม่สามารถทำให้ลบเลือนไปได้
จริงๆ แล้วไม่เพียงแต่วิสาเท่านั้นที่ออกมาตอบโต้น้าหงา มติชนออนไลน์สื่อที่อุทิศตนเพื่อคนเสื้อแดงได้นำเสนอบทกวีของฝ่ายเสื้อแดงจำนวนมากที่ออกมาตอบโต้กับน้าหงา ผมก็เลยอยากสวนเสวนาสุนทรีวิวาทะกับเขาดูบ้างดังนี้
แล้วศาลก็ขึ้นบังลังก์ชั่งเหตุผล
ใครกันปล้นสีแดงช่วยแจ้งไข
สาดเลือดคนข้นเข้มเต็มผืนไทย
แล้วหลอกไพร่มาบัดพลีชีวีตัว
คนปลุกปั่นสู้แล้วรวยฉวยโอกาส
เหมือนเป็นทาสรับใช้นายถวายหัว
อ้างอำมาตย์บาตรใหญ่ให้ไพร่กลัว
แต่เกลือกกลั้วทุนสามานย์สำราญใจ
เอาเลือดคนสีแดงแปลงเป็นทรัพย์
ศพคนตายมาขยับฐานะใหญ่
เป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีประเทศไทย
การต่อสู้เพื่อไพร่ตรงไหนกัน
นอกจากนั้นยังมีบทกวีแปลงของศาสตราจารย์เกษียรที่เอาบทกวีของน้าหงามาแปลงโดยการเปลี่ยนถ่อยคำ “สีแดง” ในบทกวีของน้าหงาเป็น “สีเหลือง” แต่อ่านดูแล้วก็ยิ่งมองเห็นความเลอะเลือนของเกษียร
เพราะถ้าเกษียรมองจากสายตาที่มุ่งหาความจริงแล้วพันธมิตรฯ ไม่เคยผูกขาดสีเหลืองในลักษณะที่เสื้อแดงของเกษียรกระทำ ไม่ว่านโยบายแดงทั้งแผ่นดิน หมู่บ้านเสื้อแดง และผู้ชุมนุมทุกคนต้องใส่เสื้อแดงมาร่วม แต่ผู้ชุมนุมของพันธมิตรฯ ไม่เคยกะเกณฑ์ว่าต้องใส่เสื้อสีอะไร ยุคแรกๆ ที่ทำเสื้อ “เราจะสู้เพื่อในหลวง” นั้นก็ทำทั้งสีเหลืองและสีขาว แต่คนส่วนใหญ่จะชอบสีเหลืองเพราะถือเป็นสีของในหลวง จริงอยู่เมื่อคนเสื้อแดงสถาปนาตัวเอง สื่อส่วนใหญ่ก็พากันเรียกพันธมิตรฯ ว่าเสื้อเหลืองโดยปริยาย และพันธมิตรฯ ก็น้อมรับคำเรียกนั้น แต่ไม่มีลักษณะผูกขาดเป็นเจ้าของแบบที่สีแดงทำแน่ๆ เรื่องนี้ศาสตราจารย์จึงมั่วและโมเมด้วยทัศนคติอคติอย่างเดียว
บทกวีแปลงของเกษียรจึงไม่มีคุณค่าอะไรนอกจากตอกย้ำฉายา “จตุพรทางวิชาการ” ของเขาที่ได้ตราตรึงและรับรู้ฉายานี้ไปแล้วในวงกว้างเท่านั้นเอง
สุรชัยนั้นใช้ภาษาเชิงสัญลักษณ์สะท้อนปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมไทยได้อย่างไม่ก้าวร้าว แต่ลุ่มลึก
ขอเพียงศาลแห่งสีที่เคารพ
สีต้องใช้ไม่ครบกระบวนสี
มีกลุ่มคนผูกขาดในชาตินี้
ยึดสีแดงไปย่ำยีเป็นของตน
ทำให้สีแดงแย่มีแต่ยุ่ง
จะแต่งปรุงงานศิลป์ก็สับสน
ศิลปินเดือดร้อนเกินจะทน
เพราะสีแดงถูกปล้นขโมยไป
เอาสีแดงคืนมาให้ข้าเถิด
ก่อนจะเกิดสงครามห้ามไม่ได้
ทุกวันนี้พวกข้าไม่กล้าใช้
เพราะว่าใจไม่มีให้สีแดง...
ผมคิดว่า ปฏิกิริยาของสุรชัยนี้มิได้ก้าวล่วงในความเห็นทางการเมืองอุดมการณ์ของคนที่แตกต่างกันอีกฟากสี แต่น่าจะสะท้อนและเป็นตัวแทนความรู้สึกของคนจำนวนมากที่เรียกหาความพอดี เพราะมองเห็นพฤติกรรมอันก้าวร้าวเอาแต่ได้มากเกินไปและทำตัวเป็นเจ้าของประเทศของคนเสื้อแดง ความคิดแบบนี้นอกจากทำให้เกิดปฏิกิริยาต่อฝ่ายตรงข้ามแล้ว ก็รังแต่จะทำให้คนเสื้อแดงที่มีสำนึกดีไม่ผูกติดกับทักษิณแต่ต้องการให้เกิดความเท่าเทียมเสมอภาคอย่างแท้จริงในสังคมพลอยเสียหายไปด้วย
ก่อนหน้าที่บทกวีของน้าหงาจะปรากฏได้มีบทกวีของกวีซีไรต์เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ เรื่อง “เจ็ดซ้าย” ปรากฏออกมา บทกวีบทนั้นสร้างความไม่พอใจให้กับคนเสื้อแดงจำนวนมาก ทั้งเสื้อแดงที่เป็นกวีนักเขียนและนักวิชาการอย่างศาสตราจารย์คนนั้น เกษียร เตชะพีระ
ก่อนหน้านี้ความขัดแย้งในหมู่ศิลปินเหลืองแดงไม่ใช่เพิ่งเกิดขึ้นเนาวรัตน์เป็นกวีที่ถูกคนเสื้อแดงเอาไปค่อนแคะและพูดกระแทกแดกดันตลอดเวลาว่า รับใช้ศักดินา น้าหงาเองก็ถูกวิสา คัญทัพเอาไปพูดทำนองว่า ไม่ควรเอาบทเพลงแสงดาวแห่งศรัทธามาร้องบนเวทีพันธมิตรฯ วสันต์ สิทธิเขตต์ถูกนินทาจากศิลปินเสื้อแดงว่าไม่สมควรรับรางวัลมนัส เศียรสิงห์ซึ่งเป็นรางวัลของคนทำงานศิลปะในข้อหาทำนองเดียวกัน
ถ้าหากจะเรียกร้องจุดยืนพื้นที่ของแต่ละฝ่ายที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองแตกต่างกันตรงนี้ต่างหากที่ผมคิดว่า คือ การผูกขาดความถูกต้องแต่เพียงฝ่ายเดียว
ล่วงไปก่อนหน้าศาสตราจารย์ปราโมทย์ นาครทรรพ ก็เคยร่ายบทกวีตอบโต้บทกวีของเกษียร ปัญญาชนแดงมาแล้ว การร่ายบทกวีของน้าหงาจึงเป็นอีกหนึ่งสุนทรีวิวาทะของยุคสมัยที่ไม่จำเป็นต้องตอบโต้กันด้วยถ้อยคำรุนแรง แต่ก็ใช่ว่าภายใต้ความงดงามนั้นจะทำให้เรามองข้ามเนื้อหาสาระและข้อเท็จจริงที่ซ่อนอยู่ภายในไปได้
พลันที่บทกวีของน้าหงาปรากฏ คนรุ่นราวคราวเดียวกันอย่างวิสา คัญทัพ ได้เขียนบทกวีออกมาตอบโต้ในชื่อ “จึงเรียนมาด้วยความไม่เคารพศาลแห่งสี”
ขอเรียนศาลเลือกข้างสีที่ไม่เคารพ
สีไม่ครบเพราะถูกใช้เติมใส่สี
ไม่ระบายเลือดไพร่หาไม่ดี
สาดกระสุนส่องวิถีดับชีวิต
สีแดงคือเลือดมหาประชาชน
ผู้ทุกข์ทนคนไทยผู้ไร้สิทธิ์
ใช่คนปล้นสีไปไร้ความคิด
เขาถูกปลิดชีพเชือดจนเลือดริน
กระหายดื่มสีแดงแห่งเลือดข้น
จึงไล่ยิงกลางถนนคนใจหิน
เนาวรัตน์สุรชัยไม่ได้ยิน
จึงลืมดินไม่มีใจให้สีแดง
ความจริงแล้วสีแดงนั้นเป็นที่ยอมรับกันว่า เป็นสีสัญลักษณ์ของการต่อสู้เพื่อเปลี่ยนแปลงระบอบในทางสากล ผมคิดว่าความหมายของคนเสื้อแดงที่ต้องการสื่อก็เป็นทำนองนี้ แต่วิสาเอาสีแดงที่ใช้เป็นสัญลักษณ์ของพวกตัวเองมาปนกับเลือดของประชาชนที่เสียชีวิต ฟังดูก็เหมือนถูก แต่ถ้ามันจะถูกจริงๆ ก็แสดงว่า การเสียชีวิตของคนเสื้อแดงนั้นเป็นความตั้งใจจะให้เกิดขึ้นเช่นนั้นหรือ
และบทกวีของน้าหงาก็ไม่มีตรงไหนเลยที่หมิ่นเหยียดคนเสื้อแดงที่เสียชีวิต ทั้งคนเสื้อแดงที่คิดว่าออกมาสู้เพื่อร้องหาความเสมอภาคจริงๆ หรือทั้งที่ถูกหลอกมาให้เป็นโล่บังกระสุนเพราะรักทักษิณ
ผมคิดว่า ไม่มีคนไทยคนไหนอยากเห็นเพื่อนร่วมชาติเสียชีวิต กระบวนการถามหาคนผิดจึงควรดำเนินต่อไป แต่กลายเป็นว่า ตอนนี้หัวขบวนของคนเสื้อแดงต่างหากที่กำลังเรียกร้องให้ลบล้างความผิดทั้งหมด นั่นก็คงเป็นเพราะเป้าหมายการต่อสู้ของพวกเขาที่แท้จริงนั้น เพียงเพื่อให้ทักษิณพ้นผิด และถ้ากระบวนการสืบสวนดำเนินต่อไป มันก็จะปรากฏว่าใครเป็นผู้เริ่มลั่นกระสุน ผมคิดว่าเหตุการณ์วันที่ 10 เมษายนที่แยกคอกวัวและการยิงระเบิดเอ็ม 79 สถานที่ต่างๆ ก่อนหน้านั้น คงไม่สามารถทำให้ลบเลือนไปได้
จริงๆ แล้วไม่เพียงแต่วิสาเท่านั้นที่ออกมาตอบโต้น้าหงา มติชนออนไลน์สื่อที่อุทิศตนเพื่อคนเสื้อแดงได้นำเสนอบทกวีของฝ่ายเสื้อแดงจำนวนมากที่ออกมาตอบโต้กับน้าหงา ผมก็เลยอยากสวนเสวนาสุนทรีวิวาทะกับเขาดูบ้างดังนี้
แล้วศาลก็ขึ้นบังลังก์ชั่งเหตุผล
ใครกันปล้นสีแดงช่วยแจ้งไข
สาดเลือดคนข้นเข้มเต็มผืนไทย
แล้วหลอกไพร่มาบัดพลีชีวีตัว
คนปลุกปั่นสู้แล้วรวยฉวยโอกาส
เหมือนเป็นทาสรับใช้นายถวายหัว
อ้างอำมาตย์บาตรใหญ่ให้ไพร่กลัว
แต่เกลือกกลั้วทุนสามานย์สำราญใจ
เอาเลือดคนสีแดงแปลงเป็นทรัพย์
ศพคนตายมาขยับฐานะใหญ่
เป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีประเทศไทย
การต่อสู้เพื่อไพร่ตรงไหนกัน
นอกจากนั้นยังมีบทกวีแปลงของศาสตราจารย์เกษียรที่เอาบทกวีของน้าหงามาแปลงโดยการเปลี่ยนถ่อยคำ “สีแดง” ในบทกวีของน้าหงาเป็น “สีเหลือง” แต่อ่านดูแล้วก็ยิ่งมองเห็นความเลอะเลือนของเกษียร
เพราะถ้าเกษียรมองจากสายตาที่มุ่งหาความจริงแล้วพันธมิตรฯ ไม่เคยผูกขาดสีเหลืองในลักษณะที่เสื้อแดงของเกษียรกระทำ ไม่ว่านโยบายแดงทั้งแผ่นดิน หมู่บ้านเสื้อแดง และผู้ชุมนุมทุกคนต้องใส่เสื้อแดงมาร่วม แต่ผู้ชุมนุมของพันธมิตรฯ ไม่เคยกะเกณฑ์ว่าต้องใส่เสื้อสีอะไร ยุคแรกๆ ที่ทำเสื้อ “เราจะสู้เพื่อในหลวง” นั้นก็ทำทั้งสีเหลืองและสีขาว แต่คนส่วนใหญ่จะชอบสีเหลืองเพราะถือเป็นสีของในหลวง จริงอยู่เมื่อคนเสื้อแดงสถาปนาตัวเอง สื่อส่วนใหญ่ก็พากันเรียกพันธมิตรฯ ว่าเสื้อเหลืองโดยปริยาย และพันธมิตรฯ ก็น้อมรับคำเรียกนั้น แต่ไม่มีลักษณะผูกขาดเป็นเจ้าของแบบที่สีแดงทำแน่ๆ เรื่องนี้ศาสตราจารย์จึงมั่วและโมเมด้วยทัศนคติอคติอย่างเดียว
บทกวีแปลงของเกษียรจึงไม่มีคุณค่าอะไรนอกจากตอกย้ำฉายา “จตุพรทางวิชาการ” ของเขาที่ได้ตราตรึงและรับรู้ฉายานี้ไปแล้วในวงกว้างเท่านั้นเอง