ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - ม.อ.ปัตตานี จัดเสวนาวิชาการ “ปาตานี ในมิติประวัติศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรม” นำเสนองานวิจัยนอกมิติความขัดแย้ง และความรุนแรง พร้อมวิจารณ์ผลงาน ดึงนักร้องดังชายแดนใต้ “บารูดิง” โชว์
นายพุทธพล มงคลวรรณ อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เปิดเผยว่า ในวันที่ 15-16 มิถุนายน 2555 จะมีการจัดโครงการเสวนาทางวิชาการ เรื่อง “ปาตานี ในมิติประวัติศาสตร์สังคมและวัฒนธรรม” ที่หอประชุมสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เพื่อนำเสนอ และเผยแพร่งานวิจัยที่ได้จากโครงการที่รวบรวมอยู่ในวารสารวิชาการด้านเอเชียศึกษารุไบยาต
ทั้งนี้ วารสารฉบับดังกล่าวได้ออกมาในวาระพิเศษในการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง “สภาวะความเป็นสมัยใหม่อันแตกกระจาย การค้นหาประวัติศาสตร์สังคมวัฒนธรรมปาตานี” (Fragmented Moernities : The uest for a Soial and cultural History of Patani) ซึ่งหน่วยวิจัยภูมิภาคศึกษา สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมกับภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มูลนิธิเอเชีย ประเทศไทย (The Asia Foundation) และสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 27-28 มกราคม 2555 ที่อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นายพุทธพล เปิดเผยว่า เป้าหมายการเสวนาครั้งนี้ เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์ใหม่ในการแก้ปัญหาความรุนแรงในชายแดนภาคใต้อย่างยั่งยืน ด้วยการกำหนดสร้างองค์ประธานใหม่ในการเขียนประวัติศาสตร์ปัตตานี/ปาตานี และเพื่อให้หลุดพ้นจากกรอบคิดที่ว่า ประวัติศาสตร์ปัตตานี/ปาตานีเป็นเพียงปริมณฑลแห่งการต่อสู้ เพื่อแย่งชิงพื้นที่ความทรงจำระหว่างรัฐไทยกับขบวนการปลดปล่อยปาตานีเพียงอย่างเดียว จนทำให้มองไม่เห็นถึงมิติทางด้านสังคม วัฒนธรรม และความหลากหลายของวิถีชิตมนุษย์
“เป็นการเปิดหน้าประวัติศาสตร์ใหม่ เนื่องจากเอกสารทางประวัติศาสตร์ในอดีตส่วนมากเป็นประวัติศาสตร์ในมิติความขัดแย้ง หรือมิติการเมืองเท่านั้น ซึ่งในความเป็นจริง ควรมีประวัติศาสตร์ในมิติสังคม และวัฒนธรรมด้วย ผมมองว่า ควรนำเสนอให้ประชาชนทราบเกี่ยวกับงานวิจัยครั้งนี้ด้วย โดยเน้นการพูดคุยเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ปาตานีในแง่มุมต่างๆ ให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ” นายพุทธพล กล่าว
นายพุทธพล เปิดเผยว่า กลุ่มเป้าหมายในงาน คือ บุคลากรทางการศึกษา เครือข่ายเยาวชน เครือข่ายประชาสังคม เจ้าหน้าที่รัฐ นักวิชาการ และประชาชนที่ทั่วไปที่ติดตามปัญหาความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้
สำหรับจุดเด่นในงานของวันที่ 15 มิถุนายน 2555 นายพุทธพลกล่าวว่า ได้แก่ การปาฐกถาเรื่อง “Patani : Dari Negara Darul Salam Sampai Changwat Pattani” (ปาตานี : จากประเทศนิวาสสถานแห่งสันติสุข สู่จังหวัด “ปัตตานี”) โดยนายอาหมัด ฟัตฮี อัล-ฟาตานี (Ahmad Fathy Al-Fatani) นักวิชาการอิสระ จากรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ซึ่งศึกษาข้อมูล ค้นคว้า และเก็บรวบรวมเอกสารต่างๆ เกี่ยวกับปาตานี
จากนั้นช่วงบ่าย มีการพูดคุยและชมการแสดง “บารูดิง Unplugged” โดยมีนายบัญชา ราชมณี นักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมวิจารณ์งานเพลงของ “บารูดิง Unplugged” ด้วย ซึ่งบารูดิง คือ นักร้องชื่อดังของพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
ส่วนวันที่ 16 มิถุนายน 2555 มีการปาฐกถาเรื่อง “ความเป็นไทยใน ‘ความเป็นอื่น’ : มลายูมุสลิมในฐานะส่วนหนึ่งของอัตลักษณ์ไทย” โดยนายสุจิตต์ วงษ์เทศ ผู้ก่อตั้งนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ซึ่งเป็นนิตยสารเชิงสารคดีเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมในเครือบริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) และในช่วงสุดท้ายของงาน มีการพูดคุยกับซาการีย์ยา อมตยา กวีซีไรต์ ทัช ธาดา และอาแซ บูงอสายู
สำหรับองค์กรร่วมจัดงานนี้ ได้แก่ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) วิทยาเขตปัตตานี วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ วารสารรูสะมิแล และสถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) วิทยาเขตหาดใหญ่
นูรยา เก็บบุญเกิด
โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ (DSJ)
นายพุทธพล มงคลวรรณ อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เปิดเผยว่า ในวันที่ 15-16 มิถุนายน 2555 จะมีการจัดโครงการเสวนาทางวิชาการ เรื่อง “ปาตานี ในมิติประวัติศาสตร์สังคมและวัฒนธรรม” ที่หอประชุมสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เพื่อนำเสนอ และเผยแพร่งานวิจัยที่ได้จากโครงการที่รวบรวมอยู่ในวารสารวิชาการด้านเอเชียศึกษารุไบยาต
ทั้งนี้ วารสารฉบับดังกล่าวได้ออกมาในวาระพิเศษในการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง “สภาวะความเป็นสมัยใหม่อันแตกกระจาย การค้นหาประวัติศาสตร์สังคมวัฒนธรรมปาตานี” (Fragmented Moernities : The uest for a Soial and cultural History of Patani) ซึ่งหน่วยวิจัยภูมิภาคศึกษา สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมกับภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มูลนิธิเอเชีย ประเทศไทย (The Asia Foundation) และสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 27-28 มกราคม 2555 ที่อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นายพุทธพล เปิดเผยว่า เป้าหมายการเสวนาครั้งนี้ เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์ใหม่ในการแก้ปัญหาความรุนแรงในชายแดนภาคใต้อย่างยั่งยืน ด้วยการกำหนดสร้างองค์ประธานใหม่ในการเขียนประวัติศาสตร์ปัตตานี/ปาตานี และเพื่อให้หลุดพ้นจากกรอบคิดที่ว่า ประวัติศาสตร์ปัตตานี/ปาตานีเป็นเพียงปริมณฑลแห่งการต่อสู้ เพื่อแย่งชิงพื้นที่ความทรงจำระหว่างรัฐไทยกับขบวนการปลดปล่อยปาตานีเพียงอย่างเดียว จนทำให้มองไม่เห็นถึงมิติทางด้านสังคม วัฒนธรรม และความหลากหลายของวิถีชิตมนุษย์
“เป็นการเปิดหน้าประวัติศาสตร์ใหม่ เนื่องจากเอกสารทางประวัติศาสตร์ในอดีตส่วนมากเป็นประวัติศาสตร์ในมิติความขัดแย้ง หรือมิติการเมืองเท่านั้น ซึ่งในความเป็นจริง ควรมีประวัติศาสตร์ในมิติสังคม และวัฒนธรรมด้วย ผมมองว่า ควรนำเสนอให้ประชาชนทราบเกี่ยวกับงานวิจัยครั้งนี้ด้วย โดยเน้นการพูดคุยเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ปาตานีในแง่มุมต่างๆ ให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ” นายพุทธพล กล่าว
นายพุทธพล เปิดเผยว่า กลุ่มเป้าหมายในงาน คือ บุคลากรทางการศึกษา เครือข่ายเยาวชน เครือข่ายประชาสังคม เจ้าหน้าที่รัฐ นักวิชาการ และประชาชนที่ทั่วไปที่ติดตามปัญหาความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้
สำหรับจุดเด่นในงานของวันที่ 15 มิถุนายน 2555 นายพุทธพลกล่าวว่า ได้แก่ การปาฐกถาเรื่อง “Patani : Dari Negara Darul Salam Sampai Changwat Pattani” (ปาตานี : จากประเทศนิวาสสถานแห่งสันติสุข สู่จังหวัด “ปัตตานี”) โดยนายอาหมัด ฟัตฮี อัล-ฟาตานี (Ahmad Fathy Al-Fatani) นักวิชาการอิสระ จากรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ซึ่งศึกษาข้อมูล ค้นคว้า และเก็บรวบรวมเอกสารต่างๆ เกี่ยวกับปาตานี
จากนั้นช่วงบ่าย มีการพูดคุยและชมการแสดง “บารูดิง Unplugged” โดยมีนายบัญชา ราชมณี นักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมวิจารณ์งานเพลงของ “บารูดิง Unplugged” ด้วย ซึ่งบารูดิง คือ นักร้องชื่อดังของพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
ส่วนวันที่ 16 มิถุนายน 2555 มีการปาฐกถาเรื่อง “ความเป็นไทยใน ‘ความเป็นอื่น’ : มลายูมุสลิมในฐานะส่วนหนึ่งของอัตลักษณ์ไทย” โดยนายสุจิตต์ วงษ์เทศ ผู้ก่อตั้งนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ซึ่งเป็นนิตยสารเชิงสารคดีเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมในเครือบริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) และในช่วงสุดท้ายของงาน มีการพูดคุยกับซาการีย์ยา อมตยา กวีซีไรต์ ทัช ธาดา และอาแซ บูงอสายู
สำหรับองค์กรร่วมจัดงานนี้ ได้แก่ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) วิทยาเขตปัตตานี วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ วารสารรูสะมิแล และสถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) วิทยาเขตหาดใหญ่
นูรยา เก็บบุญเกิด
โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ (DSJ)