โดย : ดร.สุวินัย ภรณวลัย
www.dragon-press.com
*ถ้าคนวัยห้าสิบในขณะนี้จะมีอายุถึงร้อยปี*
หากตอนนี้ คุณอยู่ในวัยกลางคน การจะจินตนาการว่าตัวเองจะเป็นอย่างไรเมื่ออายุ 100 ปี คงจะกลายเป็น การก้าวกระโดดทางความคิด พอๆ กับการให้เด็กอายุสองขวบ ลองจินตนาการถึงตัวเองเมื่ออายุ 50 ปีเลยทีเดียว ในทางสังคม คนวัยห้าสิบเป็นวัยที่พอจะประเมินได้แล้วว่า คนผู้นั้นประสบความสำเร็จหรือความล้มเหลวในชีวิต เพราะถ้าผู้นั้นแต่งงานมีครอบครัว ลูกๆ ของเขาก็คงโตแล้ว และถ้าหากอาชีพการงานของผู้นั้นมั่นคงพอ ความห่วงกังวลในชีวิตหลังจากนั้นของคนผู้นั้นก็น่าจะเหลือแต่เรื่องสุขภาพเท่านั้น
คนวัยห้าสิบจึงเหมือนกับเป็นการเกิดครั้งที่สองของคนเราก็ว่าได้ ต่างกันแต่เพียงว่า เมื่อเทียบกับการเกิดครั้งแรก การเกิดครั้งที่สองในวัยห้าสิบปีมีข้อดีตรงที่เป็นสิ่งที่ผู้นั้นสามารถวางแผนล่วงหน้าได้ แต่ก็มีจุดอ่อนที่ชัดเจนตรงที่ผู้นั้นไม่ได้มีร่างกายใหม่ ยิ่งถ้าหากในช่วงห้าสิบปีแรกของชีวิต ผู้นั้นไม่ได้เอาใจใส่ต่อสุขภาพดูแลร่างกายของตนเองดีพอ การจะใช้ชีวิตอีกห้าสิบปีหลังจากนั้นของการเกิดครั้งที่สองอาจกลายเป็นเรื่องหนักหนาสาหัสเกินคาดเลยทีเดียว
สิ่งที่คนวัยห้าสิบต้องการเมื่อเขามีอายุ 100 ปี น่าจะได้แก่การที่ผู้นั้นยังคงมีสุขภาพดีเหมือนเดิม ยังคงมีจิตใจที่เบิกบานกระตือรือร้นอยู่เช่นเดิม ยังคงมีความกระฉับกระเฉงเหมือนเดิม ยังคงฉลาดรอบรู้ อีกทั้งยังคงมีความสามารถในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้เหมือนเดิม และถ้าเป็นไปได้คงอยากอยู่ต่อไปให้นานขึ้นอีก ความปรารถนาเหล่านี้ ความจริงแล้วน่าจะเป็นสิ่งที่อยู่แค่เอื้อมสำหรับคนวัยห้าสิบในขณะนี้ ถ้าหากผู้นั้นรู้อยู่แล้วว่าทำอย่างไรถึงจะมีสุขภาพดีและอายุยืน เพราะก็แค่ใช้ชีวิตที่เสริมสร้างสุขภาพ และชะลอวัยแบบเดียวกันนี้ต่อไปอีกไปเรื่อยๆ ไปอีกนานเท่านานเท่านั้นเอง
และถ้าหากผู้นั้นมีจิตใจที่เบิกบานกระตือรือร้นอยู่แล้ว ก็แค่พยายามรักษาสภาพจิตใจเช่นนั้น เอาไว้เสมออย่าปล่อยให้ความเฉื่อยเนือยครอบงำเมื่อเวลาผ่านไป หากเป็นคนกระฉับกระเฉงอยู่แล้วก็ต้องไม่เลิกที่จะเคลื่อนไหว ทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันอย่างไม่ยอมนิ่งเฉย โดยเฉพาะการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เพื่อเสริมสร้างภูมิปัญญาให้แก่ชีวิตตนเองอยู่เสมอไปจนตลอดชีวิต
กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ คนวัยห้าสิบที่จะอยู่ถึงร้อยปี ควรจะต้องรู้ชัดว่าตัวเองมีความคาดหวังอะไรต่อร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณของตนในช่วงห้าสิบปีหลังจากนี้ หากต้องการมีอายุยืนถึงร้อยปีหรือกว่านั้น แล้วก็จงใช้ชีวิตของตนอีกห้าสิบปีหลังจากนี้ไปตามจินตนาการอันสูงส่งที่ตัวเองได้คาดหวังเกี่ยวกับตนเองในมิติต่างๆ อย่างบูรณาการให้จงได้เท่านั้นเอง
ถ้าจะกล่าวให้เป็นรูปธรรมยิ่งขึ้นก็คือ ผู้ที่อยู่ในวัยห้าสิบขณะนี้ ที่ปรารถนาจะมีอายุยืนถึงร้อยปีหรือกว่านั้น
(ก) ในทางร่างกาย ผู้นั้นไม่ควรมีน้ำหนักเกิน หรือต่ำกว่ามาตรฐานเกินไป น้ำหนักตัวของผู้นั้นจะต้องขึ้นลงไม่มากตลอดอายุขัย ผู้นั้นควรมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรง มีผิวหนังที่ดูอ่อนกว่าวัย ยังสามารถขับรถได้เองและทำกิจกรรมทางกายภาพต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะสูงวัยแค่ไหนแล้วก็ตาม
(ข) ในทางจิตใจ ผู้นั้นยังควรสนใจเหตุการณ์บ้านเมือง และความเป็นไปของโลก ไม่ว่าตัวเองจะสูงวัยแค่ไหน ความทรงจำก็ควรจะยังดีอยู่เสมอ ผู้นั้นควรจะต้องอยู่ในสภาวะจิตใจที่ไร้กังวล เป็นอิสระจากความวิตกกังวลทั้งปวง ผู้นั้นควรจะทำงานที่เป็นนายของตนเอง มีความสุขกับชีวิต มองโลกในเชิงบวกและในแง่ดีอยู่เสมอ สามารถมองเห็นความงามของเรื่องราวต่างๆ ในขณะที่คนอื่นมองเห็นแต่ความอัปลักษณ์ ผู้นั้นควรจะเป็นคนที่มีความสามารถในการปรับตัวได้ดี มีอารมณ์ขันและแลเห็นความรื่นรมย์ในชีวิต โดยใช้ชีวิตด้วยความพึงพอใจในแต่ละวัย และไม่กังวลกับความตาย
(ค) ในทางจิตวิญญาณ ผู้นั้นควรจะตระหนักได้ถึงความศักดิ์สิทธิ์ของชีวิต และเริ่มใช้ชีวิตที่ศักดิ์สิทธิ์ด้วยการเดินบนวิถีศักดิ์สิทธิ์ ผ่านการปฏิบัติธรรม เพื่อเข้าถึงความศักดิ์สิทธิ์โดยตรง เพื่อทำให้สุญญตาธรรม พุทธธรรม หรือเทวธรรมปรากฏผ่านตัวผู้นั้น จนกระทั่งเป็นความหมายแห่งชีวิตของผู้นั้น พร้อมๆ กับเป็นความหมายของโลกและจักรวาลในเวลาเดียวกัน
สูตรการเป็นคนมีอายุยืนถึงร้อยปี ที่เคยวิจัยค้นคว้ากันมาในโลกตะวันตกมาตั้งแต่ช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ที่เป็นความรู้ทั่วไป และคิดว่ายังคงใช้ได้แม้ในยุคศตวรรษที่ 21 อย่างยุคนี้นั้นได้แก่ (1) การกินอย่างสมถะ (2) หมั่นออกกำลังกาย และรับอากาศบริสุทธิ์ให้เต็มที่ (3) เลือกอาชีพที่ตนเองรัก และพอใจ (4) ฝึกนิสัยให้เป็นคนใจเย็น ไม่ขี้กังวล (5) ดื่มน้ำสะอาดเป็นประจำ (6) รักษาอนามัยส่วนตัวให้ดี (7) ละเว้นสารกระตุ้น และยาระงับประสาท รวมทั้งบุหรี่ และสุราของมึนเมา (8) ถ่ายอุจจาระทุกวันเป็นปกติ (9) นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ (10) มีความสุขในมนุษยสัมพันธ์ต่างๆ
แต่ถ้าเป็น แนวทางสุขภาพแบบควอนตัม ของดีปัก โชปรา เพื่อการมีอายุยืนถึงร้อยปีหรือกว่านั้น เขาได้นำเสนอ กุญแจ 10 ข้อเพื่อการควบคุมความแก่ และควบคุมจิตสำนึกในการที่จะมุ่งมั่นให้มีอายุยืนถึงร้อยปีหรือกว่านั้น ดังต่อไปนี้
(1) จงฟังเชาวน์ปัญญาของร่างกายตนเองอยู่เสมอ
โดยปกติร่างกายของเรา มักจะส่งสัญญาณออกมาในรูปของความสบายกายหรือไม่สบายกาย พฤติกรรมใดที่ทำไปแล้ว ร่างกายเราส่งสัญญาณของความไม่สบายกาย หรือไม่สบายใจออกมา จะต้องระวังให้ดี แต่ถ้าร่างกายเราส่งสัญญาณของความสุขสบาย และความคึกคักมีชีวิตชีวาออกมา ก็จงเดินหน้าต่อไป
(2) จงมีชีวิตอยู่กับปัจจุบัน
จงใส่ใจสิ่งที่อยู่เฉพาะหน้า ณ ที่นี่ และเดี๋ยวนี้ มองเห็นความพอใจในปัจจุบันขณะ โดยการยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเราอย่างสมบูรณ์ และโดยสิ้นเชิง
(3) หมั่นหาเวลาอยู่คนเดียวกับตัวเองอย่างสงบ อย่างเงียบๆ เพียงลำพัง เพื่อสัมผัสกับการตระหนักรู้ที่บริสุทธิ์ของตนเอง และใส่ใจกับชีวิตภายในของตนเองให้มากๆ
(4) ละทิ้งความต้องการการยอมรับจากภายนอก ให้ตัวเราเองเท่านั้น ที่เป็นผู้ตัดสินคุณค่าของตนเองไม่ใช่คนอื่น และตัวเราจะต้องค้นพบคุณค่าอันไม่มีประมาณในตัวของเราให้จงได้
(5) หมั่นรู้ทันความโกรธหรือความรู้สึกเป็นปฏิปักษ์ของตนเอง ยามมีปฏิกิริยาต่อผู้อื่น หรือต่อสถานการณ์ต่างๆ
(6) จงรู้ว่า โลก “ข้างนอกนั่น” แค่สะท้อนความจริงของตัวเรา “ข้างในนี่” เท่านั้น ผู้คนที่เราตอบโต้รุนแรงที่สุด ไม่ว่าด้วยความรัก หรือความเกลียดชังเป็นแค่ภาพสะท้อนโลกภายในของตัวเราเท่านั้น จงทำความเข้าใจตัวเองอย่างสมบูรณ์โดยผ่านกระจกของความสัมพันธ์เหล่านี้
(7) เลิกตัดสินคนอื่น จงรู้รัก รู้อภัย
(8) อย่าทำให้ร่างกายตนเองแปดเปื้อนสารพิษ ทั้งจากอาหาร น้ำดื่ม หรืออารมณ์ที่เป็นพิษ
(9) จงแทนที่พฤติกรรมที่มีแรงผลักดันจากความกลัว ด้วยพฤติกรรมที่มีแรงผลักดันจากความรัก
(10) จงเข้าใจว่า โลกทางกายภาพเป็นเพียงกระจกเงาของเชาวน์ปัญญาที่ลึกซึ้งของจักรวาลเท่านั้น
www.dragon-press.com
*ถ้าคนวัยห้าสิบในขณะนี้จะมีอายุถึงร้อยปี*
หากตอนนี้ คุณอยู่ในวัยกลางคน การจะจินตนาการว่าตัวเองจะเป็นอย่างไรเมื่ออายุ 100 ปี คงจะกลายเป็น การก้าวกระโดดทางความคิด พอๆ กับการให้เด็กอายุสองขวบ ลองจินตนาการถึงตัวเองเมื่ออายุ 50 ปีเลยทีเดียว ในทางสังคม คนวัยห้าสิบเป็นวัยที่พอจะประเมินได้แล้วว่า คนผู้นั้นประสบความสำเร็จหรือความล้มเหลวในชีวิต เพราะถ้าผู้นั้นแต่งงานมีครอบครัว ลูกๆ ของเขาก็คงโตแล้ว และถ้าหากอาชีพการงานของผู้นั้นมั่นคงพอ ความห่วงกังวลในชีวิตหลังจากนั้นของคนผู้นั้นก็น่าจะเหลือแต่เรื่องสุขภาพเท่านั้น
คนวัยห้าสิบจึงเหมือนกับเป็นการเกิดครั้งที่สองของคนเราก็ว่าได้ ต่างกันแต่เพียงว่า เมื่อเทียบกับการเกิดครั้งแรก การเกิดครั้งที่สองในวัยห้าสิบปีมีข้อดีตรงที่เป็นสิ่งที่ผู้นั้นสามารถวางแผนล่วงหน้าได้ แต่ก็มีจุดอ่อนที่ชัดเจนตรงที่ผู้นั้นไม่ได้มีร่างกายใหม่ ยิ่งถ้าหากในช่วงห้าสิบปีแรกของชีวิต ผู้นั้นไม่ได้เอาใจใส่ต่อสุขภาพดูแลร่างกายของตนเองดีพอ การจะใช้ชีวิตอีกห้าสิบปีหลังจากนั้นของการเกิดครั้งที่สองอาจกลายเป็นเรื่องหนักหนาสาหัสเกินคาดเลยทีเดียว
สิ่งที่คนวัยห้าสิบต้องการเมื่อเขามีอายุ 100 ปี น่าจะได้แก่การที่ผู้นั้นยังคงมีสุขภาพดีเหมือนเดิม ยังคงมีจิตใจที่เบิกบานกระตือรือร้นอยู่เช่นเดิม ยังคงมีความกระฉับกระเฉงเหมือนเดิม ยังคงฉลาดรอบรู้ อีกทั้งยังคงมีความสามารถในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้เหมือนเดิม และถ้าเป็นไปได้คงอยากอยู่ต่อไปให้นานขึ้นอีก ความปรารถนาเหล่านี้ ความจริงแล้วน่าจะเป็นสิ่งที่อยู่แค่เอื้อมสำหรับคนวัยห้าสิบในขณะนี้ ถ้าหากผู้นั้นรู้อยู่แล้วว่าทำอย่างไรถึงจะมีสุขภาพดีและอายุยืน เพราะก็แค่ใช้ชีวิตที่เสริมสร้างสุขภาพ และชะลอวัยแบบเดียวกันนี้ต่อไปอีกไปเรื่อยๆ ไปอีกนานเท่านานเท่านั้นเอง
และถ้าหากผู้นั้นมีจิตใจที่เบิกบานกระตือรือร้นอยู่แล้ว ก็แค่พยายามรักษาสภาพจิตใจเช่นนั้น เอาไว้เสมออย่าปล่อยให้ความเฉื่อยเนือยครอบงำเมื่อเวลาผ่านไป หากเป็นคนกระฉับกระเฉงอยู่แล้วก็ต้องไม่เลิกที่จะเคลื่อนไหว ทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันอย่างไม่ยอมนิ่งเฉย โดยเฉพาะการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เพื่อเสริมสร้างภูมิปัญญาให้แก่ชีวิตตนเองอยู่เสมอไปจนตลอดชีวิต
กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ คนวัยห้าสิบที่จะอยู่ถึงร้อยปี ควรจะต้องรู้ชัดว่าตัวเองมีความคาดหวังอะไรต่อร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณของตนในช่วงห้าสิบปีหลังจากนี้ หากต้องการมีอายุยืนถึงร้อยปีหรือกว่านั้น แล้วก็จงใช้ชีวิตของตนอีกห้าสิบปีหลังจากนี้ไปตามจินตนาการอันสูงส่งที่ตัวเองได้คาดหวังเกี่ยวกับตนเองในมิติต่างๆ อย่างบูรณาการให้จงได้เท่านั้นเอง
ถ้าจะกล่าวให้เป็นรูปธรรมยิ่งขึ้นก็คือ ผู้ที่อยู่ในวัยห้าสิบขณะนี้ ที่ปรารถนาจะมีอายุยืนถึงร้อยปีหรือกว่านั้น
(ก) ในทางร่างกาย ผู้นั้นไม่ควรมีน้ำหนักเกิน หรือต่ำกว่ามาตรฐานเกินไป น้ำหนักตัวของผู้นั้นจะต้องขึ้นลงไม่มากตลอดอายุขัย ผู้นั้นควรมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรง มีผิวหนังที่ดูอ่อนกว่าวัย ยังสามารถขับรถได้เองและทำกิจกรรมทางกายภาพต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะสูงวัยแค่ไหนแล้วก็ตาม
(ข) ในทางจิตใจ ผู้นั้นยังควรสนใจเหตุการณ์บ้านเมือง และความเป็นไปของโลก ไม่ว่าตัวเองจะสูงวัยแค่ไหน ความทรงจำก็ควรจะยังดีอยู่เสมอ ผู้นั้นควรจะต้องอยู่ในสภาวะจิตใจที่ไร้กังวล เป็นอิสระจากความวิตกกังวลทั้งปวง ผู้นั้นควรจะทำงานที่เป็นนายของตนเอง มีความสุขกับชีวิต มองโลกในเชิงบวกและในแง่ดีอยู่เสมอ สามารถมองเห็นความงามของเรื่องราวต่างๆ ในขณะที่คนอื่นมองเห็นแต่ความอัปลักษณ์ ผู้นั้นควรจะเป็นคนที่มีความสามารถในการปรับตัวได้ดี มีอารมณ์ขันและแลเห็นความรื่นรมย์ในชีวิต โดยใช้ชีวิตด้วยความพึงพอใจในแต่ละวัย และไม่กังวลกับความตาย
(ค) ในทางจิตวิญญาณ ผู้นั้นควรจะตระหนักได้ถึงความศักดิ์สิทธิ์ของชีวิต และเริ่มใช้ชีวิตที่ศักดิ์สิทธิ์ด้วยการเดินบนวิถีศักดิ์สิทธิ์ ผ่านการปฏิบัติธรรม เพื่อเข้าถึงความศักดิ์สิทธิ์โดยตรง เพื่อทำให้สุญญตาธรรม พุทธธรรม หรือเทวธรรมปรากฏผ่านตัวผู้นั้น จนกระทั่งเป็นความหมายแห่งชีวิตของผู้นั้น พร้อมๆ กับเป็นความหมายของโลกและจักรวาลในเวลาเดียวกัน
สูตรการเป็นคนมีอายุยืนถึงร้อยปี ที่เคยวิจัยค้นคว้ากันมาในโลกตะวันตกมาตั้งแต่ช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ที่เป็นความรู้ทั่วไป และคิดว่ายังคงใช้ได้แม้ในยุคศตวรรษที่ 21 อย่างยุคนี้นั้นได้แก่ (1) การกินอย่างสมถะ (2) หมั่นออกกำลังกาย และรับอากาศบริสุทธิ์ให้เต็มที่ (3) เลือกอาชีพที่ตนเองรัก และพอใจ (4) ฝึกนิสัยให้เป็นคนใจเย็น ไม่ขี้กังวล (5) ดื่มน้ำสะอาดเป็นประจำ (6) รักษาอนามัยส่วนตัวให้ดี (7) ละเว้นสารกระตุ้น และยาระงับประสาท รวมทั้งบุหรี่ และสุราของมึนเมา (8) ถ่ายอุจจาระทุกวันเป็นปกติ (9) นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ (10) มีความสุขในมนุษยสัมพันธ์ต่างๆ
แต่ถ้าเป็น แนวทางสุขภาพแบบควอนตัม ของดีปัก โชปรา เพื่อการมีอายุยืนถึงร้อยปีหรือกว่านั้น เขาได้นำเสนอ กุญแจ 10 ข้อเพื่อการควบคุมความแก่ และควบคุมจิตสำนึกในการที่จะมุ่งมั่นให้มีอายุยืนถึงร้อยปีหรือกว่านั้น ดังต่อไปนี้
(1) จงฟังเชาวน์ปัญญาของร่างกายตนเองอยู่เสมอ
โดยปกติร่างกายของเรา มักจะส่งสัญญาณออกมาในรูปของความสบายกายหรือไม่สบายกาย พฤติกรรมใดที่ทำไปแล้ว ร่างกายเราส่งสัญญาณของความไม่สบายกาย หรือไม่สบายใจออกมา จะต้องระวังให้ดี แต่ถ้าร่างกายเราส่งสัญญาณของความสุขสบาย และความคึกคักมีชีวิตชีวาออกมา ก็จงเดินหน้าต่อไป
(2) จงมีชีวิตอยู่กับปัจจุบัน
จงใส่ใจสิ่งที่อยู่เฉพาะหน้า ณ ที่นี่ และเดี๋ยวนี้ มองเห็นความพอใจในปัจจุบันขณะ โดยการยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเราอย่างสมบูรณ์ และโดยสิ้นเชิง
(3) หมั่นหาเวลาอยู่คนเดียวกับตัวเองอย่างสงบ อย่างเงียบๆ เพียงลำพัง เพื่อสัมผัสกับการตระหนักรู้ที่บริสุทธิ์ของตนเอง และใส่ใจกับชีวิตภายในของตนเองให้มากๆ
(4) ละทิ้งความต้องการการยอมรับจากภายนอก ให้ตัวเราเองเท่านั้น ที่เป็นผู้ตัดสินคุณค่าของตนเองไม่ใช่คนอื่น และตัวเราจะต้องค้นพบคุณค่าอันไม่มีประมาณในตัวของเราให้จงได้
(5) หมั่นรู้ทันความโกรธหรือความรู้สึกเป็นปฏิปักษ์ของตนเอง ยามมีปฏิกิริยาต่อผู้อื่น หรือต่อสถานการณ์ต่างๆ
(6) จงรู้ว่า โลก “ข้างนอกนั่น” แค่สะท้อนความจริงของตัวเรา “ข้างในนี่” เท่านั้น ผู้คนที่เราตอบโต้รุนแรงที่สุด ไม่ว่าด้วยความรัก หรือความเกลียดชังเป็นแค่ภาพสะท้อนโลกภายในของตัวเราเท่านั้น จงทำความเข้าใจตัวเองอย่างสมบูรณ์โดยผ่านกระจกของความสัมพันธ์เหล่านี้
(7) เลิกตัดสินคนอื่น จงรู้รัก รู้อภัย
(8) อย่าทำให้ร่างกายตนเองแปดเปื้อนสารพิษ ทั้งจากอาหาร น้ำดื่ม หรืออารมณ์ที่เป็นพิษ
(9) จงแทนที่พฤติกรรมที่มีแรงผลักดันจากความกลัว ด้วยพฤติกรรมที่มีแรงผลักดันจากความรัก
(10) จงเข้าใจว่า โลกทางกายภาพเป็นเพียงกระจกเงาของเชาวน์ปัญญาที่ลึกซึ้งของจักรวาลเท่านั้น