โดย ดร.สุวินัย ภรณวลัย
www.dragon-press.com
*จงเปลี่ยนการรับรู้เพื่อเปลี่ยนประสบการณ์ร่างกายของเรา*
(5) ข้อสันนิษฐานใหม่ ประการที่ห้า
“การรับรู้เป็นปรากฏการณ์ของการเรียนรู้” (จากหนังสือ “ร่างกายที่เหนืออายุขัย จิตใจที่ไร้กาลเวลา” ของดีปัก โชปรา, สำนักพิมพ์มติชน, พ.ศ. 2551)
เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า คนเรามีปฏิกิริยาตอบสนองต่อประสบการณ์ไม่เหมือนกัน ปฏิกิริยาตอบสนองของแต่ละบุคคลต้องผ่าน การเรียนรู้ และนี่เป็นจุดที่ความแตกต่างถือกำเนิดขึ้น การเรียนรู้เป็นการอาศัยจิตใจอย่างมาก และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของร่างกายอย่างมากด้วย ในอีกด้านหนึ่ง ร่างกายของคนเรา ก็ถูกสร้างด้วยประสบการณ์ที่แปรเปลี่ยนเป็นการแสดงออกทางกายภาพ เซลล์ของเราถูกปลูกฝังความทรงจำของเราไว้ เซลล์ของเราดำเนินการสร้างประสบการณ์และเมตาบอลิสม์อย่างต่อเนื่องตามทัศนะส่วนตัวของเราเอง ด้วยเหตุนี้ ความแก่จึงมิใช่อะไรอื่น แต่เป็นชุดของการเปลี่ยนรูปที่ผิดพลาด เป็นกระบวนการที่ควรรักษาความเสถียร ความสมดุล และการสร้างตัวเองขึ้นใหม่ แต่กลับเบี่ยงเบนไปจากที่ควรเป็น แล้วปรากฏเป็นการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ
ประเด็นที่สำคัญมากและเกิดขึ้นจริงก็คือ จิตสำนึก ไม่ว่าในจิตใจหรือในเซลล์เราได้เบี่ยงเบนไปก่อนที่จะเกิดความแก่ทางกายภาพ เพราะฉะนั้น หากเราตระหนักว่า ความเบี่ยงเบนนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร เราย่อมสามารถนำชีวเคมีของร่างกายเราให้กลับคืนสู่ความเป็นปกติ หรือสามารถ “ชะลอวัย” ได้ เพราะไม่มีชีวเคมีใดในร่างกายเราที่อยู่นอกเหนือจิตสำนึก ทุกเซลล์ในร่างกายเราล้วนใส่ใจว่าตัวเราคิดและรู้สึกอย่างไรต่อตัวเราเอง การรับรู้ของคนเราที่ดูเผินๆ เหมือนจะเป็นไปอย่างอัตโนมัติ แท้ที่จริงแล้วเป็นปรากฏการณ์ของการเรียนรู้โลกที่เราอาศัย รวมทั้ง ประสบการณ์ของร่างกายของเราก็ถูกกำหนดจากการที่เราเรียนรู้ที่จะรับรู้ หากเราเปลี่ยนการรับรู้ของเราได้ นั่นย่อมหมายถึงการเปลี่ยนประสบการณ์ของร่างกายและโลกเลยทีเดียว
(6) ข้อสันนิษฐานใหม่ ประการที่หก
“แรงกระตุ้นของเชาวน์ปัญญาแห่งจักรวาล (Intelligence) รังสรรค์ร่างกายในรูปแบบใหม่ๆทุกวินาทีอย่างต่อเนื่อง”
สิ่งที่เป็นตัวเราคือผลรวมของแรงกระตุ้นเหล่านี้ และการเปลี่ยนแบบแผนของสิ่งเหล่านี้จะทำให้เราเปลี่ยนไป เพราะฉะนั้น ตราบใดที่การรับรู้ใหม่ๆ ยังคงเข้าสู่สมองของเราอย่างต่อเนื่อง ร่างกายของเราก็จะตอบสนองด้วยวิธีใหม่ๆ ซึ่งจะทำให้ชะลอวัย และคงความเป็นหนุ่มสาวให้ยืนนานได้ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ คนเราจะไม่แก่ แต่พอหยุดโตถึงจะเริ่มแก่ วิธีมองโลกแบบใหม่ๆ และการเรียนรู้รับรู้ใหม่ๆ จะช่วยทำให้จิตใจและร่างกายเรารักษาการเติบโตเอาไว้ได้ และตราบใดที่สิ่งนี้ยังเกิดขึ้น แนวโน้มตามธรรมชาติที่จะเป็นสิ่งใหม่ทุกๆ วินาทีก็จะแสดงออกมา
นอกจากนี้ หากมองจากมุมมองของควอนตัม คนเราจะแก่เท่ากับข้อมูลข่าวสารที่หมุนเวียนผ่านตัวเราเท่านั้น แต่เป็นเรื่องโชคดีมากๆ ที่คนเราสามารถควบคุมเนื้อหาของข้อมูลข่าวสารของสนามควอนตัมได้ เนื่องจากมีสิ่งหนึ่งในโลกนี้ที่คนเราสามารถควบคุมเป็นเจ้าของได้อย่างชัดแจ้ง โดยที่ไม่ต้องเสียอะไรเลย นั่นก็คือ การแปลความหมายของเราต่อโลก พลังของการแปลความหมายนี้จะอยู่เหนือแบบพิมพ์ทางพันธุกรรม และเป็นเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับข้อมูลข่าวสารทางร่างกายได้ ตัวอย่างกรณีศึกษาทางการแพทย์เกี่ยวกับเด็กเล็กที่โด่งดังมากในเรื่องนี้ก็คือ กรณีของเด็กที่การเจริญเติบโตชะงักงันเพราะรู้สึกว่าตนไม่เป็นที่รัก กลุ่มอาการนี้เรียกว่า ภาวะแคระแกร็นจากสาเหตุทางจิตวิทยาสังคม (psychosocial dwarfism) ที่เกิดขึ้นในหมู่เด็กที่ถูกกระทำทารุณอย่างรุนแรง
เด็กเหล่านี้ได้แปรการขาดความรักและการเอาใจใส่ไปสู่การลดลงของฮอร์โมนการเจริญเติบโต (growth hormone) เป็นการต่อต้านความจริงทางแบบพิมพ์พันธุกรรมที่ว่าโดยทั่วไป ฮอร์โมนเจริญเติบโตจะปล่อยออกมาตามกำหนดการที่วางแผนล่วงหน้าในดีเอ็นเอของเด็กทุกคน
โดยทั่วไป การแปลความหมายจะเริ่มขึ้นจากการปฏิสัมพันธ์ต่อตนเอง (self interaction) ของแต่ละคน คนเราจะมีประสบการณ์ในเรื่องนี้ ขณะสนทนากับตนเอง การคิด การลงความเห็น และความรู้สึกจะวนเวียนผ่านจิตใจของเราตลอดเวลา ว่า ตัวเองชอบนั่น ไม่ชอบนี่ ตัวเองกลัว ตัวเองไม่แน่ใจในสิ่งนั้นสิ่งนี้ เป็นต้น “การสนทนาภายในกับตนเอง” จึงไม่ใช่เสียงที่เกิดขึ้นอย่างเป็นไปเองในใจ แต่มันก่อตัวขึ้นจากระดับลึกจากความเชื่อ และการยึดมั่นถือมั่นของผู้นั้น ตราบใดที่ผู้นั้นยึดถือความเชื่อนั้นว่าถูกต้องเกี่ยวกับความเป็นจริง ความเชื่อนั้นก็จะเหนี่ยวรั้งขอบเขตของข้อมูลข่าวสารของร่างกายผู้นั้นไปยังปัจจัยหลักที่แน่นอน
แต่เมื่อการแปลความหมายของคนคนหนึ่งเปลี่ยนไป ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงในความจริงของผู้นั้นด้วย ในกรณีของเด็กๆ ที่ป่วยจากโรคแคระแกร็นจากสาเหตุทางจิตวิทยาสังคมนั้น การจัดให้เด็กเหล่านั้นอยู่ในภาวะแวดล้อมที่มีความรักได้พิสูจน์แล้วว่า มีประสิทธิภาพมากกว่าการรักษาด้วยฮอร์โมนเจริญเติบโต นี่เป็นการเปรียบเทียบให้เห็นอย่างชัดเจนว่า การกลัวความแก่ และความเชื่อลึกๆ ที่ว่า เราจะต้องแก่อาจแปรไปเป็นความแก่ในตัวเองได้อย่างไร
ด้วยเหตุนี้ “ศาสตร์ชะลอวัย” ของเราจึงเสนอให้ แทนที่ความเชื่อที่ว่า ร่างกายเราจะร่วงโรยไปตามเวลา ด้วยการบ่มเพาะความเชื่อใหม่ที่ว่า ร่างกายของเราจะใหม่ขึ้นทุกขณะ และร่างกายเราซึมซาบไปด้วยเชาวน์ปัญญาที่ลึกซึ้งของจักรวาลที่ค้ำจุนชีวิตของเราอยู่ อย่าลืมว่า เรามีประสบการณ์ของความสุขผ่านร่างกายเรา เราจึงควรเชื่อมั่นว่า ร่างกายเราไม่ได้สร้างขึ้นเพื่อต่อต้านเรา แต่ต้องการในสิ่งที่เราต้องการเช่นกัน
( 7) ข้อสันนิษฐานใหม่ ประการที่เจ็ด
“แม้ว่าเราแต่ละคนดูเหมือนแยกและเป็นอิสระต่อกัน แต่เราทั้งหมดล้วนถูกเชื่อมโยงสู่แบบแผนของเชาวน์ปัญญาที่ครอบงำจักรวาล”
ในแง่ของควอนตัม ความแตกต่างระหว่าง “ของแข็ง” กับ “ความว่างเปล่า” ไม่มีความหมายเลย ทุกลูกบาศก์เซนติเมตรของที่ว่างของควอนตัมเต็มไปด้วยพลังงานที่มีปริมาณเกือบไร้ขีดจำกัด และการสั่นไหวเล็กน้อยที่สุดก็เป็นส่วนหนึ่งของสนามขนาดมหึมาของการสั่นไหวที่ขยายออกไปทั่วทั้งกาแล็กซี ด้วยเหตุนี้ ในมุมมองของควอนตัม ตัวเราและสภาพแวดล้อมของเราเป็นหนึ่งเดียวกัน กล่าวคือ แม้เราจะรับรู้ (อย่างเป็นมายาคติ) ว่า ร่างกายของเราหยุดอยู่ ณ จุดที่แน่นอน ถูกแยกจากผนังห้องหรือต้นไม้นอกประตูด้วยพื้นที่ที่ว่างเปล่า แต่แท้ที่จริงแล้ว สภาพแวดล้อมของเราเป็นร่างกายที่ยืดออกไปต่างหาก แม้แต่เวลาที่เราใช้นิ้วสัมผัสดอกไม้ และรู้สึกว่าเป็นของแข็ง ความจริงก็คือ นิ้วเรากำลังสัมผัสกับพลังงาน และข้อมูลข่าวสารกลุ่มหนึ่ง ซึ่งก็คือ ดอกไม้เท่านั้น นิ้วของเราและดอกไม้ที่เราสัมผัส ล้วนเป็นสิ่งที่ปรากฏขึ้นเพียงน้อยนิดของขอบเขตที่ไม่มีที่สิ้นสุดที่เราเรียกว่า จักรวาลเท่านั้น
ความจริงของควอนตัมข้างต้นนี้ สามารถกลายเป็นประสบการณ์โดยตรงของผู้ที่สามารถเจริญสติจนรู้ตัวทั่วพร้อม หรือผู้ที่สามารถนำจิตสำนึกของตนหลุดออกจากสภาวะของการแบ่งแยกและจำแนก แล้วแทนที่ด้วยความเป็นเอกภาพของสรรพสิ่ง โดยการรับรู้ว่า ผู้คน สิ่งของ และเหตุการณ์ต่างๆ “ข้างนอกนั่น” ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายเรา หรือของตัวเราเอง
ความเป็นไปได้ของการมีประสบการณ์ในเรื่องเอกภาพของสรรพสิ่งมีความเกี่ยวพันอย่างใหญ่หลวงต่อความแก่ เพราะเมื่อเรากับส่วนของร่างกายที่ขยายออกมีปฏิสัมพันธ์กันอย่างประสานสอดคล้องกัน เราจะรู้สึกมีพลัง มีความสุข มีสุขภาพดีและอ่อนเยาว์ ในทางกลับกัน เมื่อเรามองว่าตัวเองเป็นสิ่งที่แยกออกมา เราจึงสร้างความสับสนวุ่นวาย และความไร้ระเบียบระหว่างตัวเรากับสิ่งต่างๆ “ข้างนอกนั่น” เราจึงแก่ตัวลง เพราะเรามัวแต่ทำสงครามกับผู้อื่น และทำลายล้างสภาพแวดล้อมรอบตัวเรา ความตายซึ่งเป็นภาวะสุดท้ายของการแยกออก จึงค่อยๆ ปรากฏขึ้นในฐานะสิ่งที่ไม่รู้จักอันน่ากลัว จะเห็นได้ชัดเจนเลยว่า การมีอารมณ์รุนแรงชนิดต่างๆ นี่แหละ ที่ทำให้คนเราแก่เร็ว
www.dragon-press.com
*จงเปลี่ยนการรับรู้เพื่อเปลี่ยนประสบการณ์ร่างกายของเรา*
(5) ข้อสันนิษฐานใหม่ ประการที่ห้า
“การรับรู้เป็นปรากฏการณ์ของการเรียนรู้” (จากหนังสือ “ร่างกายที่เหนืออายุขัย จิตใจที่ไร้กาลเวลา” ของดีปัก โชปรา, สำนักพิมพ์มติชน, พ.ศ. 2551)
เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า คนเรามีปฏิกิริยาตอบสนองต่อประสบการณ์ไม่เหมือนกัน ปฏิกิริยาตอบสนองของแต่ละบุคคลต้องผ่าน การเรียนรู้ และนี่เป็นจุดที่ความแตกต่างถือกำเนิดขึ้น การเรียนรู้เป็นการอาศัยจิตใจอย่างมาก และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของร่างกายอย่างมากด้วย ในอีกด้านหนึ่ง ร่างกายของคนเรา ก็ถูกสร้างด้วยประสบการณ์ที่แปรเปลี่ยนเป็นการแสดงออกทางกายภาพ เซลล์ของเราถูกปลูกฝังความทรงจำของเราไว้ เซลล์ของเราดำเนินการสร้างประสบการณ์และเมตาบอลิสม์อย่างต่อเนื่องตามทัศนะส่วนตัวของเราเอง ด้วยเหตุนี้ ความแก่จึงมิใช่อะไรอื่น แต่เป็นชุดของการเปลี่ยนรูปที่ผิดพลาด เป็นกระบวนการที่ควรรักษาความเสถียร ความสมดุล และการสร้างตัวเองขึ้นใหม่ แต่กลับเบี่ยงเบนไปจากที่ควรเป็น แล้วปรากฏเป็นการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ
ประเด็นที่สำคัญมากและเกิดขึ้นจริงก็คือ จิตสำนึก ไม่ว่าในจิตใจหรือในเซลล์เราได้เบี่ยงเบนไปก่อนที่จะเกิดความแก่ทางกายภาพ เพราะฉะนั้น หากเราตระหนักว่า ความเบี่ยงเบนนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร เราย่อมสามารถนำชีวเคมีของร่างกายเราให้กลับคืนสู่ความเป็นปกติ หรือสามารถ “ชะลอวัย” ได้ เพราะไม่มีชีวเคมีใดในร่างกายเราที่อยู่นอกเหนือจิตสำนึก ทุกเซลล์ในร่างกายเราล้วนใส่ใจว่าตัวเราคิดและรู้สึกอย่างไรต่อตัวเราเอง การรับรู้ของคนเราที่ดูเผินๆ เหมือนจะเป็นไปอย่างอัตโนมัติ แท้ที่จริงแล้วเป็นปรากฏการณ์ของการเรียนรู้โลกที่เราอาศัย รวมทั้ง ประสบการณ์ของร่างกายของเราก็ถูกกำหนดจากการที่เราเรียนรู้ที่จะรับรู้ หากเราเปลี่ยนการรับรู้ของเราได้ นั่นย่อมหมายถึงการเปลี่ยนประสบการณ์ของร่างกายและโลกเลยทีเดียว
(6) ข้อสันนิษฐานใหม่ ประการที่หก
“แรงกระตุ้นของเชาวน์ปัญญาแห่งจักรวาล (Intelligence) รังสรรค์ร่างกายในรูปแบบใหม่ๆทุกวินาทีอย่างต่อเนื่อง”
สิ่งที่เป็นตัวเราคือผลรวมของแรงกระตุ้นเหล่านี้ และการเปลี่ยนแบบแผนของสิ่งเหล่านี้จะทำให้เราเปลี่ยนไป เพราะฉะนั้น ตราบใดที่การรับรู้ใหม่ๆ ยังคงเข้าสู่สมองของเราอย่างต่อเนื่อง ร่างกายของเราก็จะตอบสนองด้วยวิธีใหม่ๆ ซึ่งจะทำให้ชะลอวัย และคงความเป็นหนุ่มสาวให้ยืนนานได้ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ คนเราจะไม่แก่ แต่พอหยุดโตถึงจะเริ่มแก่ วิธีมองโลกแบบใหม่ๆ และการเรียนรู้รับรู้ใหม่ๆ จะช่วยทำให้จิตใจและร่างกายเรารักษาการเติบโตเอาไว้ได้ และตราบใดที่สิ่งนี้ยังเกิดขึ้น แนวโน้มตามธรรมชาติที่จะเป็นสิ่งใหม่ทุกๆ วินาทีก็จะแสดงออกมา
นอกจากนี้ หากมองจากมุมมองของควอนตัม คนเราจะแก่เท่ากับข้อมูลข่าวสารที่หมุนเวียนผ่านตัวเราเท่านั้น แต่เป็นเรื่องโชคดีมากๆ ที่คนเราสามารถควบคุมเนื้อหาของข้อมูลข่าวสารของสนามควอนตัมได้ เนื่องจากมีสิ่งหนึ่งในโลกนี้ที่คนเราสามารถควบคุมเป็นเจ้าของได้อย่างชัดแจ้ง โดยที่ไม่ต้องเสียอะไรเลย นั่นก็คือ การแปลความหมายของเราต่อโลก พลังของการแปลความหมายนี้จะอยู่เหนือแบบพิมพ์ทางพันธุกรรม และเป็นเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับข้อมูลข่าวสารทางร่างกายได้ ตัวอย่างกรณีศึกษาทางการแพทย์เกี่ยวกับเด็กเล็กที่โด่งดังมากในเรื่องนี้ก็คือ กรณีของเด็กที่การเจริญเติบโตชะงักงันเพราะรู้สึกว่าตนไม่เป็นที่รัก กลุ่มอาการนี้เรียกว่า ภาวะแคระแกร็นจากสาเหตุทางจิตวิทยาสังคม (psychosocial dwarfism) ที่เกิดขึ้นในหมู่เด็กที่ถูกกระทำทารุณอย่างรุนแรง
เด็กเหล่านี้ได้แปรการขาดความรักและการเอาใจใส่ไปสู่การลดลงของฮอร์โมนการเจริญเติบโต (growth hormone) เป็นการต่อต้านความจริงทางแบบพิมพ์พันธุกรรมที่ว่าโดยทั่วไป ฮอร์โมนเจริญเติบโตจะปล่อยออกมาตามกำหนดการที่วางแผนล่วงหน้าในดีเอ็นเอของเด็กทุกคน
โดยทั่วไป การแปลความหมายจะเริ่มขึ้นจากการปฏิสัมพันธ์ต่อตนเอง (self interaction) ของแต่ละคน คนเราจะมีประสบการณ์ในเรื่องนี้ ขณะสนทนากับตนเอง การคิด การลงความเห็น และความรู้สึกจะวนเวียนผ่านจิตใจของเราตลอดเวลา ว่า ตัวเองชอบนั่น ไม่ชอบนี่ ตัวเองกลัว ตัวเองไม่แน่ใจในสิ่งนั้นสิ่งนี้ เป็นต้น “การสนทนาภายในกับตนเอง” จึงไม่ใช่เสียงที่เกิดขึ้นอย่างเป็นไปเองในใจ แต่มันก่อตัวขึ้นจากระดับลึกจากความเชื่อ และการยึดมั่นถือมั่นของผู้นั้น ตราบใดที่ผู้นั้นยึดถือความเชื่อนั้นว่าถูกต้องเกี่ยวกับความเป็นจริง ความเชื่อนั้นก็จะเหนี่ยวรั้งขอบเขตของข้อมูลข่าวสารของร่างกายผู้นั้นไปยังปัจจัยหลักที่แน่นอน
แต่เมื่อการแปลความหมายของคนคนหนึ่งเปลี่ยนไป ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงในความจริงของผู้นั้นด้วย ในกรณีของเด็กๆ ที่ป่วยจากโรคแคระแกร็นจากสาเหตุทางจิตวิทยาสังคมนั้น การจัดให้เด็กเหล่านั้นอยู่ในภาวะแวดล้อมที่มีความรักได้พิสูจน์แล้วว่า มีประสิทธิภาพมากกว่าการรักษาด้วยฮอร์โมนเจริญเติบโต นี่เป็นการเปรียบเทียบให้เห็นอย่างชัดเจนว่า การกลัวความแก่ และความเชื่อลึกๆ ที่ว่า เราจะต้องแก่อาจแปรไปเป็นความแก่ในตัวเองได้อย่างไร
ด้วยเหตุนี้ “ศาสตร์ชะลอวัย” ของเราจึงเสนอให้ แทนที่ความเชื่อที่ว่า ร่างกายเราจะร่วงโรยไปตามเวลา ด้วยการบ่มเพาะความเชื่อใหม่ที่ว่า ร่างกายของเราจะใหม่ขึ้นทุกขณะ และร่างกายเราซึมซาบไปด้วยเชาวน์ปัญญาที่ลึกซึ้งของจักรวาลที่ค้ำจุนชีวิตของเราอยู่ อย่าลืมว่า เรามีประสบการณ์ของความสุขผ่านร่างกายเรา เราจึงควรเชื่อมั่นว่า ร่างกายเราไม่ได้สร้างขึ้นเพื่อต่อต้านเรา แต่ต้องการในสิ่งที่เราต้องการเช่นกัน
( 7) ข้อสันนิษฐานใหม่ ประการที่เจ็ด
“แม้ว่าเราแต่ละคนดูเหมือนแยกและเป็นอิสระต่อกัน แต่เราทั้งหมดล้วนถูกเชื่อมโยงสู่แบบแผนของเชาวน์ปัญญาที่ครอบงำจักรวาล”
ในแง่ของควอนตัม ความแตกต่างระหว่าง “ของแข็ง” กับ “ความว่างเปล่า” ไม่มีความหมายเลย ทุกลูกบาศก์เซนติเมตรของที่ว่างของควอนตัมเต็มไปด้วยพลังงานที่มีปริมาณเกือบไร้ขีดจำกัด และการสั่นไหวเล็กน้อยที่สุดก็เป็นส่วนหนึ่งของสนามขนาดมหึมาของการสั่นไหวที่ขยายออกไปทั่วทั้งกาแล็กซี ด้วยเหตุนี้ ในมุมมองของควอนตัม ตัวเราและสภาพแวดล้อมของเราเป็นหนึ่งเดียวกัน กล่าวคือ แม้เราจะรับรู้ (อย่างเป็นมายาคติ) ว่า ร่างกายของเราหยุดอยู่ ณ จุดที่แน่นอน ถูกแยกจากผนังห้องหรือต้นไม้นอกประตูด้วยพื้นที่ที่ว่างเปล่า แต่แท้ที่จริงแล้ว สภาพแวดล้อมของเราเป็นร่างกายที่ยืดออกไปต่างหาก แม้แต่เวลาที่เราใช้นิ้วสัมผัสดอกไม้ และรู้สึกว่าเป็นของแข็ง ความจริงก็คือ นิ้วเรากำลังสัมผัสกับพลังงาน และข้อมูลข่าวสารกลุ่มหนึ่ง ซึ่งก็คือ ดอกไม้เท่านั้น นิ้วของเราและดอกไม้ที่เราสัมผัส ล้วนเป็นสิ่งที่ปรากฏขึ้นเพียงน้อยนิดของขอบเขตที่ไม่มีที่สิ้นสุดที่เราเรียกว่า จักรวาลเท่านั้น
ความจริงของควอนตัมข้างต้นนี้ สามารถกลายเป็นประสบการณ์โดยตรงของผู้ที่สามารถเจริญสติจนรู้ตัวทั่วพร้อม หรือผู้ที่สามารถนำจิตสำนึกของตนหลุดออกจากสภาวะของการแบ่งแยกและจำแนก แล้วแทนที่ด้วยความเป็นเอกภาพของสรรพสิ่ง โดยการรับรู้ว่า ผู้คน สิ่งของ และเหตุการณ์ต่างๆ “ข้างนอกนั่น” ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายเรา หรือของตัวเราเอง
ความเป็นไปได้ของการมีประสบการณ์ในเรื่องเอกภาพของสรรพสิ่งมีความเกี่ยวพันอย่างใหญ่หลวงต่อความแก่ เพราะเมื่อเรากับส่วนของร่างกายที่ขยายออกมีปฏิสัมพันธ์กันอย่างประสานสอดคล้องกัน เราจะรู้สึกมีพลัง มีความสุข มีสุขภาพดีและอ่อนเยาว์ ในทางกลับกัน เมื่อเรามองว่าตัวเองเป็นสิ่งที่แยกออกมา เราจึงสร้างความสับสนวุ่นวาย และความไร้ระเบียบระหว่างตัวเรากับสิ่งต่างๆ “ข้างนอกนั่น” เราจึงแก่ตัวลง เพราะเรามัวแต่ทำสงครามกับผู้อื่น และทำลายล้างสภาพแวดล้อมรอบตัวเรา ความตายซึ่งเป็นภาวะสุดท้ายของการแยกออก จึงค่อยๆ ปรากฏขึ้นในฐานะสิ่งที่ไม่รู้จักอันน่ากลัว จะเห็นได้ชัดเจนเลยว่า การมีอารมณ์รุนแรงชนิดต่างๆ นี่แหละ ที่ทำให้คนเราแก่เร็ว