*การเคลื่อนย้ายกระบวนทัศน์จากการแพทย์เชิงกายภาพสู่การแพทย์เชิงกายจิต สู่การแพทย์เชิงควอนตัม-บูรณาการ*
หากมองจากมุมมองของการเคลื่อนย้ายกระบวนทัศน์ ผมคิดว่าทิศทางของการเคลื่อนย้ายกระบวนทัศน์ทางการแพทย์ น่าจะแบ่งได้เป็น 3 ยุคตามทิศทางต่อไปนี้คือ
ยุคที่หนึ่ง การแพทย์เชิงกายภาพ (Physical Medicine) เป็นการแพทย์กระแสหลักในศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20 โดยประมาณ โดยเป็นการแพทย์เชิงวัตถุและกลไก (mechanical, material medicine) และยังเป็นการแพทย์ที่ใช้แนวคิดฟิสิกส์ดั้งเดิม หรือแนวคิดยุคคลาสสิกเกี่ยวกับพื้นที่-เวลา และสสาร-พลังงานมาอธิบาย ซึ่งวิธีการมองแบบนี้ จิตใจจะไม่ใช่ปัจจัยสำคัญในการรักษาทางการแพทย์ เพราะมองว่าใจคือผลพวงของกลไกทางสมองเท่านั้น วิธีการรักษาของการแพทย์ที่ใช้กระบวนทัศน์แบบนี้จะมุ่งเน้นไปที่ผลกระทบที่กระทำต่อร่างกาย เช่น การใช้ยา การผ่าตัด การฉายแสง เป็นต้น
ยุคที่สอง การแพทย์เชิงกาย-จิต (Mind-Body Medicine)
การแพทย์กระแสหลักในปัจจุบัน น่าจะกำลังอยู่ในยุคที่สองนี้ ซึ่งเป็นยุคที่ได้ “ก้าวข้าม” ยุคที่หนึ่งไปแล้ว แต่ก็ “หลอมรวม” วิธีการรักษาแบบยุคที่หนึ่งเอาไว้ด้วย กระบวนทัศน์ของการแพทย์แบบนี้ จะยอมรับว่าจิตใจเป็นปัจจัยสำคัญในการบำบัดเยียวยา หรือจิตใจมีพลังในการรักษาอาการป่วยไข้ได้ การแพทย์แบบนี้ จึงมิได้ยึดติดกับแนวคิดฟิสิกส์ดั้งเดิมล้วนๆ เหมือนกับยุคที่หนึ่ง แต่ได้พยายามผนวก แนวทางรักษาต่างๆ ที่ใช้บทบาทของจิตใจเข้ามาประสานกับแนวทางหลักแต่เดิมที่ใช้ยา และการผ่าตัดเป็นตัวหลักด้วย
ยุคที่สาม การแพทย์เชิงควอนตัม-บูรณาการ (Quantum-Integral Medicine)
การแพทย์แห่งอนาคตหลังจากนี้ที่รุดหน้าก้าวไกลกว่า ยุคที่สองน่าจะเป็นการแพทย์เชิงควอนตัม-บูรณาการที่มี “การแพทย์เชิงพลังงาน” (energy medicine) เป็นแกนกลาง โดยใช้กระบวนทัศน์ของควอนตัมฟิสิกส์มาเป็นตัวบุกเบิก แผ้วถางการแพทย์แห่งอนาคต สิ่งที่น่าทึ่ง หรือน่าจะเรียกได้ว่าเป็นแนวคิดที่ “ปฏิวัติ” ทางการแพทย์ เมื่อนำควอนตัมฟิสิกส์มาประยุกต์ใช้ก็คือ การยอมรับว่า ความคิดส่งผลต่อสสาร จิตสำนึกกับสสารทั้งมวลล้วนเกี่ยวโยงถึงกันโดยไม่เกี่ยวกับระยะทาง (monlocal) แต่ประการใด
ปัจจุบัน มีการทดลองทางวิทยาศาสตร์มากพอที่จะยืนยันว่า จิตสำนึกส่งผลต่อสสาร และคนเราสามารถสื่อสารกันในระยะไกลได้โดยผ่านทางจิต แม้ว่ายังไม่มีใครสามารถพิสูจน์เชิงประจักษ์ได้เกี่ยวกับช่องทางการสื่อสารนั้นก็ตาม แต่ผลของการสื่อสารได้พิสูจน์ให้เห็นว่า มีการถ่ายทอดข้อมูลเกิดขึ้นจริง มิหนำซ้ำข้อมูลสามารถถ่ายทอดถึงกันได้ด้วยความเร็วเหนือแสงด้วย เหตุที่เป็นเช่นนั้นได้ก็เพราะกระบวนทัศน์ใหม่แบบควอนตัมนี้มองว่า จักรวาลล้วนเป็นหนึ่งเดียวกันในเชิงพลังงาน การสื่อสารโดยฉับพลันจึงเป็นไปได้
นอกจากนี้ งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในช่วงร้อยปีที่ผ่านมาได้ระบุถึง พลังลึกลับที่อยู่ภายในอนุภาคในระดับควอนตัม ทุกความคิด ความรู้สึก ทุกสสาร และทุกจิตสำนึกเป็นพลังงาน โดยที่จิตของมนุษย์มีความสามารถที่จะควบคุมและนำพลังนี้ไปใช้ได้
ความแตกต่างทางกระบวนทัศน์ระหว่างการแพทย์ยุคที่หนึ่งกับยุคที่สอง และยุคที่สามดังข้างต้นนี้ เราสามารถมองว่าเป็นความแตกต่างของวิธีคิด (way of thinking) 3 แบบที่ไม่เหมือนกันเลย และสะท้อนความต่างของระดับจิตที่แตกต่างกันก็ย่อมได้ โดยที่ยุคที่หนึ่งนั้น สะท้อนถึงวิธีคิดแบบตรรกะที่ยึดติดกับกฎอย่างตายตัว (rational, logical. rule-bound thinking) คือ การคิดเชิงเส้นตรงต่อเนื่อง (serial thinking)
ขณะที่ยุคที่สองนั้น สะท้อนถึงวิธีคิดที่ยืดหยุ่นกว่า และมองเห็นความเชื่อมโยงของสิ่งต่างๆ อันเป็น การคิดเชิงเส้นขนาน (parallel thinking) ส่วนยุคที่สามนั้นสะท้อนถึงวิธีคิดแบบองค์รวม แบบบูรณาการที่สร้างสรรค์ นอกกรอบ และแหกกฎ อันเป็น การคิดเชิงควอนตัม (quantum thinking)
หากเราน้อมเอากระบวนทัศน์ใหม่แบบควอนตัม หรือวิธีคิดใหม่เชิงควอนตัมมาใช้ในการศึกษาเรื่องความแก่ชรา เราจะค้นพบความจริงที่น่าตระหนกมากก็คือ สิ่งที่สังคมเราเรียกว่า “ความแก่ชรา” นั้นเป็นเงื่อนไขทางสังคมที่สังคมหล่อหลอมให้คนเราเชื่อและยอมรับ จนสร้างเป็น “ข้อจำกัดในการชะลอวัย” ของพวกเราขึ้นมาโดยผ่านโลกทัศน์เก่า หรือกระบวนทัศน์เก่าที่พ่อแม่ ครู สื่อ และสังคมสอนเรา ปลูกฝังเราให้เรายินยอมรับมัน
ดีปัก โชปรา (Deepak Chopra) ผู้เขียนหนังสือ “ร่างกายที่เหนืออายุขัย จิตใจที่ไร้กาลเวลา” (Ageless Body, Timeless Mind : The Quantum Alternative to Growing Old) (ค.ศ. 1993, ฉบับแปลภาษาไทย โดยสำนักพิมพ์มติชน พ.ศ. 2551) กล่าวว่า หากต้องการชะลอวัย และใช้ชีวิตอย่างมีชีวิตชีวา มีพลังสร้างสรรค์ และมีความกระชุ่มกระชวยในวัยที่สังคมตีตราเรียกขานกันว่าเป็น “วัยชราภาพ” ก่อนอื่นผู้นั้นจะต้องละทิ้งข้อสันนิษฐาน 10 ประการของกระบวนทัศน์เก่า หรือโลกทัศน์เก่าที่มองว่า เราเป็นใคร และธรรมชาติที่แท้จริงของจิตและร่างกายของเราคืออะไร เสียก่อน
ข้อสันนิษฐาน 10 ประการที่ดีปัก มองว่าก่อรูปเป็นรากเหง้าของโลกทัศน์เก่าที่ผู้คนส่วนใหญ่มีร่วมกัน และเป็นตัวขัดขวางการชะลอวัยนั้นได้แก่
(1) มีโลกทางภววิสัย (objective world) ที่เป็นอิสระจากผู้สังเกต และร่างกายเราเป็นรูปแบบหนึ่งของโลกทางภววิสัยนี้
(2) ร่างกายประกอบขึ้นจากกลุ่มสสารที่แยกออกจากกันในเชิงพื้นที่-เวลา
(3) ร่างกายกับจิตใจแยกออกจากกัน และเป็นอิสระจากกัน
(4) วัตถุนิยม (materialism) เป็นอันดับแรก จิตสำนึก (aware-ness) เป็นอันดับที่สอง กล่าวอีกแง่หนึ่งก็คือ เราเป็นเครื่องจักรวาลทางกายภาพที่รู้จักคิด
(5) จิตสำนึกของมนุษย์เป็นสิ่งที่สามารถอธิบายได้อย่างสมบูรณ์ในฐานะที่เป็นผลผลิตทางชีวเคมี
(6) ในฐานะปัจเจกบุคคล เราเป็นสิ่งที่ดำรงอยู่ได้โดยไม่ได้เชื่อมโยงกัน และประกอบขึ้นด้วยตัวเอง
(7) การรับรู้โลกของเราเป็นไปโดยอัตโนมัติ และทำให้เราเห็นภาพที่ถูกต้องว่าสิ่งต่างๆ เป็นอย่างไร
(8) เวลาดำรงอยู่ในฐานะที่เป็นสิ่งสัมบูรณ์ และเราเป็นเชลยของเวลานั้น
(9) ธรรมชาติที่แท้จริงของเราถูกกำหนดจากร่างกาย อัตตา (ego) และบุคลิกภาพของเราเท่านั้น ตัวเราจึงเป็นเพียงเศษเสี้ยวของความทรงจำ และความปรารถนาที่ห่อหุ้มด้วยเลือดเนื้อ และกระดูก
(10) ความทุกข์เป็นสิ่งจำเป็น เป็นส่วนหนึ่งของความเป็นจริง เราแค่เป็นเหยื่อของความเจ็บป่วย ความแก่ และความตายอย่างไม่อาจทำอะไรได้เลย
จะว่าไปแล้ว ข้อสันนิษฐานข้างต้นนี้ ไปไกลกว่าเรื่องความแก่ชรา มันครอบงำเราด้วยการกำหนด ยัดเยียด โลกของการแบ่งแยก โลกของความเสื่อม โลกของความตาย โลกของปุถุชน โลกของสัตว์ที่เวียนว่ายอยู่ในสังสารวัฏ โลกที่แห้งแล้ง โลกที่หดหู่...โลกที่มีแต่ความสับสนที่ทำได้แค่รอความเสื่อมถอย รอวันตายเท่านั้นเองหรือ โลกที่ต่อให้ร่ำรวยล้นฟ้าก็ไม่ช่วยให้ผู้นั้นหลุดพ้นจากความท้อแท้สิ้นหวังไปได้ โลกที่ต่อให้มีอำนาจที่ยิ่งใหญ่ปานใด ก็ไม่อาจทำให้ผู้นั้นอยู่ “เหนือโลก” ไปได้
อย่างไรก็ดี ข้อสันนิษฐาน 10 ประการตามกระบวนทัศน์เก่าข้างต้น ไม่อาจอธิบายความเป็นจริงของเราได้อย่างถูกต้อง เพราะข้อสันนิษฐานเหล่านี้เป็นสิ่งที่จิตใจมนุษย์สร้างขึ้น และเปลี่ยนให้เป็นกฎเกณฑ์ที่จำกัดศักยภาพของตัวมนุษย์เอง เพราะฉะนั้น การจะท้าทายความแก่ชราอย่างถึงแก่นได้ เราจึงจำเป็นที่จะต้องท้าทายโลกทัศน์เก่าข้างต้นด้วย โลกทัศน์ใหม่แบบควอนตัมเสียก่อน
www.dragon-press.com
หากมองจากมุมมองของการเคลื่อนย้ายกระบวนทัศน์ ผมคิดว่าทิศทางของการเคลื่อนย้ายกระบวนทัศน์ทางการแพทย์ น่าจะแบ่งได้เป็น 3 ยุคตามทิศทางต่อไปนี้คือ
ยุคที่หนึ่ง การแพทย์เชิงกายภาพ (Physical Medicine) เป็นการแพทย์กระแสหลักในศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20 โดยประมาณ โดยเป็นการแพทย์เชิงวัตถุและกลไก (mechanical, material medicine) และยังเป็นการแพทย์ที่ใช้แนวคิดฟิสิกส์ดั้งเดิม หรือแนวคิดยุคคลาสสิกเกี่ยวกับพื้นที่-เวลา และสสาร-พลังงานมาอธิบาย ซึ่งวิธีการมองแบบนี้ จิตใจจะไม่ใช่ปัจจัยสำคัญในการรักษาทางการแพทย์ เพราะมองว่าใจคือผลพวงของกลไกทางสมองเท่านั้น วิธีการรักษาของการแพทย์ที่ใช้กระบวนทัศน์แบบนี้จะมุ่งเน้นไปที่ผลกระทบที่กระทำต่อร่างกาย เช่น การใช้ยา การผ่าตัด การฉายแสง เป็นต้น
ยุคที่สอง การแพทย์เชิงกาย-จิต (Mind-Body Medicine)
การแพทย์กระแสหลักในปัจจุบัน น่าจะกำลังอยู่ในยุคที่สองนี้ ซึ่งเป็นยุคที่ได้ “ก้าวข้าม” ยุคที่หนึ่งไปแล้ว แต่ก็ “หลอมรวม” วิธีการรักษาแบบยุคที่หนึ่งเอาไว้ด้วย กระบวนทัศน์ของการแพทย์แบบนี้ จะยอมรับว่าจิตใจเป็นปัจจัยสำคัญในการบำบัดเยียวยา หรือจิตใจมีพลังในการรักษาอาการป่วยไข้ได้ การแพทย์แบบนี้ จึงมิได้ยึดติดกับแนวคิดฟิสิกส์ดั้งเดิมล้วนๆ เหมือนกับยุคที่หนึ่ง แต่ได้พยายามผนวก แนวทางรักษาต่างๆ ที่ใช้บทบาทของจิตใจเข้ามาประสานกับแนวทางหลักแต่เดิมที่ใช้ยา และการผ่าตัดเป็นตัวหลักด้วย
ยุคที่สาม การแพทย์เชิงควอนตัม-บูรณาการ (Quantum-Integral Medicine)
การแพทย์แห่งอนาคตหลังจากนี้ที่รุดหน้าก้าวไกลกว่า ยุคที่สองน่าจะเป็นการแพทย์เชิงควอนตัม-บูรณาการที่มี “การแพทย์เชิงพลังงาน” (energy medicine) เป็นแกนกลาง โดยใช้กระบวนทัศน์ของควอนตัมฟิสิกส์มาเป็นตัวบุกเบิก แผ้วถางการแพทย์แห่งอนาคต สิ่งที่น่าทึ่ง หรือน่าจะเรียกได้ว่าเป็นแนวคิดที่ “ปฏิวัติ” ทางการแพทย์ เมื่อนำควอนตัมฟิสิกส์มาประยุกต์ใช้ก็คือ การยอมรับว่า ความคิดส่งผลต่อสสาร จิตสำนึกกับสสารทั้งมวลล้วนเกี่ยวโยงถึงกันโดยไม่เกี่ยวกับระยะทาง (monlocal) แต่ประการใด
ปัจจุบัน มีการทดลองทางวิทยาศาสตร์มากพอที่จะยืนยันว่า จิตสำนึกส่งผลต่อสสาร และคนเราสามารถสื่อสารกันในระยะไกลได้โดยผ่านทางจิต แม้ว่ายังไม่มีใครสามารถพิสูจน์เชิงประจักษ์ได้เกี่ยวกับช่องทางการสื่อสารนั้นก็ตาม แต่ผลของการสื่อสารได้พิสูจน์ให้เห็นว่า มีการถ่ายทอดข้อมูลเกิดขึ้นจริง มิหนำซ้ำข้อมูลสามารถถ่ายทอดถึงกันได้ด้วยความเร็วเหนือแสงด้วย เหตุที่เป็นเช่นนั้นได้ก็เพราะกระบวนทัศน์ใหม่แบบควอนตัมนี้มองว่า จักรวาลล้วนเป็นหนึ่งเดียวกันในเชิงพลังงาน การสื่อสารโดยฉับพลันจึงเป็นไปได้
นอกจากนี้ งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในช่วงร้อยปีที่ผ่านมาได้ระบุถึง พลังลึกลับที่อยู่ภายในอนุภาคในระดับควอนตัม ทุกความคิด ความรู้สึก ทุกสสาร และทุกจิตสำนึกเป็นพลังงาน โดยที่จิตของมนุษย์มีความสามารถที่จะควบคุมและนำพลังนี้ไปใช้ได้
ความแตกต่างทางกระบวนทัศน์ระหว่างการแพทย์ยุคที่หนึ่งกับยุคที่สอง และยุคที่สามดังข้างต้นนี้ เราสามารถมองว่าเป็นความแตกต่างของวิธีคิด (way of thinking) 3 แบบที่ไม่เหมือนกันเลย และสะท้อนความต่างของระดับจิตที่แตกต่างกันก็ย่อมได้ โดยที่ยุคที่หนึ่งนั้น สะท้อนถึงวิธีคิดแบบตรรกะที่ยึดติดกับกฎอย่างตายตัว (rational, logical. rule-bound thinking) คือ การคิดเชิงเส้นตรงต่อเนื่อง (serial thinking)
ขณะที่ยุคที่สองนั้น สะท้อนถึงวิธีคิดที่ยืดหยุ่นกว่า และมองเห็นความเชื่อมโยงของสิ่งต่างๆ อันเป็น การคิดเชิงเส้นขนาน (parallel thinking) ส่วนยุคที่สามนั้นสะท้อนถึงวิธีคิดแบบองค์รวม แบบบูรณาการที่สร้างสรรค์ นอกกรอบ และแหกกฎ อันเป็น การคิดเชิงควอนตัม (quantum thinking)
หากเราน้อมเอากระบวนทัศน์ใหม่แบบควอนตัม หรือวิธีคิดใหม่เชิงควอนตัมมาใช้ในการศึกษาเรื่องความแก่ชรา เราจะค้นพบความจริงที่น่าตระหนกมากก็คือ สิ่งที่สังคมเราเรียกว่า “ความแก่ชรา” นั้นเป็นเงื่อนไขทางสังคมที่สังคมหล่อหลอมให้คนเราเชื่อและยอมรับ จนสร้างเป็น “ข้อจำกัดในการชะลอวัย” ของพวกเราขึ้นมาโดยผ่านโลกทัศน์เก่า หรือกระบวนทัศน์เก่าที่พ่อแม่ ครู สื่อ และสังคมสอนเรา ปลูกฝังเราให้เรายินยอมรับมัน
ดีปัก โชปรา (Deepak Chopra) ผู้เขียนหนังสือ “ร่างกายที่เหนืออายุขัย จิตใจที่ไร้กาลเวลา” (Ageless Body, Timeless Mind : The Quantum Alternative to Growing Old) (ค.ศ. 1993, ฉบับแปลภาษาไทย โดยสำนักพิมพ์มติชน พ.ศ. 2551) กล่าวว่า หากต้องการชะลอวัย และใช้ชีวิตอย่างมีชีวิตชีวา มีพลังสร้างสรรค์ และมีความกระชุ่มกระชวยในวัยที่สังคมตีตราเรียกขานกันว่าเป็น “วัยชราภาพ” ก่อนอื่นผู้นั้นจะต้องละทิ้งข้อสันนิษฐาน 10 ประการของกระบวนทัศน์เก่า หรือโลกทัศน์เก่าที่มองว่า เราเป็นใคร และธรรมชาติที่แท้จริงของจิตและร่างกายของเราคืออะไร เสียก่อน
ข้อสันนิษฐาน 10 ประการที่ดีปัก มองว่าก่อรูปเป็นรากเหง้าของโลกทัศน์เก่าที่ผู้คนส่วนใหญ่มีร่วมกัน และเป็นตัวขัดขวางการชะลอวัยนั้นได้แก่
(1) มีโลกทางภววิสัย (objective world) ที่เป็นอิสระจากผู้สังเกต และร่างกายเราเป็นรูปแบบหนึ่งของโลกทางภววิสัยนี้
(2) ร่างกายประกอบขึ้นจากกลุ่มสสารที่แยกออกจากกันในเชิงพื้นที่-เวลา
(3) ร่างกายกับจิตใจแยกออกจากกัน และเป็นอิสระจากกัน
(4) วัตถุนิยม (materialism) เป็นอันดับแรก จิตสำนึก (aware-ness) เป็นอันดับที่สอง กล่าวอีกแง่หนึ่งก็คือ เราเป็นเครื่องจักรวาลทางกายภาพที่รู้จักคิด
(5) จิตสำนึกของมนุษย์เป็นสิ่งที่สามารถอธิบายได้อย่างสมบูรณ์ในฐานะที่เป็นผลผลิตทางชีวเคมี
(6) ในฐานะปัจเจกบุคคล เราเป็นสิ่งที่ดำรงอยู่ได้โดยไม่ได้เชื่อมโยงกัน และประกอบขึ้นด้วยตัวเอง
(7) การรับรู้โลกของเราเป็นไปโดยอัตโนมัติ และทำให้เราเห็นภาพที่ถูกต้องว่าสิ่งต่างๆ เป็นอย่างไร
(8) เวลาดำรงอยู่ในฐานะที่เป็นสิ่งสัมบูรณ์ และเราเป็นเชลยของเวลานั้น
(9) ธรรมชาติที่แท้จริงของเราถูกกำหนดจากร่างกาย อัตตา (ego) และบุคลิกภาพของเราเท่านั้น ตัวเราจึงเป็นเพียงเศษเสี้ยวของความทรงจำ และความปรารถนาที่ห่อหุ้มด้วยเลือดเนื้อ และกระดูก
(10) ความทุกข์เป็นสิ่งจำเป็น เป็นส่วนหนึ่งของความเป็นจริง เราแค่เป็นเหยื่อของความเจ็บป่วย ความแก่ และความตายอย่างไม่อาจทำอะไรได้เลย
จะว่าไปแล้ว ข้อสันนิษฐานข้างต้นนี้ ไปไกลกว่าเรื่องความแก่ชรา มันครอบงำเราด้วยการกำหนด ยัดเยียด โลกของการแบ่งแยก โลกของความเสื่อม โลกของความตาย โลกของปุถุชน โลกของสัตว์ที่เวียนว่ายอยู่ในสังสารวัฏ โลกที่แห้งแล้ง โลกที่หดหู่...โลกที่มีแต่ความสับสนที่ทำได้แค่รอความเสื่อมถอย รอวันตายเท่านั้นเองหรือ โลกที่ต่อให้ร่ำรวยล้นฟ้าก็ไม่ช่วยให้ผู้นั้นหลุดพ้นจากความท้อแท้สิ้นหวังไปได้ โลกที่ต่อให้มีอำนาจที่ยิ่งใหญ่ปานใด ก็ไม่อาจทำให้ผู้นั้นอยู่ “เหนือโลก” ไปได้
อย่างไรก็ดี ข้อสันนิษฐาน 10 ประการตามกระบวนทัศน์เก่าข้างต้น ไม่อาจอธิบายความเป็นจริงของเราได้อย่างถูกต้อง เพราะข้อสันนิษฐานเหล่านี้เป็นสิ่งที่จิตใจมนุษย์สร้างขึ้น และเปลี่ยนให้เป็นกฎเกณฑ์ที่จำกัดศักยภาพของตัวมนุษย์เอง เพราะฉะนั้น การจะท้าทายความแก่ชราอย่างถึงแก่นได้ เราจึงจำเป็นที่จะต้องท้าทายโลกทัศน์เก่าข้างต้นด้วย โลกทัศน์ใหม่แบบควอนตัมเสียก่อน
www.dragon-press.com