วานนี้(18 มิ.ย.55) นายศรีราชา เจริญพานิช ผู้ตรวจการแผ่นดิน กล่าวถึงกรณีคนเสื้อแดงระบุว่าผู้ตรวจการแผ่นดิน 2 มาตรฐาน เพราะไม่เคยตรวจสอบนายกษิต ภิรมย์ ขณะดำรงตำแหน่งเป็นรมว.ต่างประเทศที่ถูกข้อหาก่อการร้าย เช่นเดียวกับนายณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ รมว.เกษตรและสหกรณ์ ว่า การตรวจสอบเรื่องจริยธรรมกฎหมายไม่ให้อำนาจผู้ตรวจหยิบยกขึ้นมาพิจารณาเอง ต้องมีผู้ร้องซึ่งในกรณีของนายกษิต ไม่เคยมีการร้องมาให้ผู้ตรวจฯ ตรวจสอบ อาจเป็นเพราะขณะนั้นยังไม่มีใครรู้ว่าสามารถร้องเรื่องจริยธรรมให้ผู้ตรวจตรวจสอบได้ ต่างกับเวลานี้ ที่แต่ละฝ่ายทราบสิทธิของตนเอง เรื่องจริยธรรม จึงกลายเป็นเรื่องใหม่ที่มาร้องกันจนเป็นแฟชั่น โดยที่ผู้ตรวจฯกำลังตรวจสอบอยู่มีประมาณ 20 เรื่อง ดังนั้นการทำงานของผู้ตรวจฯยืนยันว่ามีมาตรฐานเดียว ซึ่งหลังจากที่ผู้ตรวจฯได้มีมติเรื่องของนายณัฐวุฒิไปแล้วหากเกิดลักษณะเดียวกันอีก และมีการร้องให้ผู้ตรวจฯ ตรวจสอบผู้ตรวจก็ต้องวินิจฉัยไปในทำนองเดียวกัน โดยการวินิจฉัยไม่เคยเข้าข้างฝ่ายใดฝายหนึ่ง หรือแบ่งสีแบ่งฝ่าย ทุกอย่างขึ้นอยู่กับหลักฐาน ข้อเท็จจริง เพราะรู้ดีว่าถ้าพิจารณาด้วยความไม่เป็นกลาง ก็จะส่งผลถึงความน่าเชื่อถือขององค์กร
“ผู้ตรวจฯไม่ได้คิดที่จะไปท้าทายคนเสื้อแดง เพราะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับบุคคลผู้ตรวจค่อนข้างระมัดระวังเต็มที่ ที่จะไปพูดเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่การทำงานแน่นอนว่าเมื่อมีคำวินิจฉัยก็ต้องไปกระทบฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับพยานหลักฐานข้อเท็จจริง ผู้ที่ไม่เห็นด้วยจะเชื่อหรือไม่เชื่อก็แล้วแต่ เขาอาจจะเชื่อในข้อมูลที่เขามีเราก็เคารพ โดยคำวินิจฉัยจะให้พอใจทุกฝ่ายไม่ได้เพราะมันอยู่กันคนละซีก ละฝ่าย แต่ทุกครั้งที่มีมติและแถลงไป สามารถอธิบายได้ ดังนั้นที่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะมาเหมาว่าเราเป็นองค์กรที่เป็นปฏิปักษ์ นั้นไม่ถูกต้อง”
**จี้ลากคอ “ตู่-เต้น-เจ๋ง” กลับคุก
นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส.สงขลา ในฐานะทีมกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ทีมกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ จะไปยื่นหนังสือต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) และสำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อขอให้ดำเนินการเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวของ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ นายจตุพร พรหมพันธุ์ และ นายยศวริศ ชูกล่อม หรือ เจ๋ง ดอกจิก จำเลยในข้อหาความผิดฐานก่อการร้ายของศาลอาญา
เนื่องจากศาลอาญาได้กำหนดเงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราวว่า ห้ามยุยงปลุกปั่นประชาชนและห้ามมิให้กระทำการใดๆอันอาจก่อให้เกิดอันตราย กระทบต่อความสงบเรียบร้อย แต่ปรากฏว่าทั้ง 3 คนได้ร่วมกันกระทำการผิดเงื่อนไขดังกล่าว โดยกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้เลขาธิการสภาผู้แทนราษฏรแจ้งรัฐสภา รอการลงมติแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระ 3 ไปก่อนจนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย แต่ทั้ง 3 คนได้สมคบแบ่งหน้าที่ร่วมกันออกมายุยงปลุกปั่นประชาชนในลักษณะที่ก่อให้เกิดอันตรายกระทบต่อความสงบเรียบร้อย ซึ่งถือว่า เป็นการขัดเงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราวของศาลอาญา
โดยทั้ง 3 คนมีพฤติกรรมดังนั้น คือ นายณัฐวุฒิ กล่าวว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไม่ควรลุกลี้ลุกลนแสดงท่าทีในการยุบพรรคเพื่อไทย ท่าทีของประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไม่ใช่ท่าทีของตุลาการ แต่เป็นท่าทีทางการเมือง นายยศวริศ กล่าวว่า แกนนำเสื้อแดงจะไปหารือเกี่ยวกับมาตราการตอบโต้ไปยังศาลรัฐธรรมนูญ และอาจจะระดมเสื้อแดงไปชุมนุมหน้าศาลรัฐธรรมนูญขับไล่ตุลาการเสียงข้างมาก จะได้ไม่เป็นขยะต่อสังคมหรือกระบวนการประชาธิปไตยต่อ ขณะที่นายจตุพร กล่าวว่า คน 7 คนจาก 9 คน มันจะใหญ่จะมีอำนาจยิ่งใหญ่ไปกว่าอำนาจของประชาชน 64 ล้านคนไปได้ยังงัย ถ้าคน 7 คน สามารถมีอำนาจมากกว่าประชาชน 64 ล้านคน ประเทศนี้ไม่ต้องเลือกตั้งแล้ว ใครจะเป็นนายกให้ไปสมัครที่ศาลรัฐธรรมนูญ
และยังพูดต่ออีกว่า ศาลรัฐธรรมนูญเป็นส่วนเกินของประชาธิปไตย และคนเหล่านี้ไมได้มีความเป็นมนุษย์ ไม่ได้มีความเหมาะสมกับการทำหน้าที่ตุลาการฯ ถ้าไม่ใด้ใส่ชุดครุยก็ไม่ได้บอกว่าเป็นตุลาการฯ เมื่อพิจารณารวมกับคำปราศรัยของนายยศวริศ อีกคือ เวลานี้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 7 คน มันนึกว่าเป็นแทวดาหรือว่าเป็นผู้มีฤทธิ์เดช ผู้วิเศษซึ่งไม่สามารถที่แตะต้องได้ พร้อมทั้งเปิดหมายเลขโทรศัพท์ของตุลกาการ เพื่อให้คนเสื้อแดงแดงโทรศัพท์ไปกดดัน ซึ่งตุลาการฯบางคนถึงกลับไม่ได้นอน เพราะมีคนโทรเข้าทั้งคืน และยังมอบหมายให้นายอารี ไกรนารา การ์ดคนเสื้อแดงไปจัดการ นี่คือการปลุกปั่นท ยุยง กดดันศาลรัฐธรรมนูญ
พฤติการณ์ทั้งหมดของคนทั้ง 3 คนเป็นการกดดันอำนาจตุลาการ เป็นการผิดเงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราวของศาลอาญา ที่ห้ามยุยงปลุกปั่น ดังนั้นผู้ที่มีหน้าที่ในเรื่องนี้ คือนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสวนคดีพิเศษ และอัยการสูงสุด ต้องมีหน้าที่ไปยื่นคำร้องต่อศาลอาญาเพื่อให้ศาลอาญาเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวของบุคคลทั้ง 3 คน เพราะหากปล่อยเอาไว้อาจก่อให้เกิดความเสียหายกระทบต่อความสงบของบ้านเมืองอย่างร้ายแรงและความมั่นคงของประเทศ ผมจึงจะยื่นคำร้องให้อธิบดีดีเอสไอและอัยการสูงสุงดำเนินการยื่นเรื่องขอให้ศาลอาญาเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราว
**ธาริตเมินถอนประกัน “แกนนำแดง”
นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) กล่าวว่า ขณะนี้เรื่องดังกล่าวถือว่าอยู่ในอำนาจการพิจารณาของศาลและอัยการ ในส่วนของดีเอสไอถือว่าเสร็จสิ้นขั้นตอนที่รับผิดชอบแล้ว โดยดีเอสไอเป็นผู้ทำสำนวนสั่งฟ้อง แต่อัยการเป็นผู้พิจารณาส่งฟ้องศาล ดังนั้น อำนาจการขอถอนประกันจึงอยู่ที่อัยการ
“ผู้ตรวจฯไม่ได้คิดที่จะไปท้าทายคนเสื้อแดง เพราะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับบุคคลผู้ตรวจค่อนข้างระมัดระวังเต็มที่ ที่จะไปพูดเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่การทำงานแน่นอนว่าเมื่อมีคำวินิจฉัยก็ต้องไปกระทบฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับพยานหลักฐานข้อเท็จจริง ผู้ที่ไม่เห็นด้วยจะเชื่อหรือไม่เชื่อก็แล้วแต่ เขาอาจจะเชื่อในข้อมูลที่เขามีเราก็เคารพ โดยคำวินิจฉัยจะให้พอใจทุกฝ่ายไม่ได้เพราะมันอยู่กันคนละซีก ละฝ่าย แต่ทุกครั้งที่มีมติและแถลงไป สามารถอธิบายได้ ดังนั้นที่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะมาเหมาว่าเราเป็นองค์กรที่เป็นปฏิปักษ์ นั้นไม่ถูกต้อง”
**จี้ลากคอ “ตู่-เต้น-เจ๋ง” กลับคุก
นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส.สงขลา ในฐานะทีมกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ทีมกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ จะไปยื่นหนังสือต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) และสำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อขอให้ดำเนินการเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวของ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ นายจตุพร พรหมพันธุ์ และ นายยศวริศ ชูกล่อม หรือ เจ๋ง ดอกจิก จำเลยในข้อหาความผิดฐานก่อการร้ายของศาลอาญา
เนื่องจากศาลอาญาได้กำหนดเงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราวว่า ห้ามยุยงปลุกปั่นประชาชนและห้ามมิให้กระทำการใดๆอันอาจก่อให้เกิดอันตราย กระทบต่อความสงบเรียบร้อย แต่ปรากฏว่าทั้ง 3 คนได้ร่วมกันกระทำการผิดเงื่อนไขดังกล่าว โดยกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้เลขาธิการสภาผู้แทนราษฏรแจ้งรัฐสภา รอการลงมติแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระ 3 ไปก่อนจนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย แต่ทั้ง 3 คนได้สมคบแบ่งหน้าที่ร่วมกันออกมายุยงปลุกปั่นประชาชนในลักษณะที่ก่อให้เกิดอันตรายกระทบต่อความสงบเรียบร้อย ซึ่งถือว่า เป็นการขัดเงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราวของศาลอาญา
โดยทั้ง 3 คนมีพฤติกรรมดังนั้น คือ นายณัฐวุฒิ กล่าวว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไม่ควรลุกลี้ลุกลนแสดงท่าทีในการยุบพรรคเพื่อไทย ท่าทีของประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไม่ใช่ท่าทีของตุลาการ แต่เป็นท่าทีทางการเมือง นายยศวริศ กล่าวว่า แกนนำเสื้อแดงจะไปหารือเกี่ยวกับมาตราการตอบโต้ไปยังศาลรัฐธรรมนูญ และอาจจะระดมเสื้อแดงไปชุมนุมหน้าศาลรัฐธรรมนูญขับไล่ตุลาการเสียงข้างมาก จะได้ไม่เป็นขยะต่อสังคมหรือกระบวนการประชาธิปไตยต่อ ขณะที่นายจตุพร กล่าวว่า คน 7 คนจาก 9 คน มันจะใหญ่จะมีอำนาจยิ่งใหญ่ไปกว่าอำนาจของประชาชน 64 ล้านคนไปได้ยังงัย ถ้าคน 7 คน สามารถมีอำนาจมากกว่าประชาชน 64 ล้านคน ประเทศนี้ไม่ต้องเลือกตั้งแล้ว ใครจะเป็นนายกให้ไปสมัครที่ศาลรัฐธรรมนูญ
และยังพูดต่ออีกว่า ศาลรัฐธรรมนูญเป็นส่วนเกินของประชาธิปไตย และคนเหล่านี้ไมได้มีความเป็นมนุษย์ ไม่ได้มีความเหมาะสมกับการทำหน้าที่ตุลาการฯ ถ้าไม่ใด้ใส่ชุดครุยก็ไม่ได้บอกว่าเป็นตุลาการฯ เมื่อพิจารณารวมกับคำปราศรัยของนายยศวริศ อีกคือ เวลานี้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 7 คน มันนึกว่าเป็นแทวดาหรือว่าเป็นผู้มีฤทธิ์เดช ผู้วิเศษซึ่งไม่สามารถที่แตะต้องได้ พร้อมทั้งเปิดหมายเลขโทรศัพท์ของตุลกาการ เพื่อให้คนเสื้อแดงแดงโทรศัพท์ไปกดดัน ซึ่งตุลาการฯบางคนถึงกลับไม่ได้นอน เพราะมีคนโทรเข้าทั้งคืน และยังมอบหมายให้นายอารี ไกรนารา การ์ดคนเสื้อแดงไปจัดการ นี่คือการปลุกปั่นท ยุยง กดดันศาลรัฐธรรมนูญ
พฤติการณ์ทั้งหมดของคนทั้ง 3 คนเป็นการกดดันอำนาจตุลาการ เป็นการผิดเงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราวของศาลอาญา ที่ห้ามยุยงปลุกปั่น ดังนั้นผู้ที่มีหน้าที่ในเรื่องนี้ คือนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสวนคดีพิเศษ และอัยการสูงสุด ต้องมีหน้าที่ไปยื่นคำร้องต่อศาลอาญาเพื่อให้ศาลอาญาเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวของบุคคลทั้ง 3 คน เพราะหากปล่อยเอาไว้อาจก่อให้เกิดความเสียหายกระทบต่อความสงบของบ้านเมืองอย่างร้ายแรงและความมั่นคงของประเทศ ผมจึงจะยื่นคำร้องให้อธิบดีดีเอสไอและอัยการสูงสุงดำเนินการยื่นเรื่องขอให้ศาลอาญาเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราว
**ธาริตเมินถอนประกัน “แกนนำแดง”
นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) กล่าวว่า ขณะนี้เรื่องดังกล่าวถือว่าอยู่ในอำนาจการพิจารณาของศาลและอัยการ ในส่วนของดีเอสไอถือว่าเสร็จสิ้นขั้นตอนที่รับผิดชอบแล้ว โดยดีเอสไอเป็นผู้ทำสำนวนสั่งฟ้อง แต่อัยการเป็นผู้พิจารณาส่งฟ้องศาล ดังนั้น อำนาจการขอถอนประกันจึงอยู่ที่อัยการ