สมัยก่อนเรารู้จักประเทศออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์น้อยมาก แม้ว่าจะมีนักเรียนไทยไปศึกษาอยู่ในสองประเทศนี้บ้างก็ตาม แต่ก็ยังเป็นจำนวนน้อย สองประเทศนี้มาเป็นที่รู้จักมากขึ้นก็ราวๆ ปี พ.ศ. 2502 เมื่อมีการให้ทุนนักเรียนไปเรียนระดับปริญญาตรีปีละหลายๆ ทุน คือ “ทุนโคลัมโบ” ทุนนี้ให้ติดต่อกันมาหลายปีจนหยุดไปเมื่อสิบปีที่ผ่านมา
คนไทยส่วนใหญ่มักส่งบุตรหลานไปเรียนที่อังกฤษและอเมริกา พอจบกลับมาก็เข้ารับราชการก่อน พ.ศ. 2500 นักเรียนที่จบปริญญาตรีจากอังกฤษก็ทำงานได้แล้ว ผู้ที่จบปริญญาโท-เอกยังมีไม่มากนัก คนจบจากอเมริกามักจะได้ปริญญาโทโดยใช้เวลาเรียนสองปี เมื่อกลับมาทำงานหากต้องใช้ภาษาอังกฤษแล้วก็มักจะสู้นักเรียนอังกฤษที่จบแค่ปริญญาตรีไม่ได้ เพราะนักเรียนอังกฤษนั้นส่วนใหญ่จะไปเรียนตั้งแต่ยังเด็ก
ผู้คนมักจะตั้งข้อสังเกตว่า นักเรียนอังกฤษและอเมริกานั้นมีความแตกต่างกัน แม้กระทั่งอากัปกิริยาและบุคลิกภาพ ซึ่งกล่าวกันว่า นักเรียนอเมริกาจะแคล่วคล่องว่องไวมากกว่านักเรียนอังกฤษซึ่งจะเงียบๆ สุขุม ระมัดระวังตัวกว่า การแต่งกายก็ไม่เหมือนกัน นักเรียนอเมริกาจะสวมกางเกงขาลีบ ใส่เสื้อสีฉูดฉาดผิดกับนักเรียนอังกฤษซึ่งแต่งกายเรียบๆ หลังยุคแห่งการพัฒนาสหรัฐอเมริกาเข้ามามีบทบาทในประเทศไทย และให้ทุนไปเรียนที่อเมริกาปีละเป็นร้อยทุน ที่สำคัญก็คือทุน USAID ให้ทุนข้าราชการไปเรียนปริญญาโทด้วย โดยมีกรมวิเทศสหการเป็นผู้ดูแลทุน นักศึกษาที่จบปริญญาตรีสมัยนั้น จึงนิยมสมัครเข้าทำงานที่กรมนี้ เพราะเมื่ออยู่ไปสักปีสองปีก็จะได้รับการสนับสนุนให้ไปเรียนต่อ คนหนุ่มอนาคตไกลหลายคนอยู่ที่กรมนี้ และได้เป็นข้าราชการชั้นเอกตั้งแต่อายุยังน้อย ดร.จิรายุ อิศรางกูร คุณจเร จุฑารัตนกุล คุณดนัย ดุละลัมพะ คุณเกริกไกร จีระแพทย์ ต่างเคยอยู่กรมนี้มาแล้วทั้งนั้น คุณบุญชนะ อัตถากร อธิบดีกรมนี้ชอบใช้คนหนุ่ม และให้ตำแหน่งสำคัญๆ แก่คนอายุน้อย กรมวิเทศสหการจึงเป็นแหล่งฝึกงานข้าราชการเป็นอย่างดี ที่น่าสังเกตก็คือกรมนี้เป็นกรมแรกๆ ที่มีหัวหน้ากองเป็นผู้หญิงอย่างเช่น คุณศรีสว่าง พั่ววงศ์แพทย์ เป็นต้น
คุณบุญชนะเคยรับราชการอยู่กับพระองค์เจ้าวิวัฒนไชย ไชยันต์ จึงนำแบบฉบับการทำเรื่องเสนอมาใช้กับกรมวิเทศสหการด้วยคือ มีการทำบันทึกสั้นๆ บอกความเป็นมาของเรื่อง ประเด็นที่จะต้องพิจารณาและความเห็น นอกจากนั้นคุณบุญชนะยังเป็นข้าราชการสมัยใหม่ที่ไม่ชอบนั่งทำงานอยู่กับที่แล้วรอให้คนมาหา แต่จะมีการนัดพบทานอาหารกลางวันกับพวกทูตานุทูตทุกวัน เสร็จแล้วก็ต้องกลับมาทำบันทึกความจำไว้เสมอ
เมื่อมีทุนโคลัมโบ ทีแรกสถานทูตออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์มอบให้มหาวิทยาลัยจัดการโดยตรง ต่อมาจึงโอนงานนี้ให้แก่กรมวิเทศสหการ โดยคัดจากผู้ซึ่งได้คะแนนสูงเมื่อจบ ม. 8 หรือเป็นที่หนึ่งของชั้นปีที่หนึ่ง ทุนนี้ทำให้เด็กเก่งๆ หลายคนได้ไปเรียนต่อระดับปริญญาตรี และเมื่อจบปริญญาตรีแล้วก็ยังไปต่อปริญญาโท-เอกจากสหรัฐอเมริกา จบมาจำนวนมาก
คนทำงานกรมวิเทศสหการ จะสนุกกับงานมากเพราะผู้ใหญ่มอบความไว้วางใจให้ทำทุกอย่างเอง และเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นได้เต็มที่ นอกจากจะได้ออกไปพบผู้คนนอกสถานที่ทำงานแล้ว เวลาคุณบุญชนะออกไปตรวจงานต่างจังหวัด ก็มักจะให้ข้าราชการหนุ่มๆ สาวๆ ตามไปด้วย ตัวผมเองเคยได้ติดตามคณะของท่านไปตรวจราชการที่ภาคอีสาน และมีอีกครั้งหนึ่งที่ผมได้ไปกับคณะตรวจราชการของรัฐมนตรีท่านหนึ่งที่ภาคเหนือ จำได้ว่าพอตกเย็นมีการเลี้ยงอาหาร ผู้ซึ่งมาเสิร์ฟนั้นเป็นครูสตรี จำได้ว่าผมรู้สึกไม่ค่อยดีที่เห็นครูต้องมาทำหน้าที่อย่างนี้
นอกจากการได้ไปดูงานตามต่างจังหวัดแล้ว ข้าราชการก็ยังมีโอกาสไปประชุม และติดต่องานที่ต่างประเทศอีกด้วย ผมอยู่กรมวิเทศสหการเพียงปีเดียว แต่ได้ไปประชุมที่พม่า และไปติดต่องานที่เยอรมนี นับว่าเป็นโอกาสที่หาไม่ได้ง่ายๆ รองอธิบดีสมัยนั้นก็เป็นคนหนุ่มอายุ 30 กว่าๆ เท่านั้น คือ คุณชูชาติ ประมูลผล และคุณผิว พูสวัสดิ์ ทั้งสองท่านนี้ต่อมาได้เป็นอธิบดีกรมวิเทศสหการทั้งคู่
การที่ข้าราชการกรมนี้ได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่างดีให้ทำงานเชิงรุก ต่อมาหลายคนแยกย้ายกันไปทำงานที่กระทรวงอื่นๆ ต่างได้ดีเป็นปลัดกระทรวง และอธิบดีหลายคน คนอื่นๆ ที่ไม่อยู่กระทรวงก็ไปเป็นอาจารย์ NIDA
ราชการหลังยุคการพัฒนาจึงมีการผสมผสานกันระหว่างนักเรียนนอกจากหลายประเทศ ทำให้ระบบราชการสมัยนั้นเป็นแหล่งที่ผลิตความคิดสร้างสรรค์ขึ้นมามากมาย และเป็นสถานที่ที่คนหนุ่มสาวอยากมาอยู่ ผิดกับสมัยนี้ที่การรับราชการไม่เป็นที่นิยมอีกต่อไป และพวกที่ไปเรียนเมืองนอกตั้งแต่ปริญญาตรีก็มีน้อยลง เพราะเด็กๆ สมัยนี้ชอบเรียนในเมืองไทยก่อน แล้วจึงไปเรียนต่อระดับปริญญาโท และเอกในต่างประเทศ
การมีนักเรียนนอกจากออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์เข้ามาผสมผสานกับนักเรียนอังกฤษ-อเมริกาด้วย ทำให้ระบบราชการไทยมีความหลากหลาย และละลายความคิดการแบ่งแยกระหว่างอังกฤษกับอเมริกาไปได้ อาจกล่าวได้ว่านักเรียนเหล่านี้กลายเป็นกำลังสำคัญที่สุดของการพัฒนาในสมัยต่อๆ มา
คนไทยส่วนใหญ่มักส่งบุตรหลานไปเรียนที่อังกฤษและอเมริกา พอจบกลับมาก็เข้ารับราชการก่อน พ.ศ. 2500 นักเรียนที่จบปริญญาตรีจากอังกฤษก็ทำงานได้แล้ว ผู้ที่จบปริญญาโท-เอกยังมีไม่มากนัก คนจบจากอเมริกามักจะได้ปริญญาโทโดยใช้เวลาเรียนสองปี เมื่อกลับมาทำงานหากต้องใช้ภาษาอังกฤษแล้วก็มักจะสู้นักเรียนอังกฤษที่จบแค่ปริญญาตรีไม่ได้ เพราะนักเรียนอังกฤษนั้นส่วนใหญ่จะไปเรียนตั้งแต่ยังเด็ก
ผู้คนมักจะตั้งข้อสังเกตว่า นักเรียนอังกฤษและอเมริกานั้นมีความแตกต่างกัน แม้กระทั่งอากัปกิริยาและบุคลิกภาพ ซึ่งกล่าวกันว่า นักเรียนอเมริกาจะแคล่วคล่องว่องไวมากกว่านักเรียนอังกฤษซึ่งจะเงียบๆ สุขุม ระมัดระวังตัวกว่า การแต่งกายก็ไม่เหมือนกัน นักเรียนอเมริกาจะสวมกางเกงขาลีบ ใส่เสื้อสีฉูดฉาดผิดกับนักเรียนอังกฤษซึ่งแต่งกายเรียบๆ หลังยุคแห่งการพัฒนาสหรัฐอเมริกาเข้ามามีบทบาทในประเทศไทย และให้ทุนไปเรียนที่อเมริกาปีละเป็นร้อยทุน ที่สำคัญก็คือทุน USAID ให้ทุนข้าราชการไปเรียนปริญญาโทด้วย โดยมีกรมวิเทศสหการเป็นผู้ดูแลทุน นักศึกษาที่จบปริญญาตรีสมัยนั้น จึงนิยมสมัครเข้าทำงานที่กรมนี้ เพราะเมื่ออยู่ไปสักปีสองปีก็จะได้รับการสนับสนุนให้ไปเรียนต่อ คนหนุ่มอนาคตไกลหลายคนอยู่ที่กรมนี้ และได้เป็นข้าราชการชั้นเอกตั้งแต่อายุยังน้อย ดร.จิรายุ อิศรางกูร คุณจเร จุฑารัตนกุล คุณดนัย ดุละลัมพะ คุณเกริกไกร จีระแพทย์ ต่างเคยอยู่กรมนี้มาแล้วทั้งนั้น คุณบุญชนะ อัตถากร อธิบดีกรมนี้ชอบใช้คนหนุ่ม และให้ตำแหน่งสำคัญๆ แก่คนอายุน้อย กรมวิเทศสหการจึงเป็นแหล่งฝึกงานข้าราชการเป็นอย่างดี ที่น่าสังเกตก็คือกรมนี้เป็นกรมแรกๆ ที่มีหัวหน้ากองเป็นผู้หญิงอย่างเช่น คุณศรีสว่าง พั่ววงศ์แพทย์ เป็นต้น
คุณบุญชนะเคยรับราชการอยู่กับพระองค์เจ้าวิวัฒนไชย ไชยันต์ จึงนำแบบฉบับการทำเรื่องเสนอมาใช้กับกรมวิเทศสหการด้วยคือ มีการทำบันทึกสั้นๆ บอกความเป็นมาของเรื่อง ประเด็นที่จะต้องพิจารณาและความเห็น นอกจากนั้นคุณบุญชนะยังเป็นข้าราชการสมัยใหม่ที่ไม่ชอบนั่งทำงานอยู่กับที่แล้วรอให้คนมาหา แต่จะมีการนัดพบทานอาหารกลางวันกับพวกทูตานุทูตทุกวัน เสร็จแล้วก็ต้องกลับมาทำบันทึกความจำไว้เสมอ
เมื่อมีทุนโคลัมโบ ทีแรกสถานทูตออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์มอบให้มหาวิทยาลัยจัดการโดยตรง ต่อมาจึงโอนงานนี้ให้แก่กรมวิเทศสหการ โดยคัดจากผู้ซึ่งได้คะแนนสูงเมื่อจบ ม. 8 หรือเป็นที่หนึ่งของชั้นปีที่หนึ่ง ทุนนี้ทำให้เด็กเก่งๆ หลายคนได้ไปเรียนต่อระดับปริญญาตรี และเมื่อจบปริญญาตรีแล้วก็ยังไปต่อปริญญาโท-เอกจากสหรัฐอเมริกา จบมาจำนวนมาก
คนทำงานกรมวิเทศสหการ จะสนุกกับงานมากเพราะผู้ใหญ่มอบความไว้วางใจให้ทำทุกอย่างเอง และเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นได้เต็มที่ นอกจากจะได้ออกไปพบผู้คนนอกสถานที่ทำงานแล้ว เวลาคุณบุญชนะออกไปตรวจงานต่างจังหวัด ก็มักจะให้ข้าราชการหนุ่มๆ สาวๆ ตามไปด้วย ตัวผมเองเคยได้ติดตามคณะของท่านไปตรวจราชการที่ภาคอีสาน และมีอีกครั้งหนึ่งที่ผมได้ไปกับคณะตรวจราชการของรัฐมนตรีท่านหนึ่งที่ภาคเหนือ จำได้ว่าพอตกเย็นมีการเลี้ยงอาหาร ผู้ซึ่งมาเสิร์ฟนั้นเป็นครูสตรี จำได้ว่าผมรู้สึกไม่ค่อยดีที่เห็นครูต้องมาทำหน้าที่อย่างนี้
นอกจากการได้ไปดูงานตามต่างจังหวัดแล้ว ข้าราชการก็ยังมีโอกาสไปประชุม และติดต่องานที่ต่างประเทศอีกด้วย ผมอยู่กรมวิเทศสหการเพียงปีเดียว แต่ได้ไปประชุมที่พม่า และไปติดต่องานที่เยอรมนี นับว่าเป็นโอกาสที่หาไม่ได้ง่ายๆ รองอธิบดีสมัยนั้นก็เป็นคนหนุ่มอายุ 30 กว่าๆ เท่านั้น คือ คุณชูชาติ ประมูลผล และคุณผิว พูสวัสดิ์ ทั้งสองท่านนี้ต่อมาได้เป็นอธิบดีกรมวิเทศสหการทั้งคู่
การที่ข้าราชการกรมนี้ได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่างดีให้ทำงานเชิงรุก ต่อมาหลายคนแยกย้ายกันไปทำงานที่กระทรวงอื่นๆ ต่างได้ดีเป็นปลัดกระทรวง และอธิบดีหลายคน คนอื่นๆ ที่ไม่อยู่กระทรวงก็ไปเป็นอาจารย์ NIDA
ราชการหลังยุคการพัฒนาจึงมีการผสมผสานกันระหว่างนักเรียนนอกจากหลายประเทศ ทำให้ระบบราชการสมัยนั้นเป็นแหล่งที่ผลิตความคิดสร้างสรรค์ขึ้นมามากมาย และเป็นสถานที่ที่คนหนุ่มสาวอยากมาอยู่ ผิดกับสมัยนี้ที่การรับราชการไม่เป็นที่นิยมอีกต่อไป และพวกที่ไปเรียนเมืองนอกตั้งแต่ปริญญาตรีก็มีน้อยลง เพราะเด็กๆ สมัยนี้ชอบเรียนในเมืองไทยก่อน แล้วจึงไปเรียนต่อระดับปริญญาโท และเอกในต่างประเทศ
การมีนักเรียนนอกจากออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์เข้ามาผสมผสานกับนักเรียนอังกฤษ-อเมริกาด้วย ทำให้ระบบราชการไทยมีความหลากหลาย และละลายความคิดการแบ่งแยกระหว่างอังกฤษกับอเมริกาไปได้ อาจกล่าวได้ว่านักเรียนเหล่านี้กลายเป็นกำลังสำคัญที่สุดของการพัฒนาในสมัยต่อๆ มา