เมื่อวันที่ 1-3 มิถุนายน 2012 นี้ มีข่าวแพร่สะพัดในสื่อต่างๆ ว่า รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กำลังเจรจาขายอธิปไตยของชาติ โดยยกสนามบินอู่ตะเภาไปให้สหรัฐฯ ใช้ โดยมีนัยว่าแลกเปลี่ยนผลประโยชน์กับสหรัฐฯ ในการออกวีซ่าให้ทักษิณ ชินวัตร เข้าประเทศ งานนี้มีทักษิณเป็นสื่อให้ผู้นำไทยและสหรัฐฯ ได้พบปะเจรจากัน (ทักษิณ ยังเข้าสหรัฐฯ ไม่ได้ เพราะมีคนช่วยกันล็อบบี้ทำเนียบขาวสหรัฐฯ โดยให้เหตุผลว่าทักษิณเป็นนักโทษหนีคุก และเป็นผู้ต้องหาคดีอาญาหลายคดี)
ผู้นำทหารไทยและสหรัฐฯ ได้พบกันที่สิงคโปร์ในโอกาสการประชุม Asia Security Summit หรือ "IISS Shangri-la Dialogue" (1-3 มิถุนายน) ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมไทยและสหรัฐฯ นำคณะนายทหารเข้าร่วมประชุมด้วย ต่อมาเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พลเอกมาร์ติน อี เดมซีย์ (Martin E. Dempsey) ประธานคณะเสนาธิการทหารผสมสหรัฐฯ ได้เข้าพบปะเจรจากับนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์และผู้นำทหารไทยที่กรุงเทพฯ พวกเขาได้เจรจากันเรื่องอะไรยังคงเป็นเรื่องลับ แต่ข่าวที่ปิดไม่มิดผ่านมาทาง พล อ.อ. สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม คือ สหรัฐฯ ขอใช้สนามบินอู่ตะเภาเพื่อจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติ ประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก "ไม่เกี่ยวกับการทหาร" และ "ไม่เกี่ยวกับพันตำรวจโททักษิณไปสหรัฐฯ"
ผู้เขียนเชื่อว่าสหรัฐฯ ขอใช้อู่ตะเภาเพื่อการทหารเป็นหลัก ตามแผนยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ในช่วง 10 ปีข้างหน้า เพื่อต่อต้านการขยายอิทธิพลของจีน ส่วนที่ว่าต้องการใช้เป็นศูนย์ศึกษาภูมิอากาศหรือเป็นศูนย์บรรเทาภัยพิบัตินั้นเป็นข้ออ้างหรือใช้เป็นฉากบังหน้ามากกว่า ด้วยเหตุผลและหลักฐานที่จะกล่าวต่อไป ณ ที่นี้
1. สหรัฐฯ ริอ่านทำอะไร? เพื่อใคร?
สหรัฐฯ กำลังเข้าสู่ฤดูกาลเลือกตั้งประธานาธิบดี (พฤศจิกายน 2012) เป็นกลเม็ดในการหาเสียงของนักการเมือง ประธานาธิบดีที่อยู่ในอำนาจ ต้องแสดงให้ประชาชนเห็นว่าสหรัฐฯ ยังยิ่งใหญ่ในโลกนี้ โอบามาต้องการเป็นประธานาธิบดีต่ออีก 4 ปี
ในโอกาสการประชุมว่าด้วยความมั่นคงของเอเชียที่สิงคโปร์ตามที่กล่าวแล้ว นายลีออน แพเนตตา (Leon Panetta) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ได้เผยแพร่นโยบายและแผนยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งมีสาระสำคัญคือ สหรัฐฯ มีความสนใจและความสามารถในการใช้ทรัพยากรเพื่อรักษาและส่งเสริมผลประโยชน์ของสหรัฐฯ และต่อต้านประเทศที่กล้าท้าทายสหรัฐฯ ถึงปี ค.ศ. 2020 กองทัพเรือสหรัฐฯ ที่มีอยู่ จะย้ายมาประจำในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก 60% สหรัฐฯ จะช่วยปกป้องผลประโยชน์ของมิตรประเทศ และฟื้นฟูมิตรภาพกับเพื่อนเก่า (ซึ่งเหินห่างไปเพราะทุ่มเททำสงครามในตะวันออกกลางและอัฟกานิสถาน
เพื่อการนี้ แพเนตตาได้เผยแผนปฏิบัติงานที่เป็นรูปธรรม คือ ยักย้ายที่ตั้งกองกำลังทหารใหม่ให้เหมาะสม (repositioning) และจัดสมดุลอำนาจในภูมิภาคเสียใหม่ (rebalancing) เพราะสหรัฐฯกังวลว่าตนเองเสียดุลอำนาจในภูมิภาคนี้ให้แก่จีนมากเกินไป
งานนี้ได้เดินหน้าแล้วในด้านการทูต หลังจากเสร็จสิ้นการประชุมที่สิงคโปร์ แพเนตตาและคณะได้เดินทางต่อไปยังเวียดนามและอินเดีย เพื่อหยั่งเสียง หาเสียง และแสวงหาความร่วมมือ
สำหรับประเทศไทย นอกจากคณะผู้แทนไทยและสหรัฐฯ ได้มีโอกาสเจรจากันแล้วที่สิงคโปร์ แพเนตตาได้ส่งพลเอกมาร์ตินเดมซีย์ มาพบนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ และผู้นำทหารไทย เพื่อเจรจาขอใช้สนามบินอู่ตะเภาอีก นอกจากนั้น พลเอก Dempsey ยังได้ให้สัมภาษณ์แก่คุณสุทธิชัย หยุ่น แห่งบริษัท Nation Group ด้วย (5 มิถุนายน) ในการตอบคำถามของคุณสุทธิชัย ที่ว่าสหรัฐฯ จะใช้สนามบินอู่ตะเภาเพื่อการทหารด้วยหรือไม่ Dempsey ตอบว่า "ไม่ ยังก่อน เราอาจไปถึงอันนั้นได้" (ดูใน The Nation, June 9, 2012, 10A) อย่างไรก็ตาม Dempsey ได้ให้สัมภาษณ์เป็นนัยว่า "ศูนย์อู่ตะเภานี้ ในบางโอกาสอาจถูกใช้ เป็นสถานที่สำหรับเรือรบสับเปลี่ยนกันมาจากสิงคโปร์" (สิงคโปร์ไม่มีดินแดนให้สหรัฐฯ ใช้เป็นฐานปฏิบัติการทางทหาร แต่ได้ตกลงให้เรือรบสหรัฐฯ แวะจอดทำงานหรือพักงานหรือจับจ่ายได้)
การเพิ่มกำลังทหารของสหรัฐฯ ในเอเชีย-แปซิฟิก เพื่อ balance อำนาจของจีน หรือ contain จีนใช่หรือไม่นั้น ถ้าคนที่เป็นมิตรกับจีนไปถามผู้นำหรือนักการทูตสหรัฐฯ ก็จะได้รับคำตอบว่า "ไม่ใช่" หรือเลี่ยงตอบอย่างคลุมเครือ แต่สำหรับผู้ที่ติดตามการเมืองระหว่างประเทศแล้ว จะได้ข้อสรุปอย่างชัดเจนว่า สหรัฐฯ ต้องการสกัดกั้นอิทธิพลของจีนเป็นสำคัญ โดยเหตุผลโดยย่อดังนี้
(1) สหรัฐฯ เกรงอิทธิพลของจีน เพราะจีนโตเร็วทุกด้าน คราวนี้กลัวจีนไม่ใช่กลัวคอมมิวนิสต์ แต่เป็นจีนทุนนิยม IMF คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจีนจะมี GDP โตล้ำหน้าสหรัฐฯ ภายในปี ค.ศ. 2016
(2) สหรัฐฯ เป็นเจ้าโลกมานาน ต้องการรักษาฐานะอภิมหาอำนาจโลกต่อไป ในยุโรป มี NATO สามารถต้านรัสเซียไว้ได้ ในตะวันออกกลางซึ่งเป็นอู่น้ำมัน สหรัฐฯ มีอิสราเอลเป็นพันธมิตรที่แข็งแกร่งและห้าวหาญ แม้สหรัฐฯ จะบอบช้ำจากสงครามอิรักและอัฟกานิสถาน แต่นโยบายทำให้แตกแยกแล้วปกครอง (divide and rule) ในนามของการส่งเสริมประชาธิปไตยให้งอกงาม (Arab Spring) ก็ประสบผลสำเร็จอย่างดี พวกเขาฆ่าฟันกันเองจนหมดฤทธิ์ที่จะกล้าท้าทายอิสราเอลและสหรัฐฯ ไปอีกนาน ผลข้างเคียงที่ชาวโลกและคนไทยได้รับคือน้ำมันราคาพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์
(3) ในเอเชียตะวันออก สหรัฐฯ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้มีกำลังแข็งแกร่งพอที่จะสกัดกั้นได้ทั้งจีนและรัสเซีย โดยมีฐานทัพสหรัฐฯ ประจำอยู่
(4) ถ้าประเทศใดอาจหาญพอที่จะท้าทายสหรัฐฯ ในมหาสมุทรแปซิฟิก-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ สหรัฐฯ-ออสเตรเลียก็ได้ตกลงกันให้ทหารนาวิกโยธินสหรัฐฯ สับเปลี่ยนกันไปประจำในตอนเหนือของออสเตรเลียได้จำนวน 2,500 คน (ข้อตกลงสหรัฐฯ-ออสเตรเลีย 17 พฤศจิกายน 2011)
(5) ความตึงเครียดอันเกิดจากความขัดแย้งกันเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในเกาะ-น่านน้ำในทะเลจีนใต้ระหว่างจีนกับ 4 ประเทศ สมาชิกอาเซียนเปิดโอกาสให้สหรัฐฯ กลับมามีอิทธิพลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้อีก ฐานทัพสหรัฐฯ ในฟิลิปปินส์และไทย (พันธมิตรเก่า) สมัยสงครามต้านคอมมิวนิสต์นั้นได้ถูกประชาชนเจ้าของประเทศเดินขบวนขับไล่จนต้องถอนออกไป ตอนนี้สหรัฐฯ เห็นช่องทางที่จะกลับคืนมาได้อีก
(6) สำหรับสนามบินอู่ตะเภานั้น สหรัฐฯ เคยใช้ปฏิบัติการทางทหารนานนับสิบปี รู้ว่าใช้ได้ดีทั้งเป็นฐานทัพเรือและฐานทัพอากาศ บัดนี้สหรัฐฯ คงต้องการกลับคืนมาใช้เพื่อการทหารเป็นหลัก โดยปรับปรุงซ่อมแซม-ขยายให้เป็นศูนย์ปฏิบัติการที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ใช้เป็นฐานปฏิบัติการสอดแนมสืบความลับประเทศที่ไม่เป็นมิตรในภูมิภาคในยามปรกติ และปฏิบัติการรบในยามสงคราม แต่เมื่อภาวะสงครามปัจจุบันยังไม่ปรากฏ จึงต้องหาข้ออ้างที่เหมาะสมเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิในการใช้เสียก่อน ข้ออ้างที่ใช้เจรจากับผู้นำไทยก็คือ ขอใช้เพื่องานด้านมนุษยธรรมบรรเทาภัยพิบัติ และศูนย์ศึกษา-วิจัย-สำรวจสภาพภูมิอากาศในเชิงอุตุนิยมวิทยา ซึ่งเป็นงานส่วนหนึ่งของเครือข่าย NASA ข้อสรุปนี้คงไม่ผิด เพราะตัวการที่มาเจรจากับผู้นำไทยเป็นประธานคณะเสนาธิการทหารผสม ซึ่งอยู่ในคณะผู้นำทหารที่ไปร่วมประชุมสุดยอดว่าด้วยความมั่นคงเอเชียที่สิงคโปร์ พวกนี้มิได้รับผิดชอบงานบรรเทาภัยพิบัติ หรืองานสำรวจสภาพภูมิอากาศหรืออวกาศแต่ประการใด
2. จีนคิดอย่างไร? ต้องการอะไร? และทำอะไร?
ถ้าอู่ตะเภาหรือแผ่นดินไทยจะไม่ถูกใช้เป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายปฏิบัติการที่เป็นปฏิปักษ์ต่อจีน เราก็ไม่ควรเอาเรื่องปัจจัยจีนมากล่าวในที่นี้ แต่กรณีนี้เชื่อว่าชาวจีนและผู้นำจีนที่รู้เรื่องนี้จะต้องพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า สหรัฐฯ มีเจตนาจะใช้อู่ตะเภาทำกิจกรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อจีน รัฐบาลไทยที่ยอมให้สหรัฐฯ ใช้แผ่นดินของตัวก็จะต้องรับผิดชอบด้วย ด้วยเหตุนี้ เราจึงต้องวิเคราะห์ว่า ทำไมทัศนะของจีนจึงเป็นเช่นนี้
(1) จีนตกเป็นเป้าของการโจมตีโดยสหรัฐฯ และพรรคพวกว่าได้เพิ่มงบประมาณทางทหารอย่างรวดเร็ว ทำให้ชาวโลกมองว่าจีนเป็นภัยคุกคามสันติภาพของภูมิภาคและของโลก
จีนมองว่าสหรัฐฯ และพรรคพวกพยายามทำลายความน่าเชื่อถือและนโยบายใฝ่สันติภาพของจีน สร้างภาพลบให้คนมองจีนในแง่ร้าย จีนพยายามสร้างภาพการพัฒนาเศรษฐกิจของจีนที่ต้องอาศัยภาวะแวดล้อมทางสันติ โดยอธิบายว่า จีนมีพื้นที่ใกล้เคียงกับสหรัฐฯ และมีพันธะที่จะต้องปกป้องเขตอำนาจอธิปไตยไม่ยิ่งหย่อนกว่า จีนมีพลเมืองมากกว่าสหรัฐฯ หลายเท่า (ปี 2011 จีนมีพลเมือง 1,347 ล้านคน หรือ 19.2% ของประชากรโลก ในขณะที่สหรัฐฯ มี 313 ล้านคน หรือ 4.47% ของประชากรโลก) แต่มีรายจ่ายด้านการทหารน้อยกว่ามหาอำนาจอื่นทั้งหมด ถ้าคิดจากจำนวนประชากรและพื้นที่ ปี 2012 จีนมีงบประมาณด้านการทหาร 106,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มจากปีก่อน 11.2% (หรือ 1.28% ของ GDP) ในขณะที่ของสหรัฐฯ เท่ากับ 925,200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดจากปีก่อน 5% (หรือ 4.8% ของ GDP)1
(2) ในด้านการเมือง เรื่องร้อนประจำปีที่จีนตกเป็นเป้าของการโจมตีโดยสหรัฐฯ และพรรคพวกคือเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนในจีน นักการเมืองสหรัฐฯ และสื่อมวลชนตะวันตกและเครือข่ายองค์กรสิทธิมนุษยชน ใช้ข้อมูลเรื่องรายงานสิทธิมนุษยชนในจีนของสหรัฐฯ เป็นเครื่องมือโจมตีจีนตลอดมา สหรัฐฯ มี Radio Free Asia, Radio Free Tibet แพร่ข่าวเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนในจีนมานานนับสิบปีแล้ว
จีนมองว่าสหรัฐฯ และพรรคพวกมีเจตนาทำลายชื่อเสียงของจีน และพยายามตอบโต้ออกมาเป็นระยะๆ แม้จะไม่ค่อยได้รับความสนใจจากสื่อตะวันตก แต่คำตอบโต้ของจีนก็มีเหตุผลดีไม่ยิ่งหย่อนกว่าเรื่องงบประมาณรายจ่ายด้านการทหาร ที่สำคัญคือจีนมีมุมมองเรื่องสิทธิมนุษยชนแตกต่างจากสหรัฐฯ จีนยังเน้นเรื่องปากท้องซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในการยังชีพเป็นสำคัญ และจีนเน้นความสงบเรียบร้อยของส่วนรวมมากกว่าสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลเป็นต้น
(3) ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จีนยึดหลักเคารพภูมิปัญญาของประชาชนในแต่ละประเทศ ที่มีความรู้ดีกว่าคนต่างชาติในการแก้ไขปัญหาของตนเอง นั่นคือยึดหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในของชาติอื่น จีนมองว่าสหรัฐฯ ชอบเอามาตรฐานของตนไปตัดสินชะตากรรมของคนในชาติอื่น ฉะนั้นทุกครั้งที่เกิดปัญหาความขัดแย้งกันในประเทศต่างๆ จีน (บางครั้งมีรัสเซียร่วมด้วย) มักจะเป็นฝ่ายตรงข้ามกับสหรัฐฯและพรรคพวก สหรัฐฯ (อภิมหาอำนาจพูดเสียงดัง) จะเป็นผู้นำในการทำลายภาพลักษณ์ของจีน โดยสื่อมวลชนสหรัฐฯ และตะวันตกจะประโคมข่าวว่าจีนไม่ส่งเสริมฝ่ายประชาธิปไตยที่ชาติตะวันตกสนับสนุน
(4) เกี่ยวกับการอ้างกรรมสิทธิ์เหนือดินแดนในทะเลจีนใต้ นางคลินตัน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ได้กล่าวในโอกาสต่างๆ หลายครั้ง กล่าวโทษจีนว่าเป็นชาติขยายดินแดน (เพิ่งจะหยุดพูดในทำนองนั้นเมื่อไม่นานมานี้) เรื่องนี้จีนถือเป็นเรื่องใหญ่ เพราะจีนถือว่าปัญหาพิพาทกันเรื่องพรมแดนนั้น เป็นปัญหาติดมากับประวัติศาสตร์ จีนมีข้ออ้างที่ที่อิงกฎหมายระหว่างประเทศไม่ด้อยกว่าประเทศอื่นที่อ้างกรรมสิทธิ์ทับซ้อน (เรื่องพิพาทกับญี่ปุ่นเหนือเกาะเตี้ยวอี๋ว์หรือเซนกากุก็เช่นเดียวกัน)2
(5) ชาวจีนส่วนมากเชื่อว่าสหรัฐฯ คุกคามความมั่นคงของจีน แม้สงครามเย็นจะสิ้นสุดลงแล้ว แต่สหรัฐฯ ยังมีอาการโรคสงครามเย็นขึ้นสมอง คุกคามความมั่นคงของจีนโดยสนับสนุนไต้หวัน แม้จะยอมรับว่าไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของจีน แต่ยังขายเครื่องบินรบและอาวุธสงครามล้ำยุคให้ไต้หวันเป็นระยะๆ ส่งเสริมชาวทิเบตให้ต่อต้านจีน มีฐานทัพล้อมรอบจีน ในญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และออสเตรเลีย ถ้าไทยให้สหรัฐฯ ใช้สนามบินอู่ตะเภาเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ความมั่นคงของสหรัฐฯ ไทยก็จะถูกมองว่าเป็นปฏิปักษ์กับจีนเหมือนสหรัฐฯ ด้วย
(6) การที่ไทยจะให้หรือไม่ให้สหรัฐฯ ใช้อู่ตะเภานั้น จะว่าไม่เกี่ยวกับจีนก็คงไม่ได้ ถ้าไทยให้ไปตามคำขอ ไม่ว่าจะขอใช้โดยเอาอะไรเป็นข้ออ้างก็ตาม ภาพที่ออกมาสู่สายตาจีน (และสายตาโลก) คงไม่มีใครเชื่อว่าไม่เกี่ยวกับการทหารและความมั่นคงของสหรัฐฯ คงไม่มีใครเชื่อว่าไม่เกี่ยวกับความมั่นคงของจีน แต่ถ้ารัฐบาลไทยปฏิเสธคำขอของสหรัฐฯ จีนคงจะให้ความไว้เนื้อเชื่อใจไทยมากขึ้นอีกระดับหนึ่ง
3. ผลประโยชน์ของไทย
(1) ปัจจุบันความสัมพันธ์จีน-สหรัฐฯ มีแนวโน้มที่จะมีปัญหามากขึ้น โดยสหรัฐฯ เป็นฝ่ายรุก จีนเป็นฝ่ายตั้งรับ ถ้าฝ่ายรุกมีปัญหาทางเศรษฐกิจมากขึ้น ก็อาจจะแสดงความก้าวร้าวมากขึ้น ความขัดแย้งกันทางการเมือง-เศรษฐกิจ อาจจะขยายตัวไปสู่การประจันหน้ากันทางทหารได้ ดูเหมือนสหรัฐฯ จะเตรียมตัวไปสู่จุดนั้น และกำลังรุกหนักที่จะดึงประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกมาเป็นพรรคพวกให้มากขึ้น
(2) ไทยเป็นหมากตัวหนึ่งของสหรัฐฯ ที่จะใช้เสริมพลังอำนาจทางยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ ในการต่อต้านจีน ไทยจะวางตัวอย่างไรในสถานการณ์เช่นนี้จะต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง โดยพิจารณาถึงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ การเมืองและความมั่นคงเป็นสำคัญ จะทำตัวเอนเอียงไปเข้าข้างฝ่ายใดจะต้องอิงความถูกต้องทางรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ที่จะนำไปสู่สันติภาพของโลกในฐานะที่เราเป็นมนุษย์คนหนึ่งในสังคมโลกด้วย
(3) ปัจจุบันไทยมีความสัมพันธ์ที่ดีทั้งกับจีนและสหรัฐฯ เป็นผลประโยชน์ของไทยที่จะต้องรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับทั้งสองประเทศไว้ต่อไป
(4) จีนเป็นมิตรที่ดีของไทย ตั้งแต่ไทย-จีนได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกันในปี 1975 เป็นต้นมา ความสัมพันธ์ไทย-จีนทุกด้าน (ความมั่นคง การเมือง เศรษฐกิจ) ดีขึ้นตามลำดับ และมีแนวโน้มที่จะดีขึ้นเรื่อยๆ เฉพาะในด้านเศรษฐกิจ จีนกลายเป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของไทย ปี 2011 มูลค่าการค้ารวม 57,983.56 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ไทยส่งออกไปจีน 27,402.40 ล้านเหรียญ, นำเข้า 30,581.15 ล้านเหรียญ) เพิ่มจากปีก่อน 26.85% การลงทุนจากจีนก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ปี 2011 เพิ่ม 62% เป็น 970 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (อันดับ 2 รองจากญี่ปุ่น) มีแนวโน้มว่า จีนจะกลายเป็นชาติที่มาลงทุนในไทยมากที่สุดในไม่กี่ปีข้างหน้า นักท่องเที่ยวจากจีนก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มีจำนวน 1,571,294 คน ในปี 2011 นับเป็นอันดับสองรองจากมาเลเซีย เพิ่มจากปีก่อน 57.56%3 เศรษฐกิจของจีนเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ ประมาณ 10% โดยเฉลี่ยต่อปีตั้งแต่เปิดประเทศปฏิรูปเศรษฐกิจในปี 1978 เป็นต้นมา ใน 5 ปีข้างหน้าเศรษฐกิจคงจะเติบโตได้อีกปีละประมาณ 6-9% ในขณะที่สหรัฐฯ สหภาพยุโรปและญี่ปุ่นประสบปัญหาเศรษฐกิจถดถอย การเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนอย่างมีเสถียรภาพเป็นผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของไทยอย่างมาก
(5) สหรัฐฯ มีพื้นฐานทางเศรษฐกิจดี เป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจมานาน แต่นับจากนี้ฐานะทางเศรษฐกิจส่วนที่จะมาแลกเปลี่ยนผลประโยชน์กับไทยนั้น ก็มีแนวโน้มลดน้อยลง สหรัฐฯ มีโอกาสล้มละลายมากกว่าจีน เมื่อเดือนพฤษภาคม 2012 สหรัฐฯ มีหนี้สาธารณะ 15.77 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ เท่ากับ 102% ของ GDP (ของจีน 25.8%) อัตราการเพิ่มของหนี้สาธารณะมีมากกว่า 500,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี (วัดจากแนวโน้มตั้งแต่ปี 2003) จีนเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ ณ เดือนธันวาคม 2010 สหรัฐฯเป็นหนี้จีน 1.260 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ4
(6) สหรัฐฯ เป็นอภิมหาอำนาจของโลก มีสิทธิยับยั้งในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เช่นเดียวกับจีน แต่สหรัฐฯ ห้าวหาญในการใช้อำนาจมากกว่าและบ่อยครั้งกว่า สหรัฐฯ เคยเป็นมิตรและพันธมิตรทางทหารของไทย (ในสงครามเกาหลีและสงครามอินโดจีน) แต่ตอนนี้เราไม่มีเหตุผลดีเท่าสมัยนั้นในการไปร่วมมือกับมิตรเก่าไปต่อต้านมิตรใหม่ของเรา แม้ถ้าสหรัฐฯชักชวนให้เราไปช่วย "ทำโทษ" เมียนมาร์ เกาหลีเหนือ อิหร่าน หรือประเทศอื่นที่มิใช่เป็นมิตรสนิทของเราเช่นจีน เราก็ไม่ควรร่วมมือด้วย
(7) ถ้าไทยยอมให้สหรัฐฯ ใช้แผ่นดินไทย ประกอบกิจกรรมที่เป็นปรปักษ์กับประเทศเพื่อนบ้าน จะเป็นประเทศจีนหรือประเทศอื่นใดในภูมิภาคก็ตาม โอกาสที่คนไทยจะแตกแยกกันเองเสียก่อนนั้นมีมาก โอกาสที่จะเป็นฝ่ายสูญเสียหรือพ่ายแพ้ก็มีมาก
4. บทเรียนของไทย: ยังจำได้ไหม?
(1) ประเทศไทยในสมัยรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร ได้ยินยอมให้สหรัฐฯ ใช้สนามบินอู่ตะเภา เพื่อทำสงครามในอินโดจีน ข้อตกลงไทย-สหรัฐฯ (มีเพียงบันทึกรายงานการประชุมปี 1967 ไม่มีข้อตกลงอย่างเป็นทางการ) แม้จะบอกว่าสนามบินอู่ตะเภาเป็นของไทย ไทยมีอำนาจการบังคับบัญชาการบริหารงาน และมีอำนาจศาล ฯลฯ แต่ในทางปฏิบัติ สหรัฐฯ ย้ายฐานบินทิ้งระเบิด B52 จากเกาะกวมมาอยู่ที่อู่ตะเภา และใช้สนามบินอู่ตะเภาปฏิบัติการทิ้งระเบิด เวียดนาม ลาว กัมพูชา อย่างเป็นอิสระจากฝ่ายไทย เสมือนหนึ่งเป็นดินแดนของสหรัฐฯ5
(2) ในการเจรจาขอใช้สนามบินอู่ตะเภา ปี 1967 นั้น ผู้แทนเจรจาของฝ่ายสหรัฐฯ ศึกษาข้อมูลมาอย่างดีว่า คู่เจรจาฝ่ายไทยมีจุดอ่อนจุดเด่นอยู่ที่ไหน ระบบการเมืองของไทยมีช่องโหว่อะไรบ้าง แล้วเอาข้อมูลจริงบ้างเท็จบ้างเกี่ยวกับภัยคุกคามจากคอมมิวนิสต์จากภายนอก (อ้างว่าได้มาจากดาวเทียมบ้างหน่วยสืบความลับที่ทันสมัยสุดยอดซึ่งฝ่ายไทยฟังไม่เข้าใจ) มาต้มตุ๋นคู่เจรจา ซึ่งฝ่ายไทยได้แต่งุนงงไม่รู้จะตอบโต้ซักถามอย่างไร ฝ่ายสหรัฐฯ มัดมือชก ถือว่าไม่ปฏิเสธก็คืออนุมัติ เมื่อไทยถูกฝ่ายคอมมิวนิสต์ออกข่าวโจมตีจากฮานอยและปักกิ่ง ฝ่ายสหรัฐฯ ก็ใช้หมัดเพชฌฆาตฟาดไทยซ้ำเติม บอกฝ่ายไทยว่าไทยไม่มีทางเลือกอีกแล้ว ไหนๆ ศัตรูของเราก็ถือว่าเราเป็นศัตรูร่วมกันแล้ว ฯลฯ การเจรจาของคู่ภาคีที่มีฐานะไม่เท่าเทียมกัน จะมีข้อสรุปหรือไม่ก็ตาม สหรัฐฯ ก็หาช่องทางเข้ามาใช้สนามบินอู่ตะเภาโดยเครื่องบินทิ้งระเบิด B52 ไปถล่มทำลายประเทศเพื่อนบ้านของไทยเหลวแหลกอย่างไร้มนุษยธรรม
(3) คราวนี้ ถ้าผู้นำทหารหรือตัวแทนรัฐบาลสหรัฐฯ มาเจรจาขอใช้สนามบินอู่ตะเภาอีก กลเม็ดในการเจรจาของเขาก็คงจะเป็นรูปแบบเดิม คือใช้วิธีอ่อยเหยื่อต้มตุ๋นให้รัฐบาลไทยยอม เขาศึกษามาดีแล้ว (ได้ข้อมูลจากซี.ไอ.เอ.) เช่นข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการของไทยในการจัดการภัยพิบัติที่ไทยเพิ่งได้รับจากสึนามิ และน้ำท่วมใหญ่ปี 2011 ฯลฯ พวกเขาทำการบ้านศึกษาหาช่องทางนำมาใช้ในการเจรจา ฝ่ายสหรัฐฯ อาจจะเสนอโครงการสวยหรูมาจูงใจฝ่ายไทย เช่นกิจกรรมด้านการศึกษาวิจัย สภาพภูมิอากาศและอวกาศ โดยองค์การการบินอวกาศสหรัฐฯ (NASA) สัญญาว่าจะใช้เครื่องมือที่ใช้เทคโนโลยีล้ำสมัยมาตั้งอยู่ในแผ่นดินไทย จะเปิดโอกาสให้นักวิทยาศาสตร์ไทยเข้าร่วมงานหรือฝึกอบรม โดยมีผู้เชี่ยวชาญชั้นหัวกะทิจากสหรัฐฯ มาถ่ายทอดวิชาการให้ เป็นต้น จะสร้างศูนย์บรรเทาภัยพิบัติ โดยมีอุปกรณ์สื่อสารอย่างล้ำสมัย เพื่อบรรเทาทุกข์ให้ไทยและเพื่อนบ้านในภูมิภาคในยามมีภัยพิบัติ เป็นต้น พวกเขาจะไม่ลืมที่จะตอกย้ำว่า กิจกรรมต่างๆ จะเป็นประโยชน์ต่อไทยอย่างไร ในการเจรจานั้น ฝ่ายทหารสหรัฐฯ อาจจะเอาผู้เชี่ยวชาญ NASA หรือผู้เชี่ยวชาญด้านพยากรณ์ภัยธรรมชาติ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านบรรเทาภัยพิบัติมารวมอยู่ในคณะเจรจาด้วย หรือจะแยกกันมาก็ได้
ฝ่ายสหรัฐฯ อาจจะทำให้ฝ่ายไทยตายใจว่า งานความร่วมมือนี้จะดำเนินการอย่างเปิดเผยและโปร่งใส กิจกรรมต่างๆ จะให้คนไทยมีส่วนร่วม พวกเราผู้เป็นเจ้าของประเทศควรศึกษาประสบการณ์ที่รัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจรเจรจาทำข้อตกลงต่างๆ กับสหรัฐฯ ซึ่งทำให้สหรัฐฯ ได้ไปซึ่งสิทธิหรืออำนาจในการใช้สนามบินอู่ตะเภา สนามบินทหารหลายแห่งในภาคอีสาน และเครือข่ายหน่วยสืบความลับทางทหาร ซึ่งมีอยู่มากมายในสมัยสงครามอินโดจีน ข้อสัญญาเหล่านั้นไม่มีประโยชน์อันใดสำหรับไทย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะฝ่ายไทยไม่มีใครรู้เรื่องที่สหรัฐฯ ต้องการ ไม่มีคน-ไม่มีเงินในการร่วมกันใช้ประโยชน์ ปล่อยให้เขาใช้ประโยชน์ไปอย่างอิสระแต่ฝ่ายเดียว ในปัจจุบัน ไทยเราไม่มีศัตรูที่เป็นเป้าหมายร่วมกันกับสหรัฐฯ เขาอาจจะหากิจกรรมพลเรือนอย่างเรื่องภัยพิบัติมาบังหน้า แต่งานในเบื้องต้นคงจะใช้เป็นศูนย์ปฏิบัติการสืบความลับ ซึ่งอาจจะมีเครื่องบินสอดแนม (มีคนขับหรือไม่ก็ได้) โดยอ้างว่าปฏิบัติการตรวจสภาพอากาศตามข้อตกลง
(4) เครื่องบินยักษ์ B52 ของสหรัฐฯที่อู่ตะเภานั้น กว่าจะออกไปได้ก็ด้วยความสามัคคีของคนไทย โดยการนำของนิสิต-นักศึกษาเดินขบวนประท้วง บีบรัฐบาลคึกฤทธิ์ ปราโมช ให้บีบให้สหรัฐฯ ถอนออกไป (1975) เมื่อสหรัฐฯ แพ้สงครามอินโดจีนและกลับไปอยู่ในแผ่นดินของตน คนไทยถูกเพื่อนบ้านมองอย่างหวาดระแวงต้องปรับตัวอยู่กับประเทศเพื่อนบ้านอย่างอดสู โดยมีตราประทับรอยบาปทางใจให้แก่คนไทยที่รู้สึกผิดชอบชั่วดีทั่วหน้ากัน
(5) คราวนี้ ถ้าเราจะให้สหรัฐฯ กลับมาใช้สนามบินอู่ตะเภาอีก ประตูแรกที่รัฐบาลต้องผ่านคือพลังประชาชนที่จะออกมาประท้วง ถ้าผ่านประตูนี้ไปได้ และสหรัฐฯ ต้องถูกพลังสันติภาพของโลกตอบโต้จนต้องกลับไปเลียบาดแผลในแผ่นดินของตนอีก คนไทยก็จะมีบาดแผลรอยบาปประทับใจรอบสองเพิ่มขึ้นกว้างกว่าเดิม (สำหรับคนที่รอดตาย) แต่ถ้าสหรัฐฯ เป็นฝ่ายชนะ คำถามที่มีต่อคนไทยก็คือ "ไทยต้องการอะไรจากเพื่อนบ้านหรือ?" และ "ประเทศไทยจะถูกสหรัฐฯ ใช้เป็นหมากกระดานต่อไปของลัทธิจักรวรรดินิยมหรือไม่?"
5. ไทยจำต้องปฏิเสธคำขอของสหรัฐฯ
(1) นโยบายของสหรัฐฯ ที่ต้องการสกัดกั้นจีนนั้นเป็นเรื่องจริง สหรัฐฯ ต้องการใช้อู่ตะเภาเป็นส่วนหนึ่งของแผนยุทธวิธีต่อต้านจีนก็เป็นของจริง ผู้นำไทยที่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจเรื่องนี้ต้องรอบคอบ อย่าเชื่อสิ่งที่ฝ่ายสหรัฐฯ พูดเสียทั้งหมด พวกเขาจะพูดกับคนไทยที่ต้องการเป็นมิตรกับจีนอย่างหนึ่ง แต่จะพูดกับคนญี่ปุ่นและคนฟิลิปปินส์ที่มีปัญหาขัดแย้งกับจีนอีกอย่างหนึ่ง และพวกเขามีกลเม็ดในการเจรจาให้ได้สิ่งที่พวกเขาต้องการเฉพาะหน้าโดยให้คนไทยได้แต่ความคาดหวัง
(2) ไทยไม่ควรเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับความขัดแย้งระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ในฐานะที่เราเป็นมิตรกับทั้งสองประเทศ (และควรรักษาฐานะเช่นนี้ต่อไป) ยังไม่สายเกินไปที่จะใช้การทูตส่งเสริมให้พวกเขาเป็นมิตรกันและร่วมมือกันสร้างภูมิภาคเอเชียให้เป็นแดนสันติภาพ
(3) ไทยไม่ควรเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับความขัดแย้งกันเรื่องกรรมสิทธิ์ในดินแดนบริเวณทะเลจีนใต้ เราควรยึดหลักความปรองดองกัน และให้ประเทศคู่พิพาทเจรจามาตกลงกันแบบทวิภาคี เราไม่มีปัญหาเรื่องดินแดนกับจีน แต่มีปัญหากับกัมพูชา เราก็ควรยึดหลักการเจรจากันแบบทวิภาคีเช่นกัน
(4) สำหรับสมาชิกอาเซียน 4 ประเทศ (ฟิลิปปินส์ เวียดนาม บรูไน และมาเลเซีย) บางประเทศต้องการดึงสหรัฐฯ มาเสริมฐานะของตัวในการต่อสู้กับจีนนั้น เราก็ไม่จำเป็นต้องสนับสนุนเขา เพราะจะเสียแรงเปล่า อย่างไรเสียจีนก็จะไม่ยอมอ่อนข้อให้ ส่วนสิงคโปร์และอินโดนีเซียที่ต้องการเอาสหรัฐฯมาถ่วงดุลกับจีนในภูมิภาคของเรา ปล่อยให้เป็นเรื่องของพวกเขา
(5) ถ้าไทยตกลงให้สหรัฐฯ ใช้อู่ตะเภา จะมีข้อตกลงลับหรือเปิดเผยอย่างไรก็ปกปิดไม่อยู่ ผลก็คือมิตรภาพไทย-จีนจะถูกลดระดับ ถึงตอนเข้าตาจนขึ้นมาแล้วจะเสียใจก็สายไปแล้ว
(6) วิธีปฏิเสธข้อเสนอของสหรัฐฯ นั้นไม่ยาก (ก) สหรัฐฯ เป็นประชาธิปไตยเหมือนกับไทย ในระบอบประชาธิปไตยของไทย ข้อตกลงนี้จะทำเป็นข้อตกลงลับไม่ได้ ต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 190 (นอกจากจะใช้กลโกงเลี่ยงกฎหมายแบบศรีธนนชัย) จะให้รัฐสภาตัดสิน ฝ่ายคัดค้านก็คงช่วยกันต่อต้านทั้งในที่ประชุมและบนท้องถนน ทำให้เสื่อมเสียมิตรภาพไทย-สหรัฐฯ แน่นอนเข้าใจว่าสหรัฐฯ ต้องเข้าใจ (ข) ถ้าสหรัฐฯ สนใจช่วยคนเอเชียด้านมนุษยธรรมในยามมีภัยพิบัติ จุดที่ใกล้ภัยพิบัติที่สุดคืออินโดนีเซีย ถามดูก็ได้ว่าอินโดนีเซียจะให้ดินแดนใช้เพื่อการนี้ได้หรือไม่ (ค) ถ้าสหรัฐฯ สนใจช่วยไทยให้มีศูนย์ศึกษาภูมิอากาศเพื่อป้องกันภัยพิบัติ (โดยความร่วมมือของ NASA) ไทยยินดีต้อนรับให้เขาส่งผู้เชี่ยวชาญและอุปกรณ์ที่ทันสมัยล้ำยุคมาประจำอยู่ที่สถาบันการศึกษาหรือสถาบันวิจัยแห่งใดแห่งหนึ่งของไทยก็ได้
(7) สนามบินอู่ตะเภาปัจจุบันใช้ประโยชน์อเนกประสงค์ เช่น ใช้เป็นศูนย์ปฏิบัติการซ้อมรบ Cobra Gold ระหว่างไทยกับสหรัฐฯ (เกือบทุกปี) ใช้เป็นศูนย์ปฏิบัติการบรรเทาภัยพิบัติสึนามิ (ค.ศ. 2004) พายุฝน Cyclone Nargis (ค.ศ. 2008) ภารกิจด้านพลเรือนเหล่านี้ เราตอบสนองผลประโยชน์ของประเทศเพื่อนบ้านด้วย ในยามมีภัยพิบัติ สหรัฐฯ หรือจีน หรือประเทศอื่นๆ ทั่วโลกจะขอเข้ามาช่วยเหลือประชาชนด้านมนุษยธรรม ไทยไม่เคยขัดข้อง และควรเป็นนโยบายเช่นนี้ต่อไป ได้มิตรไม่ใช่สร้างศัตรู
(8) สุดท้าย ตามกฎหมายและรัฐธรรมนูญของไทยปัจจุบัน ไม่มีใครในแผ่นดินนี้มีอำนาจมอบอำนาจอธิปไตยเหนืออู่ตะเภาให้สหรัฐฯ เอาไปใช้ได้อย่างเสรีเหมือนสมัย 40-50 ปีที่แล้ว (ถ้าใครบิดเบือนดังสมัยนั้นก็คงจะถูกดำเนินคดี) เพราะเป็นการใช้อำนาจโดยมิชอบ มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157, 119, 120, 129 มาตรา 157 บัญญัติว่า "ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ... ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี..." มาตรา 119 บัญญัติว่า "ผู้ใดกระทำการใดๆ เพื่อให้ราชอาณาจักรหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของราชอาณาจักรตกไปอยู่ใต้อำนาจอธิปไตยของรัฐต่างประเทศ หรือเพื่อให้เอกราชรัฐเสื่อมเสียไป ต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต" มาตรา 120 "ผู้ใดคบคิดกับบุคคลซึ่งกระทำการเพื่อประโยชน์ของรัฐต่างประเทศด้วยความประสงค์ที่จะก่อให้เกิดการดำเนินการรบต่อรัฐหรือในทางอื่นที่เป็นปรปักษ์ต่อรัฐ ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี" มาตรา 129 "ผู้ใดเป็นผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดใดๆ ในหมวดนี้ ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับตัวการในความผิดนั้น"
อ้างอิง :
1 ดูข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต หรือ เขียน ธีระวิทย์, "การประชุมสุดยอด ณ กรุงโซลว่าด้วยความมั่นคงจากภัยนิวเคลียร์," ใน http://www.thaiworld.org หมวด "ความมั่นคง".
2 ดูรายละเอียดใน เขียน ธีระวิทย์, นโยบายต่างประเทศจีน (สกว. และสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ, 1998), 386-404, 216-219.
3 ข้อมูลจาก http://www.thailand-china.com.
4 ดูรายละเอียดใน เขียน ธีระวิทย์, "เรียนภาษาและวัฒนธรรมจีนไปทำไม?" ฉลองอาคารครบรอบ 84 ปี โรงเรียนยู่เฉียว (ค.ศ. 2011) หน้า 74; http://www.en.wikipedia.org.
5 ดูรายละเอียดใน เขียน ธีระวิทย์, "ความผูกพันทางทหารระหว่างไทยกับสหรัฐฯ: วิเคราะห์ในแง่กฎหมาย" จุลสารชุดเบื้องหลังเหตุการณ์ปัจจุบัน ฉบับที่ 60 สิงหาคม 1978 หน้า 1-24.
ที่มา : "อำนาจอธิปไตยเหนืออู่ตะเภาของไทยแลกเปลี่ยนมิได้" เว็บไซต์ศูนย์โลกสัมพันธ์ไทย โดย เขียน ธีระวิทย์ ศาสตราจารย์ กิตติคุณ สาขารัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ
ผู้นำทหารไทยและสหรัฐฯ ได้พบกันที่สิงคโปร์ในโอกาสการประชุม Asia Security Summit หรือ "IISS Shangri-la Dialogue" (1-3 มิถุนายน) ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมไทยและสหรัฐฯ นำคณะนายทหารเข้าร่วมประชุมด้วย ต่อมาเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พลเอกมาร์ติน อี เดมซีย์ (Martin E. Dempsey) ประธานคณะเสนาธิการทหารผสมสหรัฐฯ ได้เข้าพบปะเจรจากับนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์และผู้นำทหารไทยที่กรุงเทพฯ พวกเขาได้เจรจากันเรื่องอะไรยังคงเป็นเรื่องลับ แต่ข่าวที่ปิดไม่มิดผ่านมาทาง พล อ.อ. สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม คือ สหรัฐฯ ขอใช้สนามบินอู่ตะเภาเพื่อจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติ ประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก "ไม่เกี่ยวกับการทหาร" และ "ไม่เกี่ยวกับพันตำรวจโททักษิณไปสหรัฐฯ"
ผู้เขียนเชื่อว่าสหรัฐฯ ขอใช้อู่ตะเภาเพื่อการทหารเป็นหลัก ตามแผนยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ในช่วง 10 ปีข้างหน้า เพื่อต่อต้านการขยายอิทธิพลของจีน ส่วนที่ว่าต้องการใช้เป็นศูนย์ศึกษาภูมิอากาศหรือเป็นศูนย์บรรเทาภัยพิบัตินั้นเป็นข้ออ้างหรือใช้เป็นฉากบังหน้ามากกว่า ด้วยเหตุผลและหลักฐานที่จะกล่าวต่อไป ณ ที่นี้
1. สหรัฐฯ ริอ่านทำอะไร? เพื่อใคร?
สหรัฐฯ กำลังเข้าสู่ฤดูกาลเลือกตั้งประธานาธิบดี (พฤศจิกายน 2012) เป็นกลเม็ดในการหาเสียงของนักการเมือง ประธานาธิบดีที่อยู่ในอำนาจ ต้องแสดงให้ประชาชนเห็นว่าสหรัฐฯ ยังยิ่งใหญ่ในโลกนี้ โอบามาต้องการเป็นประธานาธิบดีต่ออีก 4 ปี
ในโอกาสการประชุมว่าด้วยความมั่นคงของเอเชียที่สิงคโปร์ตามที่กล่าวแล้ว นายลีออน แพเนตตา (Leon Panetta) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ได้เผยแพร่นโยบายและแผนยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งมีสาระสำคัญคือ สหรัฐฯ มีความสนใจและความสามารถในการใช้ทรัพยากรเพื่อรักษาและส่งเสริมผลประโยชน์ของสหรัฐฯ และต่อต้านประเทศที่กล้าท้าทายสหรัฐฯ ถึงปี ค.ศ. 2020 กองทัพเรือสหรัฐฯ ที่มีอยู่ จะย้ายมาประจำในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก 60% สหรัฐฯ จะช่วยปกป้องผลประโยชน์ของมิตรประเทศ และฟื้นฟูมิตรภาพกับเพื่อนเก่า (ซึ่งเหินห่างไปเพราะทุ่มเททำสงครามในตะวันออกกลางและอัฟกานิสถาน
เพื่อการนี้ แพเนตตาได้เผยแผนปฏิบัติงานที่เป็นรูปธรรม คือ ยักย้ายที่ตั้งกองกำลังทหารใหม่ให้เหมาะสม (repositioning) และจัดสมดุลอำนาจในภูมิภาคเสียใหม่ (rebalancing) เพราะสหรัฐฯกังวลว่าตนเองเสียดุลอำนาจในภูมิภาคนี้ให้แก่จีนมากเกินไป
งานนี้ได้เดินหน้าแล้วในด้านการทูต หลังจากเสร็จสิ้นการประชุมที่สิงคโปร์ แพเนตตาและคณะได้เดินทางต่อไปยังเวียดนามและอินเดีย เพื่อหยั่งเสียง หาเสียง และแสวงหาความร่วมมือ
สำหรับประเทศไทย นอกจากคณะผู้แทนไทยและสหรัฐฯ ได้มีโอกาสเจรจากันแล้วที่สิงคโปร์ แพเนตตาได้ส่งพลเอกมาร์ตินเดมซีย์ มาพบนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ และผู้นำทหารไทย เพื่อเจรจาขอใช้สนามบินอู่ตะเภาอีก นอกจากนั้น พลเอก Dempsey ยังได้ให้สัมภาษณ์แก่คุณสุทธิชัย หยุ่น แห่งบริษัท Nation Group ด้วย (5 มิถุนายน) ในการตอบคำถามของคุณสุทธิชัย ที่ว่าสหรัฐฯ จะใช้สนามบินอู่ตะเภาเพื่อการทหารด้วยหรือไม่ Dempsey ตอบว่า "ไม่ ยังก่อน เราอาจไปถึงอันนั้นได้" (ดูใน The Nation, June 9, 2012, 10A) อย่างไรก็ตาม Dempsey ได้ให้สัมภาษณ์เป็นนัยว่า "ศูนย์อู่ตะเภานี้ ในบางโอกาสอาจถูกใช้ เป็นสถานที่สำหรับเรือรบสับเปลี่ยนกันมาจากสิงคโปร์" (สิงคโปร์ไม่มีดินแดนให้สหรัฐฯ ใช้เป็นฐานปฏิบัติการทางทหาร แต่ได้ตกลงให้เรือรบสหรัฐฯ แวะจอดทำงานหรือพักงานหรือจับจ่ายได้)
การเพิ่มกำลังทหารของสหรัฐฯ ในเอเชีย-แปซิฟิก เพื่อ balance อำนาจของจีน หรือ contain จีนใช่หรือไม่นั้น ถ้าคนที่เป็นมิตรกับจีนไปถามผู้นำหรือนักการทูตสหรัฐฯ ก็จะได้รับคำตอบว่า "ไม่ใช่" หรือเลี่ยงตอบอย่างคลุมเครือ แต่สำหรับผู้ที่ติดตามการเมืองระหว่างประเทศแล้ว จะได้ข้อสรุปอย่างชัดเจนว่า สหรัฐฯ ต้องการสกัดกั้นอิทธิพลของจีนเป็นสำคัญ โดยเหตุผลโดยย่อดังนี้
(1) สหรัฐฯ เกรงอิทธิพลของจีน เพราะจีนโตเร็วทุกด้าน คราวนี้กลัวจีนไม่ใช่กลัวคอมมิวนิสต์ แต่เป็นจีนทุนนิยม IMF คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจีนจะมี GDP โตล้ำหน้าสหรัฐฯ ภายในปี ค.ศ. 2016
(2) สหรัฐฯ เป็นเจ้าโลกมานาน ต้องการรักษาฐานะอภิมหาอำนาจโลกต่อไป ในยุโรป มี NATO สามารถต้านรัสเซียไว้ได้ ในตะวันออกกลางซึ่งเป็นอู่น้ำมัน สหรัฐฯ มีอิสราเอลเป็นพันธมิตรที่แข็งแกร่งและห้าวหาญ แม้สหรัฐฯ จะบอบช้ำจากสงครามอิรักและอัฟกานิสถาน แต่นโยบายทำให้แตกแยกแล้วปกครอง (divide and rule) ในนามของการส่งเสริมประชาธิปไตยให้งอกงาม (Arab Spring) ก็ประสบผลสำเร็จอย่างดี พวกเขาฆ่าฟันกันเองจนหมดฤทธิ์ที่จะกล้าท้าทายอิสราเอลและสหรัฐฯ ไปอีกนาน ผลข้างเคียงที่ชาวโลกและคนไทยได้รับคือน้ำมันราคาพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์
(3) ในเอเชียตะวันออก สหรัฐฯ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้มีกำลังแข็งแกร่งพอที่จะสกัดกั้นได้ทั้งจีนและรัสเซีย โดยมีฐานทัพสหรัฐฯ ประจำอยู่
(4) ถ้าประเทศใดอาจหาญพอที่จะท้าทายสหรัฐฯ ในมหาสมุทรแปซิฟิก-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ สหรัฐฯ-ออสเตรเลียก็ได้ตกลงกันให้ทหารนาวิกโยธินสหรัฐฯ สับเปลี่ยนกันไปประจำในตอนเหนือของออสเตรเลียได้จำนวน 2,500 คน (ข้อตกลงสหรัฐฯ-ออสเตรเลีย 17 พฤศจิกายน 2011)
(5) ความตึงเครียดอันเกิดจากความขัดแย้งกันเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในเกาะ-น่านน้ำในทะเลจีนใต้ระหว่างจีนกับ 4 ประเทศ สมาชิกอาเซียนเปิดโอกาสให้สหรัฐฯ กลับมามีอิทธิพลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้อีก ฐานทัพสหรัฐฯ ในฟิลิปปินส์และไทย (พันธมิตรเก่า) สมัยสงครามต้านคอมมิวนิสต์นั้นได้ถูกประชาชนเจ้าของประเทศเดินขบวนขับไล่จนต้องถอนออกไป ตอนนี้สหรัฐฯ เห็นช่องทางที่จะกลับคืนมาได้อีก
(6) สำหรับสนามบินอู่ตะเภานั้น สหรัฐฯ เคยใช้ปฏิบัติการทางทหารนานนับสิบปี รู้ว่าใช้ได้ดีทั้งเป็นฐานทัพเรือและฐานทัพอากาศ บัดนี้สหรัฐฯ คงต้องการกลับคืนมาใช้เพื่อการทหารเป็นหลัก โดยปรับปรุงซ่อมแซม-ขยายให้เป็นศูนย์ปฏิบัติการที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ใช้เป็นฐานปฏิบัติการสอดแนมสืบความลับประเทศที่ไม่เป็นมิตรในภูมิภาคในยามปรกติ และปฏิบัติการรบในยามสงคราม แต่เมื่อภาวะสงครามปัจจุบันยังไม่ปรากฏ จึงต้องหาข้ออ้างที่เหมาะสมเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิในการใช้เสียก่อน ข้ออ้างที่ใช้เจรจากับผู้นำไทยก็คือ ขอใช้เพื่องานด้านมนุษยธรรมบรรเทาภัยพิบัติ และศูนย์ศึกษา-วิจัย-สำรวจสภาพภูมิอากาศในเชิงอุตุนิยมวิทยา ซึ่งเป็นงานส่วนหนึ่งของเครือข่าย NASA ข้อสรุปนี้คงไม่ผิด เพราะตัวการที่มาเจรจากับผู้นำไทยเป็นประธานคณะเสนาธิการทหารผสม ซึ่งอยู่ในคณะผู้นำทหารที่ไปร่วมประชุมสุดยอดว่าด้วยความมั่นคงเอเชียที่สิงคโปร์ พวกนี้มิได้รับผิดชอบงานบรรเทาภัยพิบัติ หรืองานสำรวจสภาพภูมิอากาศหรืออวกาศแต่ประการใด
2. จีนคิดอย่างไร? ต้องการอะไร? และทำอะไร?
ถ้าอู่ตะเภาหรือแผ่นดินไทยจะไม่ถูกใช้เป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายปฏิบัติการที่เป็นปฏิปักษ์ต่อจีน เราก็ไม่ควรเอาเรื่องปัจจัยจีนมากล่าวในที่นี้ แต่กรณีนี้เชื่อว่าชาวจีนและผู้นำจีนที่รู้เรื่องนี้จะต้องพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า สหรัฐฯ มีเจตนาจะใช้อู่ตะเภาทำกิจกรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อจีน รัฐบาลไทยที่ยอมให้สหรัฐฯ ใช้แผ่นดินของตัวก็จะต้องรับผิดชอบด้วย ด้วยเหตุนี้ เราจึงต้องวิเคราะห์ว่า ทำไมทัศนะของจีนจึงเป็นเช่นนี้
(1) จีนตกเป็นเป้าของการโจมตีโดยสหรัฐฯ และพรรคพวกว่าได้เพิ่มงบประมาณทางทหารอย่างรวดเร็ว ทำให้ชาวโลกมองว่าจีนเป็นภัยคุกคามสันติภาพของภูมิภาคและของโลก
จีนมองว่าสหรัฐฯ และพรรคพวกพยายามทำลายความน่าเชื่อถือและนโยบายใฝ่สันติภาพของจีน สร้างภาพลบให้คนมองจีนในแง่ร้าย จีนพยายามสร้างภาพการพัฒนาเศรษฐกิจของจีนที่ต้องอาศัยภาวะแวดล้อมทางสันติ โดยอธิบายว่า จีนมีพื้นที่ใกล้เคียงกับสหรัฐฯ และมีพันธะที่จะต้องปกป้องเขตอำนาจอธิปไตยไม่ยิ่งหย่อนกว่า จีนมีพลเมืองมากกว่าสหรัฐฯ หลายเท่า (ปี 2011 จีนมีพลเมือง 1,347 ล้านคน หรือ 19.2% ของประชากรโลก ในขณะที่สหรัฐฯ มี 313 ล้านคน หรือ 4.47% ของประชากรโลก) แต่มีรายจ่ายด้านการทหารน้อยกว่ามหาอำนาจอื่นทั้งหมด ถ้าคิดจากจำนวนประชากรและพื้นที่ ปี 2012 จีนมีงบประมาณด้านการทหาร 106,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มจากปีก่อน 11.2% (หรือ 1.28% ของ GDP) ในขณะที่ของสหรัฐฯ เท่ากับ 925,200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดจากปีก่อน 5% (หรือ 4.8% ของ GDP)1
(2) ในด้านการเมือง เรื่องร้อนประจำปีที่จีนตกเป็นเป้าของการโจมตีโดยสหรัฐฯ และพรรคพวกคือเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนในจีน นักการเมืองสหรัฐฯ และสื่อมวลชนตะวันตกและเครือข่ายองค์กรสิทธิมนุษยชน ใช้ข้อมูลเรื่องรายงานสิทธิมนุษยชนในจีนของสหรัฐฯ เป็นเครื่องมือโจมตีจีนตลอดมา สหรัฐฯ มี Radio Free Asia, Radio Free Tibet แพร่ข่าวเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนในจีนมานานนับสิบปีแล้ว
จีนมองว่าสหรัฐฯ และพรรคพวกมีเจตนาทำลายชื่อเสียงของจีน และพยายามตอบโต้ออกมาเป็นระยะๆ แม้จะไม่ค่อยได้รับความสนใจจากสื่อตะวันตก แต่คำตอบโต้ของจีนก็มีเหตุผลดีไม่ยิ่งหย่อนกว่าเรื่องงบประมาณรายจ่ายด้านการทหาร ที่สำคัญคือจีนมีมุมมองเรื่องสิทธิมนุษยชนแตกต่างจากสหรัฐฯ จีนยังเน้นเรื่องปากท้องซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในการยังชีพเป็นสำคัญ และจีนเน้นความสงบเรียบร้อยของส่วนรวมมากกว่าสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลเป็นต้น
(3) ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จีนยึดหลักเคารพภูมิปัญญาของประชาชนในแต่ละประเทศ ที่มีความรู้ดีกว่าคนต่างชาติในการแก้ไขปัญหาของตนเอง นั่นคือยึดหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในของชาติอื่น จีนมองว่าสหรัฐฯ ชอบเอามาตรฐานของตนไปตัดสินชะตากรรมของคนในชาติอื่น ฉะนั้นทุกครั้งที่เกิดปัญหาความขัดแย้งกันในประเทศต่างๆ จีน (บางครั้งมีรัสเซียร่วมด้วย) มักจะเป็นฝ่ายตรงข้ามกับสหรัฐฯและพรรคพวก สหรัฐฯ (อภิมหาอำนาจพูดเสียงดัง) จะเป็นผู้นำในการทำลายภาพลักษณ์ของจีน โดยสื่อมวลชนสหรัฐฯ และตะวันตกจะประโคมข่าวว่าจีนไม่ส่งเสริมฝ่ายประชาธิปไตยที่ชาติตะวันตกสนับสนุน
(4) เกี่ยวกับการอ้างกรรมสิทธิ์เหนือดินแดนในทะเลจีนใต้ นางคลินตัน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ได้กล่าวในโอกาสต่างๆ หลายครั้ง กล่าวโทษจีนว่าเป็นชาติขยายดินแดน (เพิ่งจะหยุดพูดในทำนองนั้นเมื่อไม่นานมานี้) เรื่องนี้จีนถือเป็นเรื่องใหญ่ เพราะจีนถือว่าปัญหาพิพาทกันเรื่องพรมแดนนั้น เป็นปัญหาติดมากับประวัติศาสตร์ จีนมีข้ออ้างที่ที่อิงกฎหมายระหว่างประเทศไม่ด้อยกว่าประเทศอื่นที่อ้างกรรมสิทธิ์ทับซ้อน (เรื่องพิพาทกับญี่ปุ่นเหนือเกาะเตี้ยวอี๋ว์หรือเซนกากุก็เช่นเดียวกัน)2
(5) ชาวจีนส่วนมากเชื่อว่าสหรัฐฯ คุกคามความมั่นคงของจีน แม้สงครามเย็นจะสิ้นสุดลงแล้ว แต่สหรัฐฯ ยังมีอาการโรคสงครามเย็นขึ้นสมอง คุกคามความมั่นคงของจีนโดยสนับสนุนไต้หวัน แม้จะยอมรับว่าไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของจีน แต่ยังขายเครื่องบินรบและอาวุธสงครามล้ำยุคให้ไต้หวันเป็นระยะๆ ส่งเสริมชาวทิเบตให้ต่อต้านจีน มีฐานทัพล้อมรอบจีน ในญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และออสเตรเลีย ถ้าไทยให้สหรัฐฯ ใช้สนามบินอู่ตะเภาเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ความมั่นคงของสหรัฐฯ ไทยก็จะถูกมองว่าเป็นปฏิปักษ์กับจีนเหมือนสหรัฐฯ ด้วย
(6) การที่ไทยจะให้หรือไม่ให้สหรัฐฯ ใช้อู่ตะเภานั้น จะว่าไม่เกี่ยวกับจีนก็คงไม่ได้ ถ้าไทยให้ไปตามคำขอ ไม่ว่าจะขอใช้โดยเอาอะไรเป็นข้ออ้างก็ตาม ภาพที่ออกมาสู่สายตาจีน (และสายตาโลก) คงไม่มีใครเชื่อว่าไม่เกี่ยวกับการทหารและความมั่นคงของสหรัฐฯ คงไม่มีใครเชื่อว่าไม่เกี่ยวกับความมั่นคงของจีน แต่ถ้ารัฐบาลไทยปฏิเสธคำขอของสหรัฐฯ จีนคงจะให้ความไว้เนื้อเชื่อใจไทยมากขึ้นอีกระดับหนึ่ง
3. ผลประโยชน์ของไทย
(1) ปัจจุบันความสัมพันธ์จีน-สหรัฐฯ มีแนวโน้มที่จะมีปัญหามากขึ้น โดยสหรัฐฯ เป็นฝ่ายรุก จีนเป็นฝ่ายตั้งรับ ถ้าฝ่ายรุกมีปัญหาทางเศรษฐกิจมากขึ้น ก็อาจจะแสดงความก้าวร้าวมากขึ้น ความขัดแย้งกันทางการเมือง-เศรษฐกิจ อาจจะขยายตัวไปสู่การประจันหน้ากันทางทหารได้ ดูเหมือนสหรัฐฯ จะเตรียมตัวไปสู่จุดนั้น และกำลังรุกหนักที่จะดึงประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกมาเป็นพรรคพวกให้มากขึ้น
(2) ไทยเป็นหมากตัวหนึ่งของสหรัฐฯ ที่จะใช้เสริมพลังอำนาจทางยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ ในการต่อต้านจีน ไทยจะวางตัวอย่างไรในสถานการณ์เช่นนี้จะต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง โดยพิจารณาถึงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ การเมืองและความมั่นคงเป็นสำคัญ จะทำตัวเอนเอียงไปเข้าข้างฝ่ายใดจะต้องอิงความถูกต้องทางรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ที่จะนำไปสู่สันติภาพของโลกในฐานะที่เราเป็นมนุษย์คนหนึ่งในสังคมโลกด้วย
(3) ปัจจุบันไทยมีความสัมพันธ์ที่ดีทั้งกับจีนและสหรัฐฯ เป็นผลประโยชน์ของไทยที่จะต้องรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับทั้งสองประเทศไว้ต่อไป
(4) จีนเป็นมิตรที่ดีของไทย ตั้งแต่ไทย-จีนได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกันในปี 1975 เป็นต้นมา ความสัมพันธ์ไทย-จีนทุกด้าน (ความมั่นคง การเมือง เศรษฐกิจ) ดีขึ้นตามลำดับ และมีแนวโน้มที่จะดีขึ้นเรื่อยๆ เฉพาะในด้านเศรษฐกิจ จีนกลายเป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของไทย ปี 2011 มูลค่าการค้ารวม 57,983.56 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ไทยส่งออกไปจีน 27,402.40 ล้านเหรียญ, นำเข้า 30,581.15 ล้านเหรียญ) เพิ่มจากปีก่อน 26.85% การลงทุนจากจีนก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ปี 2011 เพิ่ม 62% เป็น 970 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (อันดับ 2 รองจากญี่ปุ่น) มีแนวโน้มว่า จีนจะกลายเป็นชาติที่มาลงทุนในไทยมากที่สุดในไม่กี่ปีข้างหน้า นักท่องเที่ยวจากจีนก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มีจำนวน 1,571,294 คน ในปี 2011 นับเป็นอันดับสองรองจากมาเลเซีย เพิ่มจากปีก่อน 57.56%3 เศรษฐกิจของจีนเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ ประมาณ 10% โดยเฉลี่ยต่อปีตั้งแต่เปิดประเทศปฏิรูปเศรษฐกิจในปี 1978 เป็นต้นมา ใน 5 ปีข้างหน้าเศรษฐกิจคงจะเติบโตได้อีกปีละประมาณ 6-9% ในขณะที่สหรัฐฯ สหภาพยุโรปและญี่ปุ่นประสบปัญหาเศรษฐกิจถดถอย การเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนอย่างมีเสถียรภาพเป็นผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของไทยอย่างมาก
(5) สหรัฐฯ มีพื้นฐานทางเศรษฐกิจดี เป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจมานาน แต่นับจากนี้ฐานะทางเศรษฐกิจส่วนที่จะมาแลกเปลี่ยนผลประโยชน์กับไทยนั้น ก็มีแนวโน้มลดน้อยลง สหรัฐฯ มีโอกาสล้มละลายมากกว่าจีน เมื่อเดือนพฤษภาคม 2012 สหรัฐฯ มีหนี้สาธารณะ 15.77 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ เท่ากับ 102% ของ GDP (ของจีน 25.8%) อัตราการเพิ่มของหนี้สาธารณะมีมากกว่า 500,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี (วัดจากแนวโน้มตั้งแต่ปี 2003) จีนเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ ณ เดือนธันวาคม 2010 สหรัฐฯเป็นหนี้จีน 1.260 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ4
(6) สหรัฐฯ เป็นอภิมหาอำนาจของโลก มีสิทธิยับยั้งในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เช่นเดียวกับจีน แต่สหรัฐฯ ห้าวหาญในการใช้อำนาจมากกว่าและบ่อยครั้งกว่า สหรัฐฯ เคยเป็นมิตรและพันธมิตรทางทหารของไทย (ในสงครามเกาหลีและสงครามอินโดจีน) แต่ตอนนี้เราไม่มีเหตุผลดีเท่าสมัยนั้นในการไปร่วมมือกับมิตรเก่าไปต่อต้านมิตรใหม่ของเรา แม้ถ้าสหรัฐฯชักชวนให้เราไปช่วย "ทำโทษ" เมียนมาร์ เกาหลีเหนือ อิหร่าน หรือประเทศอื่นที่มิใช่เป็นมิตรสนิทของเราเช่นจีน เราก็ไม่ควรร่วมมือด้วย
(7) ถ้าไทยยอมให้สหรัฐฯ ใช้แผ่นดินไทย ประกอบกิจกรรมที่เป็นปรปักษ์กับประเทศเพื่อนบ้าน จะเป็นประเทศจีนหรือประเทศอื่นใดในภูมิภาคก็ตาม โอกาสที่คนไทยจะแตกแยกกันเองเสียก่อนนั้นมีมาก โอกาสที่จะเป็นฝ่ายสูญเสียหรือพ่ายแพ้ก็มีมาก
4. บทเรียนของไทย: ยังจำได้ไหม?
(1) ประเทศไทยในสมัยรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร ได้ยินยอมให้สหรัฐฯ ใช้สนามบินอู่ตะเภา เพื่อทำสงครามในอินโดจีน ข้อตกลงไทย-สหรัฐฯ (มีเพียงบันทึกรายงานการประชุมปี 1967 ไม่มีข้อตกลงอย่างเป็นทางการ) แม้จะบอกว่าสนามบินอู่ตะเภาเป็นของไทย ไทยมีอำนาจการบังคับบัญชาการบริหารงาน และมีอำนาจศาล ฯลฯ แต่ในทางปฏิบัติ สหรัฐฯ ย้ายฐานบินทิ้งระเบิด B52 จากเกาะกวมมาอยู่ที่อู่ตะเภา และใช้สนามบินอู่ตะเภาปฏิบัติการทิ้งระเบิด เวียดนาม ลาว กัมพูชา อย่างเป็นอิสระจากฝ่ายไทย เสมือนหนึ่งเป็นดินแดนของสหรัฐฯ5
(2) ในการเจรจาขอใช้สนามบินอู่ตะเภา ปี 1967 นั้น ผู้แทนเจรจาของฝ่ายสหรัฐฯ ศึกษาข้อมูลมาอย่างดีว่า คู่เจรจาฝ่ายไทยมีจุดอ่อนจุดเด่นอยู่ที่ไหน ระบบการเมืองของไทยมีช่องโหว่อะไรบ้าง แล้วเอาข้อมูลจริงบ้างเท็จบ้างเกี่ยวกับภัยคุกคามจากคอมมิวนิสต์จากภายนอก (อ้างว่าได้มาจากดาวเทียมบ้างหน่วยสืบความลับที่ทันสมัยสุดยอดซึ่งฝ่ายไทยฟังไม่เข้าใจ) มาต้มตุ๋นคู่เจรจา ซึ่งฝ่ายไทยได้แต่งุนงงไม่รู้จะตอบโต้ซักถามอย่างไร ฝ่ายสหรัฐฯ มัดมือชก ถือว่าไม่ปฏิเสธก็คืออนุมัติ เมื่อไทยถูกฝ่ายคอมมิวนิสต์ออกข่าวโจมตีจากฮานอยและปักกิ่ง ฝ่ายสหรัฐฯ ก็ใช้หมัดเพชฌฆาตฟาดไทยซ้ำเติม บอกฝ่ายไทยว่าไทยไม่มีทางเลือกอีกแล้ว ไหนๆ ศัตรูของเราก็ถือว่าเราเป็นศัตรูร่วมกันแล้ว ฯลฯ การเจรจาของคู่ภาคีที่มีฐานะไม่เท่าเทียมกัน จะมีข้อสรุปหรือไม่ก็ตาม สหรัฐฯ ก็หาช่องทางเข้ามาใช้สนามบินอู่ตะเภาโดยเครื่องบินทิ้งระเบิด B52 ไปถล่มทำลายประเทศเพื่อนบ้านของไทยเหลวแหลกอย่างไร้มนุษยธรรม
(3) คราวนี้ ถ้าผู้นำทหารหรือตัวแทนรัฐบาลสหรัฐฯ มาเจรจาขอใช้สนามบินอู่ตะเภาอีก กลเม็ดในการเจรจาของเขาก็คงจะเป็นรูปแบบเดิม คือใช้วิธีอ่อยเหยื่อต้มตุ๋นให้รัฐบาลไทยยอม เขาศึกษามาดีแล้ว (ได้ข้อมูลจากซี.ไอ.เอ.) เช่นข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการของไทยในการจัดการภัยพิบัติที่ไทยเพิ่งได้รับจากสึนามิ และน้ำท่วมใหญ่ปี 2011 ฯลฯ พวกเขาทำการบ้านศึกษาหาช่องทางนำมาใช้ในการเจรจา ฝ่ายสหรัฐฯ อาจจะเสนอโครงการสวยหรูมาจูงใจฝ่ายไทย เช่นกิจกรรมด้านการศึกษาวิจัย สภาพภูมิอากาศและอวกาศ โดยองค์การการบินอวกาศสหรัฐฯ (NASA) สัญญาว่าจะใช้เครื่องมือที่ใช้เทคโนโลยีล้ำสมัยมาตั้งอยู่ในแผ่นดินไทย จะเปิดโอกาสให้นักวิทยาศาสตร์ไทยเข้าร่วมงานหรือฝึกอบรม โดยมีผู้เชี่ยวชาญชั้นหัวกะทิจากสหรัฐฯ มาถ่ายทอดวิชาการให้ เป็นต้น จะสร้างศูนย์บรรเทาภัยพิบัติ โดยมีอุปกรณ์สื่อสารอย่างล้ำสมัย เพื่อบรรเทาทุกข์ให้ไทยและเพื่อนบ้านในภูมิภาคในยามมีภัยพิบัติ เป็นต้น พวกเขาจะไม่ลืมที่จะตอกย้ำว่า กิจกรรมต่างๆ จะเป็นประโยชน์ต่อไทยอย่างไร ในการเจรจานั้น ฝ่ายทหารสหรัฐฯ อาจจะเอาผู้เชี่ยวชาญ NASA หรือผู้เชี่ยวชาญด้านพยากรณ์ภัยธรรมชาติ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านบรรเทาภัยพิบัติมารวมอยู่ในคณะเจรจาด้วย หรือจะแยกกันมาก็ได้
ฝ่ายสหรัฐฯ อาจจะทำให้ฝ่ายไทยตายใจว่า งานความร่วมมือนี้จะดำเนินการอย่างเปิดเผยและโปร่งใส กิจกรรมต่างๆ จะให้คนไทยมีส่วนร่วม พวกเราผู้เป็นเจ้าของประเทศควรศึกษาประสบการณ์ที่รัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจรเจรจาทำข้อตกลงต่างๆ กับสหรัฐฯ ซึ่งทำให้สหรัฐฯ ได้ไปซึ่งสิทธิหรืออำนาจในการใช้สนามบินอู่ตะเภา สนามบินทหารหลายแห่งในภาคอีสาน และเครือข่ายหน่วยสืบความลับทางทหาร ซึ่งมีอยู่มากมายในสมัยสงครามอินโดจีน ข้อสัญญาเหล่านั้นไม่มีประโยชน์อันใดสำหรับไทย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะฝ่ายไทยไม่มีใครรู้เรื่องที่สหรัฐฯ ต้องการ ไม่มีคน-ไม่มีเงินในการร่วมกันใช้ประโยชน์ ปล่อยให้เขาใช้ประโยชน์ไปอย่างอิสระแต่ฝ่ายเดียว ในปัจจุบัน ไทยเราไม่มีศัตรูที่เป็นเป้าหมายร่วมกันกับสหรัฐฯ เขาอาจจะหากิจกรรมพลเรือนอย่างเรื่องภัยพิบัติมาบังหน้า แต่งานในเบื้องต้นคงจะใช้เป็นศูนย์ปฏิบัติการสืบความลับ ซึ่งอาจจะมีเครื่องบินสอดแนม (มีคนขับหรือไม่ก็ได้) โดยอ้างว่าปฏิบัติการตรวจสภาพอากาศตามข้อตกลง
(4) เครื่องบินยักษ์ B52 ของสหรัฐฯที่อู่ตะเภานั้น กว่าจะออกไปได้ก็ด้วยความสามัคคีของคนไทย โดยการนำของนิสิต-นักศึกษาเดินขบวนประท้วง บีบรัฐบาลคึกฤทธิ์ ปราโมช ให้บีบให้สหรัฐฯ ถอนออกไป (1975) เมื่อสหรัฐฯ แพ้สงครามอินโดจีนและกลับไปอยู่ในแผ่นดินของตน คนไทยถูกเพื่อนบ้านมองอย่างหวาดระแวงต้องปรับตัวอยู่กับประเทศเพื่อนบ้านอย่างอดสู โดยมีตราประทับรอยบาปทางใจให้แก่คนไทยที่รู้สึกผิดชอบชั่วดีทั่วหน้ากัน
(5) คราวนี้ ถ้าเราจะให้สหรัฐฯ กลับมาใช้สนามบินอู่ตะเภาอีก ประตูแรกที่รัฐบาลต้องผ่านคือพลังประชาชนที่จะออกมาประท้วง ถ้าผ่านประตูนี้ไปได้ และสหรัฐฯ ต้องถูกพลังสันติภาพของโลกตอบโต้จนต้องกลับไปเลียบาดแผลในแผ่นดินของตนอีก คนไทยก็จะมีบาดแผลรอยบาปประทับใจรอบสองเพิ่มขึ้นกว้างกว่าเดิม (สำหรับคนที่รอดตาย) แต่ถ้าสหรัฐฯ เป็นฝ่ายชนะ คำถามที่มีต่อคนไทยก็คือ "ไทยต้องการอะไรจากเพื่อนบ้านหรือ?" และ "ประเทศไทยจะถูกสหรัฐฯ ใช้เป็นหมากกระดานต่อไปของลัทธิจักรวรรดินิยมหรือไม่?"
5. ไทยจำต้องปฏิเสธคำขอของสหรัฐฯ
(1) นโยบายของสหรัฐฯ ที่ต้องการสกัดกั้นจีนนั้นเป็นเรื่องจริง สหรัฐฯ ต้องการใช้อู่ตะเภาเป็นส่วนหนึ่งของแผนยุทธวิธีต่อต้านจีนก็เป็นของจริง ผู้นำไทยที่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจเรื่องนี้ต้องรอบคอบ อย่าเชื่อสิ่งที่ฝ่ายสหรัฐฯ พูดเสียทั้งหมด พวกเขาจะพูดกับคนไทยที่ต้องการเป็นมิตรกับจีนอย่างหนึ่ง แต่จะพูดกับคนญี่ปุ่นและคนฟิลิปปินส์ที่มีปัญหาขัดแย้งกับจีนอีกอย่างหนึ่ง และพวกเขามีกลเม็ดในการเจรจาให้ได้สิ่งที่พวกเขาต้องการเฉพาะหน้าโดยให้คนไทยได้แต่ความคาดหวัง
(2) ไทยไม่ควรเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับความขัดแย้งระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ในฐานะที่เราเป็นมิตรกับทั้งสองประเทศ (และควรรักษาฐานะเช่นนี้ต่อไป) ยังไม่สายเกินไปที่จะใช้การทูตส่งเสริมให้พวกเขาเป็นมิตรกันและร่วมมือกันสร้างภูมิภาคเอเชียให้เป็นแดนสันติภาพ
(3) ไทยไม่ควรเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับความขัดแย้งกันเรื่องกรรมสิทธิ์ในดินแดนบริเวณทะเลจีนใต้ เราควรยึดหลักความปรองดองกัน และให้ประเทศคู่พิพาทเจรจามาตกลงกันแบบทวิภาคี เราไม่มีปัญหาเรื่องดินแดนกับจีน แต่มีปัญหากับกัมพูชา เราก็ควรยึดหลักการเจรจากันแบบทวิภาคีเช่นกัน
(4) สำหรับสมาชิกอาเซียน 4 ประเทศ (ฟิลิปปินส์ เวียดนาม บรูไน และมาเลเซีย) บางประเทศต้องการดึงสหรัฐฯ มาเสริมฐานะของตัวในการต่อสู้กับจีนนั้น เราก็ไม่จำเป็นต้องสนับสนุนเขา เพราะจะเสียแรงเปล่า อย่างไรเสียจีนก็จะไม่ยอมอ่อนข้อให้ ส่วนสิงคโปร์และอินโดนีเซียที่ต้องการเอาสหรัฐฯมาถ่วงดุลกับจีนในภูมิภาคของเรา ปล่อยให้เป็นเรื่องของพวกเขา
(5) ถ้าไทยตกลงให้สหรัฐฯ ใช้อู่ตะเภา จะมีข้อตกลงลับหรือเปิดเผยอย่างไรก็ปกปิดไม่อยู่ ผลก็คือมิตรภาพไทย-จีนจะถูกลดระดับ ถึงตอนเข้าตาจนขึ้นมาแล้วจะเสียใจก็สายไปแล้ว
(6) วิธีปฏิเสธข้อเสนอของสหรัฐฯ นั้นไม่ยาก (ก) สหรัฐฯ เป็นประชาธิปไตยเหมือนกับไทย ในระบอบประชาธิปไตยของไทย ข้อตกลงนี้จะทำเป็นข้อตกลงลับไม่ได้ ต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 190 (นอกจากจะใช้กลโกงเลี่ยงกฎหมายแบบศรีธนนชัย) จะให้รัฐสภาตัดสิน ฝ่ายคัดค้านก็คงช่วยกันต่อต้านทั้งในที่ประชุมและบนท้องถนน ทำให้เสื่อมเสียมิตรภาพไทย-สหรัฐฯ แน่นอนเข้าใจว่าสหรัฐฯ ต้องเข้าใจ (ข) ถ้าสหรัฐฯ สนใจช่วยคนเอเชียด้านมนุษยธรรมในยามมีภัยพิบัติ จุดที่ใกล้ภัยพิบัติที่สุดคืออินโดนีเซีย ถามดูก็ได้ว่าอินโดนีเซียจะให้ดินแดนใช้เพื่อการนี้ได้หรือไม่ (ค) ถ้าสหรัฐฯ สนใจช่วยไทยให้มีศูนย์ศึกษาภูมิอากาศเพื่อป้องกันภัยพิบัติ (โดยความร่วมมือของ NASA) ไทยยินดีต้อนรับให้เขาส่งผู้เชี่ยวชาญและอุปกรณ์ที่ทันสมัยล้ำยุคมาประจำอยู่ที่สถาบันการศึกษาหรือสถาบันวิจัยแห่งใดแห่งหนึ่งของไทยก็ได้
(7) สนามบินอู่ตะเภาปัจจุบันใช้ประโยชน์อเนกประสงค์ เช่น ใช้เป็นศูนย์ปฏิบัติการซ้อมรบ Cobra Gold ระหว่างไทยกับสหรัฐฯ (เกือบทุกปี) ใช้เป็นศูนย์ปฏิบัติการบรรเทาภัยพิบัติสึนามิ (ค.ศ. 2004) พายุฝน Cyclone Nargis (ค.ศ. 2008) ภารกิจด้านพลเรือนเหล่านี้ เราตอบสนองผลประโยชน์ของประเทศเพื่อนบ้านด้วย ในยามมีภัยพิบัติ สหรัฐฯ หรือจีน หรือประเทศอื่นๆ ทั่วโลกจะขอเข้ามาช่วยเหลือประชาชนด้านมนุษยธรรม ไทยไม่เคยขัดข้อง และควรเป็นนโยบายเช่นนี้ต่อไป ได้มิตรไม่ใช่สร้างศัตรู
(8) สุดท้าย ตามกฎหมายและรัฐธรรมนูญของไทยปัจจุบัน ไม่มีใครในแผ่นดินนี้มีอำนาจมอบอำนาจอธิปไตยเหนืออู่ตะเภาให้สหรัฐฯ เอาไปใช้ได้อย่างเสรีเหมือนสมัย 40-50 ปีที่แล้ว (ถ้าใครบิดเบือนดังสมัยนั้นก็คงจะถูกดำเนินคดี) เพราะเป็นการใช้อำนาจโดยมิชอบ มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157, 119, 120, 129 มาตรา 157 บัญญัติว่า "ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ... ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี..." มาตรา 119 บัญญัติว่า "ผู้ใดกระทำการใดๆ เพื่อให้ราชอาณาจักรหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของราชอาณาจักรตกไปอยู่ใต้อำนาจอธิปไตยของรัฐต่างประเทศ หรือเพื่อให้เอกราชรัฐเสื่อมเสียไป ต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต" มาตรา 120 "ผู้ใดคบคิดกับบุคคลซึ่งกระทำการเพื่อประโยชน์ของรัฐต่างประเทศด้วยความประสงค์ที่จะก่อให้เกิดการดำเนินการรบต่อรัฐหรือในทางอื่นที่เป็นปรปักษ์ต่อรัฐ ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี" มาตรา 129 "ผู้ใดเป็นผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดใดๆ ในหมวดนี้ ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับตัวการในความผิดนั้น"
อ้างอิง :
1 ดูข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต หรือ เขียน ธีระวิทย์, "การประชุมสุดยอด ณ กรุงโซลว่าด้วยความมั่นคงจากภัยนิวเคลียร์," ใน http://www.thaiworld.org หมวด "ความมั่นคง".
2 ดูรายละเอียดใน เขียน ธีระวิทย์, นโยบายต่างประเทศจีน (สกว. และสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ, 1998), 386-404, 216-219.
3 ข้อมูลจาก http://www.thailand-china.com.
4 ดูรายละเอียดใน เขียน ธีระวิทย์, "เรียนภาษาและวัฒนธรรมจีนไปทำไม?" ฉลองอาคารครบรอบ 84 ปี โรงเรียนยู่เฉียว (ค.ศ. 2011) หน้า 74; http://www.en.wikipedia.org.
5 ดูรายละเอียดใน เขียน ธีระวิทย์, "ความผูกพันทางทหารระหว่างไทยกับสหรัฐฯ: วิเคราะห์ในแง่กฎหมาย" จุลสารชุดเบื้องหลังเหตุการณ์ปัจจุบัน ฉบับที่ 60 สิงหาคม 1978 หน้า 1-24.
ที่มา : "อำนาจอธิปไตยเหนืออู่ตะเภาของไทยแลกเปลี่ยนมิได้" เว็บไซต์ศูนย์โลกสัมพันธ์ไทย โดย เขียน ธีระวิทย์ ศาสตราจารย์ กิตติคุณ สาขารัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ