**มูลเหตุที่แท้จริงซึ่งทำให้ พรรคเพื่อไทย สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา และ ครม.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ถอยร่นไม่กล้าเดินหน้าโหวตแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ 3 ไม่ได้มีอะไรมากไปกว่า การรักษาชีวิตตัวเอง โดยเฉพาะต้องไม่ให้ ยิ่งลักษณ์ นายกรัฐมนตรีเสี่ยงตาย
ทางการเมือง เพื่อไทย อาจมีภาพดูดีขึ้นมาบ้าง หากคนซึ่งไม่ได้ติดตามเบื้องหลังที่แท้จริงว่า ทำไม เพื่อไทย ถึงไม่เดินหน้าโหวตแก้ไขรธน.วาระ 3 ทั้งในการประชุมรัฐสภา เมื่อ 12 มิถุนายน รวมถึงในวันที่ 19 มิถุนายน ซึ่งจะเป็นการประชุมรัฐสภานัดสุดท้าย หากเพื่อไทยจะเอาจริง ก็ทำได้ เว้นแต่เอาไม่จริง อย่างที่คนเขาวิจารณ์กันตอนนี้
มองกันว่า เหตุที่ญัตติเสนอให้รัฐสภาโหวตไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของศาลรธน. ที่ให้รอการวินิจฉัยของศาลรธน.ให้เสร็จสิ้น ดันเกิดล้มไม่เป็นท่าในการโหวต เมื่อ 12 มิถุนายน เพราะคะแนนเสียงขาดไปแค่ 5 เสียง คือ 318 เสียงจากที่ต้องได้ 323 เสียง
เพราะเพื่อไทยไม่มีการประสาน และคุมเข้มเสียงส.ส.ในพรรคร่วมรัฐบาล รวมถึงการขอเสียงสนับสนุนจากสมาชิกวุฒิสภาอย่างจริงจัง ทั้งที่หากดูจากเสียงเห็นชอบแก้ไขรธน.วาระแรก มีเสียงเห็นชอบถึง 399 เสียง ขนาดรอบนี้ ส.ส.ภูมิใจไทย กลุ่มสมศักดิ์ เทพสุทิน ที่เป็นฝ่ายค้าน ยังมาร่วมโหวตให้ฝ่ายเพื่อไทย เสียงก็ยังไม่ถึง
สอดรับกับข่าวที่ปรากฏก่อนหน้านี้ว่า จริงๆ แล้ว ไม่ใช่แค่ส.ส.เพื่อไทย โดยเฉพาะส.ส.ที่เป็นรัฐมนตรี แต่ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาลหลายคน รวมถึงพวกส.ว.ที่อยู่กับฝ่ายเพื่อไทย หลายคน ต่างไม่อยากเสี่ยง ไปโหวตหักดิบคำสั่งศาลรธน. เพราะเกรงจะมีปัญหาข้อกฎหมายตามมาอีก หากมีการยื่นให้ศาลรธน.วินิจฉัยว่า มติของรัฐสภาดังกล่าว ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ แล้วคนที่ไปโหวตดังกล่าว ทำผิดรัฐธรรมนูญหรือไม่
แต่เมื่อเพื่อไทยเดินหน้ามาไกลมากแล้ว เล่นใช้เวทีรัฐสภาเปิดฉากถล่มศาลรัฐธรรมนูญ อย่างหนักหน่วงจนได้ใจคนเสื้อแดง และแนวร่วมจำนวนมาก ที่ไม่พอใจศาลรัฐธรรมนูญชุดนี้เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว
**หากเพื่อไทยถอยร่นหมด ทั้งการที่ไม่อยากมีมติคัดค้านคำสั่งศาลรธน. และมติโหวตแก้ไขรธน.วาระ 3 ขืนทำไม่มีชั้นเชิงเช่นนั้น มีหวังแนวร่วมมวลชนฝั่งตัวเองเอาตาย ก็เลยต้องเล่นบทบาทลุยต่อ จะขอโหวตคว่ำคำสั่งศาลรธน. แต่ปรากฏว่าเสียงดันขาดไป 5 เสียง
เรื่องนี้ก็เลยยุติลงไปโดยปริยาย แม้เพื่อไทย จะเสียหน้า แต่ก็อ้างได้ว่าเป็นอุบัติเหตุคาดไม่ถึง ทำอะไรก็ไม่ได้แล้ว เรื่องก็จบกันไป จากนี้ก็ไปรอลุ้นคดีกันที่ศาลรธน. ต่อไป
อย่างไรก็ตาม ผลที่ออกมาทำให้ พวกเสื้อแดงจำนวนมาก โดยเฉพาะกองเชียร์ที่หนุนให้เพื่อไทย แตกหักกับศาลรธน. เลยผิดหวังไปตามๆ กัน
เสื้อแดงบางสายจึงมีการส่งเสียงสะท้อนออกมาจำนวนมาก โดยเฉพาะผ่านเครือข่ายสื่อออนไลน์เสื้อแดง ที่มองว่า รอบนี้ เพื่อไทยเล่นสองหน้า ภายนอกทำเป็นขึงขัง ต้องหักกับศาลรธน.ให้เด็ดขาด แต่ใจจริงแล้วก็คือ หวั่นจะโดนศาลรธน.จัดการ หากไปโหวตค้านคำสั่งศาลรธน. และเกรงจะมีปัญหาเรื่องการนำร่างรธน. ขึ้นทูลเกล้าฯ จึงไม่ยอมทั้งโหวตรธน.วาระ 3 และโหวตสวนคำสั่งศาลรธน.
เสื้อแดงส่วนนี้เลยมองว่า สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นการเล่นการเมืองแบบเอาตัวรอดของ เพื่อไทย ไม่กล้าแตกหักกับศาลรธน. ทั้งที่มวลชนตัวเองหนุนเต็มกำลังให้ดับเครื่องชน แต่เพื่อไทย –ครม.-ทักษิณ ชินวัตร กลับสั่งถอย
**จากปัจจัยสำคัญก็คือ หวั่นเกรง ยิ่งลักษณ์ จะพารัฐบาล และพรรคเพื่อไทย ตายหมู่ เพราะหากรัฐสภาโหวตเห็นชอบร่างแก้ไขรธน.วาระ 3 แม้ต่อให้เป็นวันที่ 19 มิถุนายน 2555 แล้วขั้นตอนต่อจากนั้น นายกรัฐมนตรี ต้องนำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา ขึ้นทูลเกล้าฯ ภายใน 20 วัน แม้ศาลรธน. จะนัดไต่สวนคดี 5 ก.ค. และ 6 ก.ค. 55 แต่ก็ไม่มีหลักประกันได้ว่า ศาลรธน. จะพิจารณาเสร็จเมื่อใด และไม่รู้ว่าศาลจะตัดสินอย่างไร แต่เมื่อถึงกำหนด 20 วัน นายกฯ ก็ต้องนำร่างแก้ไขรธน. ขึ้นทูลเกล้าฯ แบบเลี่ยงไม่ได้
ความเสี่ยงจึงอยู่ที่ตรงนี้ จุดที่ แกนนำรัฐบาลอย่าง เฉลิม อยู่บำรุง และทีมยุทธศาสตร์การเมืองของพรรคเพื่อไทย เช่น สมชาย วงศ์สวัสดิ์ –นพดล ปัทมะ-สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ เรียกว่า "แดนประหาร " หรือ Killing Zone
ที่มีการขยายความถึงเรื่อง แดนประหาร จากเฉลิม ที่วิเคราะห์เรื่องนี้ไว้กลางที่ประชุมครม.เมื่อ 12 มิ.ย. 55 ไว้ตอนหนึ่ง ซึ่งคณะรัฐมนตรีกำลังหารือถึงเรื่องการออกพระราชกฤษฎีกาปิดสมัยประชุมสภาผู้แทนราษฏร 19 มิ.ย.55 ว่า
**“ถ้าเราโหวตวันนี้ ก็แพ้วันนี้เลย ถ้าเราเดินต่อไป ก็จะเป็นการผลักนายกฯ เข้าสู่คิลลิ่งโซนทันที เพราะเมื่อส่งเรื่องขึ้นไป แล้ว ถ้าไม่ผ่านคณะกรรมการกลั่นกรองขององคมนตรี ร่างก็จะแช่อยู่อย่างนั้น แล้วหากศาลรัฐธรรมนูญ มีคำวินิจฉัยออกมาว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ รวมถึงการโหวตแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ 3 ขัดรัฐธรรมนูญ ก็จะมีทั้งม็อบรับเชิญ ม็อบรับจ้าง ทั้งแขกมีบัตร หรือไม่มีบัตร จะมากันหมด”
การยกเหตุผลเรื่องหวั่นเกรงจะมีปัญหาข้อกฎหมายตามมา กับตัวนายกฯยิ่งลักษณ์ ของแกนนำพรรคเพื่อไทย –ทีมยุทธศาสตร์ของพรรค ซึ่งเสียงส่วนใหญ่เห็นว่า พรรคเพื่อไทยไม่ควรโหวตแก้ไขรธน.วาระ 3 คงมีแค่ทีมยุทธศาสตร์ของพรรคเพียงสองคนเท่านั้น ที่เห็นแย้งคือ เห็นว่าควรต้องโหวตได้แก่ จาตุรนต์ ฉายแสง-พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย
จะพบได้อย่างหนึ่งว่า แกนนำพรรค-ทีมยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย ต่างเชื่อไปแล้วว่า คำร้องนี้จะนำไปสู่การยุบพรรค ทั้งที่ยังไม่ได้มีวี่แววอะไรให้ต้องหวาดกลัวถึงเพียงนั้น แต่ฝ่ายเพื่อไทย ก็พยายามจะหาวิธีป้องกันทุกรูปแบบ
ดูได้จาก ที่เฉลิม อยู่บำรุง ยกเหตุผลเรื่องไม่ควรโหวต วาระ 3 มาอธิบายในที่ประชุมส.ส.พรรคเพื่อไทย เมื่อ 11 มิ.ย. 55 ซึ่งก็เป็นการวิเคราะห์เรื่องนี้เหมือนเช่นเดียวกับที่พูดในที่ประชุมครม. แต่เฉลิมพยายามบอกว่า หากคำร้องนี้จะขยายผลไปจนถึงการยุบพรรคเพื่อไทยจริง ก็ต้องรักษารัฐบาลเอาไว้ ไม่ใช่ไปตายหมู่กันหมด
** “ถ้าทำแบบนั้นนายกฯ ก็อาจเดือดร้อน ต้องผ่อนหนักผ่อนเบา หากกระแสลมยังแรง ก็ยังไม่จำเป็นต้องฝืน ถ้ารีบเร่งมีหวังได้ไปด้วยกันทั้งหมด ทั้ง ส.ส.และรัฐมนตรีด้วย เพราะหากสุดท้ายศาลรัฐธรรมนูญ บอกการแก้รัฐธรรมนูญครั้งนี้ ผิดมาตรา 68 จริง เราอาจเสียส.ส. ที่ร่วมลงชื่อแก้รัฐธรรมนูญในครั้งนี้ แต่รัฐบาลยังอยู่ เราก็ยังมีอำนาจรัฐ ที่พอสู้ได้ แต่ถ้าจะโหวตวาระ 3 เลย มีโอกาสจะไปกันหมดทั้ง ส.ส.และรัฐบาล”
อย่างไรก็ตาม โดยข้อเท็จจริงแล้ว หากว่าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ร่างแก้ไขรธน. ทั้งหมดซึ่งมีร่างของคณะรัฐมนตรีด้วย เกิดขัดรธน. มาตรา 68 จริง รัฐมนตรีซึ่งร่วมประชุมเห็นชอบร่างแก้ไขรธน.ดังกล่าว ก็ไปด้วยทั้งหมด ไม่ใช่แค่ ส.ส.เพื่อไทย ที่ร่วมกันลงชื่อเสนอร่างแก้ไขรธน.เท่านั้น
** แล้วจะไปรู้ได้อย่างไรว่า ศาลรธน. จะตัดสินแบบไหน อาจยกคำร้องทั้งหมดก็ได้ หรือเป็นเพราะรัฐบาลจะกลัวใคร ? มากเกินไปหรือเปล่า ?
ทางการเมือง เพื่อไทย อาจมีภาพดูดีขึ้นมาบ้าง หากคนซึ่งไม่ได้ติดตามเบื้องหลังที่แท้จริงว่า ทำไม เพื่อไทย ถึงไม่เดินหน้าโหวตแก้ไขรธน.วาระ 3 ทั้งในการประชุมรัฐสภา เมื่อ 12 มิถุนายน รวมถึงในวันที่ 19 มิถุนายน ซึ่งจะเป็นการประชุมรัฐสภานัดสุดท้าย หากเพื่อไทยจะเอาจริง ก็ทำได้ เว้นแต่เอาไม่จริง อย่างที่คนเขาวิจารณ์กันตอนนี้
มองกันว่า เหตุที่ญัตติเสนอให้รัฐสภาโหวตไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของศาลรธน. ที่ให้รอการวินิจฉัยของศาลรธน.ให้เสร็จสิ้น ดันเกิดล้มไม่เป็นท่าในการโหวต เมื่อ 12 มิถุนายน เพราะคะแนนเสียงขาดไปแค่ 5 เสียง คือ 318 เสียงจากที่ต้องได้ 323 เสียง
เพราะเพื่อไทยไม่มีการประสาน และคุมเข้มเสียงส.ส.ในพรรคร่วมรัฐบาล รวมถึงการขอเสียงสนับสนุนจากสมาชิกวุฒิสภาอย่างจริงจัง ทั้งที่หากดูจากเสียงเห็นชอบแก้ไขรธน.วาระแรก มีเสียงเห็นชอบถึง 399 เสียง ขนาดรอบนี้ ส.ส.ภูมิใจไทย กลุ่มสมศักดิ์ เทพสุทิน ที่เป็นฝ่ายค้าน ยังมาร่วมโหวตให้ฝ่ายเพื่อไทย เสียงก็ยังไม่ถึง
สอดรับกับข่าวที่ปรากฏก่อนหน้านี้ว่า จริงๆ แล้ว ไม่ใช่แค่ส.ส.เพื่อไทย โดยเฉพาะส.ส.ที่เป็นรัฐมนตรี แต่ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาลหลายคน รวมถึงพวกส.ว.ที่อยู่กับฝ่ายเพื่อไทย หลายคน ต่างไม่อยากเสี่ยง ไปโหวตหักดิบคำสั่งศาลรธน. เพราะเกรงจะมีปัญหาข้อกฎหมายตามมาอีก หากมีการยื่นให้ศาลรธน.วินิจฉัยว่า มติของรัฐสภาดังกล่าว ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ แล้วคนที่ไปโหวตดังกล่าว ทำผิดรัฐธรรมนูญหรือไม่
แต่เมื่อเพื่อไทยเดินหน้ามาไกลมากแล้ว เล่นใช้เวทีรัฐสภาเปิดฉากถล่มศาลรัฐธรรมนูญ อย่างหนักหน่วงจนได้ใจคนเสื้อแดง และแนวร่วมจำนวนมาก ที่ไม่พอใจศาลรัฐธรรมนูญชุดนี้เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว
**หากเพื่อไทยถอยร่นหมด ทั้งการที่ไม่อยากมีมติคัดค้านคำสั่งศาลรธน. และมติโหวตแก้ไขรธน.วาระ 3 ขืนทำไม่มีชั้นเชิงเช่นนั้น มีหวังแนวร่วมมวลชนฝั่งตัวเองเอาตาย ก็เลยต้องเล่นบทบาทลุยต่อ จะขอโหวตคว่ำคำสั่งศาลรธน. แต่ปรากฏว่าเสียงดันขาดไป 5 เสียง
เรื่องนี้ก็เลยยุติลงไปโดยปริยาย แม้เพื่อไทย จะเสียหน้า แต่ก็อ้างได้ว่าเป็นอุบัติเหตุคาดไม่ถึง ทำอะไรก็ไม่ได้แล้ว เรื่องก็จบกันไป จากนี้ก็ไปรอลุ้นคดีกันที่ศาลรธน. ต่อไป
อย่างไรก็ตาม ผลที่ออกมาทำให้ พวกเสื้อแดงจำนวนมาก โดยเฉพาะกองเชียร์ที่หนุนให้เพื่อไทย แตกหักกับศาลรธน. เลยผิดหวังไปตามๆ กัน
เสื้อแดงบางสายจึงมีการส่งเสียงสะท้อนออกมาจำนวนมาก โดยเฉพาะผ่านเครือข่ายสื่อออนไลน์เสื้อแดง ที่มองว่า รอบนี้ เพื่อไทยเล่นสองหน้า ภายนอกทำเป็นขึงขัง ต้องหักกับศาลรธน.ให้เด็ดขาด แต่ใจจริงแล้วก็คือ หวั่นจะโดนศาลรธน.จัดการ หากไปโหวตค้านคำสั่งศาลรธน. และเกรงจะมีปัญหาเรื่องการนำร่างรธน. ขึ้นทูลเกล้าฯ จึงไม่ยอมทั้งโหวตรธน.วาระ 3 และโหวตสวนคำสั่งศาลรธน.
เสื้อแดงส่วนนี้เลยมองว่า สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นการเล่นการเมืองแบบเอาตัวรอดของ เพื่อไทย ไม่กล้าแตกหักกับศาลรธน. ทั้งที่มวลชนตัวเองหนุนเต็มกำลังให้ดับเครื่องชน แต่เพื่อไทย –ครม.-ทักษิณ ชินวัตร กลับสั่งถอย
**จากปัจจัยสำคัญก็คือ หวั่นเกรง ยิ่งลักษณ์ จะพารัฐบาล และพรรคเพื่อไทย ตายหมู่ เพราะหากรัฐสภาโหวตเห็นชอบร่างแก้ไขรธน.วาระ 3 แม้ต่อให้เป็นวันที่ 19 มิถุนายน 2555 แล้วขั้นตอนต่อจากนั้น นายกรัฐมนตรี ต้องนำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา ขึ้นทูลเกล้าฯ ภายใน 20 วัน แม้ศาลรธน. จะนัดไต่สวนคดี 5 ก.ค. และ 6 ก.ค. 55 แต่ก็ไม่มีหลักประกันได้ว่า ศาลรธน. จะพิจารณาเสร็จเมื่อใด และไม่รู้ว่าศาลจะตัดสินอย่างไร แต่เมื่อถึงกำหนด 20 วัน นายกฯ ก็ต้องนำร่างแก้ไขรธน. ขึ้นทูลเกล้าฯ แบบเลี่ยงไม่ได้
ความเสี่ยงจึงอยู่ที่ตรงนี้ จุดที่ แกนนำรัฐบาลอย่าง เฉลิม อยู่บำรุง และทีมยุทธศาสตร์การเมืองของพรรคเพื่อไทย เช่น สมชาย วงศ์สวัสดิ์ –นพดล ปัทมะ-สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ เรียกว่า "แดนประหาร " หรือ Killing Zone
ที่มีการขยายความถึงเรื่อง แดนประหาร จากเฉลิม ที่วิเคราะห์เรื่องนี้ไว้กลางที่ประชุมครม.เมื่อ 12 มิ.ย. 55 ไว้ตอนหนึ่ง ซึ่งคณะรัฐมนตรีกำลังหารือถึงเรื่องการออกพระราชกฤษฎีกาปิดสมัยประชุมสภาผู้แทนราษฏร 19 มิ.ย.55 ว่า
**“ถ้าเราโหวตวันนี้ ก็แพ้วันนี้เลย ถ้าเราเดินต่อไป ก็จะเป็นการผลักนายกฯ เข้าสู่คิลลิ่งโซนทันที เพราะเมื่อส่งเรื่องขึ้นไป แล้ว ถ้าไม่ผ่านคณะกรรมการกลั่นกรองขององคมนตรี ร่างก็จะแช่อยู่อย่างนั้น แล้วหากศาลรัฐธรรมนูญ มีคำวินิจฉัยออกมาว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ รวมถึงการโหวตแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ 3 ขัดรัฐธรรมนูญ ก็จะมีทั้งม็อบรับเชิญ ม็อบรับจ้าง ทั้งแขกมีบัตร หรือไม่มีบัตร จะมากันหมด”
การยกเหตุผลเรื่องหวั่นเกรงจะมีปัญหาข้อกฎหมายตามมา กับตัวนายกฯยิ่งลักษณ์ ของแกนนำพรรคเพื่อไทย –ทีมยุทธศาสตร์ของพรรค ซึ่งเสียงส่วนใหญ่เห็นว่า พรรคเพื่อไทยไม่ควรโหวตแก้ไขรธน.วาระ 3 คงมีแค่ทีมยุทธศาสตร์ของพรรคเพียงสองคนเท่านั้น ที่เห็นแย้งคือ เห็นว่าควรต้องโหวตได้แก่ จาตุรนต์ ฉายแสง-พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย
จะพบได้อย่างหนึ่งว่า แกนนำพรรค-ทีมยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย ต่างเชื่อไปแล้วว่า คำร้องนี้จะนำไปสู่การยุบพรรค ทั้งที่ยังไม่ได้มีวี่แววอะไรให้ต้องหวาดกลัวถึงเพียงนั้น แต่ฝ่ายเพื่อไทย ก็พยายามจะหาวิธีป้องกันทุกรูปแบบ
ดูได้จาก ที่เฉลิม อยู่บำรุง ยกเหตุผลเรื่องไม่ควรโหวต วาระ 3 มาอธิบายในที่ประชุมส.ส.พรรคเพื่อไทย เมื่อ 11 มิ.ย. 55 ซึ่งก็เป็นการวิเคราะห์เรื่องนี้เหมือนเช่นเดียวกับที่พูดในที่ประชุมครม. แต่เฉลิมพยายามบอกว่า หากคำร้องนี้จะขยายผลไปจนถึงการยุบพรรคเพื่อไทยจริง ก็ต้องรักษารัฐบาลเอาไว้ ไม่ใช่ไปตายหมู่กันหมด
** “ถ้าทำแบบนั้นนายกฯ ก็อาจเดือดร้อน ต้องผ่อนหนักผ่อนเบา หากกระแสลมยังแรง ก็ยังไม่จำเป็นต้องฝืน ถ้ารีบเร่งมีหวังได้ไปด้วยกันทั้งหมด ทั้ง ส.ส.และรัฐมนตรีด้วย เพราะหากสุดท้ายศาลรัฐธรรมนูญ บอกการแก้รัฐธรรมนูญครั้งนี้ ผิดมาตรา 68 จริง เราอาจเสียส.ส. ที่ร่วมลงชื่อแก้รัฐธรรมนูญในครั้งนี้ แต่รัฐบาลยังอยู่ เราก็ยังมีอำนาจรัฐ ที่พอสู้ได้ แต่ถ้าจะโหวตวาระ 3 เลย มีโอกาสจะไปกันหมดทั้ง ส.ส.และรัฐบาล”
อย่างไรก็ตาม โดยข้อเท็จจริงแล้ว หากว่าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ร่างแก้ไขรธน. ทั้งหมดซึ่งมีร่างของคณะรัฐมนตรีด้วย เกิดขัดรธน. มาตรา 68 จริง รัฐมนตรีซึ่งร่วมประชุมเห็นชอบร่างแก้ไขรธน.ดังกล่าว ก็ไปด้วยทั้งหมด ไม่ใช่แค่ ส.ส.เพื่อไทย ที่ร่วมกันลงชื่อเสนอร่างแก้ไขรธน.เท่านั้น
** แล้วจะไปรู้ได้อย่างไรว่า ศาลรธน. จะตัดสินแบบไหน อาจยกคำร้องทั้งหมดก็ได้ หรือเป็นเพราะรัฐบาลจะกลัวใคร ? มากเกินไปหรือเปล่า ?