ASTVผู้จัดการรายวัน-ดีเอสไอ ส่งหนังสือถึงผู้ว่าฯกทม.-บริษัทกรุงเทพธนาคม-บีทีเอส แจงกรณีสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าภายใน 18 มิ.ย.นี้ ชี้แนวโน้มเข้าข่ายลงนามสัญญาไม่ถูกต้อง กทม.ไม่ใช่หน่วยงานที่มีอำนาจลงนาม ถือว่าสัญญาเป็นโมฆะ
นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดี กรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) กล่าวถึงความคืบหน้าการตรวจสอบกรณีพรรคเพื่อไทยยื่นเรื่องให้ดีเอสไอตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีกรุงเทพมหานครลงนามต่อสัญญาขยายสัมปทานการให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุงโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ ระหว่างบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอส กับบริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัด ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของกรุงเทพฯ ว่า นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทย ได้ชี้แจงต่อดีเอสไอว่า กทม.ไม่มีอำนาจในการลงนามดังกล่าว
ดังนั้น ดีเอสไอได้ประชุมคณะพนักงานสอบสวนมีความเห็นว่าควรเปิดโอกาสให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้ชี้แจงและเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงครบถ้วน ดีเอสไอจึงได้ทำหนังสือถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3 หน่วยงาน คือ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, บริษัทกรุงเทพธนาคม และบีทีเอส แสดงเหตุผลการลงนามต่อสัญญาโดยกำหนดให้ทำหนังสือชี้แจงกลับมาที่ดีเอสไอภายในวันที่ 18 มิ.ย.นี้ เพื่อนำข้อมูลทั้งหมดมาประมวลผลและเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) ในวันที่ 27 มิ.ย. หากในชั้นนี้ทั้ง 3 หน่วยงานไม่ประสงค์จะชี้แจงก็ไม่เป็นไร หากบอร์ดกคพ.มีมติรับเป็นคดีพิเศษดีเอสไอจะมีอำนาจออกหมายเรียกเข้าให้การตามระบบ
"การที่รมว.กระทรวงมหาดไทยยืนยันอำนาจหน้าที่ถือเป็นสาระสำคัญ มีแนวโน้มเข้าข่ายไม่ถูกต้องตามกฎหมาย การลงนามต่อสัญญาดังกล่าวไม่ถูกต้อง และอาจทำให้สัญญาเป็นโมฆะ ทั้งนี้ ดีเอสไอยังไม่ได้ตรวจสอบเบื้องลึกไปในรายละเอียดว่า มีการทำสัญญาไม่เป็นธรรมหรือไม่ เกิดประโยชน์หรือไม่ทั้งที่อายุสัมปทานยังเหลืออีกหลายปี เนื่องจากพบความผิดจากการลงนามในสัญญาทั้งที่ไม่มีอำนาจแล้ว" นายธาริต กล่าว
ทั้งนี้ หนังสือชี้แจงจากนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ รมว.มหาดไทย ที่ส่งถึงดีเอสไอ กรณีกทม.ดำเนินการเกี่ยวกับสัญญาสัมปทานระบบขนส่งมวลชนระบุว่า ตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 กำหนดให้กิจการรถรางเป็นอำนาจหน้าที่ของรมว.มหาดไทย ทั้งนี้หนังสือด่วนที่สุด ที่ มท 1101/5607 ลงวันที่ 25 มี.ค. 2535 ไม่ใช่การมอบอำนาจในการอนุมัติสัมปทานให้กับกทม. อำนาจในการอนุมัติให้สัมปทานกับบีทีเอสยังเป็นของรมว.มหาดไทย การเห็นชอบแต่งตั้งผู้ว่ากทม.เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น เพียงเพื่อให้มีพนักงานเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในการปฏิบัติกิจการ ควบคุมดูแลดำเนินการให้เป็นไปตามสัญญาสัมปทานเท่านั้น ดังนั้น การดำเนินการใดๆที่มีผลเป็นการแก้ไขหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขในสัญญาสัมปทานเดิมที่รมว.มหาดไทยได้อนุมัติไว้ โดยเฉพาะการขยายอายุสัญญา หรือการขยายเส้นทางใหม่ ที่ไม่ได้รับอนุมัติจากรมว.มหาดไทยย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมายและข้อสัญญา ดีเอสไอจึงส่งหนังสือถึงผู้ว่ากทม. ประธานกรรมการบริษัทบีทีเอส และบริษัทกรุงเทพธนาคม เพื่อขอทราบความเห็นเกี่ยวกับสัมปทานระบบขนส่งมวลชนของกทม. ซึ่งเกี่ยวพันกับอำนาจของรมว.มหาดไทย
ด้านนายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร(กทม.) กล่าวว่า กทม.ขอยืนยันว่าได้ดำเนินการทุกอย่างด้วยความถูกต้อง ซึ่งเมื่อเรื่องถึงที่สุดแล้วจะอยู่ในขั้นตอนของป.ป.ช. และศาล อย่างไรก็ตาม กทม.ได้ชี้แจงไปยังคณะกรรมาธิการชุดต่างๆ ที่ปรึกษาทางกฎหมายของไทยคือคณะกรรมการกฤษฎีกา และกระทรวงการคลังซึ่งดูแลพ.ร.บ.ร่วมทุน สรุปว่ากทม.ไม่ได้ขยายสัมปทานให้กับบีทีเอสซีแต่เป็นการต่อสัญญาจ้างเดินรถเท่านั้น ดังนั้นตนเองจึงไม่เข้าใจว่าทำไมถึงมีคนบางคนไม่เข้าใจเสียที ฉะนั้น การดำเนินการใดๆก็ตามของใครก็ต้องรับผิดชอบการกระทำของตนเองด้วย
นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดี กรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) กล่าวถึงความคืบหน้าการตรวจสอบกรณีพรรคเพื่อไทยยื่นเรื่องให้ดีเอสไอตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีกรุงเทพมหานครลงนามต่อสัญญาขยายสัมปทานการให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุงโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ ระหว่างบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอส กับบริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัด ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของกรุงเทพฯ ว่า นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทย ได้ชี้แจงต่อดีเอสไอว่า กทม.ไม่มีอำนาจในการลงนามดังกล่าว
ดังนั้น ดีเอสไอได้ประชุมคณะพนักงานสอบสวนมีความเห็นว่าควรเปิดโอกาสให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้ชี้แจงและเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงครบถ้วน ดีเอสไอจึงได้ทำหนังสือถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3 หน่วยงาน คือ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, บริษัทกรุงเทพธนาคม และบีทีเอส แสดงเหตุผลการลงนามต่อสัญญาโดยกำหนดให้ทำหนังสือชี้แจงกลับมาที่ดีเอสไอภายในวันที่ 18 มิ.ย.นี้ เพื่อนำข้อมูลทั้งหมดมาประมวลผลและเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) ในวันที่ 27 มิ.ย. หากในชั้นนี้ทั้ง 3 หน่วยงานไม่ประสงค์จะชี้แจงก็ไม่เป็นไร หากบอร์ดกคพ.มีมติรับเป็นคดีพิเศษดีเอสไอจะมีอำนาจออกหมายเรียกเข้าให้การตามระบบ
"การที่รมว.กระทรวงมหาดไทยยืนยันอำนาจหน้าที่ถือเป็นสาระสำคัญ มีแนวโน้มเข้าข่ายไม่ถูกต้องตามกฎหมาย การลงนามต่อสัญญาดังกล่าวไม่ถูกต้อง และอาจทำให้สัญญาเป็นโมฆะ ทั้งนี้ ดีเอสไอยังไม่ได้ตรวจสอบเบื้องลึกไปในรายละเอียดว่า มีการทำสัญญาไม่เป็นธรรมหรือไม่ เกิดประโยชน์หรือไม่ทั้งที่อายุสัมปทานยังเหลืออีกหลายปี เนื่องจากพบความผิดจากการลงนามในสัญญาทั้งที่ไม่มีอำนาจแล้ว" นายธาริต กล่าว
ทั้งนี้ หนังสือชี้แจงจากนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ รมว.มหาดไทย ที่ส่งถึงดีเอสไอ กรณีกทม.ดำเนินการเกี่ยวกับสัญญาสัมปทานระบบขนส่งมวลชนระบุว่า ตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 กำหนดให้กิจการรถรางเป็นอำนาจหน้าที่ของรมว.มหาดไทย ทั้งนี้หนังสือด่วนที่สุด ที่ มท 1101/5607 ลงวันที่ 25 มี.ค. 2535 ไม่ใช่การมอบอำนาจในการอนุมัติสัมปทานให้กับกทม. อำนาจในการอนุมัติให้สัมปทานกับบีทีเอสยังเป็นของรมว.มหาดไทย การเห็นชอบแต่งตั้งผู้ว่ากทม.เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น เพียงเพื่อให้มีพนักงานเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในการปฏิบัติกิจการ ควบคุมดูแลดำเนินการให้เป็นไปตามสัญญาสัมปทานเท่านั้น ดังนั้น การดำเนินการใดๆที่มีผลเป็นการแก้ไขหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขในสัญญาสัมปทานเดิมที่รมว.มหาดไทยได้อนุมัติไว้ โดยเฉพาะการขยายอายุสัญญา หรือการขยายเส้นทางใหม่ ที่ไม่ได้รับอนุมัติจากรมว.มหาดไทยย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมายและข้อสัญญา ดีเอสไอจึงส่งหนังสือถึงผู้ว่ากทม. ประธานกรรมการบริษัทบีทีเอส และบริษัทกรุงเทพธนาคม เพื่อขอทราบความเห็นเกี่ยวกับสัมปทานระบบขนส่งมวลชนของกทม. ซึ่งเกี่ยวพันกับอำนาจของรมว.มหาดไทย
ด้านนายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร(กทม.) กล่าวว่า กทม.ขอยืนยันว่าได้ดำเนินการทุกอย่างด้วยความถูกต้อง ซึ่งเมื่อเรื่องถึงที่สุดแล้วจะอยู่ในขั้นตอนของป.ป.ช. และศาล อย่างไรก็ตาม กทม.ได้ชี้แจงไปยังคณะกรรมาธิการชุดต่างๆ ที่ปรึกษาทางกฎหมายของไทยคือคณะกรรมการกฤษฎีกา และกระทรวงการคลังซึ่งดูแลพ.ร.บ.ร่วมทุน สรุปว่ากทม.ไม่ได้ขยายสัมปทานให้กับบีทีเอสซีแต่เป็นการต่อสัญญาจ้างเดินรถเท่านั้น ดังนั้นตนเองจึงไม่เข้าใจว่าทำไมถึงมีคนบางคนไม่เข้าใจเสียที ฉะนั้น การดำเนินการใดๆก็ตามของใครก็ต้องรับผิดชอบการกระทำของตนเองด้วย