ASTVผู้จัดการรายวัน - พิษเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ ทุบดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการท่องเที่ยวไตรมาส2ล่วงเหลือ 85 ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน คาดหากการเมืองพ่นพิษซ้ำ ดัชนีความเชื่อมั่นล่วงยาวถึงไตรมาสสาม ชี้ปัญหาหลักมาจาก การขึ้นค่าแรงงานและค่าครองชีพสูง ด้าน “กิตติรัตน์” รับลูก สั่ง พัฒนาซอฟแวร์ ช่วยผู้ประกอบการลดต้นทุนพร้อมผลักดันดันโครงการพัฒนาฝีมือแรงงานสู้ศึกอาเซียน
นายกงกฤช หิรัญกิจ ประธานฝ่ายนโยบาย สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) เปิดเผยว่า ตัวเลขดัชนี คาดการณ์ความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ช่วงไตรมาส 2 ปี 55 (เม.ย.-มิ.ย.) ซึ่งมีตัวเลขความเชื่อมั่นที่ 85 ต่ำกว่า 100 ที่เป็นค่าปรกติ และ ยังต่ำกว่า ไตรมาสแรก ซึ่งดัชนีความเชื่อมั่นฯอยู่ที่ 94 สาเหตุหลัก มาจากปัจจัย 2 ประการ คือ ปัญหา เศรษฐกิจ
ทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงความชัดเจนของผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการปรับขึ้นค่างแรงงานขั้นต่ำที่เริ่มตั้งแต่ 1 เม.ย.55
“ดัชนี ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ไตรมาสแรก อยู่ที่ 94 ต่ำกว่าที่คาดการณ์ว่าจะได้ 112 สาเหตุหลักๆ มาจากปัญหาทางเศรษฐกิจทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศ ประกอบกับการปรับขึ้นค่าแรงงานที่ทำให้ต้นทุนผู้ประกอบการสูงขึ้น จึงปรับขึ้นราคาสินค้า ทำให้ค่าครองชีพประชาชนสูงขึ้นจึงมีผลกระทบต่อการตัดสินใจใช้จ่ายเพื่อเดินทางท่องเที่ยว”
หาก แยกความกังวลจากปัจจัยภายในประเทศและภายนอกประเทศ สามารถแยกได้ว่า ร้อยละ 62 ของผู้ประกอบการกังวลเกี่ยวกับสภาวะเศรษฐกิจในประเทศ อีกร้อยละ 37 กังวลสถานการณ์เศรษฐกิจในต่างประเทศ โดยเฉพาะวิกฤตทางการเงินที่เกิดขึ้นในอียู อาจส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของนักท่องเที่ยว โดยผลสำรวจจากผู้ประกอบการพบว่า 80% เห็นว่าธุรกิจจะแย่ลงมากจากปัญหาค่าครองชีพขณะที่ 62% เห็นว่าธุรกิจจะแย่ลงมาก จากนโยบายปรับขึ้นค่าแรงงานขั้นต่ำ ”
หวั่นการเมืองยิ่งฉุดดัชนีต่ำ
นายกงกฤช ยังกล่าวว่า จากตัวเลขดังกล่าว บวกกับสถานการณ์ในขณะนี้ ซึ่งมีความคุกรุ่นทางการเมือง โดยส่วนตัวจึงมองว่า น่าจะมีผลทำให้การคาดการณ์ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการในไตรมาสสาม(ก.ค.-ก.ย.55) ยิ่งต่ำลงไปมากกว่าผลการคาดการณ์ไตรมาสสอง เพราะมีปัจจัยลบเพิ่มขึ้น คือเรื่องของสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง เพราะ ช่วงไตรมาสสอง ของปี 2553ซึ่งขณะนั้น มีการชุมนุมทางการเมืองของกลุ่มเสื้อแดงมีภาพของความรุนแรง ทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการท่องเที่ยวขณะนั้นลดต่ำลงมาอยู่ที่ 33 เท่านั้นทั้งที่คาดการณ์ว่าจะอยู่ที่ 90
นายกงกฤช หิรัญกิจ ประธานฝ่ายนโยบาย สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) เปิดเผยว่า ตัวเลขดัชนี คาดการณ์ความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ช่วงไตรมาส 2 ปี 55 (เม.ย.-มิ.ย.) ซึ่งมีตัวเลขความเชื่อมั่นที่ 85 ต่ำกว่า 100 ที่เป็นค่าปรกติ และ ยังต่ำกว่า ไตรมาสแรก ซึ่งดัชนีความเชื่อมั่นฯอยู่ที่ 94 สาเหตุหลัก มาจากปัจจัย 2 ประการ คือ ปัญหา เศรษฐกิจ
ทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงความชัดเจนของผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการปรับขึ้นค่างแรงงานขั้นต่ำที่เริ่มตั้งแต่ 1 เม.ย.55
“ดัชนี ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ไตรมาสแรก อยู่ที่ 94 ต่ำกว่าที่คาดการณ์ว่าจะได้ 112 สาเหตุหลักๆ มาจากปัญหาทางเศรษฐกิจทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศ ประกอบกับการปรับขึ้นค่าแรงงานที่ทำให้ต้นทุนผู้ประกอบการสูงขึ้น จึงปรับขึ้นราคาสินค้า ทำให้ค่าครองชีพประชาชนสูงขึ้นจึงมีผลกระทบต่อการตัดสินใจใช้จ่ายเพื่อเดินทางท่องเที่ยว”
หาก แยกความกังวลจากปัจจัยภายในประเทศและภายนอกประเทศ สามารถแยกได้ว่า ร้อยละ 62 ของผู้ประกอบการกังวลเกี่ยวกับสภาวะเศรษฐกิจในประเทศ อีกร้อยละ 37 กังวลสถานการณ์เศรษฐกิจในต่างประเทศ โดยเฉพาะวิกฤตทางการเงินที่เกิดขึ้นในอียู อาจส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของนักท่องเที่ยว โดยผลสำรวจจากผู้ประกอบการพบว่า 80% เห็นว่าธุรกิจจะแย่ลงมากจากปัญหาค่าครองชีพขณะที่ 62% เห็นว่าธุรกิจจะแย่ลงมาก จากนโยบายปรับขึ้นค่าแรงงานขั้นต่ำ ”
หวั่นการเมืองยิ่งฉุดดัชนีต่ำ
นายกงกฤช ยังกล่าวว่า จากตัวเลขดังกล่าว บวกกับสถานการณ์ในขณะนี้ ซึ่งมีความคุกรุ่นทางการเมือง โดยส่วนตัวจึงมองว่า น่าจะมีผลทำให้การคาดการณ์ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการในไตรมาสสาม(ก.ค.-ก.ย.55) ยิ่งต่ำลงไปมากกว่าผลการคาดการณ์ไตรมาสสอง เพราะมีปัจจัยลบเพิ่มขึ้น คือเรื่องของสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง เพราะ ช่วงไตรมาสสอง ของปี 2553ซึ่งขณะนั้น มีการชุมนุมทางการเมืองของกลุ่มเสื้อแดงมีภาพของความรุนแรง ทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการท่องเที่ยวขณะนั้นลดต่ำลงมาอยู่ที่ 33 เท่านั้นทั้งที่คาดการณ์ว่าจะอยู่ที่ 90