คลังหวังพ.ร.บ.ร่วมทุนใหม่หนุนโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐานมูลค่า 3.3 ล้านล้านบาท เกิดเร็วขึ้น พร้อมเอื้อภาคอสังหาฯโตตาม ด้านเอกชนแนะรัฐแก้กฎหมายหนุนธุรกิจอสังหาฯ รับมือ AEC ขณะที่บิ๊กแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ แนะลงทุนพัฒนาระบบไอที - บุคคลากรเสริมความแข็งแกร่ง
วานนี้ (31 พ.ค.55) บริษัท เซ็นจูรี่ 21 เรียลตี้ แอฟฟิลิเอทส์ ประเทศไทย จำกัด ร่วมกับบริษัท พร็อพเพอร์ แชแนล จำกัด จัดสัมมนาใหญ่ในหัวข้อ "ทิศทางเศรษฐกิจ-ทิศทางอสังหาริมทรัพย์ไทย" หวังสร้างความตื่นตัวด้านการแข่งขันและการพัฒนาของภาคธุรกิจอสังหาฯให้ดีขึ้น เตรียมรองรับการขยายตัวด้านกำลังซื้อรวมถึงแนวโน้มที่จะเป็นตัวแปรสำคัญในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจไทยในอนาคต
นายกุลิศ สมบัติศิริ ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง เปิดเผยถึงความคืบหน้าของการแก้ไขพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงาน หรือดำเนินการในกิจการของรัฐ (PPP) ว่า ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว หรือวาระที่ 1 ขณะนี้อยู่ระหว่างรัฐสภาตั้งคณะกรรมการพิจารณา ซึ่งถือว่าเร็วกว่าที่คาดไว้ และเชื่อว่าจะพิจารณาแล้วเสร็จและประกาศใช้ได้ภายในปีนี้ เพราะพ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวเสนอโดยพรรคฝ่ายค้าน ซึ่งเป็นรัฐบาลในขณะนั้นจึงเชื่อว่าจะไม่คัดค้านจนทำให้การแก้ไขพ.ร.บ.ล่าช้า
ทั้งนี้พ.ร.บ.ฯ ฉบับใหม่จะทำให้ระยะเวลาในการพิจารณาการร่วมทุนทำได้รวดเร็วขึ้น จากเดิมที่ต้องยื่นให้กฤษฎีกาพิจารณาความ ซึ่งใช้ระยะเวลานาน แต่พ.ร.บ.ใหม่ จะมีหนังสือคู่มือประกอบการพิจารณาโครงการร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน ซึ่งหน่วยงานรัฐสามารถร่างทีโออาร์ได้เลย
นอกจากนี้ พ.ร.บ.ฉบับใหม่จะชวยให้โครงการสาธารณูปโภค มูลค่า 3.3 ล้านล้านบาท ตามแผนพัฒนา 10 ปี สามารถเกิดได้เร็วขึ้น หากมีภาคเอกชนที่มีความสามารถและเงินทุนเข้ามาช่วยพัฒนา และหากระบบสาธารณูปโภคดังกล่าวเกิดขึ้นก็จะช่วยให้การลงทุนภาคอสังหาริมทรัพย์ หรือโครงการที่อยู่อศัยต่างๆ กระจายตัวตามโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐาน แทนที่จะเกาะเฉพาะระบบแมสทรานซิสเชนในปจจุบัน
**หนุนแก้กม.เอื้ออสังหาฯรับมือAEC***
นายธงชัย บุศราพันธ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โนเบิล ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า หลักในการดำเนินธุรกิจอสังหาฯให้ประสบความสำเร็จคือ ต้องรู้ว่าแนวโน้มตลาดกำลังไปในทิศทางใด อาทิ กฏระเบียบ compare FAR between cities หรือข้อบังคับการใช้ที่ดิน คือการรับรู้ว่าที่ดินของเราสามารถดำเนินโครงการได้มาก-น้อยแค่ไหน อาทิ ที่ดินย่านคลองเตยที่ปัจจุบันไม่ต้องทำเป็นท่าเรือเสมอไป เพื่อชักจูงใจกลุ่มนัหลงทุน นักพัฒนาที่ดิน รวมไปถึงกฎหมายควบคุมอาคารเกี่ยวกับที่จอดรถที่ปัจจุบันกำหนดว่า 200 ตารางเมตรต้อฃมีที่จอดรถ 1คัน ซึ่งปัจจุบันผู้บริโภคมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจากการคมนาคมที่สะดวกมากขึ้น สังเกตได้จากคอนโดมิเนียมใกล้ BTS มีที่จอดรถประมาณ 60% ของจำนวนห้อง แต่ปรากฏว่าที่จอดรถในชั้น 3 ขึ้นไปมีผู้จอดไม่เต็มพื้นที่
“หากรัฐบาลปรับเปลี่ยนกฎข้อนี้ได้ จะช่วยให้ต้นทุนการก่อสร้างลดลง และจะมีผลต่อราคาขายในแต่ละยูนิตให้ถูกลงด้วย ทั้งนี้ส่วนตัวมองว่าตลาดคอนโดฯในปีนี้ยังโตได้อย่างต่อเนื่อง ราคาจะปรับเพิ่มขึ้นแต่ขนาดห้องจะลดเล็กลง แนวโน้มการซื้อเพื่อปล่อยเช่าจะลดน้อยลง แต่จะได้กำไรดีในอนาคตเหมาะกับการลงทุนในระยะยาวมากกว่า คาดในอนาคตอัตราเงินดาวน์จะลดลงจากเดิม 10% จะอยู่ที่ 8-9% เท่านั้น” นายธงชัยกล่าว
ด้านนายเจมส์ ดูอัน กรรมการผู้จัดการ บริษัทเฟรเกรนท์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด กล่าวว่า เศรษฐกิจของไทยมีแนวโน้มเติบโตขึ้นเรื่อยๆ แต่ร่างผังเมืองใหม่บังคับความกว้างของถนนเพิ่มขึ้นจะส่งผลกระทบต่อภาคอสังหาฯอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งนี้มองว่าไทยจะได้ประโยชน์จากการเปิดเขตการค้าเสรีมากกว่าเสีย เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยมีความได้เปรียบด้านการท่องเที่ยว การค้า การพยาบาล ส่วนภาคอสังหาฯก็เช่นกัน เพราะอสังหาฯของไทยถือว่าถูกเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ อีกทั้งยังมีความเจริญด้านการก่อสร้าง เทคโนโลยีมากกว่าประเทศเพื่อนบ้าน
***บิ๊กLHแนะลงทุนไอที-พัฒนาคน**
นายอนันต์ อัศวโภคิน ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการ บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปัจจุบันเศรษฐกิจอยู่ในสภาพมั่นคงและมีเสถียรภาพมาก เงินเฟ้อต่ำ การเติบโตของเศรษฐกิจดี ในภาคอุตสาหกรรมผู้ประกอบมีความรู้ด้านวิชาชีพเพิ่มมากขึ้นจากการจับมือกับคู่ค้าต่างประเทศ สำคัญที่สุดบริษัทที่ประสบความสำเร็จเกิดจากการลงทุนด้านไอทีและฐานข้อมูล งานก่อสร้างต้องพึ่งเทคโนโลยีด้านฟรีแฟบมากขึ้น ผู้ประกอบการบางรายเป็นผู้ผลิตวัสดุ ผู้จำหน่ายและผู้รับเหมาเอง แม้กระทั่งคุณภาพด้านบริการระหว่างขายและหลังการขายดีขึ้น ซึ่งส่วนทางกับคุณภาพของสินค้าที่ยังไม่มีการพัฒนาเท่าที่ควร