กสิกรฯชี้วิกฤตหนี้ยุโรปไม่กระทบเอสเอ็มอีส่งออกมากนัก มีอยู่ในพอร์ตเพียง 10% แต่ต้องจับตาผลกระทบทางอ้อมทั้งศก.รวม อัตราแลกเปลี่ยน ระบุหลังเปิด AEC ต่างชาติฮุบแบงก์ไทย ทำได้ยาก เหตุมีความแข็งแกร่งสูง
นายพัชร สมะลาภา รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) (KBANK) เปิดเผยถึงผลกระทบจากวิฤกตหนี้ในยุโรปต่อผู้ประกอบขนาดกลางและย่อม(เอสเอ็มอี)ว่า วิกฤตดังกล่าว อาจไม่ได้ส่งผลกระทบโดยตรงกับลูกค้าผู้ส่งออกกลุ่มเอสเอ็มอี เนื่องจากลูกค้ากลุ่มดังกล่าวที่ส่งสินค้าออกไปยังยุโรปมีสัดส่วนเพียง 10% ของสินเชื่อเอสเอ็มอีของธนาคารเท่านั้น แต่ส่วนที่ต้องติดตามเป็นผลทางอ้อมที่กระทบด้านเศรษฐกิจ การเงิน และอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งเป็นปัญหาเชื่อมโยงต่อระบบเศรษฐกิจโลก และอาจกระทบต่อธุรกิจในภาพกว้าง
อย่างไรก็ตาม ธนาคารมั่นใจว่าในช่วงสิ้นปี 2555 นี้การเติบโตของสินเชื่อเอสเอ็มอีจะเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ระดับ 10-12% หรือคิดเป็นยอดสินเชื่อรวม 4.8 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2554 ที่ยอดคงค้างสินเชื่อเอสเอ็มอีที่ 4.3 แสนล้านบาท โดยคาดว่าในกลางปีนี้สินเชื่อดังกล่าวจะเติบโตได้ที่ 5% ตามเป้าหมายครึ่งปีที่วางไว้
"ประเด็นสำคัญในการพิจารณาลูกค้าเอสเอ็มอีไม่น่าจะมีปัญหามากนัก แต่อาจจะมีความยากในเรื่องการเลือกดูแลลูกค้าบางกลุ่ม ซึ่งในปีนี้ธนาคารไม่ได้ใช้กลยุทธ์เรื่องการรีไฟแนนซ์มากนัก เนื่องจากตลาดมีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน"
ส่วนความกังวลเกี่ยวกับการเปิดเขตเศรษฐกิจเสรีประชาคมอาเซียน(AEC) ในปี 2558 ถึงการเข้ามาลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะการซื้อหุ้นในกลุ่มสถาบันการเงินของไทยนั้น มองว่าอาจมีความเป็นไปได้ที่จะมีการเข้าซื้อหุ้นในกลุ่มสถาบันการเงิน แต่ในทางกลับกันหากมองในเชิงธุรกิจจะเห็นว่าสถาบันการเงินของไทยมีความความเข้าใจถึงพฤติกรรมของลูกค้าภายในประเทศมากกว่านักลงทุนต่างชาติ ดังนั้น หากต้องการเข้ามาถือหุ้นเพื่อต้องการบริหารจัดการระบบการเงินของธนาคาร และเปลี่ยนแปลงระบบภายในให้เชื่อมโยงระหว่างระบบเดิมและระบบของนายทุนคงเป็นไปได้ยาก
นายพัชร สมะลาภา รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) (KBANK) เปิดเผยถึงผลกระทบจากวิฤกตหนี้ในยุโรปต่อผู้ประกอบขนาดกลางและย่อม(เอสเอ็มอี)ว่า วิกฤตดังกล่าว อาจไม่ได้ส่งผลกระทบโดยตรงกับลูกค้าผู้ส่งออกกลุ่มเอสเอ็มอี เนื่องจากลูกค้ากลุ่มดังกล่าวที่ส่งสินค้าออกไปยังยุโรปมีสัดส่วนเพียง 10% ของสินเชื่อเอสเอ็มอีของธนาคารเท่านั้น แต่ส่วนที่ต้องติดตามเป็นผลทางอ้อมที่กระทบด้านเศรษฐกิจ การเงิน และอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งเป็นปัญหาเชื่อมโยงต่อระบบเศรษฐกิจโลก และอาจกระทบต่อธุรกิจในภาพกว้าง
อย่างไรก็ตาม ธนาคารมั่นใจว่าในช่วงสิ้นปี 2555 นี้การเติบโตของสินเชื่อเอสเอ็มอีจะเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ระดับ 10-12% หรือคิดเป็นยอดสินเชื่อรวม 4.8 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2554 ที่ยอดคงค้างสินเชื่อเอสเอ็มอีที่ 4.3 แสนล้านบาท โดยคาดว่าในกลางปีนี้สินเชื่อดังกล่าวจะเติบโตได้ที่ 5% ตามเป้าหมายครึ่งปีที่วางไว้
"ประเด็นสำคัญในการพิจารณาลูกค้าเอสเอ็มอีไม่น่าจะมีปัญหามากนัก แต่อาจจะมีความยากในเรื่องการเลือกดูแลลูกค้าบางกลุ่ม ซึ่งในปีนี้ธนาคารไม่ได้ใช้กลยุทธ์เรื่องการรีไฟแนนซ์มากนัก เนื่องจากตลาดมีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน"
ส่วนความกังวลเกี่ยวกับการเปิดเขตเศรษฐกิจเสรีประชาคมอาเซียน(AEC) ในปี 2558 ถึงการเข้ามาลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะการซื้อหุ้นในกลุ่มสถาบันการเงินของไทยนั้น มองว่าอาจมีความเป็นไปได้ที่จะมีการเข้าซื้อหุ้นในกลุ่มสถาบันการเงิน แต่ในทางกลับกันหากมองในเชิงธุรกิจจะเห็นว่าสถาบันการเงินของไทยมีความความเข้าใจถึงพฤติกรรมของลูกค้าภายในประเทศมากกว่านักลงทุนต่างชาติ ดังนั้น หากต้องการเข้ามาถือหุ้นเพื่อต้องการบริหารจัดการระบบการเงินของธนาคาร และเปลี่ยนแปลงระบบภายในให้เชื่อมโยงระหว่างระบบเดิมและระบบของนายทุนคงเป็นไปได้ยาก