วานนี้ (28 พ.ค.)นายอภินันทน์ อิศรางกูร ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวภายหลัง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 มีผลบังคับใช้เกือบ 1 ปี ว่า 1.ป.ป.ช.ลดจำนวนคดีในความรับผิดชอบ ด้วยการส่งเรื่องไปให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ (ป.ป.ท.) จำนวน 1,722 คดี ให้พนักงานสอบสวนของตำรวจไปอีกจำนวนหนึ่ง 2.ป.ป.ช.ให้เพิกถอนสิทธิที่ดิน 40 คดี ได้เนื้อที่ 9,577 ไร่ รวมมูลค่าความเสียหาย 287.8 ล้านบาท 3.ป.ป.ช.ออกระเบียบ ประกาศ หลักเกณฑ์ และวิธีการที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย ป.ป.ช.ฉบับใหม่ไปแล้ว 17 ฉบับ 4.ป.ป.ช.กำหนดมาตรการเข้าถึงข้อมูล คุ้มครองพยาน และกันคนไว้เป็นพยาน โดยมีการใช้มาตรการเข้าถึงข้อมูลบางส่วน คุ้มครองพยานไปแล้ว 2 ราย และกันคนไว้เป็นพยาน 1 ราย
5.ป.ป.ช.ได้ประกาศให้ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ทำให้เหลือบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบน้อยลงกว่าเดิม เพียงแค่ 35,757 บัญชี 6.ป.ป.ช.ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปบางส่วน 7.ป.ป.ช.กำหนดมาตรการป้องกันการทุจริต อาทิ การเปิดเผยราคากลางและคิดราคากลางไว้บนเว็บไซต์ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างรอ ครม.พิจารณาว่าจะดำเนินการตามมาตรการของ ป.ป.ช.หรือไม่ และ 8.ป.ป.ช.กำหนดตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่ห้ามมิให้ดำเนินกิจการที่อาจเข้าข่ายผลประโยชน์ทับซ้อน ตามกฎหมาย ป.ป.ช.มาตรา 100 โดยให้รวมถึงผู้บริหาร อปท.ด้วย
“สำหรับคดีที่อยู่ในความรับผิดชอบของ ป.ป.ช. ประกอบด้วย คดีทำลายสิ่งแวดล้อม 136 คดี คดีทุจริตบริหารสาธารณะ 672 คดี คดีทุจริตก่อสร้างสถานที่ราชการ 162 คดี คดีฮั้วประมูล 492 คดี คดีละเว้นปฏิบัติหน้าที่ 5,526 คดี คดีร่ำรวยผิดปกติ 28 ดี และคดีอื่นๆ อาทิ ถอดถอน อีก 105 คดี ส่วนการตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน เหลือค้างจากปี 2554 จำนวน 1,704 บัญชี ยื่นใหม่ในปี 2555 จำนวน 2,082 บัญชี ตรวจสอบเสร็จสิ้นแล้ว 35,334 บัญชี และอยู่ระหว่างตรวจสอบ 35,757 บัญชี” นายอภินันทน์กล่าว
พล.อ.อ.วีรวิท คงศักดิ์ อดีตรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด กล่าวในงานสัมมนา 1 ปีกับการปฏิรูปกฎหมาย การป้องกันและปราบปรามการทุจริตเพื่อการปฏิรูปสังคมว่า ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นในขณะนี้ ผู้บังคับบัญชาระดับสูง ไม่มีความเอาใจใส่ในเรื่องนี้ จึงอยากให้ผู้บังคับบัญชาระดับกระทรวง เป็นผู้รับผิดชอบด้วย หากเกิดการคอร์รัปชั่น นอกจากนี้ ยังกล่าวถึงการยื่นแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินด้วยว่า ควรที่จะเปิดเผยต่อสาธารณะชน เพื่อที่จะให้ประชาชนเข้ามาตรวจสอบ ส่วนกฎหมายที่แก้ไขได้มีระเบียบหลักเกณฑ์มารองรับ และสิ่งที่อยากให้เกิดขึ้นในอนาคตคือให้ผู้บังคับบัญชาต้นสังกัด มีความรับผิดชอบต่อการทุจริตภายในหน่วยงานมากขึ้น โดยกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ต้องเข้ามาดูแล ทั้งนี้หากเป็นไปได้อยากให้ข้าราชการทุกคนยื่นแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินทุกคน
5.ป.ป.ช.ได้ประกาศให้ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ทำให้เหลือบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบน้อยลงกว่าเดิม เพียงแค่ 35,757 บัญชี 6.ป.ป.ช.ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปบางส่วน 7.ป.ป.ช.กำหนดมาตรการป้องกันการทุจริต อาทิ การเปิดเผยราคากลางและคิดราคากลางไว้บนเว็บไซต์ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างรอ ครม.พิจารณาว่าจะดำเนินการตามมาตรการของ ป.ป.ช.หรือไม่ และ 8.ป.ป.ช.กำหนดตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่ห้ามมิให้ดำเนินกิจการที่อาจเข้าข่ายผลประโยชน์ทับซ้อน ตามกฎหมาย ป.ป.ช.มาตรา 100 โดยให้รวมถึงผู้บริหาร อปท.ด้วย
“สำหรับคดีที่อยู่ในความรับผิดชอบของ ป.ป.ช. ประกอบด้วย คดีทำลายสิ่งแวดล้อม 136 คดี คดีทุจริตบริหารสาธารณะ 672 คดี คดีทุจริตก่อสร้างสถานที่ราชการ 162 คดี คดีฮั้วประมูล 492 คดี คดีละเว้นปฏิบัติหน้าที่ 5,526 คดี คดีร่ำรวยผิดปกติ 28 ดี และคดีอื่นๆ อาทิ ถอดถอน อีก 105 คดี ส่วนการตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน เหลือค้างจากปี 2554 จำนวน 1,704 บัญชี ยื่นใหม่ในปี 2555 จำนวน 2,082 บัญชี ตรวจสอบเสร็จสิ้นแล้ว 35,334 บัญชี และอยู่ระหว่างตรวจสอบ 35,757 บัญชี” นายอภินันทน์กล่าว
พล.อ.อ.วีรวิท คงศักดิ์ อดีตรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด กล่าวในงานสัมมนา 1 ปีกับการปฏิรูปกฎหมาย การป้องกันและปราบปรามการทุจริตเพื่อการปฏิรูปสังคมว่า ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นในขณะนี้ ผู้บังคับบัญชาระดับสูง ไม่มีความเอาใจใส่ในเรื่องนี้ จึงอยากให้ผู้บังคับบัญชาระดับกระทรวง เป็นผู้รับผิดชอบด้วย หากเกิดการคอร์รัปชั่น นอกจากนี้ ยังกล่าวถึงการยื่นแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินด้วยว่า ควรที่จะเปิดเผยต่อสาธารณะชน เพื่อที่จะให้ประชาชนเข้ามาตรวจสอบ ส่วนกฎหมายที่แก้ไขได้มีระเบียบหลักเกณฑ์มารองรับ และสิ่งที่อยากให้เกิดขึ้นในอนาคตคือให้ผู้บังคับบัญชาต้นสังกัด มีความรับผิดชอบต่อการทุจริตภายในหน่วยงานมากขึ้น โดยกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ต้องเข้ามาดูแล ทั้งนี้หากเป็นไปได้อยากให้ข้าราชการทุกคนยื่นแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินทุกคน