ASTVผู้จัดการรายวัน-ลุ้นวันนี้! ป.ป.ช.ชุดใหญ่ พิจารณาคดีอดีตปลัดคมนาคมร่ำรวยผิดปกติ ส่อถึงขั้นยึดทรัพย์สินเป็นของแผ่นดิน ส่วน "สุพจน์” ชิงลาออกรับบำเหน็จบำนาญไม่มีผลกับคดี ด้าน “วิชา” รับฝ่ายค้าน-ฝ่ายรัฐบาล วิ่งเต้นฝุ่นตลบคุกคามศาลการเมือง
วานนี้ (23 พ.ค.) ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ถนนพิษณุโลก นายวรวิทย์ สุขบุญ รองเลขาธิการ ป.ป.ช. ในฐานะอนุกรรมการไต่สวนคดีนายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม ร่ำรวยผิดปกติ ปกปิดบัญชีทรัพย์สินและทุจริตในหน้าที่ ให้สัมภาษณ์ว่า ในวันนี้ (24 พ.ค.) อนุกรรมการฯ จะส่งสำนวนไต่สวนคดีร่ำรวยผิดปกติของนายสุพจน์ ต่อที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช.ชุดใหญ่ เพื่อพิจารณา ส่วนผลจะเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของกรรมการ ป.ป.ช.
ผู้สื่อข่าวถามว่า การลาออกของนายสุพจน์มีผลต่อคดีหรือไม่ นายวรวิทย์ กล่าวว่า ไม่มีผลต่อการพิจารณาคดีของกรรมการ ป.ป.ช.แต่อย่างใด ซึ่งทางคณะอนุกรรมการฯ ได้รวบรวมพยานหลักฐานเสนอต่อกรรมการ ป.ป.ช. ไปอย่างครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว โดยแนวทางที่กรรมการ ป.ป.ช. จะวินิจฉัยในที่ประชุมใหญ่นั้น ก็อาจจะมีมติให้ยุติเรื่อง ชี้มูลความผิด หรือให้อนุกรรมการฯ ไปไต่สวนพยานหลักฐานเพิ่มเติมก็ได้
เมื่อถามว่าคดีดังกล่าวเกี่ยวกับการขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินหรือไม่ นายวรวิทย์ กล่าวว่า ถูกต้อง เมื่อถามย้ำว่าแสดงว่า หากชี้มูลแล้ว มีความผิด อาจต้องมีการยึดทรัพย์นายสุพจน์ใช่หรือไม่ นายวรวิทย์ กล่าวว่า ขอให้รอฟังผลการประชุม ป.ป.ช.ในวันที่ 24 พ.ค.ก่อนดีกว่า
นายวรวิทย์กล่าวอีกว่า สำหรับประเด็นร่ำรวยผิดปกติ อนุกรรมการฯ ได้ให้โอกาสนายสุพจน์มาชี้แจงหมดแล้ว ส่วนเรื่องการตรวจสอบทรัพย์สิน คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จประมาณเดือนส.ค.นี้ และกรณีทุจริตในหน้าที่ คาดว่าปลายปี ก็น่าจะแล้วเสร็จ ต่อข้อถามว่า คดีของนายสุพจน์อาจเกี่ยวโยงถึงการเมือง ทำให้การทำงานของอนุกรรมการฯ และกรรมการ ป.ป.ช.กดดันหรือไม่ นายวรวิทย์ กล่าวว่า เป็นเรื่องธรรมดา เพราะประชาชนคาดหวังการทำงานของ ป.ป.ช.หรืออนุกรรมการฯ ที่เกี่ยวข้อง และถึงแม้ว่า นายสุพจน์จะลาออก ก็ไม่ได้มีการตัดอำนาจของ ป.ป.ช. ดังนั้น ป.ป.ช.สามารถดำเนินการไต่สวนต่อไปได้
รายงานข่าวแจ้งว่า นายสุพจน์ ได้ยื่นหนังสือถึงนายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.คมนาคม ขอลาออกจากปลัดกระทรวงคมนาคม โดยเมื่อวันที่ 21 พ.ค.2555 นายจารุพงศ์ได้ลงนามในคำสั่งกระทรวงคมนาคม และอนุญาตให้นายสุพจน์ ที่มีเงินเดือน 69,810 บาท ให้ได้รับบำเหน็จบำนาญ ตามพ.ร.บ.กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
มีรายงานว่า จะมีการเสนอชื่อนายศิลปชัย จารุเกษมรัตนะ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ขึ้นเป็นปลัดกระทรวงคมนาคมคนใหม่ โดยจะเกษียณอายุในเดือนก.ย.2555 นี้
วันเดียวกัน ป.ป.ช. ได้จัดประชุมเสวนาเรื่อง บทบาทของฝ่ายตุลาการในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต กรณีศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
นายประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช อาจารย์คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ เสนอโครงการวิจัย บทบาทของฝ่ายตุลาการในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต กรณีศึกษาเปรียบเทียบกับต่างประเทศ กรณีศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยมีข้อเสนอหากจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ให้มีการจัดตั้งศาลอุทธรณ์ในแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองขึ้นมา เพื่อให้ผู้ต้องคำพิพากษามีสิทธิอุทธรณ์ โดยลดองค์คณะเหลือเพียง 5 คน จากเดิมที่มีอยู่ 9 คน แต่หากไม่มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็ให้ผู้ต้องคำพิพากษามีสิทธิยื่นอุทธรณ์ต่อที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา แต่เฉพาะข้อขัดแย้งในทางกฎหมายเท่านั้น
นายวิชา มหาคุณ กรรมการ ป.ป.ช. กล่าวว่า คดีของนักการเมือง มีความซับซ้อนตั้งแต่เริ่มระบบการสรรหาไต่สวน เนื่องจากมีอำนาจอิทธิพลกดดันคณะกรรมการ หากศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองไม่เข้าใจ ก็อาจจะตัดสินคดีได้ไม่ตรงตามเจตนารมณ์ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ดังนั้น จะแยกกระบวนการส่วนหนึ่งส่วนใดออกจากกันไม่ได้
“ผู้ดำรงตำแหน่งพิพากษาศาลฎีกาถูกคุกคาม บางครั้งไม่ได้คุกคามโดยตรง แต่อาจจะมาในรูปแบบของการเชิญไปกินข้าว หรือไปหาโดยไม่รู้ตัว เพื่อมาขอให้ช่วยนักการเมือง เหมือนกันหมด ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายค้าน หรือฝ่ายรัฐบาล เพราะกลัวถูกตัดสิทธิทางการเมือง ซึ่งถือเป็นการตัดทางการทำมาหากิน”นายวิชากล่าว
วานนี้ (23 พ.ค.) ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ถนนพิษณุโลก นายวรวิทย์ สุขบุญ รองเลขาธิการ ป.ป.ช. ในฐานะอนุกรรมการไต่สวนคดีนายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม ร่ำรวยผิดปกติ ปกปิดบัญชีทรัพย์สินและทุจริตในหน้าที่ ให้สัมภาษณ์ว่า ในวันนี้ (24 พ.ค.) อนุกรรมการฯ จะส่งสำนวนไต่สวนคดีร่ำรวยผิดปกติของนายสุพจน์ ต่อที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช.ชุดใหญ่ เพื่อพิจารณา ส่วนผลจะเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของกรรมการ ป.ป.ช.
ผู้สื่อข่าวถามว่า การลาออกของนายสุพจน์มีผลต่อคดีหรือไม่ นายวรวิทย์ กล่าวว่า ไม่มีผลต่อการพิจารณาคดีของกรรมการ ป.ป.ช.แต่อย่างใด ซึ่งทางคณะอนุกรรมการฯ ได้รวบรวมพยานหลักฐานเสนอต่อกรรมการ ป.ป.ช. ไปอย่างครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว โดยแนวทางที่กรรมการ ป.ป.ช. จะวินิจฉัยในที่ประชุมใหญ่นั้น ก็อาจจะมีมติให้ยุติเรื่อง ชี้มูลความผิด หรือให้อนุกรรมการฯ ไปไต่สวนพยานหลักฐานเพิ่มเติมก็ได้
เมื่อถามว่าคดีดังกล่าวเกี่ยวกับการขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินหรือไม่ นายวรวิทย์ กล่าวว่า ถูกต้อง เมื่อถามย้ำว่าแสดงว่า หากชี้มูลแล้ว มีความผิด อาจต้องมีการยึดทรัพย์นายสุพจน์ใช่หรือไม่ นายวรวิทย์ กล่าวว่า ขอให้รอฟังผลการประชุม ป.ป.ช.ในวันที่ 24 พ.ค.ก่อนดีกว่า
นายวรวิทย์กล่าวอีกว่า สำหรับประเด็นร่ำรวยผิดปกติ อนุกรรมการฯ ได้ให้โอกาสนายสุพจน์มาชี้แจงหมดแล้ว ส่วนเรื่องการตรวจสอบทรัพย์สิน คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จประมาณเดือนส.ค.นี้ และกรณีทุจริตในหน้าที่ คาดว่าปลายปี ก็น่าจะแล้วเสร็จ ต่อข้อถามว่า คดีของนายสุพจน์อาจเกี่ยวโยงถึงการเมือง ทำให้การทำงานของอนุกรรมการฯ และกรรมการ ป.ป.ช.กดดันหรือไม่ นายวรวิทย์ กล่าวว่า เป็นเรื่องธรรมดา เพราะประชาชนคาดหวังการทำงานของ ป.ป.ช.หรืออนุกรรมการฯ ที่เกี่ยวข้อง และถึงแม้ว่า นายสุพจน์จะลาออก ก็ไม่ได้มีการตัดอำนาจของ ป.ป.ช. ดังนั้น ป.ป.ช.สามารถดำเนินการไต่สวนต่อไปได้
รายงานข่าวแจ้งว่า นายสุพจน์ ได้ยื่นหนังสือถึงนายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.คมนาคม ขอลาออกจากปลัดกระทรวงคมนาคม โดยเมื่อวันที่ 21 พ.ค.2555 นายจารุพงศ์ได้ลงนามในคำสั่งกระทรวงคมนาคม และอนุญาตให้นายสุพจน์ ที่มีเงินเดือน 69,810 บาท ให้ได้รับบำเหน็จบำนาญ ตามพ.ร.บ.กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
มีรายงานว่า จะมีการเสนอชื่อนายศิลปชัย จารุเกษมรัตนะ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ขึ้นเป็นปลัดกระทรวงคมนาคมคนใหม่ โดยจะเกษียณอายุในเดือนก.ย.2555 นี้
วันเดียวกัน ป.ป.ช. ได้จัดประชุมเสวนาเรื่อง บทบาทของฝ่ายตุลาการในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต กรณีศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
นายประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช อาจารย์คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ เสนอโครงการวิจัย บทบาทของฝ่ายตุลาการในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต กรณีศึกษาเปรียบเทียบกับต่างประเทศ กรณีศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยมีข้อเสนอหากจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ให้มีการจัดตั้งศาลอุทธรณ์ในแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองขึ้นมา เพื่อให้ผู้ต้องคำพิพากษามีสิทธิอุทธรณ์ โดยลดองค์คณะเหลือเพียง 5 คน จากเดิมที่มีอยู่ 9 คน แต่หากไม่มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็ให้ผู้ต้องคำพิพากษามีสิทธิยื่นอุทธรณ์ต่อที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา แต่เฉพาะข้อขัดแย้งในทางกฎหมายเท่านั้น
นายวิชา มหาคุณ กรรมการ ป.ป.ช. กล่าวว่า คดีของนักการเมือง มีความซับซ้อนตั้งแต่เริ่มระบบการสรรหาไต่สวน เนื่องจากมีอำนาจอิทธิพลกดดันคณะกรรมการ หากศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองไม่เข้าใจ ก็อาจจะตัดสินคดีได้ไม่ตรงตามเจตนารมณ์ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ดังนั้น จะแยกกระบวนการส่วนหนึ่งส่วนใดออกจากกันไม่ได้
“ผู้ดำรงตำแหน่งพิพากษาศาลฎีกาถูกคุกคาม บางครั้งไม่ได้คุกคามโดยตรง แต่อาจจะมาในรูปแบบของการเชิญไปกินข้าว หรือไปหาโดยไม่รู้ตัว เพื่อมาขอให้ช่วยนักการเมือง เหมือนกันหมด ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายค้าน หรือฝ่ายรัฐบาล เพราะกลัวถูกตัดสิทธิทางการเมือง ซึ่งถือเป็นการตัดทางการทำมาหากิน”นายวิชากล่าว