"TPARK"เครือไทคอนฯระบุแผน 3 ปี ทุ่มลงทุนพัฒนาโกดังคลังสินค้าภาคตะวันออก -อีสเทิร์นซีบอร์ด รองรับความต้องการเช่าพื้นที่ของกลุ่มอุตฯ รวมถึงเป็นแหล่งสำรองวัตถุดิบ ระบุโชคดีตุนที่ดินก่อนเหตุน้ำท่วม พร้อมพัฒนาบริหาร 4 โครงการโลจิสติคส์บนเนื้อที่ 700 ไร่ เงินลงทุนมากกว่า 3,000 ล้านบาท แย้มศึกษาแผนลงทุนภาคเหนือ และอีสาน เล็งลงทุนประเทศเพื่อนบ้าน
นายปธาน สมบูรณสิน ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ไทคอน โลจิสติคส์ พาร์ค จำกัด (TPARK) ผู้ประกอบการพัฒนาและให้เช่าเขตอุตสาหกรรมโลจิสติคส์รายใหญ่ ในเครือ ไทคอน อินดัสเทรียล คอนเน็คชั่น จำกัด (มหาชน)
(TICON) เปิดเผยว่า หลังผ่านเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ช่วงปลายปี ทางบริษัทฯได้เข้าไปฟื้นฟูและซ่อมแซมคลังสินค้าให้แก่ลูกค้า ที่ประสบอุทกภัยน้ำท่วม ซึ่งได้ดำเนินการแล้วเสร็จมาระยะหนึ่ง โดยลูกค้าเริ่มการผลิตสินค้าได้แล้ว
อย่างไรก็ดี ในด้านการลงทุนในพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมนั้น ภาคอุตฯต่างๆ กำลังรอความชัดเจนและติดตามผลของนโยบายของภาครัฐในการป้องกันน้ำท่วมว่าในระยะ 1-2 ปีจะเป็นอย่างไรบ้าง
สำหรับนโยบายของการลงทุนและขยายตลาดเกี่ยวกับโครงการโลจิสติคส์นั้น นายปธาน ชี้ว่า จากนี้ไป 3 ปี ( เริ่มปี 2555-2557 ) บริษัทฯจะให้น้ำหนักในการพัฒนาและลงทุนโครงการคลังสินค้าโซนภาคตะวันออกและ
บริเวณอีสเทิร์นซีบอร์ดให้มากขึ้น เนื่องจากมีการเติบโตของลงทุนในภาคอุตฯต่างๆจำนวนมาก ประกอบกับมีท่าเรือรองรับการส่งออก อีกทั้งไม่เจอน้ำท่วมใหญ่
" ตอนนี้มีโครงการใหม่ที่ดำเนินการอยู่ 4 โครงการ ทำให้มีโครงการที่อยู่ในพอร์ตรวม 13 โครงการ โดยโครงการใหม่ที่ดำเนินการ ใช้เงินลงทุนมากกว่า 3,000 ล้านบาท แบ่งเฟสของการพัฒนาโกดังคลังสินค้า คาดว่าภาย
ใน 3 ปีจะมีพื้นที่คลังสินค้าเกือบ 5 แสนตารางเมตร และต้องถือว่าบริษัทโชคดี ได้ซื้อที่ดินก่อนน้ำท่วมประมาณ 700 ไร่ ทำให้ต้นทุนไม่สูง โดยคลังสินค้าที่ดำเนินการจะรองรับกลุ่มลูกค้าชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า ส่วนใหญ่จะเป็นลูกค้าที่มาจากประเทศสัดส่วน 95% อุตฯของคนไทยเพียง 5% ซึ่ง ลูกค้าให้ความสนใจในการเข้ามาเช่าคลังสินค้า เนื่องจากผู้เช่าสามารถดำเนินกิจการได้ทันที ขณะเดียวกัน การขยายพื้นที่ลงทุน เพื่อรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC แต่ถึงกระนั้น " นายปธานกล่าว
นอกจากนี้ ในแผนระยะ 3 ปี ทางบริษัทกำลังมองหาลู่ทาง เข้าไปลงทุนและพัฒนาโครงการโลจิสติคส์และคลังสินค้าสำหรับเช่าในภาคเหนือและภาคอีสาน เนื่องจากเศรษฐกิจมีขนาดใหญ่ มีการลงทุนของภาคอุตฯขนาดใหญ่
มีห้างสรรพสินค้า ภาคการเกษตรขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้แรงงานไม่มีการย้ายถิ่นฐานเข้าสู่ศูนย์กลางเศรษฐกิจของกรุงเทพฯ นอกจากนี้ ยังศึกษาถึงความเป็นไปได้ลงทุนประเทศเพื่อนบ้าน
" ในประเด็นการเกิดขึ้นของโครงการท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวายในประเทศพม่า จะทำให้นักลงทุนและภาคอุตฯมีการย้ายไปยังทวายนั้น คงอีกระยะหนึ่ง เนื่องจากการพัฒนาระบบโครงข่ายและสาธารณูปโภค
จะต้องใช้เวลาที่นาน ซึ่งต้องรอดูอีก 5 ปีข้างหน้า โครงการดังกล่าวจะเป็นอย่างไรบ้าง แต่หากมีโครงการที่สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจของTPARK ก็อาจจะเข้าไปศึกษาเพื่อมองหาโอกาสทางธุรกิจก็ได้ "
นายปธาน สมบูรณสิน ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ไทคอน โลจิสติคส์ พาร์ค จำกัด (TPARK) ผู้ประกอบการพัฒนาและให้เช่าเขตอุตสาหกรรมโลจิสติคส์รายใหญ่ ในเครือ ไทคอน อินดัสเทรียล คอนเน็คชั่น จำกัด (มหาชน)
(TICON) เปิดเผยว่า หลังผ่านเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ช่วงปลายปี ทางบริษัทฯได้เข้าไปฟื้นฟูและซ่อมแซมคลังสินค้าให้แก่ลูกค้า ที่ประสบอุทกภัยน้ำท่วม ซึ่งได้ดำเนินการแล้วเสร็จมาระยะหนึ่ง โดยลูกค้าเริ่มการผลิตสินค้าได้แล้ว
อย่างไรก็ดี ในด้านการลงทุนในพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมนั้น ภาคอุตฯต่างๆ กำลังรอความชัดเจนและติดตามผลของนโยบายของภาครัฐในการป้องกันน้ำท่วมว่าในระยะ 1-2 ปีจะเป็นอย่างไรบ้าง
สำหรับนโยบายของการลงทุนและขยายตลาดเกี่ยวกับโครงการโลจิสติคส์นั้น นายปธาน ชี้ว่า จากนี้ไป 3 ปี ( เริ่มปี 2555-2557 ) บริษัทฯจะให้น้ำหนักในการพัฒนาและลงทุนโครงการคลังสินค้าโซนภาคตะวันออกและ
บริเวณอีสเทิร์นซีบอร์ดให้มากขึ้น เนื่องจากมีการเติบโตของลงทุนในภาคอุตฯต่างๆจำนวนมาก ประกอบกับมีท่าเรือรองรับการส่งออก อีกทั้งไม่เจอน้ำท่วมใหญ่
" ตอนนี้มีโครงการใหม่ที่ดำเนินการอยู่ 4 โครงการ ทำให้มีโครงการที่อยู่ในพอร์ตรวม 13 โครงการ โดยโครงการใหม่ที่ดำเนินการ ใช้เงินลงทุนมากกว่า 3,000 ล้านบาท แบ่งเฟสของการพัฒนาโกดังคลังสินค้า คาดว่าภาย
ใน 3 ปีจะมีพื้นที่คลังสินค้าเกือบ 5 แสนตารางเมตร และต้องถือว่าบริษัทโชคดี ได้ซื้อที่ดินก่อนน้ำท่วมประมาณ 700 ไร่ ทำให้ต้นทุนไม่สูง โดยคลังสินค้าที่ดำเนินการจะรองรับกลุ่มลูกค้าชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า ส่วนใหญ่จะเป็นลูกค้าที่มาจากประเทศสัดส่วน 95% อุตฯของคนไทยเพียง 5% ซึ่ง ลูกค้าให้ความสนใจในการเข้ามาเช่าคลังสินค้า เนื่องจากผู้เช่าสามารถดำเนินกิจการได้ทันที ขณะเดียวกัน การขยายพื้นที่ลงทุน เพื่อรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC แต่ถึงกระนั้น " นายปธานกล่าว
นอกจากนี้ ในแผนระยะ 3 ปี ทางบริษัทกำลังมองหาลู่ทาง เข้าไปลงทุนและพัฒนาโครงการโลจิสติคส์และคลังสินค้าสำหรับเช่าในภาคเหนือและภาคอีสาน เนื่องจากเศรษฐกิจมีขนาดใหญ่ มีการลงทุนของภาคอุตฯขนาดใหญ่
มีห้างสรรพสินค้า ภาคการเกษตรขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้แรงงานไม่มีการย้ายถิ่นฐานเข้าสู่ศูนย์กลางเศรษฐกิจของกรุงเทพฯ นอกจากนี้ ยังศึกษาถึงความเป็นไปได้ลงทุนประเทศเพื่อนบ้าน
" ในประเด็นการเกิดขึ้นของโครงการท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวายในประเทศพม่า จะทำให้นักลงทุนและภาคอุตฯมีการย้ายไปยังทวายนั้น คงอีกระยะหนึ่ง เนื่องจากการพัฒนาระบบโครงข่ายและสาธารณูปโภค
จะต้องใช้เวลาที่นาน ซึ่งต้องรอดูอีก 5 ปีข้างหน้า โครงการดังกล่าวจะเป็นอย่างไรบ้าง แต่หากมีโครงการที่สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจของTPARK ก็อาจจะเข้าไปศึกษาเพื่อมองหาโอกาสทางธุรกิจก็ได้ "