ศูนย์ข่าวศรีราชา-สตม. ร่วมกับ ตม.ชลบุรี ขยายผลทลายแก๊งคอลเซ็นเตอร์ชาวจีนอีกรอบ จับผู้ต้องหาได้ 7 คน พร้อมของกลางจำนวนมาก เผยมูลค่าความเสียหายมากว่า 200 ล้าน แต่ถ้ารวมผลงานทั้งแก๊งเกี่ยวโยงหลายประเทศ คาดไม่ต่ำกว่าพันล้านบาท ด้าน ปอศ. รอรับผู้ต้องหาคนไทยที่ร่วมแก๊ง 9 คน หลังจีนจับแล้วส่งกลับ
วานนี้ (17 พ.ค.) พ.ต.อ.ชาติชาย เอี่ยมแสง รองผู้บังคับการสืบสวนสำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมือง จ.ชลบุรี (สตม.) พร้อมด้วยกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดสืบสวน สตม. และชุดสืบสวน ตม.ชลบุรี ได้นำหมายศาลจังหวัดพัทยาเลขที่ ค.202/2555 ลงวันที่ 17 พ.ค.2555 เข้าตรวจค้นบ้านเลขที่ 65/2 ม.2 ต.หนองปลาไหล อ.บางละมุง จ.ชลบุรี หลังสืบทราบว่าเป็นศูนย์คอลเซ็นเตอร์ที่ที่ทำการหลอกโอนเงินข้ามชาติ มีชาวจีนกว่า 20 คนอาศัยอยู่
ในที่เกิดเหตุ เป็นบ้านหรู 2 ชั้น มีรั้วล้อมรอบมิดชิด เนื้อที่กว่า 50 ตารางวา หน้าประตูพบมีกล้องวงจรปิด 2 ตัว เมื่อเข้าตรวจสอบชั้นล่างพบแม่บ้านจำนวน 2 คน ชื่อนางหยี่ซัว แซ่หลี อายุ 51 ปี ชาวจีน และน.ส.เสี่ยวปลิง แซ่หลิว อายุ 37 ปี
จากนั้นขึ้นไปตรวจบนชั้นที่ 2 ซึ่งมีจำนวน 4 ห้อง โดยเป็นห้องนอน 3 ห้อง และห้องทำงานที่มีโต๊ะทำงานจำนวน 13 โต๊ะ แต่ละโต๊ะมีโทรศัพท์ที่ใช้แบบอินเทอร์เน็ตข้ามประเทศ เครื่องคิดเลข รวมทั้งวิธีการทำงาน บทพูด โดยพบชาวจีน 7 คน เป็นชาย 4 คน และหญิง 3 คน โดยมีนายเหลียว จาง เฉิน อายุ 33 ปี ชาวจีนเป็นหัวหน้าแก๊ง เจ้าหน้าที่จึงควบคุมตัวทั้งหมดไปสอบสวน และตรวจยึดของกลางทั้งหมดมีโทรศัพท์ เครื่องคิดเลข โน้ตบุ๊ก เครื่องปรินต์ เครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ
เจ้าหน้าที่เผยว่า การเข้าตรวจค้น และจับกุมแก๊งคอลเซ็นเตอร์ในครั้งนี้ สืบเนื่องจากการขยายผลจากครั้งที่แล้วที่จับได้ประมาณ 22 คน มูลค่ากว่า 200 ล้านบาท และในครั้งนี้ คนในแก๊งคาดว่าจะมีเกิน 25 คนขึ้นไป ซึ่งสามารถหลบหนีไปก่อนที่ตำรวจเข้าจับกุม และมูลค่าเสียหายน่าจะมากกว่า 200 ล้านบาท
นอกจากนี้ สำหรับแก๊งคอลเซ็นเตอร์ดังกล่าวทาง สตม. ได้ประสานกับสอบสวนกลางจะเข้าค้นทั้งหมด 7 จุดทั่วประเทศไทย และที่ต่างประเทศด้วย โดยสามารถจับคนไทยที่ไปทำลักษณะเดียวกัน ซึ่งมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นกับ 4-5 ประเทศ ประมาณกว่าพันล้านบาท โดยมีประเทศที่ได้รับความเสียหาย คือ จีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น ไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย
ส่วนผู้ร่วมขบวนการที่เหลือที่หลบหนีไปก่อนหน้าทาง สตม.จะทำการสอบสวนคนร้ายที่จับกุมได้ในครั้งนี้ เพื่อขยายผลติดตามจับกุม ร่วมทั้งสืบสวนจับกุมแก๊งคลอเซ็นเตอร์ที่เหลือทั้งหมดที่ใช้พื้นที่ในเมืองไทยเป็นศูนย์ดำเนินการหลอกลวง มาดำเนินคดีตามกฏหมายต่อไป
วันเดียวกันนี้ พ.ต.อ.สถิต พรมอุทัย ผกก. 5 กองบังคับการปราบปราม การกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (ปอศ.) พร้อมด้วยตำรวจท่องเที่ยวท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ได้เดินทางมาที่อาคารผู้โดยสารขาเข้าชั้น 2 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เพื่อรับตัว 9 ผู้ต้องหาชาวไทย เป็นหญิง 3 ราย ชาย 6 ราย ผู้ต้องหาร่วมขบวนการแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ที่ถูกทางการของเมืองตงกวน มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน จับกุมเอาไว้ได้เมื่อวันที่ 9 พ.ค. ที่ผ่านมา
พ.ต.อ.สถิต กล่าวว่า คนไทยทั้ง 9 คน เป็นผู้ต้องหาที่ร่วมแก๊งคอลเซ็นเตอร์ทำงานอยู่ที่เมือง ตงกวน มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน มีหัวหน้าแก๊งเป็นชาวไต้หวัน โดยจะให้ผู้ต้องหาทั้งหมดเป็นผู้กดโทรศัพท์สุ่มตามบ้านของเหยื่อในประเทศไทย เมื่อมีผู้รับสาย พนักงานผู้หญิงจะอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคาร พร้อมแจ้งว่ามีการกดเงินจากตู้เอทีเอ็มตามสถานที่ต่างๆ เมื่อผู้เสียหายปฏิเสธ ก็จะอ้างว่าบัญชีอาจถูกขโมยไปใช้ฟอกเงิน หรือเกี่ยวข้องกับยาเสพติด จากนั้นจะมีเสียงผู้ชายโทรศัพท์มาอีกครั้งอ้างว่าเป็นตำรวจชั้นสัญญาบัตรของ ปอศ.บ้าง หรือเป็นเจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) บ้าง เมื่อเหยื่อหลงเชื่อ ก็จะแจ้งว่าผู้เสียหายไม่เกี่ยวข้อง แต่เพื่อป้องกันการถูกขโมยบัญชีอีก จะต้องไปปลดล็อก โดยหลอกให้ไปที่ตู้เอทีเอ็ม ให้ป้อนข้อมูลเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งที่จริงก็คือการหลอกให้โอนเงินเข้าบัญชีของแก๊งคอลเซ็นเตอร์
อย่างไรก็ตาม หนึ่งใน 9 ผู้ต้องหาที่ถูกจับกุมในครั้งนี้ ได้ให้ข้อมูลว่า ถูกหลอกไปทำงาน และไม่อยากทำ แต่ก็ต้องทำ เพราะกลับไม่ได้ อยากเตือนให้ทุกคนที่มีคนมาชวนไปเที่ยวต่างประเทศแบบฟรีๆ อย่าไป จะถูกหลอกไปทำงานแบบนี้ได้
วานนี้ (17 พ.ค.) พ.ต.อ.ชาติชาย เอี่ยมแสง รองผู้บังคับการสืบสวนสำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมือง จ.ชลบุรี (สตม.) พร้อมด้วยกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดสืบสวน สตม. และชุดสืบสวน ตม.ชลบุรี ได้นำหมายศาลจังหวัดพัทยาเลขที่ ค.202/2555 ลงวันที่ 17 พ.ค.2555 เข้าตรวจค้นบ้านเลขที่ 65/2 ม.2 ต.หนองปลาไหล อ.บางละมุง จ.ชลบุรี หลังสืบทราบว่าเป็นศูนย์คอลเซ็นเตอร์ที่ที่ทำการหลอกโอนเงินข้ามชาติ มีชาวจีนกว่า 20 คนอาศัยอยู่
ในที่เกิดเหตุ เป็นบ้านหรู 2 ชั้น มีรั้วล้อมรอบมิดชิด เนื้อที่กว่า 50 ตารางวา หน้าประตูพบมีกล้องวงจรปิด 2 ตัว เมื่อเข้าตรวจสอบชั้นล่างพบแม่บ้านจำนวน 2 คน ชื่อนางหยี่ซัว แซ่หลี อายุ 51 ปี ชาวจีน และน.ส.เสี่ยวปลิง แซ่หลิว อายุ 37 ปี
จากนั้นขึ้นไปตรวจบนชั้นที่ 2 ซึ่งมีจำนวน 4 ห้อง โดยเป็นห้องนอน 3 ห้อง และห้องทำงานที่มีโต๊ะทำงานจำนวน 13 โต๊ะ แต่ละโต๊ะมีโทรศัพท์ที่ใช้แบบอินเทอร์เน็ตข้ามประเทศ เครื่องคิดเลข รวมทั้งวิธีการทำงาน บทพูด โดยพบชาวจีน 7 คน เป็นชาย 4 คน และหญิง 3 คน โดยมีนายเหลียว จาง เฉิน อายุ 33 ปี ชาวจีนเป็นหัวหน้าแก๊ง เจ้าหน้าที่จึงควบคุมตัวทั้งหมดไปสอบสวน และตรวจยึดของกลางทั้งหมดมีโทรศัพท์ เครื่องคิดเลข โน้ตบุ๊ก เครื่องปรินต์ เครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ
เจ้าหน้าที่เผยว่า การเข้าตรวจค้น และจับกุมแก๊งคอลเซ็นเตอร์ในครั้งนี้ สืบเนื่องจากการขยายผลจากครั้งที่แล้วที่จับได้ประมาณ 22 คน มูลค่ากว่า 200 ล้านบาท และในครั้งนี้ คนในแก๊งคาดว่าจะมีเกิน 25 คนขึ้นไป ซึ่งสามารถหลบหนีไปก่อนที่ตำรวจเข้าจับกุม และมูลค่าเสียหายน่าจะมากกว่า 200 ล้านบาท
นอกจากนี้ สำหรับแก๊งคอลเซ็นเตอร์ดังกล่าวทาง สตม. ได้ประสานกับสอบสวนกลางจะเข้าค้นทั้งหมด 7 จุดทั่วประเทศไทย และที่ต่างประเทศด้วย โดยสามารถจับคนไทยที่ไปทำลักษณะเดียวกัน ซึ่งมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นกับ 4-5 ประเทศ ประมาณกว่าพันล้านบาท โดยมีประเทศที่ได้รับความเสียหาย คือ จีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น ไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย
ส่วนผู้ร่วมขบวนการที่เหลือที่หลบหนีไปก่อนหน้าทาง สตม.จะทำการสอบสวนคนร้ายที่จับกุมได้ในครั้งนี้ เพื่อขยายผลติดตามจับกุม ร่วมทั้งสืบสวนจับกุมแก๊งคลอเซ็นเตอร์ที่เหลือทั้งหมดที่ใช้พื้นที่ในเมืองไทยเป็นศูนย์ดำเนินการหลอกลวง มาดำเนินคดีตามกฏหมายต่อไป
วันเดียวกันนี้ พ.ต.อ.สถิต พรมอุทัย ผกก. 5 กองบังคับการปราบปราม การกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (ปอศ.) พร้อมด้วยตำรวจท่องเที่ยวท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ได้เดินทางมาที่อาคารผู้โดยสารขาเข้าชั้น 2 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เพื่อรับตัว 9 ผู้ต้องหาชาวไทย เป็นหญิง 3 ราย ชาย 6 ราย ผู้ต้องหาร่วมขบวนการแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ที่ถูกทางการของเมืองตงกวน มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน จับกุมเอาไว้ได้เมื่อวันที่ 9 พ.ค. ที่ผ่านมา
พ.ต.อ.สถิต กล่าวว่า คนไทยทั้ง 9 คน เป็นผู้ต้องหาที่ร่วมแก๊งคอลเซ็นเตอร์ทำงานอยู่ที่เมือง ตงกวน มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน มีหัวหน้าแก๊งเป็นชาวไต้หวัน โดยจะให้ผู้ต้องหาทั้งหมดเป็นผู้กดโทรศัพท์สุ่มตามบ้านของเหยื่อในประเทศไทย เมื่อมีผู้รับสาย พนักงานผู้หญิงจะอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคาร พร้อมแจ้งว่ามีการกดเงินจากตู้เอทีเอ็มตามสถานที่ต่างๆ เมื่อผู้เสียหายปฏิเสธ ก็จะอ้างว่าบัญชีอาจถูกขโมยไปใช้ฟอกเงิน หรือเกี่ยวข้องกับยาเสพติด จากนั้นจะมีเสียงผู้ชายโทรศัพท์มาอีกครั้งอ้างว่าเป็นตำรวจชั้นสัญญาบัตรของ ปอศ.บ้าง หรือเป็นเจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) บ้าง เมื่อเหยื่อหลงเชื่อ ก็จะแจ้งว่าผู้เสียหายไม่เกี่ยวข้อง แต่เพื่อป้องกันการถูกขโมยบัญชีอีก จะต้องไปปลดล็อก โดยหลอกให้ไปที่ตู้เอทีเอ็ม ให้ป้อนข้อมูลเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งที่จริงก็คือการหลอกให้โอนเงินเข้าบัญชีของแก๊งคอลเซ็นเตอร์
อย่างไรก็ตาม หนึ่งใน 9 ผู้ต้องหาที่ถูกจับกุมในครั้งนี้ ได้ให้ข้อมูลว่า ถูกหลอกไปทำงาน และไม่อยากทำ แต่ก็ต้องทำ เพราะกลับไม่ได้ อยากเตือนให้ทุกคนที่มีคนมาชวนไปเที่ยวต่างประเทศแบบฟรีๆ อย่าไป จะถูกหลอกไปทำงานแบบนี้ได้