ASTVผู้จัดการรายวัน-บอร์ดร.ฟ.ท.จี้ทำแผนเคลียร์ผู้บุกรุกเขตทางรถไฟทั่วประเทศเตรียมพร้อมรับก่อสร้างรถไฟทางคู่และรถไฟความเร็วสูง เผยทั่วประเทศมีเกือบ 1.9 หมื่นราย ด้านสนข.เตรียมสรุปการศึกษาและแบบทางคู่ช่วง จิระ-ขอนแก่นวงเงิน 2.5 หมื่นล.ส่งต่อร.ฟ.ท.เสนอครม.อนุมัติ คาดเริ่มสร้างปี 57 เชื่อเพิ่มศักกภาพทางรางลดต้นทุนขนส่ง ด้านเอกชนติงเร่งแก้หัวจักรขาดแคลน
นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ในฐานะประธานคณะกรรมการ(บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ดร.ฟ.ท.เมื่อวันที่ 11 พ.ค.ได้เร่งให้ผู้บริหารร.ฟ.ท.ทำแผนแก้ปัญหาผู้อาศัยในเขตทางรถไฟเพื่อเตรียมพื้นที่สำหรับการดำเนินโครงการรถไฟทางคู่ 767 กิโลเมตรและรถไฟความเร็วสูง 4 เส้นทาง โดยหลังจากนี้จะต้องไม่มีผู้มาอาศัยเพิ่มและค่อยๆลดลง และเพื่อให้เห็นผลเป็นรูปธรรมจะต้องแบ่งการบริหารจัดการแต่ละพื้นที่ตามสภาพปัญหา และในการโยกย้ายออกนั้นจะมีการร่วมมือกับกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ด้วย ซึ่งปัจจุบันมีผู้อาศัยในเขตทางรถไฟทั่วประเทศจำนวน 18,993 ราย โดยหากยังไม่เริ่มการแก้ปัญหา จะกลายเป็นจุดอ่อนไหวในการดำเนินการโครงการแน่นอน
ซึ่งในเร็วๆนี้ บริษัทที่ปรึกษาจะสรุปผลการศึกษาออกแบบรายละเอียดควบคู่ไปกับการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น ระยะทาง 187 กิโลเมตร วงเงิน 25,000 ล้านบาทส่งให้สนข.จากนั้นจะส่งแผนทั้งหมดให้ ร.ฟ.ท.เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) อนุมัติโครงการต่อไป ซึ่งจะต้องรอให้ผ่านการพิจารณาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)ก่อนคาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ในปีงบประมาณ 2557
ทั้งนี้ ร.ฟ.ท.จะเร่งจัดหาหัวรถจักรใหม่ 20 หัว วงเงิน 3,300 ล้านบาท โดยจะให้ยื่นประกวดราคาวันที่ 16 ก.ค.สรุปผลได้ใน 1-2 เดือน โดยใช้เวลา 15 เดือนหรือปลายปี 2556 จะเริ่มทยอยส่งมอบ จนครบ 20 หัว ส่วนกรณีที่มีการระบุว่ามีการล็อกสเปคนั้น ทางร.ฟ.ท.ได้ขี้แจงทำความเข้าใจแล้ว ว่าทีโออาร์เปิดกว้างประกวดราคาแบบสากล ซึ่งทั้งรถไฟทางคู่และหัวจักรใหม่จะช่วยเพิ่มศักยภาพการขนส่งทางราง การบริหารจัดการโลจิสติกส์และลดต้นทุนการขนส่ง
นายโชคชัย คัมภิรานนท์ ประธานบริษัท เอ็นดีซี โลจิสติกส์ จำกัด ผู้ให้บริการขนส่งสินค้าทางรถไฟ กล่าวว่า ในอนาคตการขนส่งสินค้าทางรางจะมากกว่า 50% เมื่อเทียบกับการขนส่งผู้โดยสาร ดังนั้น จะต้องให้ความสำคัญกับย่านกองเก็บตู้สินค้า (Container Yard: CY) ซึ่ง CY ที่สถานีจิระเป็นจุดที่เหมาะสมรองรับรถไฟทางคู่ แต่ปัญหาคือร.ฟ.ท.ไม่มีหัวจักรเพียงพอต่อความต้องการ โดยจัดซื้อครั้งสุดท้ายเมื่อปี 2538 จำนวน 38 หัวหรือเมื่อ 17 ปีก่อน ซึ่งหากมีหัวจักรใหม่ตามแผนในปี 2556 จะลดระยะเวลาในการจัดการจาก 7-10 วันเหลือ 4 วัน เท่ากับขนส่งทางรถยนต์
นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ในฐานะประธานคณะกรรมการ(บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ดร.ฟ.ท.เมื่อวันที่ 11 พ.ค.ได้เร่งให้ผู้บริหารร.ฟ.ท.ทำแผนแก้ปัญหาผู้อาศัยในเขตทางรถไฟเพื่อเตรียมพื้นที่สำหรับการดำเนินโครงการรถไฟทางคู่ 767 กิโลเมตรและรถไฟความเร็วสูง 4 เส้นทาง โดยหลังจากนี้จะต้องไม่มีผู้มาอาศัยเพิ่มและค่อยๆลดลง และเพื่อให้เห็นผลเป็นรูปธรรมจะต้องแบ่งการบริหารจัดการแต่ละพื้นที่ตามสภาพปัญหา และในการโยกย้ายออกนั้นจะมีการร่วมมือกับกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ด้วย ซึ่งปัจจุบันมีผู้อาศัยในเขตทางรถไฟทั่วประเทศจำนวน 18,993 ราย โดยหากยังไม่เริ่มการแก้ปัญหา จะกลายเป็นจุดอ่อนไหวในการดำเนินการโครงการแน่นอน
ซึ่งในเร็วๆนี้ บริษัทที่ปรึกษาจะสรุปผลการศึกษาออกแบบรายละเอียดควบคู่ไปกับการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น ระยะทาง 187 กิโลเมตร วงเงิน 25,000 ล้านบาทส่งให้สนข.จากนั้นจะส่งแผนทั้งหมดให้ ร.ฟ.ท.เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) อนุมัติโครงการต่อไป ซึ่งจะต้องรอให้ผ่านการพิจารณาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)ก่อนคาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ในปีงบประมาณ 2557
ทั้งนี้ ร.ฟ.ท.จะเร่งจัดหาหัวรถจักรใหม่ 20 หัว วงเงิน 3,300 ล้านบาท โดยจะให้ยื่นประกวดราคาวันที่ 16 ก.ค.สรุปผลได้ใน 1-2 เดือน โดยใช้เวลา 15 เดือนหรือปลายปี 2556 จะเริ่มทยอยส่งมอบ จนครบ 20 หัว ส่วนกรณีที่มีการระบุว่ามีการล็อกสเปคนั้น ทางร.ฟ.ท.ได้ขี้แจงทำความเข้าใจแล้ว ว่าทีโออาร์เปิดกว้างประกวดราคาแบบสากล ซึ่งทั้งรถไฟทางคู่และหัวจักรใหม่จะช่วยเพิ่มศักยภาพการขนส่งทางราง การบริหารจัดการโลจิสติกส์และลดต้นทุนการขนส่ง
นายโชคชัย คัมภิรานนท์ ประธานบริษัท เอ็นดีซี โลจิสติกส์ จำกัด ผู้ให้บริการขนส่งสินค้าทางรถไฟ กล่าวว่า ในอนาคตการขนส่งสินค้าทางรางจะมากกว่า 50% เมื่อเทียบกับการขนส่งผู้โดยสาร ดังนั้น จะต้องให้ความสำคัญกับย่านกองเก็บตู้สินค้า (Container Yard: CY) ซึ่ง CY ที่สถานีจิระเป็นจุดที่เหมาะสมรองรับรถไฟทางคู่ แต่ปัญหาคือร.ฟ.ท.ไม่มีหัวจักรเพียงพอต่อความต้องการ โดยจัดซื้อครั้งสุดท้ายเมื่อปี 2538 จำนวน 38 หัวหรือเมื่อ 17 ปีก่อน ซึ่งหากมีหัวจักรใหม่ตามแผนในปี 2556 จะลดระยะเวลาในการจัดการจาก 7-10 วันเหลือ 4 วัน เท่ากับขนส่งทางรถยนต์