ช่วง 3-4 สัปดาห์ที่ผ่านมา ได้รับฟังและรับทราบข้อมูลข่าวสารทางด้านพลังงานเพิ่ม รวมกับข้อมูลที่เคยรับรู้ในอดีตมีประโยชน์ ทั้งจากรายการสภาท่าพระอาทิตย์ จาก FMTV ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี คุณสมลักษณ์ หุตานุวัตร ผศ.ประสาท มีแต้ม รายการเสวนาของสถาบันสหสวรรษ ณ ห้องประชุมจุมพฏ-พันธุ์ทิพย์ บริพัฒน์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย “เรื่องสงครามนกกระสา” โดย ดร.วุฒิพงษ์ เพรียบจริยวัฒน์ มล.วัลย์วิภา จรูญโรจน์ คุณพมร นวรัตนากร ฯลฯ รวมทั้งผู้ร่วมรายการ แพทย์หญิง กมลพรรณ ชีวพันธุศรี กัปตันถนิต พรหมสถิต แจกแจงถึงการปล้นพลังงานในอ่าวไทย อย่างละเอียด
ผู้เขียนขอร่วมนำเสนอข้อมูลบางส่วนที่ได้สัมผัสมาบ้าง เพื่อข้อมูลจะมีความสมบูรณ์เพิ่มขึ้น ซึ่งไม่ทราบจะเรียกว่าการปล้นหรือไม่ หากข้อมูลทางด้านพลังงาน ประกอบด้วยส่วนที่เป็นหัว (Head) และตัว (Body) ส่วนที่ได้รับทราบมานั้นเป็นส่วนของตัว (Body) ส่วนที่ผู้เขียนจะนำเสนอนี้เป็นส่วนของหัว(Head) หรือส่วนของการควบคุมจัดการ
(1) 6 กุมภาพันธ์ 2544 (2001) พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 23 ของประเทศไทย
(2) 6 ธันวาคม 2544 (2001) แปรรูป ปตท.(PTT ) เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ IPO ราคา 35 บาท
(3) 31 กรกฎาคม 2546 (2003) พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กล่าวสุนทรพจน์ เนื่องในวันชำระหนี้ไอเอ็มเอฟงวดสุดท้าย ประเทศไทยเข้าโครงการไอเอ็มเอฟในปี 1997
บางตอนของสุนทรพจน์ “ก่อนนี้ในกติกาเราต้องขายรัฐวิสาหกิจเพื่อนำเงินมาใช้หนี้ (IMF) แต่วันนี้ไม่ใช่ครับ เราจะกระจายหุ้นรัฐวิสาหกิจในตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการขยายการลงทุน เพื่อให้เกิดการบริหารงานอย่างมืออาชีพ และเพื่อให้เกิดการตรวจสอบได้ทุกระบบ ซึ่งตรวจสอบจากระบบของตลาดทุนและตรวจสอบด้วยระบบของราชการ ตรวจสอบด้วยระบบของผู้ถือหุ้นเอง ฯลฯ”
สุนทรพจน์เกิดหลังการนำ ปตท.เข้าตลาดหุ้นประมาณปีครึ่ง
IPO ปตท.ที่ราคาต่ำ ผู้ที่ได้หุ้นจองเหมือนได้เปล่า กระทรวงการคลังหรือประเทศไทยไม่ได้อะไร ไม่พอที่จะใช้หนี้ไอเอ็มเอฟแต่อย่างใด
แต่ปรากฏว่าประเทศไทยได้ใช้หนี้ไอเอ็มเอฟก่อนกำหนด 2 ปี ที่เป็นเช่นนี้เพราะเกิดการพังทลายของตลาดหุ้นแนสแดกซ์ของอเมริกาในปี 2000 ทำให้เงินเหรียญสหรัฐเสียหาย เงินเหรียญสหรัฐเป็นเงินสกุลใหญ่ มีส่วนแบ่งในตลาดสูงที่สุดในโลก ผู้คนและนักลงทุนพากันทิ้งเงินเหรียญสหรัฐ ทำให้เงินเหรียญสหรัฐไหลออกมายังประเทศต่างทั่วโลก รวมทั้งไหลเข้ามาในประเทศไทย ทำให้ไทยสามารถใช้หนี้ไอเอ็มเอฟหมดก่อนกำหนด
การใช้หนี้ไอเอ็มเอฟหมด ไม่ได้เกิดจากการนำเงินจากการขายรัฐวิสาหกิจไปชำระหนี้แต่อย่างใด แต่เกิดจากการที่เงินเหรียญสหรัฐไหลเข้าประเทศไทยมาก ทำให้ทุนสำรองเพิ่มขึ้นสูงมาก ทำให้สามารถนำไปชำระหนี้ไอเอ็มเอฟหมดก่อนกำหนด
(4) 19 กันยายน 2549 (2006) เกิดการรัฐประหารนำโดย คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งมี พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน เป็นหัวหน้าคณะ ทำให้พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หลุดจากการเป็นนายกรัฐมนตรี
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 10 เดือนพอดี ที่ได้มีการแปรรูป ปตท.เข้าตลาดหุ้น ทำได้รวดเร็วมาก เป็นช่วงซึ่งประเทศไทยเพิ่งเข้ารับความช่วยเหลือทางการเงินจากไอเอ็มเอฟ เป็นช่วงที่ประเทศไทยมีพันธะที่ต้องหาเงินมาชำระหนี้ไอเอ็มเอฟ ตามหนังสือที่แสดงเจตจำนง 11 ฉบับที่ให้ไว้กับไอเอ็มเอฟ ว่าจะมีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจเอาเงินมาใช้หนี้ไอเอ็มเอฟ
ตอนหาเสียงบอกว่าจะมายกเลิกกฎหมายขายชาติ 11 ฉบับ แต่เมื่อได้เป็นรัฐบาลกลับเอามาเป็นข้ออ้างในการแปรรูป ปตท.เป็นข้ออ้างหรือเป็นการสวมรอยแปรรูปรสก.ก็ได้
คนที่คิดจะเอา ก็คิดตลอดเวลา ว่าจะเอาอะไร เอาที่ไหน และเอาอย่างไร โชคก็เข้าข้างอีก ที่ได้มาเป็นรัฐบาล ทำให้เกิดการ “เอาทันที” ได้
“ทำไมจึงรีบเอา” หรือ “เอาทันที” ทั้งนี้เพราะตลาดหุ้นไทยตกลงจากระดับ 1,750 จุดในช่วงต้นปี 2537(1994) และมาต่ำสุดที่ระดับ 207 จุดในปี 2541 (1998) จากนั้นก็ฟื้นตัวมาโดยตลอด จะเห็นว่าวันที่ 6 ธันวาคม 2544 (2001) ที่ปตท.เข้าตลาดหุ้นวันแรก SET index อยู่ที่ระดับ 305 จุดเท่านั้น หากเข้าตลาดช้ากว่านี้ SET index ขึ้นไปสูงกว่านี้ ราคา IPO อาจจะเป็น 150-200 บาทต่อหุ้นได้ ช่วงที่ราคาขึ้นสูงสุด ราคาปตท.เพิ่มถึง 1,157 เปอร์เซ็นต์ จากราคา IPO
ช่วงก่อนจะทำ IPO (Initial public offering) มีข่าวว่า IPO ที่ราคาหุ้นละ 50 บาท แพงเกินไป ต่างชาติไม่สนใจ จะทำการแปรรูปไม่ประสบผลสำเร็จ สุดท้ายก็ IPO ที่ราคา 35 บาท เป็นการกล่าวอ้างต่างชาติเพื่อจะได้มีการ IPO ที่ราคาต่ำๆ จะเห็นว่าช่วง 7 ปีหลังเข้าตลาดหุ้น ราคาปตท.ขึ้นไปสูงสุดที่ 440 บาทต่อหุ้น
จำนวนหุ้นจดทะเบียนของปตท.กับตลาดหลักทรัพย์ฯ 2,856,299,625 หุ้น
49 เปอร์เซ็นต์ที่แปรรูป เท่ากับจำนวนหุ้น 1,399,586,816 หุ้น
ตลาดหุ้นยิ่งพัฒนามากขึ้นเท่าใด ยิ่งสลับซับซ้อนซ่อนเงื่อน ยากที่คนทั่วไปจะทราบ และจะเข้าใจ ยากแก่การค้นหาข้อมูล เช่น การมีตัวแทน (Nominees) ถือหุ้นแทนนักลงทุน ซึ่งไม่ทราบว่าเป็นใคร
สมมติว่านักการเมืองกู้เงินที่ต่างประเทศ ให้ Nominee จองหุ้นปตท. 300 ล้านหุ้น ราคาจอง 35 บาทต่อหุ้น ใช้เงินเพียง 10,500 ล้านบาท เมื่อราคาหุ้นสูงขึ้นไปที่ 350 บาท มูลค่าหุ้นเพิ่มมาเป็น 105,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นมาเป็น 10 เท่า ขายหุ้นออกมาประมาณ 1 ใน 10 ส่วน เอาไปชำระคืนเงินกู้ ชำระดอกเบี้ย ชำระค่าบริหารจัดการ มูลค่าหุ้นยังเหลืออยู่ประมาณ 94,000 ล้านบาท รับเงินปันผลอีกปีละ 3,000-4,000 ล้านบาท
ปตท.เป็นหุ้นที่มีมูลค่าตลาดสูงสุด มีส่วนแบ่งมูลค่าตลาด 10.14 เปอร์เซ็นต์ เมื่อรวมกับบริษัทในเครือ ซึ่งปตท.เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ จากตารางที่เห็นรวมเป็นส่วนแบ่งสูงสุดถึง 21.89 เปอร์เซ็นต์ (ไม่รวมที่ปตท.เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) BCP)
กระทรวงการคลังถือหุ้นปตท. 51.11 เปอร์เซ็นต์ มีความหมายทางด้านกฎหมาย แต่ไม่มีความหมายในทางปฏิบัติ เมื่อผู้ถือหุ้นเป็นนักการเมือง ซึ่งอาจจะถือหุ้นผ่านนอมินี มีอิทธิพลเหนือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สามารถแต่งตั้งและถอดถอนกรรมการ มีอิทธิพลเหนือปตท. เหนือกรรมการปตท. จะเอาอะไรจากปตท. จะให้ปตท.ทำอะไรก็ไม่ใช่เรื่องยาก
ประเทศไทยที่ไม่ใช่ของคนไทย ธนาคารเอกชน พลังงาน สื่อสารและโทรคมนาคม ตกเป็นของต่างชาติหมด หรือแทบหมด เขาว่าเขาจะกลับประเทศไทยแบบเท่ ประเทศไทยจะไม่แตกแยกกันแล้ว จะปรองดองกันแล้ว เขาไม่ได้ทำอะไรผิด บริสุทธิ์ผุดผ่อง ทุกอย่างเตรียมการไว้แล้ว อีกไม่นานก็จะเรียบร้อย
อำนาจน้ำลาย วาทกรรมฟังแล้วฟังดี แต่การกระทำเป็นไปในทางตรงกันข้าม เป็นเช่นนี้มาโดยตลอด นักวิชาการระดับสูงทำวิจัย สื่อ ก็เชื่อโดยตลอด ประเทศไทยอับจนปัญญาถึงขนาดนี้ เห็นด้วยกับคำกล่าวของ ผศ.ประสาท มีแต้ม เป็นจริงตามที่ท่านกล่าว “ล้างสมองแล้วปล้น” ทำได้แนบเนียนจริง “ไม่ได้อินังขังขอบ” ต่อความเดือดร้อนของประชาชนคนไทย และความเป็นประเทศไทย อะไรที่ทำให้ตนเองมีอำนาจ เอาทั้งนั้น ไม่เคยคิดบริหารประเทศเพื่อประเทศไทย บริหารประเทศเพื่อความมั่งคั่งแห่งตน ตลอดเวลา
ดูความหวังแล้วริบหรี่ ที่ประชาชนจะต่อสู้ เพื่อที่จะได้ใช้พลังงานราคาไม่สูง หรือจะเอาปตท.คืนมา
อำนาจเป็นของฝ่ายมิจฉาทิฐิ 99 เปอร์เซ็นต์
อำนาจน้ำเงินที่เคยเป็นข่าวสูงถึง 464,500 ล้านบาท
อำนาจอื่นๆ ก็เป็นของเขาหมด หรือแทบทั้งหมด
“เอาทันที” ที่มีโอกาส และตอนนี้ นายกฯ หญิงของไทยก็ “กำลังเอาอยู่” ตลอดเวลา
ผู้เขียนขอร่วมนำเสนอข้อมูลบางส่วนที่ได้สัมผัสมาบ้าง เพื่อข้อมูลจะมีความสมบูรณ์เพิ่มขึ้น ซึ่งไม่ทราบจะเรียกว่าการปล้นหรือไม่ หากข้อมูลทางด้านพลังงาน ประกอบด้วยส่วนที่เป็นหัว (Head) และตัว (Body) ส่วนที่ได้รับทราบมานั้นเป็นส่วนของตัว (Body) ส่วนที่ผู้เขียนจะนำเสนอนี้เป็นส่วนของหัว(Head) หรือส่วนของการควบคุมจัดการ
(1) 6 กุมภาพันธ์ 2544 (2001) พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 23 ของประเทศไทย
(2) 6 ธันวาคม 2544 (2001) แปรรูป ปตท.(PTT ) เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ IPO ราคา 35 บาท
(3) 31 กรกฎาคม 2546 (2003) พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กล่าวสุนทรพจน์ เนื่องในวันชำระหนี้ไอเอ็มเอฟงวดสุดท้าย ประเทศไทยเข้าโครงการไอเอ็มเอฟในปี 1997
บางตอนของสุนทรพจน์ “ก่อนนี้ในกติกาเราต้องขายรัฐวิสาหกิจเพื่อนำเงินมาใช้หนี้ (IMF) แต่วันนี้ไม่ใช่ครับ เราจะกระจายหุ้นรัฐวิสาหกิจในตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการขยายการลงทุน เพื่อให้เกิดการบริหารงานอย่างมืออาชีพ และเพื่อให้เกิดการตรวจสอบได้ทุกระบบ ซึ่งตรวจสอบจากระบบของตลาดทุนและตรวจสอบด้วยระบบของราชการ ตรวจสอบด้วยระบบของผู้ถือหุ้นเอง ฯลฯ”
สุนทรพจน์เกิดหลังการนำ ปตท.เข้าตลาดหุ้นประมาณปีครึ่ง
IPO ปตท.ที่ราคาต่ำ ผู้ที่ได้หุ้นจองเหมือนได้เปล่า กระทรวงการคลังหรือประเทศไทยไม่ได้อะไร ไม่พอที่จะใช้หนี้ไอเอ็มเอฟแต่อย่างใด
แต่ปรากฏว่าประเทศไทยได้ใช้หนี้ไอเอ็มเอฟก่อนกำหนด 2 ปี ที่เป็นเช่นนี้เพราะเกิดการพังทลายของตลาดหุ้นแนสแดกซ์ของอเมริกาในปี 2000 ทำให้เงินเหรียญสหรัฐเสียหาย เงินเหรียญสหรัฐเป็นเงินสกุลใหญ่ มีส่วนแบ่งในตลาดสูงที่สุดในโลก ผู้คนและนักลงทุนพากันทิ้งเงินเหรียญสหรัฐ ทำให้เงินเหรียญสหรัฐไหลออกมายังประเทศต่างทั่วโลก รวมทั้งไหลเข้ามาในประเทศไทย ทำให้ไทยสามารถใช้หนี้ไอเอ็มเอฟหมดก่อนกำหนด
การใช้หนี้ไอเอ็มเอฟหมด ไม่ได้เกิดจากการนำเงินจากการขายรัฐวิสาหกิจไปชำระหนี้แต่อย่างใด แต่เกิดจากการที่เงินเหรียญสหรัฐไหลเข้าประเทศไทยมาก ทำให้ทุนสำรองเพิ่มขึ้นสูงมาก ทำให้สามารถนำไปชำระหนี้ไอเอ็มเอฟหมดก่อนกำหนด
(4) 19 กันยายน 2549 (2006) เกิดการรัฐประหารนำโดย คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งมี พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน เป็นหัวหน้าคณะ ทำให้พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หลุดจากการเป็นนายกรัฐมนตรี
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 10 เดือนพอดี ที่ได้มีการแปรรูป ปตท.เข้าตลาดหุ้น ทำได้รวดเร็วมาก เป็นช่วงซึ่งประเทศไทยเพิ่งเข้ารับความช่วยเหลือทางการเงินจากไอเอ็มเอฟ เป็นช่วงที่ประเทศไทยมีพันธะที่ต้องหาเงินมาชำระหนี้ไอเอ็มเอฟ ตามหนังสือที่แสดงเจตจำนง 11 ฉบับที่ให้ไว้กับไอเอ็มเอฟ ว่าจะมีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจเอาเงินมาใช้หนี้ไอเอ็มเอฟ
ตอนหาเสียงบอกว่าจะมายกเลิกกฎหมายขายชาติ 11 ฉบับ แต่เมื่อได้เป็นรัฐบาลกลับเอามาเป็นข้ออ้างในการแปรรูป ปตท.เป็นข้ออ้างหรือเป็นการสวมรอยแปรรูปรสก.ก็ได้
คนที่คิดจะเอา ก็คิดตลอดเวลา ว่าจะเอาอะไร เอาที่ไหน และเอาอย่างไร โชคก็เข้าข้างอีก ที่ได้มาเป็นรัฐบาล ทำให้เกิดการ “เอาทันที” ได้
“ทำไมจึงรีบเอา” หรือ “เอาทันที” ทั้งนี้เพราะตลาดหุ้นไทยตกลงจากระดับ 1,750 จุดในช่วงต้นปี 2537(1994) และมาต่ำสุดที่ระดับ 207 จุดในปี 2541 (1998) จากนั้นก็ฟื้นตัวมาโดยตลอด จะเห็นว่าวันที่ 6 ธันวาคม 2544 (2001) ที่ปตท.เข้าตลาดหุ้นวันแรก SET index อยู่ที่ระดับ 305 จุดเท่านั้น หากเข้าตลาดช้ากว่านี้ SET index ขึ้นไปสูงกว่านี้ ราคา IPO อาจจะเป็น 150-200 บาทต่อหุ้นได้ ช่วงที่ราคาขึ้นสูงสุด ราคาปตท.เพิ่มถึง 1,157 เปอร์เซ็นต์ จากราคา IPO
ช่วงก่อนจะทำ IPO (Initial public offering) มีข่าวว่า IPO ที่ราคาหุ้นละ 50 บาท แพงเกินไป ต่างชาติไม่สนใจ จะทำการแปรรูปไม่ประสบผลสำเร็จ สุดท้ายก็ IPO ที่ราคา 35 บาท เป็นการกล่าวอ้างต่างชาติเพื่อจะได้มีการ IPO ที่ราคาต่ำๆ จะเห็นว่าช่วง 7 ปีหลังเข้าตลาดหุ้น ราคาปตท.ขึ้นไปสูงสุดที่ 440 บาทต่อหุ้น
จำนวนหุ้นจดทะเบียนของปตท.กับตลาดหลักทรัพย์ฯ 2,856,299,625 หุ้น
49 เปอร์เซ็นต์ที่แปรรูป เท่ากับจำนวนหุ้น 1,399,586,816 หุ้น
ตลาดหุ้นยิ่งพัฒนามากขึ้นเท่าใด ยิ่งสลับซับซ้อนซ่อนเงื่อน ยากที่คนทั่วไปจะทราบ และจะเข้าใจ ยากแก่การค้นหาข้อมูล เช่น การมีตัวแทน (Nominees) ถือหุ้นแทนนักลงทุน ซึ่งไม่ทราบว่าเป็นใคร
สมมติว่านักการเมืองกู้เงินที่ต่างประเทศ ให้ Nominee จองหุ้นปตท. 300 ล้านหุ้น ราคาจอง 35 บาทต่อหุ้น ใช้เงินเพียง 10,500 ล้านบาท เมื่อราคาหุ้นสูงขึ้นไปที่ 350 บาท มูลค่าหุ้นเพิ่มมาเป็น 105,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นมาเป็น 10 เท่า ขายหุ้นออกมาประมาณ 1 ใน 10 ส่วน เอาไปชำระคืนเงินกู้ ชำระดอกเบี้ย ชำระค่าบริหารจัดการ มูลค่าหุ้นยังเหลืออยู่ประมาณ 94,000 ล้านบาท รับเงินปันผลอีกปีละ 3,000-4,000 ล้านบาท
ปตท.เป็นหุ้นที่มีมูลค่าตลาดสูงสุด มีส่วนแบ่งมูลค่าตลาด 10.14 เปอร์เซ็นต์ เมื่อรวมกับบริษัทในเครือ ซึ่งปตท.เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ จากตารางที่เห็นรวมเป็นส่วนแบ่งสูงสุดถึง 21.89 เปอร์เซ็นต์ (ไม่รวมที่ปตท.เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) BCP)
กระทรวงการคลังถือหุ้นปตท. 51.11 เปอร์เซ็นต์ มีความหมายทางด้านกฎหมาย แต่ไม่มีความหมายในทางปฏิบัติ เมื่อผู้ถือหุ้นเป็นนักการเมือง ซึ่งอาจจะถือหุ้นผ่านนอมินี มีอิทธิพลเหนือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สามารถแต่งตั้งและถอดถอนกรรมการ มีอิทธิพลเหนือปตท. เหนือกรรมการปตท. จะเอาอะไรจากปตท. จะให้ปตท.ทำอะไรก็ไม่ใช่เรื่องยาก
ประเทศไทยที่ไม่ใช่ของคนไทย ธนาคารเอกชน พลังงาน สื่อสารและโทรคมนาคม ตกเป็นของต่างชาติหมด หรือแทบหมด เขาว่าเขาจะกลับประเทศไทยแบบเท่ ประเทศไทยจะไม่แตกแยกกันแล้ว จะปรองดองกันแล้ว เขาไม่ได้ทำอะไรผิด บริสุทธิ์ผุดผ่อง ทุกอย่างเตรียมการไว้แล้ว อีกไม่นานก็จะเรียบร้อย
อำนาจน้ำลาย วาทกรรมฟังแล้วฟังดี แต่การกระทำเป็นไปในทางตรงกันข้าม เป็นเช่นนี้มาโดยตลอด นักวิชาการระดับสูงทำวิจัย สื่อ ก็เชื่อโดยตลอด ประเทศไทยอับจนปัญญาถึงขนาดนี้ เห็นด้วยกับคำกล่าวของ ผศ.ประสาท มีแต้ม เป็นจริงตามที่ท่านกล่าว “ล้างสมองแล้วปล้น” ทำได้แนบเนียนจริง “ไม่ได้อินังขังขอบ” ต่อความเดือดร้อนของประชาชนคนไทย และความเป็นประเทศไทย อะไรที่ทำให้ตนเองมีอำนาจ เอาทั้งนั้น ไม่เคยคิดบริหารประเทศเพื่อประเทศไทย บริหารประเทศเพื่อความมั่งคั่งแห่งตน ตลอดเวลา
ดูความหวังแล้วริบหรี่ ที่ประชาชนจะต่อสู้ เพื่อที่จะได้ใช้พลังงานราคาไม่สูง หรือจะเอาปตท.คืนมา
อำนาจเป็นของฝ่ายมิจฉาทิฐิ 99 เปอร์เซ็นต์
อำนาจน้ำเงินที่เคยเป็นข่าวสูงถึง 464,500 ล้านบาท
อำนาจอื่นๆ ก็เป็นของเขาหมด หรือแทบทั้งหมด
“เอาทันที” ที่มีโอกาส และตอนนี้ นายกฯ หญิงของไทยก็ “กำลังเอาอยู่” ตลอดเวลา