ณ บ้านพระอาทิตย์
โดย : ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา "ปตท." มักจะพูดอยู่เสมอว่าราคาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติของไทยนั้นเป็นไปตามกลไกตลาดโลก
จากงบดุล 11 ปี ของ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) นับตั้งแต่แปรรูปมาในปี 2544 พบว่า องค์กรแห่งนี้มีรายได้รวม 11 ปีเท่ากับ 13.52 ล้านล้านบาท มีกำไรขั้นต้นรวมกัน 11 ปีเท่ากับ 1.36 ล้านล้านบาท และมีกำไรสุทธิรวมกัน 11 ปีเท่ากับ 774,167 ล้านบาท
สำหรับเงินลงทุนที่ระดมทุนมาด้วยการกระจายหุ้นและเพิ่มทุนเข้าบริษัทเพื่อนำไปลงทุน (ตามข้ออ้างในการแปรรูป)ตลอดระยะเวลา 11 ปี รวมทั้งสิ้น 28,277 ล้านบาท
ในขณะที่ส่วนที่กำไรสุทธิตลอด 11 ปีได้ถูกแจกจ่ายให้กับผู้ถือหุ้นที่ได้ซื้อหุ้นจากการขายหุ้นแลเพิ่มทุนปตท.รวมทั้งสิ้นประมาณกว่า 296,000 ล้านบาท ทั้งในรูปการปันผลและการกลับมาลงทุนเพื่อเพิ่มมูลค่าทรัพย์สินซึ่งจะส่งผลต่อมูลค่าหุ้นของผู้ถือหุ้น ที่ลงเงินทุนเพียง 28,277 ล้านบาท
เช่นเดียวกับบริษัทลูกของ ปตท.ที่มีชื่อว่า บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) (ปตท.สผ.)ซึ่งกิจการคือการสำรวจขุดเจาะน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ ตลอดจนสร้างโรงงานผลิตปิโตรเลียม ปรากฏว่าผลประกอบการมีรายได้รวม 11 ปีทั้งสิ้น 981,738 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิรวมอีก 283,463 ล้านบาท
และงบการเงินรวมล่าสุดของ บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัดและบริษัทย่อย สิ้นสุด ณ เดือน มีนาคม พ.ศ. 2555 นั้นน่าสนใจยิ่ง
น่าสนใจประการแรก ก็ตรงที่ว่า งบรวม ปตท.สผ. และบริษัทย่อย มีรายได้ 3 เดือนแรกปี 2544 สูงถึง 50,447 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับ 3 เดือนช่วงเวลาเดียวกันในปี 2554 นั้น ปตท.สผ.มีรายได้ 40,011 ล้านบาท ก็แปลว่าบริษัทแห่งนี้มีรายได้สูงเพิ่มขึ้นประมาณ 26.08% เทียบกับช่วงเวลาเดียวกัน
แต่ที่น่าสนใจยิ่งกว่า ก็ตรงที่งบรวม ปตท.สผ.และบริษัทย่อย มีกำไรสุทธิ 3 เดือนแรก ปี 2555 สูงถึง 18,2888 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับ 3 เดือนช่วงเวลาเดียวกันในปี 2554 นั้น ปตท.สผ.มีกำไรหลังหักภาษีที่ 10,978 ล้านบาท
คิดเป็นกำไรสุทธิที่เพิ่มสูงขึ้นประมาณ 66.58 เทียบกับช่วงเวลาเดียวกัน !!?
งบรวม ปตท.สผ.และบริษัทย่อย แจ้ง “รายได้จากการขาย” 47,257.61 ล้านบาท ใน 3 เดือนแรกปี 2555
งบรวม ปตท.สผ. 3 เดือนแรก ปี 2555 แสดงค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (4,861.90 ล้านบาท) + ค่าใช้จ่ายในการสำรวจปิโตรเลียม ( 1,300.56 ล้านบาท)+ ค่าภาคหลวงและค่าตอบแทนสำหรับปิโตรเลียม (5,589.76 ล้านบาท) รวมเฉพาะ 3 รายการนี้ ก็น่าจะพออนุมานเป็นต้นทุนสินค้ารวมทั้งสิ้น 11,752.22 ล้านบาท
หมายความว่ายอดขาย 47,257.61 ล้านบาท เมื่อหักค่าใช้จ่ายต้นทุนสินค้า 11,752.22 ล้านบาท กลายเป็นกำไรขั้นต้น 35,505 ล้านบาท คิดเป็น 75.13% ของยอดขาย
หรือคิดง่ายๆ ก็คือสมมุติ ปตท.สผ.ขายก๊าซไป 100 บาท แต่ต้นทุนเพียง 25 บาท ที่เหลือเป็นกำไรขั้นต้นไปถึง 75 บาท หรือเรียกว่าขายสินค้าคิดเป็น 4 เท่าตัวของต้นทุนสินค้าที่ได้มา หลังจากนั้นเอากำไรขั้นต้น 75 บาท แต่เนื่องจาก ปตท.สผ.มีรายได้ส่วนอื่นๆอีก เช่นการบริการท่อก๊าซ, กำไรจากเงินตราต่างประเทศ, กำไรจากธุรกรรมทางการเงิน และกำไรอื่นๆ เมื่อรวมเป็นรายได้ทั้งหมดจึงนำไปจ่ายค่าบริหารจัดการ (ซึ่งไม่รู้ว่าคุ้มค่าและรั่วไหลหรือไม่?) หักค่าดอกเบี้ยและต้นทุนการเงิน หักค่าเสื่อมทางบัญชี และจ่ายภาษี แล้วเหลือกำไรสุทธิ 36 บาท
ยิ่ง ปตท. และ ปตท.สผ. กำไรมากยิ่งขึ้นเท่าใด สังคมย่อมมีความเคลือบแคลงสงสัยมากขึ้นว่ากำไรอันมหาศาลเหล่านี้เป็นการเอากำไรเกินสมควรหรือไม่?
ปตท. มักจะมาชี้แจงอยู่เสมอว่าราคาพลังงานของไทย เป็นไปตามกลไกตามตลาดโลก?
คำถามแรกที่ ปตท. ควรจะต้องตอบต่อกรณีที่ มล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี ผู้เชี่ยวชาญและติดตามด้านพลังงานได้ตั้งคำถามว่าถ้าราคาน้ำมันของไทยเป็นไปตามกลไกตลาดโลกจริง เหตุใดจึงเกิดเหตุการณ์ดังต่อไปนี้ได้?
จากภาพที่ 1 “ปี 2551 ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส อยู่ที่ 145 เหรียญสหรัฐต่อบาเรล ในเวลานั้นค่าเงินบาทอยู่ที่ 33 บาทต่อเหรียญสหรัฐ คิดเป็นต้นทุนน้ำมันดิบ 30 บาทต่อลิตร ในเวลานั้นน้ำมันเบนซิน 91 คิดราคาที่ 42.50 บาท
แต่ในเดือนมีนาคม พ.ศ.2555 ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสอยู่ที่ 105 เหรียญสหรัฐต่อบาเรล ในเวลานั้นค่าเงินบาทอยู่ที่ 30 บาทต่อเหรียญสหรัฐ คิดเป็นต้นทุนน้ำมันดิบ 20.14 บาทต่อลิตร แต่ราคาน้ำมันเบนซินกลับอยู่ที่ 42.58 บาทต่อลิตร”
แล้วเหตุใด “ก๊าซธรรมชาติ” ต้นทุนสินค้าและต้นการผลิตที่ ปตท.สผ.ได้ก๊าซธรรมชาติของไทยที่ได้จากปากหลุมในประเทศไทยจึงมีราคาต่ำกว่าที่ปากหลุมพม่าถึง 40% (ตามภาพที่ 2)
หากราคาก๊าซที่ปากหลุมของไทยต่ำเกินไปกว่าท้องตลาด ก็แปลว่า ปตท.สผ.ได้ต้นทุนสินค้าและการผลิตมาต่ำกว่าท้องตลาด และทำให้จ่ายค่าภาคหลวงต่ำกว่าความเป็นจริง และทำให้บริษัทปิโตรเคมีในเครือ ของ ปตท. มีความร่ำรวยอย่างมหาศาลเกินความเป็นจริง เพราะหลบเลี่ยงการจ่ายค่าภาคหลวง จริงหรือไม่?
ในทางตรงกันข้าม หากราคาก๊าซที่ปากหลุมของพม่าสูงเกินความเป็นจริง ก็แปลว่าไทยเรามีการนำเข้าก๊าซในราคาที่ไม่สมเหตุสมผล ไร้ประสิทธิภาพ หรืออาจมีการทุจริตคอร์รัปชั่นก็ได้ จริงหรือไม่?
และความจริงก็มาปรากฏว่าราคาขายของ ปตท. นั้นไม่สอดคล้องกับตลาดโลก ดังปรากฏตามข้อมูลของ ผศ.ประสาท มีแต้ม นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานพบว่า ราคาขายก๊าซธรรมชาติของไทยสูงกว่าที่สหรัฐอเมริกา และกำลังมีราคาสูงขึ้นสวนทางกับราคาก๊าซที่กำลังมีราคาลดลงอย่างต่อเนื่อง (ตามภาพที่ 3)
และที่หลายคนอาจเจ็บช้ำน้ำใจยิ่งไปกว่านั้น ก็คือ ก๊าซธรรมชาติที่ ปตท.ขายให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการคำนวณค่าไฟฟ้าที่ประชาชนได้ใช้นั้น มีราคาสูงกว่าที่ปตท.ขายก๊าซธรรมชาติให้กับเอกชน โดยปีที่แล้วมีส่วนต่างกันถึง 12,500 ล้านบาท
และในขณะนี้ค่าไฟฟ้าก็กำลังทยอยปรับค่าสูงขึ้นจากต้นทุนของ ปตท. ที่กำลังสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
หมายความว่าเอกชนที่ร่ำรวยเป็นมหาเศรษฐีรวมถึงกิจการปิโตรเคมีซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ ปตท.จำนวนมากนั้น ซื้อก๊าซธรรมชาติในราคาที่ต่ำกว่าประชาชนได้ซื้อในการใช้ไฟฟ้าผ่านการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และธุรกิจเหล่านี้ยังสามารถขายไปทำกำไรอย่างมหาศาลในตลาดโลก โดยที่ประชาชนชาวไทยเดือดร้อนกันอย่างถ้วนหน้า และประเทศชาติก็ไม่ได้ผลประโยชน์เต็มเม็ดเต็มหน่วยอย่างที่ควรจะเป็น
มล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี ผู้เชี่ยวชาญในการติดตามด้านพลังงานกลับพบว่าราคาก๊าซธรรมชาติทยอยลดราคาลงมาเรื่อยๆ แต่ประเทศไทยกับราคาก๊าซยังขึ้นส่วนทางอย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2555 ที่ตลาดนิวยอร์ค พบว่าราคาก๊าซธรรมชาติที่สหรัฐอเมริกา อยู่ที่ 2.43 บาทต่อกิโลกรัม ในขณะที่ประเทศไทย ปตท.กลับขายเนื้อก๊าซธรรมชาติแพงขึ้นเพิ่มขึ้นไปเป็นราคา 8.39 บาทต่อกิโลกรัม และจะยังคงมีนโยบายขึ้นไปอย่างต่อเนื่อง
หลักฐานที่ปรากฏข้างต้นนั้นไม่สอดคล้องของกลไกตลาดโลก และหาก ปตท.ยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจน ก็แสดงว่า กลุ่ม ปตท. ใช้กลไกตลาดโลภของผู้ถือหุ้นเป็นสำคัญ !!!
โดย : ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา "ปตท." มักจะพูดอยู่เสมอว่าราคาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติของไทยนั้นเป็นไปตามกลไกตลาดโลก
จากงบดุล 11 ปี ของ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) นับตั้งแต่แปรรูปมาในปี 2544 พบว่า องค์กรแห่งนี้มีรายได้รวม 11 ปีเท่ากับ 13.52 ล้านล้านบาท มีกำไรขั้นต้นรวมกัน 11 ปีเท่ากับ 1.36 ล้านล้านบาท และมีกำไรสุทธิรวมกัน 11 ปีเท่ากับ 774,167 ล้านบาท
สำหรับเงินลงทุนที่ระดมทุนมาด้วยการกระจายหุ้นและเพิ่มทุนเข้าบริษัทเพื่อนำไปลงทุน (ตามข้ออ้างในการแปรรูป)ตลอดระยะเวลา 11 ปี รวมทั้งสิ้น 28,277 ล้านบาท
ในขณะที่ส่วนที่กำไรสุทธิตลอด 11 ปีได้ถูกแจกจ่ายให้กับผู้ถือหุ้นที่ได้ซื้อหุ้นจากการขายหุ้นแลเพิ่มทุนปตท.รวมทั้งสิ้นประมาณกว่า 296,000 ล้านบาท ทั้งในรูปการปันผลและการกลับมาลงทุนเพื่อเพิ่มมูลค่าทรัพย์สินซึ่งจะส่งผลต่อมูลค่าหุ้นของผู้ถือหุ้น ที่ลงเงินทุนเพียง 28,277 ล้านบาท
เช่นเดียวกับบริษัทลูกของ ปตท.ที่มีชื่อว่า บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) (ปตท.สผ.)ซึ่งกิจการคือการสำรวจขุดเจาะน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ ตลอดจนสร้างโรงงานผลิตปิโตรเลียม ปรากฏว่าผลประกอบการมีรายได้รวม 11 ปีทั้งสิ้น 981,738 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิรวมอีก 283,463 ล้านบาท
และงบการเงินรวมล่าสุดของ บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัดและบริษัทย่อย สิ้นสุด ณ เดือน มีนาคม พ.ศ. 2555 นั้นน่าสนใจยิ่ง
น่าสนใจประการแรก ก็ตรงที่ว่า งบรวม ปตท.สผ. และบริษัทย่อย มีรายได้ 3 เดือนแรกปี 2544 สูงถึง 50,447 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับ 3 เดือนช่วงเวลาเดียวกันในปี 2554 นั้น ปตท.สผ.มีรายได้ 40,011 ล้านบาท ก็แปลว่าบริษัทแห่งนี้มีรายได้สูงเพิ่มขึ้นประมาณ 26.08% เทียบกับช่วงเวลาเดียวกัน
แต่ที่น่าสนใจยิ่งกว่า ก็ตรงที่งบรวม ปตท.สผ.และบริษัทย่อย มีกำไรสุทธิ 3 เดือนแรก ปี 2555 สูงถึง 18,2888 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับ 3 เดือนช่วงเวลาเดียวกันในปี 2554 นั้น ปตท.สผ.มีกำไรหลังหักภาษีที่ 10,978 ล้านบาท
คิดเป็นกำไรสุทธิที่เพิ่มสูงขึ้นประมาณ 66.58 เทียบกับช่วงเวลาเดียวกัน !!?
งบรวม ปตท.สผ.และบริษัทย่อย แจ้ง “รายได้จากการขาย” 47,257.61 ล้านบาท ใน 3 เดือนแรกปี 2555
งบรวม ปตท.สผ. 3 เดือนแรก ปี 2555 แสดงค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (4,861.90 ล้านบาท) + ค่าใช้จ่ายในการสำรวจปิโตรเลียม ( 1,300.56 ล้านบาท)+ ค่าภาคหลวงและค่าตอบแทนสำหรับปิโตรเลียม (5,589.76 ล้านบาท) รวมเฉพาะ 3 รายการนี้ ก็น่าจะพออนุมานเป็นต้นทุนสินค้ารวมทั้งสิ้น 11,752.22 ล้านบาท
หมายความว่ายอดขาย 47,257.61 ล้านบาท เมื่อหักค่าใช้จ่ายต้นทุนสินค้า 11,752.22 ล้านบาท กลายเป็นกำไรขั้นต้น 35,505 ล้านบาท คิดเป็น 75.13% ของยอดขาย
หรือคิดง่ายๆ ก็คือสมมุติ ปตท.สผ.ขายก๊าซไป 100 บาท แต่ต้นทุนเพียง 25 บาท ที่เหลือเป็นกำไรขั้นต้นไปถึง 75 บาท หรือเรียกว่าขายสินค้าคิดเป็น 4 เท่าตัวของต้นทุนสินค้าที่ได้มา หลังจากนั้นเอากำไรขั้นต้น 75 บาท แต่เนื่องจาก ปตท.สผ.มีรายได้ส่วนอื่นๆอีก เช่นการบริการท่อก๊าซ, กำไรจากเงินตราต่างประเทศ, กำไรจากธุรกรรมทางการเงิน และกำไรอื่นๆ เมื่อรวมเป็นรายได้ทั้งหมดจึงนำไปจ่ายค่าบริหารจัดการ (ซึ่งไม่รู้ว่าคุ้มค่าและรั่วไหลหรือไม่?) หักค่าดอกเบี้ยและต้นทุนการเงิน หักค่าเสื่อมทางบัญชี และจ่ายภาษี แล้วเหลือกำไรสุทธิ 36 บาท
ยิ่ง ปตท. และ ปตท.สผ. กำไรมากยิ่งขึ้นเท่าใด สังคมย่อมมีความเคลือบแคลงสงสัยมากขึ้นว่ากำไรอันมหาศาลเหล่านี้เป็นการเอากำไรเกินสมควรหรือไม่?
ปตท. มักจะมาชี้แจงอยู่เสมอว่าราคาพลังงานของไทย เป็นไปตามกลไกตามตลาดโลก?
คำถามแรกที่ ปตท. ควรจะต้องตอบต่อกรณีที่ มล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี ผู้เชี่ยวชาญและติดตามด้านพลังงานได้ตั้งคำถามว่าถ้าราคาน้ำมันของไทยเป็นไปตามกลไกตลาดโลกจริง เหตุใดจึงเกิดเหตุการณ์ดังต่อไปนี้ได้?
จากภาพที่ 1 “ปี 2551 ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส อยู่ที่ 145 เหรียญสหรัฐต่อบาเรล ในเวลานั้นค่าเงินบาทอยู่ที่ 33 บาทต่อเหรียญสหรัฐ คิดเป็นต้นทุนน้ำมันดิบ 30 บาทต่อลิตร ในเวลานั้นน้ำมันเบนซิน 91 คิดราคาที่ 42.50 บาท
แต่ในเดือนมีนาคม พ.ศ.2555 ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสอยู่ที่ 105 เหรียญสหรัฐต่อบาเรล ในเวลานั้นค่าเงินบาทอยู่ที่ 30 บาทต่อเหรียญสหรัฐ คิดเป็นต้นทุนน้ำมันดิบ 20.14 บาทต่อลิตร แต่ราคาน้ำมันเบนซินกลับอยู่ที่ 42.58 บาทต่อลิตร”
แล้วเหตุใด “ก๊าซธรรมชาติ” ต้นทุนสินค้าและต้นการผลิตที่ ปตท.สผ.ได้ก๊าซธรรมชาติของไทยที่ได้จากปากหลุมในประเทศไทยจึงมีราคาต่ำกว่าที่ปากหลุมพม่าถึง 40% (ตามภาพที่ 2)
หากราคาก๊าซที่ปากหลุมของไทยต่ำเกินไปกว่าท้องตลาด ก็แปลว่า ปตท.สผ.ได้ต้นทุนสินค้าและการผลิตมาต่ำกว่าท้องตลาด และทำให้จ่ายค่าภาคหลวงต่ำกว่าความเป็นจริง และทำให้บริษัทปิโตรเคมีในเครือ ของ ปตท. มีความร่ำรวยอย่างมหาศาลเกินความเป็นจริง เพราะหลบเลี่ยงการจ่ายค่าภาคหลวง จริงหรือไม่?
ในทางตรงกันข้าม หากราคาก๊าซที่ปากหลุมของพม่าสูงเกินความเป็นจริง ก็แปลว่าไทยเรามีการนำเข้าก๊าซในราคาที่ไม่สมเหตุสมผล ไร้ประสิทธิภาพ หรืออาจมีการทุจริตคอร์รัปชั่นก็ได้ จริงหรือไม่?
และความจริงก็มาปรากฏว่าราคาขายของ ปตท. นั้นไม่สอดคล้องกับตลาดโลก ดังปรากฏตามข้อมูลของ ผศ.ประสาท มีแต้ม นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานพบว่า ราคาขายก๊าซธรรมชาติของไทยสูงกว่าที่สหรัฐอเมริกา และกำลังมีราคาสูงขึ้นสวนทางกับราคาก๊าซที่กำลังมีราคาลดลงอย่างต่อเนื่อง (ตามภาพที่ 3)
และที่หลายคนอาจเจ็บช้ำน้ำใจยิ่งไปกว่านั้น ก็คือ ก๊าซธรรมชาติที่ ปตท.ขายให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการคำนวณค่าไฟฟ้าที่ประชาชนได้ใช้นั้น มีราคาสูงกว่าที่ปตท.ขายก๊าซธรรมชาติให้กับเอกชน โดยปีที่แล้วมีส่วนต่างกันถึง 12,500 ล้านบาท
และในขณะนี้ค่าไฟฟ้าก็กำลังทยอยปรับค่าสูงขึ้นจากต้นทุนของ ปตท. ที่กำลังสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
หมายความว่าเอกชนที่ร่ำรวยเป็นมหาเศรษฐีรวมถึงกิจการปิโตรเคมีซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ ปตท.จำนวนมากนั้น ซื้อก๊าซธรรมชาติในราคาที่ต่ำกว่าประชาชนได้ซื้อในการใช้ไฟฟ้าผ่านการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และธุรกิจเหล่านี้ยังสามารถขายไปทำกำไรอย่างมหาศาลในตลาดโลก โดยที่ประชาชนชาวไทยเดือดร้อนกันอย่างถ้วนหน้า และประเทศชาติก็ไม่ได้ผลประโยชน์เต็มเม็ดเต็มหน่วยอย่างที่ควรจะเป็น
มล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี ผู้เชี่ยวชาญในการติดตามด้านพลังงานกลับพบว่าราคาก๊าซธรรมชาติทยอยลดราคาลงมาเรื่อยๆ แต่ประเทศไทยกับราคาก๊าซยังขึ้นส่วนทางอย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2555 ที่ตลาดนิวยอร์ค พบว่าราคาก๊าซธรรมชาติที่สหรัฐอเมริกา อยู่ที่ 2.43 บาทต่อกิโลกรัม ในขณะที่ประเทศไทย ปตท.กลับขายเนื้อก๊าซธรรมชาติแพงขึ้นเพิ่มขึ้นไปเป็นราคา 8.39 บาทต่อกิโลกรัม และจะยังคงมีนโยบายขึ้นไปอย่างต่อเนื่อง
หลักฐานที่ปรากฏข้างต้นนั้นไม่สอดคล้องของกลไกตลาดโลก และหาก ปตท.ยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจน ก็แสดงว่า กลุ่ม ปตท. ใช้กลไกตลาดโลภของผู้ถือหุ้นเป็นสำคัญ !!!