กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) แถลงที่กรุงวอชิงตันในวันจันทร์ (7) ว่า พม่าสามารถที่จะกลายเป็นระบบเศรษฐกิจที่เจริญรุ่งเรืองรายถัดไปของเอเชีย ถ้าหากยังมุ่งมั่นเดินไปในเส้นทางใหม่ทั้งทางการเมืองและทางเศรษฐกิจ
ในการประเมินทบทวนเศรษฐกิจของพม่าเป็นครั้งแรกคราวนี้ ไอเอ็มเอฟกล่าวว่า “รัฐบาลชุดใหม่ของพม่า มีโอกาสครั้งสำคัญในการที่จะก้าวกระโดดในด้านการพัฒนา และการยกระดับมาตรฐานความเป็นอยู่”
“พม่าสามารถกลายเป็นพรมแดนทางเศรษฐกิจใหม่ของเอเชียได้ทีเดียว โดยหากดำเนินการปฏิรูปด้านต่างๆ อย่างถูกต้องเหมาะสม ก็สามารถที่จะเปลี่ยนทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์, กำลังแรงงานที่ยังอยู่ในวัยหนุ่มสาว, และความที่อยู่ใกล้ชิดกับพวกระบบเศรษฐกิจที่มีพลวัตที่สุด ให้กลายเป็นความได้เปรียบของตนเอง”
แต่พร้อมกันนี้ ไอเอ็มเอฟก็เตือนรัฐบาลพม่าที่กำลังเริ่มต้นมีเงินลงทุนต่างประเทศจำนวนมากมายมาเคาะประตูเรียกหา โดยชี้ว่า พม่าควรเปิดก้าวย่างไปแต่ละก้าวอย่างระมัดระวัง ด้วยการเน้นหนักไปที่การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจเอาไว้ให้ได้
“คณะนักเศรษฐกิจของไอเอ็มเอฟเชื่อว่า การปฏิรูปอย่างรวดเร็วในขนาดขอบเขตอันใหญ่โตใดๆ ก็ตามที ย่อมสามารถเกิดความผิดพลาดที่สร้างความเสียหายอย่างร้ายแรงขึ้นมาได้ ถึงแม้การดำเนินการปฏิรูปตามที่วางแผนเอาไว้อย่างถี่ถ้วน เป็นสิ่งที่จะต้องใช้เวลาในการดำเนินการ แต่การจัดลำดับความสำคัญก็ยังคงเป็นสิ่งจำเป็นถ้าหากจะก่อให้เกิดผลประโยชน์อันจับต้องได้แก่ประชากรส่วนใหญ่” ไอเอ็มเอฟระบุ
นางเมอร์รัล คาราซูลู ผู้อำนวยการของไอเอ็มเอฟประจำพม่า กล่าวว่า ทางไอเอ็มเอฟเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงอันเป็นรูปธรรมในพม่าอย่างชัดเจนในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะการดำเนินงานของรัฐบาลพม่าที่จัดการลอยตัวแบบมีการจัดการ (managed float) ค่าเงินจ๊าต ในต้นเดือนเมษายนนั้น นับเป็นการเริ่มต้นที่สำคัญมาก เนื่องจากในอดีตค่าเงินพม่าถูกควบคุมอย่างเข้มงวด และในทางเป็นจริงแล้ว ก็มีอัตราแลกเปลี่ยนในตลาดมืดอย่างมากมายหลากหลายมายาวนาน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ขัดขวางการค้า และการลงทุนในประเทศมาโดยตลอด
คาราซูลู ชี้ว่า ในตอนนี้รัฐบาลได้ให้คำมั่นที่จะรวมอัตราแลกเปลี่ยนที่หลากหลายให้เป็นหนึ่งเดียว ให้ทันกับการเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ที่จะมีขึ้นในปลายปี 2013 ซึ่งเธอคิดว่าเป็นสัญญาที่สามารถกระทำให้เป็นจริงได้
เธอบอกด้วยว่า รัฐบาลพม่ายังยุติการใช้วิธีการพิมพ์ธนบัตรเข้าสู่ระบบเพื่อแก้ปัญหาการขาดดุลต่างๆ ของตน ซึ่งวิธีมั่วๆ เช่นนี้เมื่อบวกกับอัตราแลกเปลี่ยนที่บิดเบือนผิดเพี้ยน ก็กลายเป็นการเพิ่มอัตราเงินเฟ้อ
ไอเอ็มเอฟมองว่า ความเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ ทำให้อัตราเงินเฟ้อที่เคยเฉลี่ยอยู่ที่เกือบ 33% ในปีงบประมาณ เม.ย.2007-มี.ค.2008 ลดลงเหลือ 8.2% ในปีงบประมาณ 2010-11 และเหลือ 4.2% ในปีงบประมาณ 2011-12
รายงานของไอเอ็มเอฟคาดการณ์ด้วยว่า อัตราเติบโตของเศรษฐกิจพม่าอยู่ที่ 5.5% ในปีที่แล้ว และจะสูงขึ้นเป็นราวๆ 6.0% ในปีนี้ โดยที่อัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นเป็น 5.8% โดยเฉลี่ย
ในการประเมินทบทวนเศรษฐกิจของพม่าเป็นครั้งแรกคราวนี้ ไอเอ็มเอฟกล่าวว่า “รัฐบาลชุดใหม่ของพม่า มีโอกาสครั้งสำคัญในการที่จะก้าวกระโดดในด้านการพัฒนา และการยกระดับมาตรฐานความเป็นอยู่”
“พม่าสามารถกลายเป็นพรมแดนทางเศรษฐกิจใหม่ของเอเชียได้ทีเดียว โดยหากดำเนินการปฏิรูปด้านต่างๆ อย่างถูกต้องเหมาะสม ก็สามารถที่จะเปลี่ยนทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์, กำลังแรงงานที่ยังอยู่ในวัยหนุ่มสาว, และความที่อยู่ใกล้ชิดกับพวกระบบเศรษฐกิจที่มีพลวัตที่สุด ให้กลายเป็นความได้เปรียบของตนเอง”
แต่พร้อมกันนี้ ไอเอ็มเอฟก็เตือนรัฐบาลพม่าที่กำลังเริ่มต้นมีเงินลงทุนต่างประเทศจำนวนมากมายมาเคาะประตูเรียกหา โดยชี้ว่า พม่าควรเปิดก้าวย่างไปแต่ละก้าวอย่างระมัดระวัง ด้วยการเน้นหนักไปที่การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจเอาไว้ให้ได้
“คณะนักเศรษฐกิจของไอเอ็มเอฟเชื่อว่า การปฏิรูปอย่างรวดเร็วในขนาดขอบเขตอันใหญ่โตใดๆ ก็ตามที ย่อมสามารถเกิดความผิดพลาดที่สร้างความเสียหายอย่างร้ายแรงขึ้นมาได้ ถึงแม้การดำเนินการปฏิรูปตามที่วางแผนเอาไว้อย่างถี่ถ้วน เป็นสิ่งที่จะต้องใช้เวลาในการดำเนินการ แต่การจัดลำดับความสำคัญก็ยังคงเป็นสิ่งจำเป็นถ้าหากจะก่อให้เกิดผลประโยชน์อันจับต้องได้แก่ประชากรส่วนใหญ่” ไอเอ็มเอฟระบุ
นางเมอร์รัล คาราซูลู ผู้อำนวยการของไอเอ็มเอฟประจำพม่า กล่าวว่า ทางไอเอ็มเอฟเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงอันเป็นรูปธรรมในพม่าอย่างชัดเจนในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะการดำเนินงานของรัฐบาลพม่าที่จัดการลอยตัวแบบมีการจัดการ (managed float) ค่าเงินจ๊าต ในต้นเดือนเมษายนนั้น นับเป็นการเริ่มต้นที่สำคัญมาก เนื่องจากในอดีตค่าเงินพม่าถูกควบคุมอย่างเข้มงวด และในทางเป็นจริงแล้ว ก็มีอัตราแลกเปลี่ยนในตลาดมืดอย่างมากมายหลากหลายมายาวนาน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ขัดขวางการค้า และการลงทุนในประเทศมาโดยตลอด
คาราซูลู ชี้ว่า ในตอนนี้รัฐบาลได้ให้คำมั่นที่จะรวมอัตราแลกเปลี่ยนที่หลากหลายให้เป็นหนึ่งเดียว ให้ทันกับการเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ที่จะมีขึ้นในปลายปี 2013 ซึ่งเธอคิดว่าเป็นสัญญาที่สามารถกระทำให้เป็นจริงได้
เธอบอกด้วยว่า รัฐบาลพม่ายังยุติการใช้วิธีการพิมพ์ธนบัตรเข้าสู่ระบบเพื่อแก้ปัญหาการขาดดุลต่างๆ ของตน ซึ่งวิธีมั่วๆ เช่นนี้เมื่อบวกกับอัตราแลกเปลี่ยนที่บิดเบือนผิดเพี้ยน ก็กลายเป็นการเพิ่มอัตราเงินเฟ้อ
ไอเอ็มเอฟมองว่า ความเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ ทำให้อัตราเงินเฟ้อที่เคยเฉลี่ยอยู่ที่เกือบ 33% ในปีงบประมาณ เม.ย.2007-มี.ค.2008 ลดลงเหลือ 8.2% ในปีงบประมาณ 2010-11 และเหลือ 4.2% ในปีงบประมาณ 2011-12
รายงานของไอเอ็มเอฟคาดการณ์ด้วยว่า อัตราเติบโตของเศรษฐกิจพม่าอยู่ที่ 5.5% ในปีที่แล้ว และจะสูงขึ้นเป็นราวๆ 6.0% ในปีนี้ โดยที่อัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นเป็น 5.8% โดยเฉลี่ย