xs
xsm
sm
md
lg

ความสัมพันธ์จีนเริ่มเปลี่ยน หลังพม่าเปิดประเทศ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ชาวพม่าขี่รถจักรยานยนต์ผ่านพื้นที่ก่อสร้างโครงการท่อส่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ที่จะส่งก๊าซจากพม่าไปยังจีน ชานเมืองปิ่นอูวิน (Pyin Oo Lwin) ทางตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อวันที่ 23 ม.ค.-- MYANMAR-CHINA/ REUTERS/Staff.</font></b>

รอยเตอร์ - เมื่อเจ้าหน้าที่พม่ามีคำสั่งให้ นางเฉินฉิงเฟิง (Chen Ching-feng) ชาวพม่าเชื้อชาติจีน ย้ายป้ายภาษาจีนออกร้านเสื้อผ้าของเธอที่ตั้งอยู่ในเมืองมัณฑะเลย์ เมืองใหญ่ที่สุดทางภาคเหนือของพม่า นางเฉิน เพิกเฉย และเมื่อเจ้าหน้าที่กลับมาอีกครั้งหลังผ่านไป 2-3 วัน และสอบถามว่าเหตุใดป้ายจึงยังอยู่ เธอกล่าวเพียงว่า งานยุ่ง เธอถูกเจ้าหน้าที่สั่งให้นำป้ายลงทันทีและไม่ให้นำกลับขึ้นไปติดอีก ขณะเดียวกันร้านค้าที่มีป้ายภาษาจีนร้านอื่นๆ ก็ถูกสั่งให้ย้ายป้ายภาษาจีนเช่นเดียวกัน

เจ้าหน้าที่รัฐบาลในกรุงเนปีดอ เมืองหลวงของพม่า ระบุว่า พม่าไม่มีคำสั่งห้ามอย่างเป็นทางการกับการโฆษณาภาษาจีน แต่เรียกร้องให้เลิกใช้ป้ายที่มีภาษาจีนในเมืองมัณฑะเลย์ที่เต็มไปด้วยพ่อค้าแม่ค้าชาวจีนอยู่มากมาย ซึ่งสร้างความไม่สบายใจเกี่ยวกับการขยายอิทธิพลของจีนในประเทศ

ขณะที่พม่าดำเนินการปฏิรูปอย่างเต็มที่ ความสัมพันธ์ของพม่ากับจีนที่เป็นประเทศผู้ลงทุนรายใหญ่ที่สุดและเป็นประเทศคู่ค้าใหญ่เป็นอันดับสองของพม่ากำลังเปลี่ยนไป

ระหว่างที่พม่าตกอยู่ในภาวะถูกโดดเดี่ยวประเทศ พม่าพึ่งพาจีนที่เป็นพันธมิตรทางทหารและทางการทูตที่ใกล้ชิดที่สุด และจากมาตรการคว่ำบาตรจากชาติตะวันตกหลังพม่าปราบปรามการประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยในปี 2531 ยิ่งทำให้พม่ามีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจใกล้ชิดมากยิ่งขึ้นกับจีน

แต่เมื่อพม่ากลับเข้าสู่หนทางการเป็นประชาธิปไตย การถกเถียงเกี่ยวกับบทบาทของจีนก็เพิ่มเสียงชัดขึ้นเรื่อยๆ การปฏิรูปของพม่าเกิดขึ้นขณะที่การแข่งขันทางภูมิศาสตร์การเมืองระหว่างสหรัฐและจีนดูจะชัดเจนมากยิ่งขึ้น นับตั้งแต่ที่รัฐบาลในยุคประธานาธิบดีบารัค โอบามา เดินหน้าแผ่อิทธิพลในเอเชีย หลังรับบทบาทนำในสงครามในอิรักและอัฟกานิสถานในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา

อิทธิพลทางเศรษฐกิจที่ขยายตัวของจีนไม่เคยเป็นที่นิมยมชมชอบในประเทศที่ในอดีตมีความเคลือบแคลงสงสัยต่ออำนาจต่างชาติแห่งนี้ ฝ่ายจีนก็เช่นเดียวกัน การปะทะกันระหว่างทหารรัฐบาลพม่าและกลุ่มก่อความไม่สงบกลุ่มต่างๆ ตามแนวพรมแดนจีนทำให้มีผู้บริสุทธิ์ชาวจีนเสียชีวิตไปเป็นจำนวนมากและมีผู้ลี้ภัยข้ามพรมแดนไปฝั่งจีนมากขึ้น

“รัฐบาลพยายามที่จะห้ามอิทธิพลต่างชาติในประเทศก่อนหน้านี้ และดูเหมือนว่าสิ่งนั้นกำลังจะเกิดขึ้นอีกครั้ง” นายหู เจี่ยจี (Hu Chieh-chi) ชาวพม่าเชื้อชาติจีน เจ้าของร้านอาหารในเมืองมัณฑะเลย์ กล่าว

การรณรงค์กับผู้คนในพื้นที่กำลังก่อตัวเพื่อเรียกร้องให้ระงับโครงการก่อสร้างท่อส่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติคู่ขนานที่เป็นโครงการลงทุนเชิงกลยุทธ์ของจีนในพม่า ที่จะวางแนวท่อจากอ่างเบงกอลผ่านพม่าไปยังมณฑลทางภาคตะวันตกของจีนที่ยังด้อยพัฒนา

ในการให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวรอยเตอร์ นักเคลื่อนไหวรณรงค์กล่าวว่า พวกเขามีความกล้ามากขึ้นที่จะเคลื่อนไหว หลังรัฐบาลพม่าตัดสินใจเมื่อวันที่ 30 ก.ย.ระงับโครงการก่อสร้างเขื่อนมิตโสน มูลค่า 3,600 ล้าน เพราะการกดดันของประชาชน

เจ้าหน้าที่สหรัฐฯกล่าวกับรอยเตอร์ ว่า การตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนเป็นปัจจัยสำคัญในการฟื้นคืนความสัมพันธ์ครั้งประวัติศาสตร์ของรัฐบาลสหรัฐกับพม่าเมื่อปลายปีที่ผ่านมา

นายกอ ติลา (Kyaw Thiha) อดีตนักโทษทางการเมืองที่ลงสมัครเลือกตั้งชิงที่นั่งในสภาในวันที่ 1 เม.ย.จากพรรค NLD ระบุว่า สิ่งที่จีนทำไม่ใช่ประชาธิปไตย และเขาต้องการให้รัฐบาลหยุดโครงการสร้างท่อส่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติความยาว 790 กม.ที่จะตัดผ่านประเทศ รวมทั้งเมืองที่เขาอาศัยอยู่ด้วย
<br><FONT color=#000033>ของประดับตกแต่งวันตรุษจีนวางขายอยู่ในเมืองลาเฉียว ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ เมืองลาเฉียวเป็นเมืองที่มีประชากรสัญชาติจีนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก .-- MYANMAR-CHINA/ REUTERS/Staff.</font></b>
กลุ่มคุ้มครองสิทธิมนุษยชน กล่าวว่า โครงการท่อส่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ จะทำให้ผู้คนต้องอพยพย้ายที่อยู่ ทำลายสภาพความเป็นอยู่ของเหล่าเกษตรกรและชาวประมง และผลประโยชน์ส่วนใหญ่ของโครงการนี้ตกอยู่กับจีนมากกว่าพม่า

“เราต้องการให้รัฐสภายุติโครงการก่อสร้างท่อส่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาตินี้ โครงการนี้ไม่ได้รับอนุญาตจากประชาชน” นายกอ ติลา กล่าว

เมื่อ 1 ปีก่อน การพูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ในประเทศยังถือเป็นเรื่องอันตราย แต่การปฏิรูปของรัฐบาลพลเรือนชุดใหม่เริ่มผ่อนคลายระบอบเผด็จการและการถูกโดดเดี่ยวประเทศ

รัฐบาลได้ผ่อนคลายการเซ็นเซอร์สื่อ อนุญาตให้ตั้งสหภาพแรงงาน เริ่มเจรจาสันติภาพกับกบฎชนกลุ่มน้อย ปล่อยนักโทษการเมืองหลายร้อยคน และแสดงให้เห็นถึงสัญญาณการถอนตัวออกจากอิทธิพลทางเศรษฐกิจและการเมืองของจีน

นายตาน ไต รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานพม่ารับรู้ถึงความวิตกกังวลของสาธารณชนเกี่ยวกับโครงการท่อส่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ แต่ระบุว่าโครงการก่อสร้างนี้จะเสร็จสิ้นตามกำหนดในปีหน้า

“เราแก้ทุกๆ ปัญหาที่พบตามเส้นทางวางท่อ และเราได้จ่ายค่าชดเชยให้กับที่ดินที่ถูกเวนคืนมากกว่าแต่ก่อน ผมพิจารณทุกประเด็นปัญหาที่อาจมีขึ้นหรือถูกหยิบยกขึ้นมาโดยกลุ่มต่อต้านรัฐบาล ในแต่ละวัน ผมเห็นผู้คนหลายกลุ่มในอินเทอร์เน็ตยกปัญหาขึ้นมาเพื่อหวังจะขัดขวางยุติโครงการนี้” นายไต กล่าว

สำหรับหลายๆ คนในพม่า โครงการก่อสร้างท่อส่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาตินี้รวมความไม่พอใจหลายอย่างเกี่ยวกับอิทธิพลของจีนไว้ด้วยกัน เช่น การทำลายสิ่งแวดล้อม การยึดที่ดิน การเล่นพรรคเล่นพวก และข้อกล่าวหาว่ามีการทุจริต

นายตาน วิน หนึ่งในเกษตรกรหลายคนที่ไม่พอใจเมื่อถูกถามถึงโครงการก่อสร้างของจีน รถขุดดินของจีนหลายคันเข้าขุดนาข้าวไปเกือบครึ่งเพื่อทำทางสำหรับวางท่อและถนน

“เรากำลังเผชิญกับความยากลำบากของจริงเพราะคนจีน ผมจะมีความสุขมากหากท่อส่งน้ำมันพวกนี้ถูกยกเลิกไป แต่ผมไม่คิดว่ามันจะเกิดขึ้น มันไม่ใช่เรื่องเกี่ยวกับการเกลียดชังจีน ผมสามารถรับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ ผมไม่มีอำนาจ ประชาชนส่วนมากกลัวที่จะพูดต่อต้านโครงการเพราะมันเป็นโครงการของรัฐบาล” นายวิน กล่าว

พระสงฆ์รูปหนึ่งที่ที่ดินถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนจากท่อส่งน้ำมันกล่าวว่าโครงการก่อสร้างที่ดำเนินโดยบริษัทปิโตรเลียมแห่งชาติจีนควรนำเงินและการพัฒนามาสู่หมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบจากโครงการนี้

“สิ่งเหล่านี้เป็นทรัพยากรธรรมชาติของเรา เราควรรักษาไว้ให้กับพวกเราเพื่อใช้พัฒนาประเทศ ไม่ใช่ขายให้กับจีน เราเองก็ไม่มีพลังงานใช้เพียงพอ” พระสงฆ์รูปเดิม กล่าว พร้อมระบุว่ารัฐบาลไม่ได้จัดสรรเงินที่ได้จากโครงการท่อส่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติให้กับประชาชน และต้องการทราบว่าเงินเหล่านั้นไปอยู่ที่ใด
<br><FONT color=#000033> ป้ายโฆษณาในเมืองมัณฑะเลย์ถูกลบภาษาจีนออก ทางการเมืองมัณฑะเลย์พยายามเรียกร้องให้ประชาชนย้ายป้ายที่มีภาษาจีนประกอบอยู่ออกเพราะความไม่สบายใจเกี่ยวกับการขยายอิทธิพลของจีนที่เพิ่มมากขึ้นในประเทศ  .-- MYANMAR-CHINA/ REUTERS/Staff.</font></b>
คอนจา (Khon Ja) นักรณรงค์ด้านสิทธิมนุษยชน จากภาคเหนือของพม่า ที่มักจะแสดงแผนที่ให้ผู้เยี่ยมชมให้เห็นว่าเหตุใดพม่าจึงเป็นที่ปรารถนาของจีน เพราะถนนและเส้นทางรถไฟที่เชื่อมต่อกับภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีนไปสู่โลกภายนอก กล่าวว่าจีนกำลังจะต้องตกใจที่พม่าเป็นเพียงประเทศเดียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่แข็งข้อกับจีน พม่ามีทรัพยากรธรรมชาติจำนวนมาก อยู่ในพื้นที่ตำแหน่งสำคัญทางยุทธศาสตร์ และมีพรมแดนติดกับจีนเป็นแนวยาวมากกว่า 1,240 กม.

แม้ดูเหมือนว่าจีนจะไม่เป็นที่ต้องการในตอนนี้ แต่อิทธิพลของจีนที่แพร่ไปอย่างกว้างขวางก็ไม่ง่ายที่จะถอนออกไปจากพม่า

พม่า หนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดในเอเชีย แต่อุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ เป็นผู้ประกอบการรายใหม่ที่ต้องการการค้าบริเวณพรมแดน และเงินลงทุนจากจีน และกองทัพยังต้องการความช่วยเหลือจากจีนในการยุติความไม่สงบตามแนวพรมแดนร่วมกัน

รัฐบาลจีนและบริษัทต่างๆ ของจีนได้ลงทุนในพม่าไปแล้วมากกว่า 14,000 ล้านดอลลาร์ ในช่วงปีงบประมาณ 2553-2554 ทำให้มูลค่าการลงทุนโดยตรงต่างประเทศเป็น 20,000 ล้านดอลลาร์ จาก 300 ล้านดอลลาร์ ในปีงบประมาณก่อนหน้า

“พม่าไม่สามารถทำลายความสัมพันธ์อันดีที่มีกับจีนได้” หลินซีซิง (Lin Xixing) ผู้เชี่ยวชาญด้านพม่า จากมหาวิทยาลัยจี้หนัน (Jinan) มณฑลกว่างโจว กล่าว

ไม่เพียงแค่คนเชื้อชาติจีนเท่านั้นที่เจริญก้าวหน้าจากเศรษฐกิจของจีน ในเมืองลาเฉียว (Lashio) ที่เดินทางด้วยรถยนต์ 4 ชม.จากพรมแดนจีน มีครอบครัวชาวอินเดียครอบครัวหนึ่งภูมิใจกับความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในครอบครัวเพราะจีน

“พวกเขาทำให้ธุรกิจของเรารุ่งเรืองมาก รถบรรทุกจำนวนมากเข้าไปค้าขายกับจีน เราเปิดร้านรับซ่อมรถเหล่านี้ ธุรกิจเป็นไปด้วยดี” เจ้าของร้านซ่อมรถ กล่าว

ตลาดเมืองลาเฉียวเต็มไปด้วยสินค้าที่ผลิตจากจีน และภาษาจีน เป็นภาษาที่ใช้ทั่วไปในเมืองนี้ เนื่องจากการอพยพเข้ามาของคนจีนนานหลายทศวรรษ ส่วนใหญ่มากจากมณฑลยูนนาน และเนื่องจากการที่พม่าไม่มีอุตสากรรมเป็นของตัวเอง สินค้าพื้นฐานส่วนใหญ่มักนำเข้ามาจากจีนหรือไทย ตั้งแต่ผงซักฟอกไปจนถึงซ้อสถั่วเหลือง และราคายังถูกกว่าสินค้าของพม่าเป็นเท่าตัว เช่น ราคาเบียร์ขวดใหญ่ของจีนวางขายในเมืองลาเฉียวอยู่ที่ 500-600 จ๊าต ถูกกว่าครึ่งหนึ่งของเบียร์พม่าที่มีขนาดเท่ากัน จึงไม่เป็นเรื่องยากนักที่สินค้าจากต่างชาติเหล่านี้จะตีตลาดสินค้าท้องถิ่นได้

บนถนนสายหลักของเมืองลาเฉียวที่มุ่งหน้าไปจีน รถบรรทุกวิ่งสวนกันตลอดทั้งวัน รถที่มาจากฝั่งจีนบรรทุกสินค้าเช่น ตู้เย็น โทรทัศน์ และสินค้าอุปโภคบริโภคอื่นๆ ในทางกลับกันรถบรรทุกจากฝั่งพม่าจะบรรทุกไม้ ถ่าน และทรัพยากรอื่นๆ ยังไม่นับรวมถึงพวกลักลอบขนยาเสพติด หยก และอัญมณีอื่นๆ เข้าไปฝั่งจีนอีกด้วย
<br><FONT color=#000033>ชายชาวพม่ายืนอยู่หน้าร้านขายอัญมณีที่ชื่อร้านใช้อักษรภาษาอังกฤษแทนการใช้ตัวอักษรจีน ในเมืองมัณฑะเลย์.-- MYANMAR-CHINA/ REUTERS/Staff.</font></b>
<br><FONT color=#000033>พ่อค้าชาวจีนเลือกซื้อเครื่องประดับหยกจากร้านค้าที่ตั้งอยู่ในตลาดค้าหยก เมืองมัณฑะเลย์ เมื่อวันที่ 29 พ.ย. อิทธิพลของจีนเพิ่มมากขึ้นในเมืองมัณฑะเลย์ ห่างจากมณฑลยูนนาน ของจีน ทางตะวันตกเฉียงใต้ราว 264 กม. ครอบครัวชาวจีนเข้ามาอาศัยอยู่ในเมืองมัณฑะเลย์สืบต่อกันหลายรุ่นและภาษาจีนเป็นภาษาที่ใช้อย่างกว้างขวางในเมืองนี้ ร้านค้าหลายร้านมีป้ายและโฆษณาเป็นภาษาจีน .-- MYANMAR-CHINA/ REUTERS/Staff.</font></b>
หลายคนสงสัยว่าสิ่งเหล่านี้จะเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่หากมาตรการคว่ำบาตรของชาติตะวันตกถูกยกเลิก การค้ากับยุโรปและสหรัฐจะเป็นอุปสรรคต่อจีนหรือไม่

ออง ซอ วิน (Aung Zaw Win) ผู้ผลิตเครื่องจักรในเมืองมัณฑะเลย์ ที่ทำธุรกิจส่วนใหญ่กับจีนและชาวจีน กล่าวว่า จีนจะยังคงเป็นตลาดสำคัญของพม่า จีนมีการจัดการระบบเครือข่ายขนส่งสินค้าและระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ดี และไม่สามารถเปลี่ยนตัวคู่ค้าแทนจีนภายในเวลาไม่กี่ปีได้

แต่ นายซอวิน ก็เตรียมตัวรับสถานการณ์ที่จะเปลี่ยนไปเช่นกัน โดยก่อนหน้านี้มีนักการทูตสหรัฐสอบถามนายซอวินเกี่ยวกับผลกระทบจากมาตรการคว่ำบาตรต่อธุรกิจของเขา ขณะที่บริษัทจากญี่ปุ่นสอบถามเกี่ยวกับการทำธุรกิจร่วมกัน

“ผมพร้อมแล้วหากมาตรการคว่ำบาตรจะถูกยกเลิก ผมกำลังสร้างโรงงานแห่งใหม่เพื่อส่งออกไปสหรัฐและยุโรป ผมไม่สามารถซื้อชิ้นส่วนที่ผลิตขึ้นในสหรัฐฯได้โดยตรง ผมต้องไปหาที่จีนหรือจากที่คนวางขายตามถนน” นายซอวิน กล่าว

นายเส่ง วิน เพื่อนของ นายซอวิน เชื่อว่า ตลาดจะตัดสินว่าใครจะดีกว่าสำหรับธุรกิจในพม่า จีน ยุโรป หรือสหรัฐฯ

“ทุกคนทราบว่าสินค้าสหรัฐและยุโรปมีราคาสูงเทียบกับที่ผลิตในจีน กลไกตลาดจะเป็นเครื่องมือพิจารณาและเราจะยังคงทำการค้ากับจีน เพราะสินค้าจากจีนมีราคาถูก” นายเส่ง วิน กล่าว

มาโนช วอระ (Manoj Vora) นักวิเคราะห์เอเชียจากหน่วยข่าวกรองเศรษฐศาสตร์ (EIU) ของสิงคโปร์ เห็นด้วยว่าการผ่อนปรนมาตรการคว่ำบาตรจะไม่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงมากนักในเบื้องต้น จะยังไม่เห็นการหลั่งไหลของเงินทุนจากบริษัทของสหรัฐฯและยุโรปในเวลานี้ การพึ่งพาของพม่ากับจีนยังเป็นพันธมิตรในระดับภูมิภาคเพื่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และการลงทุนจะยังคงมีอยู่ต่อไป
กำลังโหลดความคิดเห็น