ASTVผู้จัดการรายวัน - "ปู"ล้อมคอกโรงงานเคมีบึ้ม สั่งรมว.อุตฯ ตรวจสอบสารเคมีทุกไตรมาส ขู่ทบทวนต่อใบอนุญาต ด้าน"มาร์ค" จี้รัฐคุมมลพิษ ดูแลคุณภาพชีวิตชาวบ้านต่อเนื่อง ดักคอ แก้รธน.อย่ายกเลิก 67 วรรค 2 คุ้มครองสิทธิชุมชน ชาวบ้านมาบตาพุด ผวาปัญหาโรงงานระเบิด-แก๊สรั่ว ด้านนักวิชาการชี้ “โทลูอีน” ระยะยาวอาจกลายเป็นมะเร็งในเม็ดเลือด ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญสารเคมี แฉ รบ.เบือนข้อมูลโทลูอีนที่ตกค้าง ชี้อยู่ได้นานกว่า 70 ปีแล้ว หากสูดเข้าไปเป็นเวลานานจะเป็นพิษต่อระบบประสาท
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่มีการตรวจสอบพบว่ามีสารคลอรีนรั่วอีกหนึ่งโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดว่า ต้องมีการระมัดระวัง ตนได้สั่งการไปที่กระทรวงอุตสาหกรรม และวันนี้ได้มีการลงพื้นที่ สิ่งแรกที่ต้องทำคือการประเมินความเสี่ยง เพราะมีสารเคมีหลายตัวถูกนำเข้าไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งต้องดูว่ามีกี่ประเภทที่เป็นวัตถุไวไฟ ทำให้เกิดอากาศเป็นพิษ ซึ่งต้องนำมาทบทวนใหม่ทุกโรงงาน และอยากให้มีการตรวจวัดในทุกๆไตรมาส เพราะจะมีผลต่อการต่อใบอนุญาตด้วย
ส่วนมาตรการต่างๆ ได้สั่งให้กระทรวงอุตสาหกรรม เข้าไปดูในส่วนของนิคมอุตสาหกรรมมากขึ้น และที่สำคัญการมีส่วนร่วมกับประชาชนในท้องถิ่น ถือเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อรับฟังข้อคิดเห็น และข้อมูลต่างๆที่เป็นประโยชน์ จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้สั่งให้กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงมหาดไทย ในการบูรณการ และเข้าช่วยเหลือประชาชน
** "มาร์ค"ลงพื้นที่มาบตาพุด
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมคณะประกอบด้วย นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรค นายสาธิต ปิตุเตชะ นายวิชัย ล้ำสุทธิ ส.ส.ระยอง พรรคประชาธิปัตย์ นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ ได้เดินทางลงพื้นที่มาบตาพุด เพื่อเยี่ยมพี่น้องประชาชน ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุระเบิดถังเก็บสารเคมีโทลูอิน ของโรงงานบีเอสที อิลาสโตเมอร์ส ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด โดยมีเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยทหารจากค่ายนวมินทร์ทราชินี มาตั้งหน่วยบริการตรวจสุขภาพของประชาชน ที่อาศัยอยู่ในชุมชนใกล้เคียงโรงงาน 1-5 กม. โดยมีชาวบ้านมาเข้ารับการตรวจเป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากสารประกอบอินทรีระเหย หรือ สารสีโอซี ซึ่งจะมีอาการแสบคอ คอแห้ง ระคายเคืองระบบทางเดินหายใจ ผิวหนังระคายเคือง จาม ปวดศรีษะและแสบตา
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า การลงพื้นที่เพื่อขอทราบความคืบหน้าของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ในสมัยที่ตนเป็นรัฐบาล ก็เคยมาดูแลแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ของมาบตาพุด แต่เมื่อไม่ได้เป็นรัฐบาล ก็ไม่มีการดูแลอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ตนจะไปเยี่ยมผู้ที่ได้รับกระทบจากเหตุการณ์และบ้านที่เสียหายจากแรงระเบิด
ทั้งนี้ กรณีการระเบิด และ สารเคมีโซเดียมไฮโปคลอไรด์รั่ว เคยเกิดในช่วงพรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาลมาแล้วครั้งหนึ่ง ซึ่งเราก็พยายามวางแนวทางบรรเทาผลกระทบ และดูแลประชาชนอย่างทั่วถึง
**จี้รัฐบาลเร่งวางกรอบคุมนิคมอุตฯ
นายอภิสิทธิ์กล่าว ให้สัมภาษณ์ ภายหลังรับฟังรายงาน และตรวจเยี่ยมผู้ได้รับความเสียหายจากกรณีเหตุระเบิดโรงงานบีเอสที อิลาสโตเมอร์ส ว่า จากการรับฟังรายงาน เหตุการณ์ยังไม่ได้ข้อยุติชัดเจนในเรื่องสาเหตุ แต่สิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการคือ แผนการที่ต้องเตรียมพร้อม โดยเฉพาะในสถานการณ์ฉุกเฉิน เพราะขณะนี้มีการลงทุนในตัวระบบหลายเรื่อง แต่ในแง่การสื่อสารข้อมูลสำหรับการปฏิบัติจริง ไม่สามารถทำได้ที่ตั้งใจไว้ ดังนั้นต้องมีการต่อยอดให้สมบูรณ์ รวมถึงมีการซักซ้อม และวางระบบสำรองกับเจ้าของโรงงาน และภาคเอกชนในกรณีหากเกิดปัญหา
ผู้สื่อข่าวถามว่า เป็นไปได้อย่างไร ที่การนิคมฯ ไม่มีข้อมูลเป็นของตัวเองเลย ต้องรอให้โรงงานรายงานมา นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนเสนอไปแล้วว่า ควรให้มีการสื่อสารกับสาธารณสุข ต้องมีการปรับ และทำแผน อย่างไรก็ตามเท่าที่ฟังการรายงานในส่วนของนิคมฯ นั้นมีปัญหาในเรื่องข้อมูลปัจจุบัน เพราะข้อมูลมีเพียงในระดับหนึ่งตามรอบเวลาเท่านั้น ไม่ได้ทันสถานการณ์ ต้องปรับปรุง โดยทำให้ใกล้ชิดชุมชนให้มากขึ้น สมบูรณ์ขึ้น
ส่วนนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด เกิดเหตุขึ้นหลายครั้งแล้ว แต่ยังไม่มีแนวทางป้องกันและแก้ปัญหาที่ชัดเจน นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ขณะนี้ที่ตัวระบบที่พัฒนาไปในแง่การมีสถานีตรวจวัดอากาศ มีแนวป้องกันระดับหนึ่ง มีข้อมูล การจัดงบประมาณที่เรียบร้อย แต่เมื่อเกิดเหตุจริง ไม่สามารถปฏิบัติได้ ขณะเดียวกันบริการด้านสาธารณสุข ตั้งแต่เรื่องสุขภาพ งบเคลื่อนที่ โรงพยาบาล ก็ไม่เรียบร้อย ทั้งอุปกรณ์ความพร้อมที่จะรับมือ หากเกิดเหตุ จึงต้องปรับเรื่องแผนให้ชุมชนซักซ้อมและเข้มงวดมากขึ้น รวมไปถึงการสร้างมาตรฐาน การระบุโทษผู้ที่ฝ่าฝืนด้วย
** จับตาแก้รธน.โละ มาตรา 67
นายอภิสิทธิ์ ยังกล่าวถึงปัญหาในเรื่องคดีความ หลังเกิดอุบัติเหตุ ในสมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ได้มีการตั้งกรรมการ 4 ฝ่าย โดยพยายามเร่งรัดตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ แต่ปัญหาในขณะนี้ ที่ต้องตั้งข้อสังเกต คือ 1. รัฐบาลปัจจุบันไม่ได้รองรับการยืนยันที่จะมีการตั้งองค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อม 2. ทราบว่ารัฐบาลมีแนวคิดว่า ในการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ จะไม่มีบทบัญญัติในเนื้อหาที่คล้ายๆ กับ มาตรา67 ทั้งที่ต้องเก็บเกี่ยวบทเรียนในพื้นที่นี้ ตั้งแต่การตรวจวัดอากาศ เชื่อมโยงการเตือนภัย ทั้งนี้ตนมองว่า กระบวนการพัฒนา อาทิ การวางผังเมือง ต้องคิดเรื่องนี้แต่ต้น ไม่ใช่รอให้เกิดค่อยแก้ไข อาทิ เรื่องผังเมืองต้องวางให้ชัด ส่วนนิคมอุตสาหกรรม ที่จะไปสร้างในพื้นที่ภาคใต้นั้น ฝ่ายค้านไม่เห็นด้วยตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว
**ชาวบ้านผวาปัญหาเรื้อรัง
นายน้อย ใจตั้ง บ้านชาวนคลองน้ำหู จ.ระยอง กล่าวว่า เหตุการณ์นี้สร้างความฝันผวาต่อประชาชนในพื้นที่มาบตาพุด และพื้นที่ใกล้เคียงเป็นอย่างมาก โดยบางคนต้องหนีตายไม่ห่วงทรัพย์สิน ไปอยู่บ้านเพื่อนหรือบ้านญาติพี่น้อง เพราะหวั่นจะได้รับอันตรายหรือผลกระทบที่เกิดขึ้น
ล่าสุดนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี ได้โทรศัพท์ติดต่อมาพูดคุยกับตนเมื่อเช้าของวันนี้ถึงปัญหาและเหตุการณ์ ซึ่งตนก็ตอบไปว่า ในช่วงสมัยที่ท่านเป็นนายกรัฐมนตรีได้เกิดปัญหาแก๊สรั่วเช้า-รั่วเย็น แต่มาในสมัย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ได้เกิดเหตุระเบิดเช้า-ระเบิดเย็นแล้วประชาชนจะอยู่กันได้อย่างไร
นายน้อย กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมาเคยร้องเรียนอย่างต่อเนื่อง ถึงรัฐบาลหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบ ว่า การก่อสร้างโรงงานต่างๆนั้น สามารถก่อสร้างได้ เพื่อความเจริญเติบโตด้านเศรษฐกิจของประเทศชาติ แต่ก็ขอให้ช่วยดูแลด้านคุณภาพและสิ่งแวดล้อม โดยอย่างให้ส่งผลกระทบต่อประชาชน โดยได้กำชับแล้วแต่ปัญหาก็เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แล้วจะให้ประชาชนทำอย่างไร
ด้านนายศรัลย์ ธนากรภักดี กลุ่มพิทักษ์อากาศสดชื่น มาบตาพุด กล่าวถึง 2 เหตุการณ์คือโรงงานกรุงเทพ ซินธิติกส์ ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดระเบิดและจากนั้นอีกไม่นานก็เกิดเหตุแก๊ส จากโรงงานอดิตยาเบอร์ล่า เคมิคัลส์ ในนิคมอุตสาหกรรมเหมราช ซึ่งทั้ง 2 เหตุการณ์เป็นตัวอย่างเชิงประจักษ์แล้วว่า ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ปัญหาด้านความปลอดภัยจากโรงงาน ยังไม่มีประสิทธิภาพ จึงส่งผลกระทบต่อประชาชนอย่างต่อเนื่อง
ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น ทางกลุ่มเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก ดำเนินการติดตามปัญหาโรงงานในพื้นที่จังหวัดระยองอย่างต่อเนื่อง และที่ผ่านมา มีการฟ้องร้องศาลปกครอง จึงปล่อยให้เป็นหน้าที่ของเครือข่ายดังกล่าว โดยทางกลุ่มของตนพร้อมให้การสนับสนุน เนื่องจากจังหวัดระยองมีปัญหามาก จึงต้องแบ่งหน้าที่กันทำ เพื่อให้ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นลดน้อยลง
**ชี้“โทลูอีน”ก่อมะเร็งเม็ดเลือด
นายสนธิ คชวัฒน์ เลขาสมาคมอนามัยสิ่งแวดล้อมไทย กล่าวว่า ผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการระเบิดของโรงงานที่ตามมา คือ มีไอระเหยของสารโทลูอีนกระจายออกสู่บรรยากาศมากมาย โดยลักษณะมีกลิ่นคล้ายกลิ่นหอมอะโรเมติก เมื่อโทลูอีนเข้าสู่ร่างกายจะก่อให้เกิดอันตรายต่อระบบสมอง และประสาทส่วนกลาง ระบบการหายใจ ตับ ไต ตา และผิวหนัง ผลต่อสุขภาพเหมือนเบนซีน คือ ทำลายระบบประสาทส่วนกลาง หากสูดดมนานๆ หรือสูดดมในสภาพความเข้มข้นสูงหรือเข้าผิวหนัง ระยะยาวมีผลต่อไขกระดูกและโลหิต อาจกลายเป็นมะเร็งในเม็ดเลือด และทำให้เกิดการกลายพันธุ์ได้ การสูดดมระยะสั้นๆ เช่น อยู่ในโรงงานที่มีไอระเหยจางๆ ทำให้อ่อนเพลีย อาการเหมือนมึนเมา คลื่นไส้ ความจำเสื่อม แม้ว่าจะสูดเข้าไปชั่วขณะ แต่ถ้าไอเข้มข้นมากก็ทำให้วิงเวียน หมดสติ และอาจตายได้ เพราะหายใจไม่ออก ดังนั้น กรณีการเกิดอุบัติเหตุครั้งนี้สิ่งที่ต้องดำเนินการเร่งด่วนต่อสุขภาพอนามัยของพนักงานของโรงงานและประชาชนที่คาดว่าอาจได้รับผลกระทบ
**รมว.อุตฯ ลั่นจะไม่ให้เกิดเหตุซ้ำ
วันเดียวกัน (7 พ.ค.55) ที่ห้องประชุมสำนักงานการนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด อ.เมืองระยอง ม.ร.ว.พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ รมว.อุตสาหกรรม นายสุภาพ คลี่ขจาย ผู้ช่วย รมว.อุตสาหกรรม นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายวีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.)และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมกรณีบริษัท อดิตยาเบอร์ล่า เคมิคัลส์ เกิดเหตุการณ์แก๊สรั่วทำให้ประชาชนและคนงานก่อสร้างที่อยู่ใกล้โรงงานได้รับผลกระทบกลิ่นเหม็นแก๊สนับร้อยคน หามส่งรพ.มาบตาพุดและรพ.บ้านฉางเมื่อคืนวันที่ 6 พฤษภาคมที่ผ่านมา
ม.ร.ว.พงษ์สวัสดิ์ กล่าวว่า ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจะไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอีกต่อไป เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนที่อยู่รอบโรงงาน พร้อมกำชับให้ กนอ.และนายธาดา สุนทรพันธ์ ผอ.นิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก ตรวจสอบโรงงานอย่างเคร่งครัด รวมทั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติต้องมีความเข้มในเรื่องการตรวจสอบดูแล เราจะไม่ยอมให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีกอย่างเด็ดขาด ไม่ว่าที่มาบตาพุดหรือที่ใด
นายสุภาพกล่าวว่า หลังจากเกิดเหตุเมื่อวานซ้อนขึ้นมา เราจะไม่ยอมให้เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นอีกแล้ว จริงอยู่อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ แต่เราจะมีมาตรการที่เข้มข้น ดำเนินการอย่างจริงจัง เพื่อไม่ให้เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นอีก โรงงานสารเคมี ต้องมีแผน 1 2 และ3 เพื่อเสนอแนะ ปรับปรุงความเข้มข้น ซึ่งต้องใช้ปฏิบัติกับทุกโรงงานทั้งในและนอกนิคมอุตสาหกรรม เราเชื่อว่าอุบัติเหตุเกิดได้ แต่เราต้องมีการเอ็กซเรย์อย่างรัดกุมมีความเข้มข้นในการดูแลหรือไม่ มีบุคลากรที่มาดูแลความเสี่ยงตรงนี้หรือไม่ หรือว่าแผนก็ส่วนแผน คนทำงานก็ส่วนทำงาน ไม่มีความเข้มข้น
“กระทรวงอุตสาหกรรม จะไม่ยอมให้เหตุการณ์อย่างนี้เกิดขึ้นอีก เข้าใจว่าวันนี้กนอ.จะเรียกโรงงานที่มีวัตถุอันตรายเข้ามาคุย ร่วมกับทางจังหวัด เรามีข้อมูลอยู่แล้วว่า โรงงาน.แต่ละโรงมีรายการสารเคมีอยู่แล้ว ว่าสารตัวไหน มีเท่าไร สิ่งที่ กนอ.ต้องทำจากนี้ คือ โรงงานที่ใช้สารเคมีอันตรายต้องมีการติวเข้มใหม่ โรงงานไหนปล่อยให้เกิดขึ้นอีก ให้ปิดโรงงานทันที เพื่อให้ผู้ประกอบการเห็นว่าเป็นเรื่องอันตราย”
นายสุภาพ กล่าวอีกว่า กระทรวงอุตสาหกรรมต้องเพิ่มความเข้มในทุกระดับ นับตั้งแต่วันนี้ ถ้ากฎหมาย เอาไม่อยู่ ไม่เข้มข้น แสดงว่ามีการปล่อยปละละเลย ต้องมีว่ามีการหละหลวมตรงไหน ต้องเข้มข้นทุกจุด ดังนั้นกระทรวงอุตสาหกรรมจะต้องทำโรงงานให้ปลอดภัย ที่เราจะทำได้ทันที เชิญผู้ประกอบการที่ใช้วัตถุอันตรายมาก มาติวเข้มในเรื่องนี้ก่อน ไม่เช่นนั้น ประชาชนที่อยู่ที่นี่จะหวั่นไหว สิ่งที่รัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรม ประกาศจะทำให้ชุมชนมั่นใจถึงมาตรการดูแลของเราได้ แผนเดิมมีอยู่แล้ว ขอให้เราเอาจริงเอาจังตามแผน
นายวีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ. กล่าวว่าบ่ายวันเดียวกันนี้ จะเชิญผู้บริหารผู้ประกอบการโรงงาน 60 กว่าราย มาประชุมร่วมกัน สิ่งที่ต้องทำเร่งด่วน ขอให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมเข้ามาช่วยตรวจประเมินความเสี่ยง quick check ให้เสร็จเร็วที่สุดไม่เกิน 5 วัน และเราจะจัดทีมลาดตระเวนสิ่งแวดล้อมความปลอดภัยทุก 2 ชม. ซึ่งรถลาดตระเวนเราจะเอากลับเข้ามาใช้อีกครั้งนึ่ง และเรื่องแผนเราจะเอากลับเข้ามาปรับใช้อีกครั้งหนึ่ง
นายวราวุธ ปิ่นเงิน รองผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง กล่าวว่า ตอนนี้กำลังพูดกับภาคอุตสาหกรรม ชาวบ้านมั่นใจเครื่องจักร แต่ไม่มั่นใจคนบริหารโรงงาน อย่าดูว่าผ่านงานมากี่สิบปี แต่ต้องผ่านหลักธรรมาภิบาลด้วย ทำอย่างไรถึงจะกำกับคนตรงนี้ให้ได้ ต้องมีธรรมาภิบาลในใจ ทางหลักจิตวิทยา ชาวบ้านจะได้เกิดความมั่นใจขึ้น
นายธวัช บัวจีบ รองนายกเทศมนตรีเมืองมาบตาพุด กล่าวว่า เกิดเหตุครั้งแรก โรงงานอดิตยาเบอร์ล่า ไม่ยอมรับ แต่พอไปโวยวายด้านหน้าโรงงาน ถึงยอมให้เข้าไปตรวจสอบภายใน จึงได้เข้าตรวจสอบมีการทำสเปรย์น้ำ ซึ่งใช้น้ำมาก จึงจับประเด็นว่าสเปรย์น้ำ ใช้น้ำเท่าไรโรงงานจึงยอมรับ ผมดีใจที่โรงงานตั้งอยู่ในมาบตาพุด เมื่อเกิดเหตุไม่ยอมพูดความจริง ทุกครั้งที่มีเรื่อง ไม่เคยมีโรงงานพูดความจริงเลย ทำไมไม่แจ้งเทศบาล ประชาชนผมเดือดร้อน อีกทั้งโรงงานแห่งนี้มีอายุการใช้งานมานานแล้ว น่าจะเปลี่ยนเครื่องจักรใหม่ เมื่อมันไม่ดีก็ไม่ต้องเอา
***แฉ รบ.เบือนข้อมูลโทลูอีนตกค้าง
นางสาววลัยพร มุขสุวรรณ รองผู้อำนวยการมูลนิธิบูรณะนิเวศและผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการสารเคมี กล่าวว่า สารโทลูอีนที่ตกค้างโดยลำพังจะระเหยง่าย แต่เมื่ออยู่ในบรรยากาศที่มีโอโซนและแสงแดด จะคงตัวอยู่ได้นานถึง 27,950 วัน หรือมากกว่า 76 ปี ทั้งนี้ ในพื้นที่มาบตาพุดมีการตรวจพบสารโอโซนโดยกรมควบคุมมลพิษในจำนวนเกินค่ามาตรฐานทุกปี และในทุกสถานีตรวจวัดของพื้นที่มาบตาพุดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้สูงว่าสารโทลูอีนที่ปล่อยออกมาจากอุบัติเหตุในครั้งนี้ จะคงอยู่ยาวนานมากกว่า 2 วัน และอาจมากถึง 70 กว่าปี เพิ่มโอกาสที่ประชาชนจะได้รับสารโทลูอีน ซึ่งมีฤทธิ์เฉียบพลัน คือ ระคายเคืองจมูกปอด และเจ็บในทรวงอก ส่วนในระยะยาว สารโทลูอีนมีพิษต่อตับ ไต สมอง กระเพาะปัสสาวะ และระบบประสาท รวมทั้งพัฒนาการทางสมองของทารกในครรภ์ ดังนั้น มาตรการเฝ้าระวังสารเคมีปนเปื้อนในสภาพแวดล้อมต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง มิใช่ว่าเพียงสองวันก็ประกาศว่าสถานการณ์เป็นปกติแล้ว
การเฝ้าระวังค่าปนเปื้อนของสารเคมีในอากาศยังจำเป็นต้องตรวจวัดสารเคมีอีกหลายชนิด มิใช่สารโทลูอีนเพียงอย่างเดียว เพลิงไหม้ที่โรงงาน BST ทำให้สารโทลูอีนถูกเผาไหม้ ก่อปฏิกิริยาทางเคมีเปลี่ยนเป็นสารที่มีพิษต่อร่างกายได้อีกหลายชนิด เช่น หากโทลูอีนถูกเผาไหม้อย่างสมบูรณ์ จะเกิดสารคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้คลื่นไส้ เวียนหัว จนถึงหมดสติและเสียชีวิตได้หากได้รับในปริมาณมาก หากเผาไหม้เกือบสมบูรณ์ จะเกิดสารคาร์บอนมอนอกไซด์ เป็นพิษเมื่อสูดดม ระคายเคืองผิวหนัง ระคายตา ทางเดินหายใจส่วนบน และยังเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ ควันดำที่เห็นจากเหตุเพลิงไหม้โรงงาน BST เป็นเครื่องบ่งชี้อย่างชัดเจนว่าสารโทลูอีนได้ถูกเผาไหม้อย่างไม่สมบูรณ์ ซึ่งก่อให้เกิดปฏิกิริยาต่อเนื่องทางเคมี กลายเป็นสารเคมีอีกหลายชนิด ส่วนใหญ่เป็นสารอันตรายและมีฤทธิ์เฉียบพลัน บางชนิดเป็นสารก่อมะเร็ง ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเฝ้าระวังค่าปนเปื้อนของสารเคมีอื่นๆและแจ้งผลให้ประชาชนทราบเป็นระยะ
นางสาววลัยพร กล่าวต่อว่า การให้ข้อมูลทั้งจากบริษัทและหน่วยงานรัฐเฉพาะเจาะจงที่สารโทลูอีนและการย้ำว่าไม่เป็นสารก่อมะเร็ง จึงถือเป็นการบิดเบือนข้อมูล ทำให้ความน่ากลัวของเหตุการณ์น้อยลง ซึ่งเข้าใจได้ในแง่ที่ไม่อยากให้สาธารณชนแตกตื่น อย่างไรก็ตาม อาจทำให้ผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่เช่นหน่วยกู้ภัยและนักข่าวที่เข้าไปทำข่าวหรือชุมชนรอบๆ ประเมินสถานการณ์ผิดพลาดและไม่ป้องกันตัวอย่างเพียงพอ เช่น มีรายงานว่านักข่าวที่บินไปทำข่าวกับเฮลิคอปเตอร์ในวันต่อมาถึงกับหน้ามืดและอาเจียนจากการสูดสารเคมีเข้าไปเป็นระยะเวลานาน
ด้าน นางสาวเพ็ญโฉม แซ่ตั้ง ผู้อำนวยการมูลนิธิบูรณะนิเวศ ได้ให้ความเห็นต่อกรณีนี้ว่า การที่สามารถควบคุมเหตุเพลิงได้ภายในเวลาที่ค่อนข้างรวดเร็ว รวมทั้งตัดสินใจประกาศอพยพ 18 ชุมชน เพื่อป้องกันผลกระทบหากเหตุลุกลามเป็นวงกว้างในครั้งนี้ ถือได้ว่าการจัดการกับอุบัติภัยสารเคมีของประเทศไทยมีพัฒนาขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังมีส่วนจำเป็นต้องปรับปรุงอีกมาก ซึ่งส่วนที่สำคัญคือการแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่ ซึ่งเหตุครั้งนี้ยังพบปัญหาในทางปฏิบัติอยู่หลายส่วน เช่น ชาวบ้านไม่ได้ยินเสียงตามสายเพราะฝนตกหนัก ระบบ sms ไม่แจ้งเตือน เพราะเจ้าหน้าที่เพิ่งรับทราบข่าวหลังเหตุสงบแล้ว จุดรวมพลในการอพยพไม่ชัดเจน หรือแม้จะมีการประกาศผ่านทางสื่อโทรทัศน์แต่ประชาชนในพื้นที่ที่ไม่ได้ดูทีวีก็ไม่ได้รับข้อมูล เป็นต้น
ทั้งนี้เนื่องจากมาบตาพุดเป็นพื้นที่ที่มีการใช้ ผลิต และเก็บสารเคมีอันตรายมากที่สุดในประเทศไทย หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะเกิดอุบัติภัยสารเคมี จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ระบบการแจ้งเตือนภัย การอพยพ และการจัดการกับอุบัติภัยจะต้องทำงานได้ สำหรับเหตุการณ์ครั้งนี้ หากอุบัติเหตุไม่ได้เกิดขึ้นที่ถังเก็บสารโทลูอีน แต่เป็นสารเคมีชนิดอื่นที่ร้ายแรงกว่า เพราะโรงงานปิโตรเคมีทุกโรงในมาบตาพุดมีการใช้และผลิตสารเคมีอันตรายอีกจำนวนมากที่มีอันตรายร้ายแรงกว่าสารโทลูอีน และหากไม่ได้เกิดในระหว่างที่โรงงานดังกล่าวปิดทำการในวันหยุด โศกนาฏกรรมครั้งนี้ก็อาจรุนแรงและส่งผลเสียหายยิ่งกว่านี้ การป้องกันและเตรียมรับมือจึงมีความจำเป็น
ในแง่การเยียวยารักษาผู้ได้รับผลกระทบจากอุบัติภัยในครั้งนี้ นางสาวเพ็ญโฉม กล่าวว่า ผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นคนงานทั้งของบริษัท BST และบริษัทรับเหมาเฉพาะทาง และเนื่องจากสารที่ได้รับสัมผัสจำนวนมากซึ่งยังระบุไม่ได้อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว จึงจำเป็นต้องมีมาตรการติดตามเฝ้าระวังสุขภาพระยะยาวของคนงานผู้ได้รับผลกระทบด้วย ซึ่งทั้งหน่วยงานรัฐและเอกชนจะต้องเร่งสร้างมาตรการเหล่านี้
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่มีการตรวจสอบพบว่ามีสารคลอรีนรั่วอีกหนึ่งโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดว่า ต้องมีการระมัดระวัง ตนได้สั่งการไปที่กระทรวงอุตสาหกรรม และวันนี้ได้มีการลงพื้นที่ สิ่งแรกที่ต้องทำคือการประเมินความเสี่ยง เพราะมีสารเคมีหลายตัวถูกนำเข้าไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งต้องดูว่ามีกี่ประเภทที่เป็นวัตถุไวไฟ ทำให้เกิดอากาศเป็นพิษ ซึ่งต้องนำมาทบทวนใหม่ทุกโรงงาน และอยากให้มีการตรวจวัดในทุกๆไตรมาส เพราะจะมีผลต่อการต่อใบอนุญาตด้วย
ส่วนมาตรการต่างๆ ได้สั่งให้กระทรวงอุตสาหกรรม เข้าไปดูในส่วนของนิคมอุตสาหกรรมมากขึ้น และที่สำคัญการมีส่วนร่วมกับประชาชนในท้องถิ่น ถือเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อรับฟังข้อคิดเห็น และข้อมูลต่างๆที่เป็นประโยชน์ จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้สั่งให้กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงมหาดไทย ในการบูรณการ และเข้าช่วยเหลือประชาชน
** "มาร์ค"ลงพื้นที่มาบตาพุด
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมคณะประกอบด้วย นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรค นายสาธิต ปิตุเตชะ นายวิชัย ล้ำสุทธิ ส.ส.ระยอง พรรคประชาธิปัตย์ นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ ได้เดินทางลงพื้นที่มาบตาพุด เพื่อเยี่ยมพี่น้องประชาชน ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุระเบิดถังเก็บสารเคมีโทลูอิน ของโรงงานบีเอสที อิลาสโตเมอร์ส ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด โดยมีเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยทหารจากค่ายนวมินทร์ทราชินี มาตั้งหน่วยบริการตรวจสุขภาพของประชาชน ที่อาศัยอยู่ในชุมชนใกล้เคียงโรงงาน 1-5 กม. โดยมีชาวบ้านมาเข้ารับการตรวจเป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากสารประกอบอินทรีระเหย หรือ สารสีโอซี ซึ่งจะมีอาการแสบคอ คอแห้ง ระคายเคืองระบบทางเดินหายใจ ผิวหนังระคายเคือง จาม ปวดศรีษะและแสบตา
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า การลงพื้นที่เพื่อขอทราบความคืบหน้าของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ในสมัยที่ตนเป็นรัฐบาล ก็เคยมาดูแลแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ของมาบตาพุด แต่เมื่อไม่ได้เป็นรัฐบาล ก็ไม่มีการดูแลอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ตนจะไปเยี่ยมผู้ที่ได้รับกระทบจากเหตุการณ์และบ้านที่เสียหายจากแรงระเบิด
ทั้งนี้ กรณีการระเบิด และ สารเคมีโซเดียมไฮโปคลอไรด์รั่ว เคยเกิดในช่วงพรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาลมาแล้วครั้งหนึ่ง ซึ่งเราก็พยายามวางแนวทางบรรเทาผลกระทบ และดูแลประชาชนอย่างทั่วถึง
**จี้รัฐบาลเร่งวางกรอบคุมนิคมอุตฯ
นายอภิสิทธิ์กล่าว ให้สัมภาษณ์ ภายหลังรับฟังรายงาน และตรวจเยี่ยมผู้ได้รับความเสียหายจากกรณีเหตุระเบิดโรงงานบีเอสที อิลาสโตเมอร์ส ว่า จากการรับฟังรายงาน เหตุการณ์ยังไม่ได้ข้อยุติชัดเจนในเรื่องสาเหตุ แต่สิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการคือ แผนการที่ต้องเตรียมพร้อม โดยเฉพาะในสถานการณ์ฉุกเฉิน เพราะขณะนี้มีการลงทุนในตัวระบบหลายเรื่อง แต่ในแง่การสื่อสารข้อมูลสำหรับการปฏิบัติจริง ไม่สามารถทำได้ที่ตั้งใจไว้ ดังนั้นต้องมีการต่อยอดให้สมบูรณ์ รวมถึงมีการซักซ้อม และวางระบบสำรองกับเจ้าของโรงงาน และภาคเอกชนในกรณีหากเกิดปัญหา
ผู้สื่อข่าวถามว่า เป็นไปได้อย่างไร ที่การนิคมฯ ไม่มีข้อมูลเป็นของตัวเองเลย ต้องรอให้โรงงานรายงานมา นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนเสนอไปแล้วว่า ควรให้มีการสื่อสารกับสาธารณสุข ต้องมีการปรับ และทำแผน อย่างไรก็ตามเท่าที่ฟังการรายงานในส่วนของนิคมฯ นั้นมีปัญหาในเรื่องข้อมูลปัจจุบัน เพราะข้อมูลมีเพียงในระดับหนึ่งตามรอบเวลาเท่านั้น ไม่ได้ทันสถานการณ์ ต้องปรับปรุง โดยทำให้ใกล้ชิดชุมชนให้มากขึ้น สมบูรณ์ขึ้น
ส่วนนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด เกิดเหตุขึ้นหลายครั้งแล้ว แต่ยังไม่มีแนวทางป้องกันและแก้ปัญหาที่ชัดเจน นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ขณะนี้ที่ตัวระบบที่พัฒนาไปในแง่การมีสถานีตรวจวัดอากาศ มีแนวป้องกันระดับหนึ่ง มีข้อมูล การจัดงบประมาณที่เรียบร้อย แต่เมื่อเกิดเหตุจริง ไม่สามารถปฏิบัติได้ ขณะเดียวกันบริการด้านสาธารณสุข ตั้งแต่เรื่องสุขภาพ งบเคลื่อนที่ โรงพยาบาล ก็ไม่เรียบร้อย ทั้งอุปกรณ์ความพร้อมที่จะรับมือ หากเกิดเหตุ จึงต้องปรับเรื่องแผนให้ชุมชนซักซ้อมและเข้มงวดมากขึ้น รวมไปถึงการสร้างมาตรฐาน การระบุโทษผู้ที่ฝ่าฝืนด้วย
** จับตาแก้รธน.โละ มาตรา 67
นายอภิสิทธิ์ ยังกล่าวถึงปัญหาในเรื่องคดีความ หลังเกิดอุบัติเหตุ ในสมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ได้มีการตั้งกรรมการ 4 ฝ่าย โดยพยายามเร่งรัดตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ แต่ปัญหาในขณะนี้ ที่ต้องตั้งข้อสังเกต คือ 1. รัฐบาลปัจจุบันไม่ได้รองรับการยืนยันที่จะมีการตั้งองค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อม 2. ทราบว่ารัฐบาลมีแนวคิดว่า ในการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ จะไม่มีบทบัญญัติในเนื้อหาที่คล้ายๆ กับ มาตรา67 ทั้งที่ต้องเก็บเกี่ยวบทเรียนในพื้นที่นี้ ตั้งแต่การตรวจวัดอากาศ เชื่อมโยงการเตือนภัย ทั้งนี้ตนมองว่า กระบวนการพัฒนา อาทิ การวางผังเมือง ต้องคิดเรื่องนี้แต่ต้น ไม่ใช่รอให้เกิดค่อยแก้ไข อาทิ เรื่องผังเมืองต้องวางให้ชัด ส่วนนิคมอุตสาหกรรม ที่จะไปสร้างในพื้นที่ภาคใต้นั้น ฝ่ายค้านไม่เห็นด้วยตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว
**ชาวบ้านผวาปัญหาเรื้อรัง
นายน้อย ใจตั้ง บ้านชาวนคลองน้ำหู จ.ระยอง กล่าวว่า เหตุการณ์นี้สร้างความฝันผวาต่อประชาชนในพื้นที่มาบตาพุด และพื้นที่ใกล้เคียงเป็นอย่างมาก โดยบางคนต้องหนีตายไม่ห่วงทรัพย์สิน ไปอยู่บ้านเพื่อนหรือบ้านญาติพี่น้อง เพราะหวั่นจะได้รับอันตรายหรือผลกระทบที่เกิดขึ้น
ล่าสุดนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี ได้โทรศัพท์ติดต่อมาพูดคุยกับตนเมื่อเช้าของวันนี้ถึงปัญหาและเหตุการณ์ ซึ่งตนก็ตอบไปว่า ในช่วงสมัยที่ท่านเป็นนายกรัฐมนตรีได้เกิดปัญหาแก๊สรั่วเช้า-รั่วเย็น แต่มาในสมัย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ได้เกิดเหตุระเบิดเช้า-ระเบิดเย็นแล้วประชาชนจะอยู่กันได้อย่างไร
นายน้อย กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมาเคยร้องเรียนอย่างต่อเนื่อง ถึงรัฐบาลหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบ ว่า การก่อสร้างโรงงานต่างๆนั้น สามารถก่อสร้างได้ เพื่อความเจริญเติบโตด้านเศรษฐกิจของประเทศชาติ แต่ก็ขอให้ช่วยดูแลด้านคุณภาพและสิ่งแวดล้อม โดยอย่างให้ส่งผลกระทบต่อประชาชน โดยได้กำชับแล้วแต่ปัญหาก็เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แล้วจะให้ประชาชนทำอย่างไร
ด้านนายศรัลย์ ธนากรภักดี กลุ่มพิทักษ์อากาศสดชื่น มาบตาพุด กล่าวถึง 2 เหตุการณ์คือโรงงานกรุงเทพ ซินธิติกส์ ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดระเบิดและจากนั้นอีกไม่นานก็เกิดเหตุแก๊ส จากโรงงานอดิตยาเบอร์ล่า เคมิคัลส์ ในนิคมอุตสาหกรรมเหมราช ซึ่งทั้ง 2 เหตุการณ์เป็นตัวอย่างเชิงประจักษ์แล้วว่า ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ปัญหาด้านความปลอดภัยจากโรงงาน ยังไม่มีประสิทธิภาพ จึงส่งผลกระทบต่อประชาชนอย่างต่อเนื่อง
ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น ทางกลุ่มเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก ดำเนินการติดตามปัญหาโรงงานในพื้นที่จังหวัดระยองอย่างต่อเนื่อง และที่ผ่านมา มีการฟ้องร้องศาลปกครอง จึงปล่อยให้เป็นหน้าที่ของเครือข่ายดังกล่าว โดยทางกลุ่มของตนพร้อมให้การสนับสนุน เนื่องจากจังหวัดระยองมีปัญหามาก จึงต้องแบ่งหน้าที่กันทำ เพื่อให้ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นลดน้อยลง
**ชี้“โทลูอีน”ก่อมะเร็งเม็ดเลือด
นายสนธิ คชวัฒน์ เลขาสมาคมอนามัยสิ่งแวดล้อมไทย กล่าวว่า ผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการระเบิดของโรงงานที่ตามมา คือ มีไอระเหยของสารโทลูอีนกระจายออกสู่บรรยากาศมากมาย โดยลักษณะมีกลิ่นคล้ายกลิ่นหอมอะโรเมติก เมื่อโทลูอีนเข้าสู่ร่างกายจะก่อให้เกิดอันตรายต่อระบบสมอง และประสาทส่วนกลาง ระบบการหายใจ ตับ ไต ตา และผิวหนัง ผลต่อสุขภาพเหมือนเบนซีน คือ ทำลายระบบประสาทส่วนกลาง หากสูดดมนานๆ หรือสูดดมในสภาพความเข้มข้นสูงหรือเข้าผิวหนัง ระยะยาวมีผลต่อไขกระดูกและโลหิต อาจกลายเป็นมะเร็งในเม็ดเลือด และทำให้เกิดการกลายพันธุ์ได้ การสูดดมระยะสั้นๆ เช่น อยู่ในโรงงานที่มีไอระเหยจางๆ ทำให้อ่อนเพลีย อาการเหมือนมึนเมา คลื่นไส้ ความจำเสื่อม แม้ว่าจะสูดเข้าไปชั่วขณะ แต่ถ้าไอเข้มข้นมากก็ทำให้วิงเวียน หมดสติ และอาจตายได้ เพราะหายใจไม่ออก ดังนั้น กรณีการเกิดอุบัติเหตุครั้งนี้สิ่งที่ต้องดำเนินการเร่งด่วนต่อสุขภาพอนามัยของพนักงานของโรงงานและประชาชนที่คาดว่าอาจได้รับผลกระทบ
**รมว.อุตฯ ลั่นจะไม่ให้เกิดเหตุซ้ำ
วันเดียวกัน (7 พ.ค.55) ที่ห้องประชุมสำนักงานการนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด อ.เมืองระยอง ม.ร.ว.พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ รมว.อุตสาหกรรม นายสุภาพ คลี่ขจาย ผู้ช่วย รมว.อุตสาหกรรม นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายวีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.)และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมกรณีบริษัท อดิตยาเบอร์ล่า เคมิคัลส์ เกิดเหตุการณ์แก๊สรั่วทำให้ประชาชนและคนงานก่อสร้างที่อยู่ใกล้โรงงานได้รับผลกระทบกลิ่นเหม็นแก๊สนับร้อยคน หามส่งรพ.มาบตาพุดและรพ.บ้านฉางเมื่อคืนวันที่ 6 พฤษภาคมที่ผ่านมา
ม.ร.ว.พงษ์สวัสดิ์ กล่าวว่า ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจะไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอีกต่อไป เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนที่อยู่รอบโรงงาน พร้อมกำชับให้ กนอ.และนายธาดา สุนทรพันธ์ ผอ.นิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก ตรวจสอบโรงงานอย่างเคร่งครัด รวมทั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติต้องมีความเข้มในเรื่องการตรวจสอบดูแล เราจะไม่ยอมให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีกอย่างเด็ดขาด ไม่ว่าที่มาบตาพุดหรือที่ใด
นายสุภาพกล่าวว่า หลังจากเกิดเหตุเมื่อวานซ้อนขึ้นมา เราจะไม่ยอมให้เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นอีกแล้ว จริงอยู่อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ แต่เราจะมีมาตรการที่เข้มข้น ดำเนินการอย่างจริงจัง เพื่อไม่ให้เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นอีก โรงงานสารเคมี ต้องมีแผน 1 2 และ3 เพื่อเสนอแนะ ปรับปรุงความเข้มข้น ซึ่งต้องใช้ปฏิบัติกับทุกโรงงานทั้งในและนอกนิคมอุตสาหกรรม เราเชื่อว่าอุบัติเหตุเกิดได้ แต่เราต้องมีการเอ็กซเรย์อย่างรัดกุมมีความเข้มข้นในการดูแลหรือไม่ มีบุคลากรที่มาดูแลความเสี่ยงตรงนี้หรือไม่ หรือว่าแผนก็ส่วนแผน คนทำงานก็ส่วนทำงาน ไม่มีความเข้มข้น
“กระทรวงอุตสาหกรรม จะไม่ยอมให้เหตุการณ์อย่างนี้เกิดขึ้นอีก เข้าใจว่าวันนี้กนอ.จะเรียกโรงงานที่มีวัตถุอันตรายเข้ามาคุย ร่วมกับทางจังหวัด เรามีข้อมูลอยู่แล้วว่า โรงงาน.แต่ละโรงมีรายการสารเคมีอยู่แล้ว ว่าสารตัวไหน มีเท่าไร สิ่งที่ กนอ.ต้องทำจากนี้ คือ โรงงานที่ใช้สารเคมีอันตรายต้องมีการติวเข้มใหม่ โรงงานไหนปล่อยให้เกิดขึ้นอีก ให้ปิดโรงงานทันที เพื่อให้ผู้ประกอบการเห็นว่าเป็นเรื่องอันตราย”
นายสุภาพ กล่าวอีกว่า กระทรวงอุตสาหกรรมต้องเพิ่มความเข้มในทุกระดับ นับตั้งแต่วันนี้ ถ้ากฎหมาย เอาไม่อยู่ ไม่เข้มข้น แสดงว่ามีการปล่อยปละละเลย ต้องมีว่ามีการหละหลวมตรงไหน ต้องเข้มข้นทุกจุด ดังนั้นกระทรวงอุตสาหกรรมจะต้องทำโรงงานให้ปลอดภัย ที่เราจะทำได้ทันที เชิญผู้ประกอบการที่ใช้วัตถุอันตรายมาก มาติวเข้มในเรื่องนี้ก่อน ไม่เช่นนั้น ประชาชนที่อยู่ที่นี่จะหวั่นไหว สิ่งที่รัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรม ประกาศจะทำให้ชุมชนมั่นใจถึงมาตรการดูแลของเราได้ แผนเดิมมีอยู่แล้ว ขอให้เราเอาจริงเอาจังตามแผน
นายวีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ. กล่าวว่าบ่ายวันเดียวกันนี้ จะเชิญผู้บริหารผู้ประกอบการโรงงาน 60 กว่าราย มาประชุมร่วมกัน สิ่งที่ต้องทำเร่งด่วน ขอให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมเข้ามาช่วยตรวจประเมินความเสี่ยง quick check ให้เสร็จเร็วที่สุดไม่เกิน 5 วัน และเราจะจัดทีมลาดตระเวนสิ่งแวดล้อมความปลอดภัยทุก 2 ชม. ซึ่งรถลาดตระเวนเราจะเอากลับเข้ามาใช้อีกครั้งนึ่ง และเรื่องแผนเราจะเอากลับเข้ามาปรับใช้อีกครั้งหนึ่ง
นายวราวุธ ปิ่นเงิน รองผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง กล่าวว่า ตอนนี้กำลังพูดกับภาคอุตสาหกรรม ชาวบ้านมั่นใจเครื่องจักร แต่ไม่มั่นใจคนบริหารโรงงาน อย่าดูว่าผ่านงานมากี่สิบปี แต่ต้องผ่านหลักธรรมาภิบาลด้วย ทำอย่างไรถึงจะกำกับคนตรงนี้ให้ได้ ต้องมีธรรมาภิบาลในใจ ทางหลักจิตวิทยา ชาวบ้านจะได้เกิดความมั่นใจขึ้น
นายธวัช บัวจีบ รองนายกเทศมนตรีเมืองมาบตาพุด กล่าวว่า เกิดเหตุครั้งแรก โรงงานอดิตยาเบอร์ล่า ไม่ยอมรับ แต่พอไปโวยวายด้านหน้าโรงงาน ถึงยอมให้เข้าไปตรวจสอบภายใน จึงได้เข้าตรวจสอบมีการทำสเปรย์น้ำ ซึ่งใช้น้ำมาก จึงจับประเด็นว่าสเปรย์น้ำ ใช้น้ำเท่าไรโรงงานจึงยอมรับ ผมดีใจที่โรงงานตั้งอยู่ในมาบตาพุด เมื่อเกิดเหตุไม่ยอมพูดความจริง ทุกครั้งที่มีเรื่อง ไม่เคยมีโรงงานพูดความจริงเลย ทำไมไม่แจ้งเทศบาล ประชาชนผมเดือดร้อน อีกทั้งโรงงานแห่งนี้มีอายุการใช้งานมานานแล้ว น่าจะเปลี่ยนเครื่องจักรใหม่ เมื่อมันไม่ดีก็ไม่ต้องเอา
***แฉ รบ.เบือนข้อมูลโทลูอีนตกค้าง
นางสาววลัยพร มุขสุวรรณ รองผู้อำนวยการมูลนิธิบูรณะนิเวศและผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการสารเคมี กล่าวว่า สารโทลูอีนที่ตกค้างโดยลำพังจะระเหยง่าย แต่เมื่ออยู่ในบรรยากาศที่มีโอโซนและแสงแดด จะคงตัวอยู่ได้นานถึง 27,950 วัน หรือมากกว่า 76 ปี ทั้งนี้ ในพื้นที่มาบตาพุดมีการตรวจพบสารโอโซนโดยกรมควบคุมมลพิษในจำนวนเกินค่ามาตรฐานทุกปี และในทุกสถานีตรวจวัดของพื้นที่มาบตาพุดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้สูงว่าสารโทลูอีนที่ปล่อยออกมาจากอุบัติเหตุในครั้งนี้ จะคงอยู่ยาวนานมากกว่า 2 วัน และอาจมากถึง 70 กว่าปี เพิ่มโอกาสที่ประชาชนจะได้รับสารโทลูอีน ซึ่งมีฤทธิ์เฉียบพลัน คือ ระคายเคืองจมูกปอด และเจ็บในทรวงอก ส่วนในระยะยาว สารโทลูอีนมีพิษต่อตับ ไต สมอง กระเพาะปัสสาวะ และระบบประสาท รวมทั้งพัฒนาการทางสมองของทารกในครรภ์ ดังนั้น มาตรการเฝ้าระวังสารเคมีปนเปื้อนในสภาพแวดล้อมต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง มิใช่ว่าเพียงสองวันก็ประกาศว่าสถานการณ์เป็นปกติแล้ว
การเฝ้าระวังค่าปนเปื้อนของสารเคมีในอากาศยังจำเป็นต้องตรวจวัดสารเคมีอีกหลายชนิด มิใช่สารโทลูอีนเพียงอย่างเดียว เพลิงไหม้ที่โรงงาน BST ทำให้สารโทลูอีนถูกเผาไหม้ ก่อปฏิกิริยาทางเคมีเปลี่ยนเป็นสารที่มีพิษต่อร่างกายได้อีกหลายชนิด เช่น หากโทลูอีนถูกเผาไหม้อย่างสมบูรณ์ จะเกิดสารคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้คลื่นไส้ เวียนหัว จนถึงหมดสติและเสียชีวิตได้หากได้รับในปริมาณมาก หากเผาไหม้เกือบสมบูรณ์ จะเกิดสารคาร์บอนมอนอกไซด์ เป็นพิษเมื่อสูดดม ระคายเคืองผิวหนัง ระคายตา ทางเดินหายใจส่วนบน และยังเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ ควันดำที่เห็นจากเหตุเพลิงไหม้โรงงาน BST เป็นเครื่องบ่งชี้อย่างชัดเจนว่าสารโทลูอีนได้ถูกเผาไหม้อย่างไม่สมบูรณ์ ซึ่งก่อให้เกิดปฏิกิริยาต่อเนื่องทางเคมี กลายเป็นสารเคมีอีกหลายชนิด ส่วนใหญ่เป็นสารอันตรายและมีฤทธิ์เฉียบพลัน บางชนิดเป็นสารก่อมะเร็ง ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเฝ้าระวังค่าปนเปื้อนของสารเคมีอื่นๆและแจ้งผลให้ประชาชนทราบเป็นระยะ
นางสาววลัยพร กล่าวต่อว่า การให้ข้อมูลทั้งจากบริษัทและหน่วยงานรัฐเฉพาะเจาะจงที่สารโทลูอีนและการย้ำว่าไม่เป็นสารก่อมะเร็ง จึงถือเป็นการบิดเบือนข้อมูล ทำให้ความน่ากลัวของเหตุการณ์น้อยลง ซึ่งเข้าใจได้ในแง่ที่ไม่อยากให้สาธารณชนแตกตื่น อย่างไรก็ตาม อาจทำให้ผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่เช่นหน่วยกู้ภัยและนักข่าวที่เข้าไปทำข่าวหรือชุมชนรอบๆ ประเมินสถานการณ์ผิดพลาดและไม่ป้องกันตัวอย่างเพียงพอ เช่น มีรายงานว่านักข่าวที่บินไปทำข่าวกับเฮลิคอปเตอร์ในวันต่อมาถึงกับหน้ามืดและอาเจียนจากการสูดสารเคมีเข้าไปเป็นระยะเวลานาน
ด้าน นางสาวเพ็ญโฉม แซ่ตั้ง ผู้อำนวยการมูลนิธิบูรณะนิเวศ ได้ให้ความเห็นต่อกรณีนี้ว่า การที่สามารถควบคุมเหตุเพลิงได้ภายในเวลาที่ค่อนข้างรวดเร็ว รวมทั้งตัดสินใจประกาศอพยพ 18 ชุมชน เพื่อป้องกันผลกระทบหากเหตุลุกลามเป็นวงกว้างในครั้งนี้ ถือได้ว่าการจัดการกับอุบัติภัยสารเคมีของประเทศไทยมีพัฒนาขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังมีส่วนจำเป็นต้องปรับปรุงอีกมาก ซึ่งส่วนที่สำคัญคือการแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่ ซึ่งเหตุครั้งนี้ยังพบปัญหาในทางปฏิบัติอยู่หลายส่วน เช่น ชาวบ้านไม่ได้ยินเสียงตามสายเพราะฝนตกหนัก ระบบ sms ไม่แจ้งเตือน เพราะเจ้าหน้าที่เพิ่งรับทราบข่าวหลังเหตุสงบแล้ว จุดรวมพลในการอพยพไม่ชัดเจน หรือแม้จะมีการประกาศผ่านทางสื่อโทรทัศน์แต่ประชาชนในพื้นที่ที่ไม่ได้ดูทีวีก็ไม่ได้รับข้อมูล เป็นต้น
ทั้งนี้เนื่องจากมาบตาพุดเป็นพื้นที่ที่มีการใช้ ผลิต และเก็บสารเคมีอันตรายมากที่สุดในประเทศไทย หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะเกิดอุบัติภัยสารเคมี จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ระบบการแจ้งเตือนภัย การอพยพ และการจัดการกับอุบัติภัยจะต้องทำงานได้ สำหรับเหตุการณ์ครั้งนี้ หากอุบัติเหตุไม่ได้เกิดขึ้นที่ถังเก็บสารโทลูอีน แต่เป็นสารเคมีชนิดอื่นที่ร้ายแรงกว่า เพราะโรงงานปิโตรเคมีทุกโรงในมาบตาพุดมีการใช้และผลิตสารเคมีอันตรายอีกจำนวนมากที่มีอันตรายร้ายแรงกว่าสารโทลูอีน และหากไม่ได้เกิดในระหว่างที่โรงงานดังกล่าวปิดทำการในวันหยุด โศกนาฏกรรมครั้งนี้ก็อาจรุนแรงและส่งผลเสียหายยิ่งกว่านี้ การป้องกันและเตรียมรับมือจึงมีความจำเป็น
ในแง่การเยียวยารักษาผู้ได้รับผลกระทบจากอุบัติภัยในครั้งนี้ นางสาวเพ็ญโฉม กล่าวว่า ผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นคนงานทั้งของบริษัท BST และบริษัทรับเหมาเฉพาะทาง และเนื่องจากสารที่ได้รับสัมผัสจำนวนมากซึ่งยังระบุไม่ได้อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว จึงจำเป็นต้องมีมาตรการติดตามเฝ้าระวังสุขภาพระยะยาวของคนงานผู้ได้รับผลกระทบด้วย ซึ่งทั้งหน่วยงานรัฐและเอกชนจะต้องเร่งสร้างมาตรการเหล่านี้