การประชุมร่วมรัฐสภา มีการประชุมร่วมกันของรัฐสภา เพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่...) พ.ศ.... ต่อเนื่องมาเป็นวันที่ 11 ซึ่งเป็นการพิจารณาในมาตรา 291/11 มีทั้งหมด 6 วรรค โดย กมธ.เสียงข้างมาก แก้ไขว่า สภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) จะต้องจัดทำร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จ ภายในกำหนดเวลา 240 วัน นับแต่วันถัดจากวันประชุมส.ส.ร.ครั้งแรก
วรรค 2 ในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ส.ส.ร.อาจนำรัฐธรรมนูญฉบับใดฉบับหนึ่งที่เห็นว่ามีความเป็นประชาธิปไตยสูง มาเป็นต้นแบบในการยกร่างก็ได้
วรรค 3 การที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุ หรือมีการยุบสภาฯ ไม่เป็นเหตุกระทบกระเทือนการปฏิบัติหน้าที่ของส.ส.ร. ตามวรรคหนึ่ง
วรรค 4 ในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ส.ส.ร.ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ในทั่วทุกภูมิภาคด้วย
วรรค 5 ร่างรัฐธรรมนูญที่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบของรัฐ หรือเปลี่ยนแปลงการแก้ไขบทบัญญัติในหมวดว่าด้วยพระมหากษัตริย์ จะกระทำมิได้
วรรค 6 ในกรณีที่รัฐสภาวินิจฉัยว่า ร่างรัฐธรรมนูญมีลักษณะตามวรรค 5 ให้ร่างรัฐธรรมนูญ เป็นอันตกไป
ทั้งนี้ สมาชิกได้มีการแปรญัตติไว้หลายวรรค ส่วนใหญ่ขอให้มีการแก้ไขระยะเวลาในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ เพิ่มขึ้น จากเดิม 240 วัน เพราะเห็นว่าเวลาเท่านี้ ไม่เพียงพอต่อการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ
นอกจากนี้ ให้เพิ่มหมวด ศาลยุติธรรม และหมวดองค์กรอิสระ นอกเหนือจากหมวดพระมหากษัตริย์ ที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไข จะกระทำมิได้ เพิ่มเติมขึ้นมา รวมทั้งยังเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญ เป็นผู้วินิจฉัย ร่าง รัฐธรรมนูญ ที่ส.ส.ร.เป็นผู้จัดทำ แทนการให้รัฐสภาเป็นผู้วินิจฉัยตามร่างของ กมธ.ที่มีการแก้ไข
นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ ส.ว.สรรหา ในฐานะกมธ. เสียงข้างน้อย สงวนคำแปรญัตติ ว่า เสนอ ให้เพิ่มระยะเวลาจาก 240 วัน เป็น 300 วัน เพื่อให้ ส.ส.ร.ได้ออกไปรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างทั่วถึง เพื่อให้เป็นรัฐธรรมนูญของประชาชนจริงๆ และเสนอให้เพิ่มหมวดศาลยุติธรรม และหมวดองค์กรอิสระ นอกเหนือจากหมวดพระมหากษัตริย์ ที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไข จะกระทำมิได้เพิ่มเติมขึ้นมา
" ผมจะตามดูว่า ในความหมายที่ท่านไม่แตะหมวด 1 คือเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบของรัฐ และ หมวด 2 คือหมวดพระมหากษัตริย์ จะไม่มีการแก้ไขจริงหรือไม่ การที่รัฐบาลไม่ได้ระบุว่า ห้ามแก้ไข คนส่วนหนึ่งเชื่อกันว่า อาจจะกระทบหรือเปลี่ยนแปลงระบบยุติธรรม เพระมีข่าวลือมากมายว่า ประธานศาลฎีกา ต้องแต่งตั้งโดยประธานรัฐสภา การยุบศาลรัฐธรรมนูญ หรือการยุบผู้ตรวจการแผ่นดิน"
นพ.เจตน์กล่าวว่า โดยหลักการการถ่วงดุล ต้องแยกออกจากกัน แต่เมื่อใดที่ฝ่ายบริหารแทรกแซงระบบยุติธรรมได้ ดุลอำนาจจะเสียไป สถาบันศาล เป็นอำนาจสุดท้ายที่ประชาชนยังมีความเชื่อมั่นอยู่ จึงไม่ต้องการให้แตะหมวด 10 และหมวด 11 เพราะปัจจุบันขนาดมีองค์กรอิสระตรวจสอบมากมาย แต่ยังไม่สามารถสร้างความเกรงกลัวต่อนักการเมืองในการใช้อำนาจมิชอบ มีการทุจริต คอร์รัปชัน
ดังนั้น ถ้ารัฐธรรมนูญถูกแก้แล้ว อำนาจการตรวจสอบลดลง โดยการออกแบบของส.ส.ร. จึงเป็นห่วงว่า การประพฤติทุจริตของนักการเมือง จะมีมากขึ้น จึงเชื่อว่าไม่เป็นผลดีต่อประเทศชาติ อย่างแน่นอน
นอกจากนี้ ควรจะเปลี่ยนจากให้รัฐสภาเป็นผู้วินิจฉัย ร่าง รัฐธรรมนูญ เป็นให้ศาลรัฐธรรมนูญ เป็นผู้ตีความว่า จะขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ นั้นหากให้รัฐสภาเป็นผู้ตีความ ด้วยระบบ เสียงข้างมาก ซึ่งไม่สามารถชี้ถูกผิดได้ หรือชี้ปมของข้อกฎหมายได้ ในกรณีนี้ จึงเห็นควรเป็นศาลรัฐธรรมนูญ เป็นผู้ตีความ จะดีกว่า
** จับตา แก้ม.309 ช่วย"แม้ว"
นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะ กมธ.เสียงข้างน้อย แปรญัตติว่า การที่ร่างของกมธ. เสนอให้ใช้เวลา 240 วันในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญนั้น เห็นอยู่แล้วว่า เวลาไม่พอ เพราะกระบวนการต่างๆ ที่ส.ส.ร.ต้องทำ มีเยอะ กว่า ส.ส.ร.จะประชุม กว่าจะไปรับฟังความเห็น ทำประชาพิจารณ์ ระยะเวลาเพียง 240 วัน ไม่เพียงพออย่างแน่นอน จึงเสนอให้ใช้ระยะเวลา 1 ปี
นอกจากนี้ ตนขอให้ตัด วรรค 2 ที่กำหนดว่าให้ใช้รัฐธรรมนูญฉบับใดมาเป็นต้นแบบในการจัดทำรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ก็ได้ ออกทั้งหมด เพราะเห็นว่าที่ผ่านมา ที่มีการร่างรัฐธรรมนูญ ไม่เคยมีการเขียนไว้แบบนี้
" การเสนอให้ใช้รัฐธรรมนูญฉบับใดก็ได้ มาเป็นต้นแบบ เพื่อหวังที่จะล้มรัฐธรรมนูญปี 50 ล้มมาตรา 309 ถ้าไม่มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ การแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 50 ไม่สามารถล้ม มาตรา 309 ได้ เพราะการแก้ไขเฉพาะ มาตรา 309 ก็เป็นการส่อเจตนาใครบางคนที่ติดคดีอยู่ ดังนั้น จึงต้องหาวิธีการล้มทั้งฉบับ ตัด มาตรา 309 ออกไป เจตนามีเพียงเท่านี้เอง หรือมีเจตนาชี้ช่องให้ ส.ส.ร. เห็นว่าเอารัฐธรรมนูญที่ตัวเองต้องการขึ้นมาตัดต่อ เพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงและประกาศใช้โดยเร็ว เพื่อล้มรัฐธรรมนูญปี 50 ยกเลิกมาตรา 309 เท่านั้น" นายเทพไท กล่าว
นายเทพไท กล่าวอีกว่า ในส่วนวรรค 5 ถ้าบริสุทธิ์ใจไม่ต้องเขียนเลย เพราะในการแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่เคยมีการเขียนไว้ ถ้าเป็นไปได้ตนจะเสนอให้ ไม่แตะมาตรา 309 ด้วยซ้ำ การที่เขียนวรรคนี้ขึ้นมา เพราะมีความหวาดระแวงคนบางกลุ่ม เพราะนับวันมีกลุ่มคนที่มีพฤติกรรมจาบจ้วงเบื้องสูงมากขึ้น ดูได้จากเว็บไซต์ โดยเฉพาะปัจจุบันมีมากที่สุด การไปจัดการกับเว็บไซต์ ทำได้น้อยมาก แต่หากเป็นเว็บไซต์ อื่นๆ ที่ไปพาดพิงรัฐบาล หรือตัวนายกฯ จัดการทันทีเลย ปัจจุบันมีเว็บไซต์ ที่หมิ่นพระบรมเดชานุภาพอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเมื่อปี 53 มีคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ กว่าพันคดี ดังนั้นหากรัฐบาลมีความจริงใจ ในการดำเนินคดีกับการละเมิดสถาบันฯ ไม่ใช่ปากว่าตาขยิบ ก็ไม่จำเป็นต้องเขียน วรรค 5 ขึ้นมา
** ค้านให้รัฐสภาเป็นผู้วินิจฉัย ร่างรธน.
นายธนา ชีรวนิช ส.ส. กทม. พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การให้อำนาจรัฐสภาเป็นผู้วินิจฉัย ร่าง รัฐธรรมนูญ ถือเป็นการส่งสัญญาณให้เห็นหรือไม่ว่ามีความต้องการที่จะยกเลิกองค์กรอิสระต่างๆ ตามที่หลายคนวิตกกังวล เพราะเท่ากับว่า ต่อไปนี้ไม่ต้องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความก็ได้ แค่รัฐสภาอย่างเดียว ก็ตีความได้ และเมื่อร่างรัฐธรรมนูญชุดนี้ทำเสร็จ ประเด็นนี้ก็จะถูกกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เมื่อไม่มีศาลรัฐธรรมนูญแล้ว ก็จะอ้างว่า มีการกำหนดให้รัฐสภา มีอำนาจวินิจฉัยในเรื่องต่างๆ ที่มีข้อสงสัย จึงอยากให้กรรมาธิการเสียงข้างมาก ทบทวนอีกครั้ง
** มั่นใจร่างรธน.เสร็จใน 240 วัน
นายสามารถ แก้วมีชัย ประธาน กรรมาธิการ ชี้แจงว่า การกำหนดเงื่อนไขการจัดทำร่าง รธน.ของ ส.ส.ร. ในเวลา 240 วันนั้น สามารถทำได้ทันตามกำหนด เพราะตนเคยร่วมจัดทำร่างรัฐธรรมนูญปี 40 ก็กำหนดระยะเวลา 240 วัน เช่นกัน แต่ก็สามารถทำได้เสร็จทันก่อนกำหนด
ส่วนวรรค 2 แนวทางการจัดทำรัฐธรรมนูญ เราสามารถนำทุกฉบับที่มีความเป็นประชาธิปไตย มาเป็นต้นแบบยกร่างได้ หรือแม้แต่ของต่างประเทศ ถ้านำมาปรับใช้ในประเทศเราให้ดีขึ้น ก็สามารถทำได้
ส่วนวรรค 2 ขณะที่ ส.ส.ร. กำลังทำงาน ถ้าสภาถูกยุบ จะไม่เป็นผลกระทบ ส.ส.ร.ต้องถูกยุบไปด้วย เพราะหลังจากรัฐธรรมนูญมีการประกาศใช้ ก็จะมีผลบังคับตามกฏหมายสูงสุด อะไรก็ตามที่เกิดขึ้นจากรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ก็มีความชอบธรรมที่คงอยู่ต่อไป ไม่จำเป็นต้องยุบไปตามรัฐสภา ที่เป็นผู้จัดตั้งขึ้นมาเหมือน เช่น กรณีส.ส.ร.ชุดก่อนๆ
ส่วนการจัดให้มีการรับฟังความเห็นทุกภูมิภาค โดยไม่ได้กำหนดว่า ต้องจัดให้มีทุกจังหวัดนั้น เพราะการไปล็อกทุกจังหวัด จะเป็นปัญหาในทางปฏิบัติ และ ส.ส.ร.ก็มีกรรมาธิการสามัญ ประจำแต่ละจังหวัด เพื่อดำเนินการเปิดรับฟังความเห็นอยู่แล้ว ขึ้นอยู่กับปัจจัย งบประมาณ และ บุคคลากรของแต่ละพื้นที่
ส่วนวรรค 5 คณะกรรมาธิการได้วางกรอบการเขียนรัฐธรรมนูญของส.ส.ร.ไว้ 3 หลักใหญ่ คือ
1. ห้ามไปมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
2. ห้ามเปลี่ยนรูปแบบของรัฐ โดยประเทศไทยเป็นรัฐเดียวจะแบ่งแยกไม่ได้
3. เป็นการตกผลึกทางความคิดของสาธารณะชนทั่วประเทศ ที่เห็นพ้องต้องกันเพื่อไม่ให้ ส.ส.ร.แตะหมวดกษัตริย์ เลยเพิ่มเติมว่า ....หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขในหมวดพระมหากษัตริย์ จะกระทำมิได้
ส่วนที่ไม่เขียนห้ามเรื่องศาล และองค์กรอิสระ นั้น หากองค์กรใดที่เป็นประโยชน์ อำนวยความยุติธรรม ทำหน้าที่ตรวจสอบอำนาจรัฐ ตนมั่นใจว่าไม่ต้องเขียนไว้ก็ไม่มีใครอยากยกเลิกแน่นอน เพราะการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญของส.ส.ร. ทำท่ามกลางสายตาของสารธาณะชน การตรวจสอบของสื่อ และเสียงวิจารณ์ของสังคม การเขียนอะไรที่กระทบต่อสถาบันฯ องค์กรอิสระ ที่มีประสิทธิภาพนั้น คงไม่ทำกัน หรือถ้าทำแบบนั้น ก็ยังมีการจัดให้ทำประชาพิจารณ์ ซึ่งอาจจะไม่ผ่านในขั้นตอนนั้นก็ได้ กรรมาธิการเสียงข้างมากจึงเห็นควรให้กำหนดเฉพาะ 3 เรื่องใหญ่ๆนี้เท่านั้น
ส่วนกรณีการให้รัฐสภา เป็นผู้วินิจัยร่างรัฐธรรมนูญ นั้น เราไม่มีแนวปฏิบัติที่จะให้ศาลรัฐธรรมนูญ เป็นผู้วินิจฉัยร่างรัฐธรรมนูญ แต่ถ้าเป็นร่างกฏหมายทั่วไป หรือกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ที่ผ่านรัฐสภาไปแล้ว สมาชิก มีสิทธิ์ร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ให้วินิจฉัยได้
" เราเป็นคนกำหนดกรอบ 3 เรื่อง ที่ห้าม ส.ส.ร.ไปแตะ ฉะนั้นเราทราบเจตนารมณ์ดีว่า เพื่ออะไร การให้รัฐสภาเป็นผู้มาวินิจฉัยจะเป็นประโยชน์มากกว่าให้องค์กรอื่นวินิจฉัย พวกเรา 600 กว่าคน สามารถวินิจฉัยประเด็นที่เราเขียนเอง ได้ดีกว่าองค์กรอื่น ผมคิดว่าถูกต้องสมบูรณ์แล้ว เชื่อว่าในทางปฏิบัติ จะไม่มีปัญหา" นายสามารถ กล่าวย้ำ
** ปชป.เตรียมเดินสายชี้แจงปชช.
นายบัญญัติ บรรทัดฐาน กรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ส.ส.ร.ที่จะเกิดขึ้น คงปลอดจากการเมืองได้ยาก แต่สิ่งที่จะช่วยกันได้คือ พรรคการเมือง กลุ่มการเมือง ต้องร่วมกัน สร้างกระแสสังคม ให้ประชาชนรับทราบว่า บทบัญญัติใดที่เป็นอันตรายต่อประเทศ โดยในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ จะมีการจัดตั้งเวทีตามภูมิภาคต่างๆ เพื่อทำความเข้าใจกับประชาชน ซึ่งจุดแรกจะเริ่มในวันที่ 13 พ.ค. ที่ จ.ชุมพร สุราษฎธานี และ สงขลา โดยจะเชิญกลุ่มการเมือง นักวิชาการ และประชาชนทั่วไปมาร่วมกันระดมความเห็นและจะชี้ให้เห็นถึงอันตรายของรัฐธรรมนูญฉบับที่รัฐบาลกำลังผลักดันแก้ไข
วรรค 2 ในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ส.ส.ร.อาจนำรัฐธรรมนูญฉบับใดฉบับหนึ่งที่เห็นว่ามีความเป็นประชาธิปไตยสูง มาเป็นต้นแบบในการยกร่างก็ได้
วรรค 3 การที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุ หรือมีการยุบสภาฯ ไม่เป็นเหตุกระทบกระเทือนการปฏิบัติหน้าที่ของส.ส.ร. ตามวรรคหนึ่ง
วรรค 4 ในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ส.ส.ร.ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ในทั่วทุกภูมิภาคด้วย
วรรค 5 ร่างรัฐธรรมนูญที่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบของรัฐ หรือเปลี่ยนแปลงการแก้ไขบทบัญญัติในหมวดว่าด้วยพระมหากษัตริย์ จะกระทำมิได้
วรรค 6 ในกรณีที่รัฐสภาวินิจฉัยว่า ร่างรัฐธรรมนูญมีลักษณะตามวรรค 5 ให้ร่างรัฐธรรมนูญ เป็นอันตกไป
ทั้งนี้ สมาชิกได้มีการแปรญัตติไว้หลายวรรค ส่วนใหญ่ขอให้มีการแก้ไขระยะเวลาในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ เพิ่มขึ้น จากเดิม 240 วัน เพราะเห็นว่าเวลาเท่านี้ ไม่เพียงพอต่อการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ
นอกจากนี้ ให้เพิ่มหมวด ศาลยุติธรรม และหมวดองค์กรอิสระ นอกเหนือจากหมวดพระมหากษัตริย์ ที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไข จะกระทำมิได้ เพิ่มเติมขึ้นมา รวมทั้งยังเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญ เป็นผู้วินิจฉัย ร่าง รัฐธรรมนูญ ที่ส.ส.ร.เป็นผู้จัดทำ แทนการให้รัฐสภาเป็นผู้วินิจฉัยตามร่างของ กมธ.ที่มีการแก้ไข
นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ ส.ว.สรรหา ในฐานะกมธ. เสียงข้างน้อย สงวนคำแปรญัตติ ว่า เสนอ ให้เพิ่มระยะเวลาจาก 240 วัน เป็น 300 วัน เพื่อให้ ส.ส.ร.ได้ออกไปรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างทั่วถึง เพื่อให้เป็นรัฐธรรมนูญของประชาชนจริงๆ และเสนอให้เพิ่มหมวดศาลยุติธรรม และหมวดองค์กรอิสระ นอกเหนือจากหมวดพระมหากษัตริย์ ที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไข จะกระทำมิได้เพิ่มเติมขึ้นมา
" ผมจะตามดูว่า ในความหมายที่ท่านไม่แตะหมวด 1 คือเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบของรัฐ และ หมวด 2 คือหมวดพระมหากษัตริย์ จะไม่มีการแก้ไขจริงหรือไม่ การที่รัฐบาลไม่ได้ระบุว่า ห้ามแก้ไข คนส่วนหนึ่งเชื่อกันว่า อาจจะกระทบหรือเปลี่ยนแปลงระบบยุติธรรม เพระมีข่าวลือมากมายว่า ประธานศาลฎีกา ต้องแต่งตั้งโดยประธานรัฐสภา การยุบศาลรัฐธรรมนูญ หรือการยุบผู้ตรวจการแผ่นดิน"
นพ.เจตน์กล่าวว่า โดยหลักการการถ่วงดุล ต้องแยกออกจากกัน แต่เมื่อใดที่ฝ่ายบริหารแทรกแซงระบบยุติธรรมได้ ดุลอำนาจจะเสียไป สถาบันศาล เป็นอำนาจสุดท้ายที่ประชาชนยังมีความเชื่อมั่นอยู่ จึงไม่ต้องการให้แตะหมวด 10 และหมวด 11 เพราะปัจจุบันขนาดมีองค์กรอิสระตรวจสอบมากมาย แต่ยังไม่สามารถสร้างความเกรงกลัวต่อนักการเมืองในการใช้อำนาจมิชอบ มีการทุจริต คอร์รัปชัน
ดังนั้น ถ้ารัฐธรรมนูญถูกแก้แล้ว อำนาจการตรวจสอบลดลง โดยการออกแบบของส.ส.ร. จึงเป็นห่วงว่า การประพฤติทุจริตของนักการเมือง จะมีมากขึ้น จึงเชื่อว่าไม่เป็นผลดีต่อประเทศชาติ อย่างแน่นอน
นอกจากนี้ ควรจะเปลี่ยนจากให้รัฐสภาเป็นผู้วินิจฉัย ร่าง รัฐธรรมนูญ เป็นให้ศาลรัฐธรรมนูญ เป็นผู้ตีความว่า จะขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ นั้นหากให้รัฐสภาเป็นผู้ตีความ ด้วยระบบ เสียงข้างมาก ซึ่งไม่สามารถชี้ถูกผิดได้ หรือชี้ปมของข้อกฎหมายได้ ในกรณีนี้ จึงเห็นควรเป็นศาลรัฐธรรมนูญ เป็นผู้ตีความ จะดีกว่า
** จับตา แก้ม.309 ช่วย"แม้ว"
นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะ กมธ.เสียงข้างน้อย แปรญัตติว่า การที่ร่างของกมธ. เสนอให้ใช้เวลา 240 วันในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญนั้น เห็นอยู่แล้วว่า เวลาไม่พอ เพราะกระบวนการต่างๆ ที่ส.ส.ร.ต้องทำ มีเยอะ กว่า ส.ส.ร.จะประชุม กว่าจะไปรับฟังความเห็น ทำประชาพิจารณ์ ระยะเวลาเพียง 240 วัน ไม่เพียงพออย่างแน่นอน จึงเสนอให้ใช้ระยะเวลา 1 ปี
นอกจากนี้ ตนขอให้ตัด วรรค 2 ที่กำหนดว่าให้ใช้รัฐธรรมนูญฉบับใดมาเป็นต้นแบบในการจัดทำรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ก็ได้ ออกทั้งหมด เพราะเห็นว่าที่ผ่านมา ที่มีการร่างรัฐธรรมนูญ ไม่เคยมีการเขียนไว้แบบนี้
" การเสนอให้ใช้รัฐธรรมนูญฉบับใดก็ได้ มาเป็นต้นแบบ เพื่อหวังที่จะล้มรัฐธรรมนูญปี 50 ล้มมาตรา 309 ถ้าไม่มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ การแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 50 ไม่สามารถล้ม มาตรา 309 ได้ เพราะการแก้ไขเฉพาะ มาตรา 309 ก็เป็นการส่อเจตนาใครบางคนที่ติดคดีอยู่ ดังนั้น จึงต้องหาวิธีการล้มทั้งฉบับ ตัด มาตรา 309 ออกไป เจตนามีเพียงเท่านี้เอง หรือมีเจตนาชี้ช่องให้ ส.ส.ร. เห็นว่าเอารัฐธรรมนูญที่ตัวเองต้องการขึ้นมาตัดต่อ เพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงและประกาศใช้โดยเร็ว เพื่อล้มรัฐธรรมนูญปี 50 ยกเลิกมาตรา 309 เท่านั้น" นายเทพไท กล่าว
นายเทพไท กล่าวอีกว่า ในส่วนวรรค 5 ถ้าบริสุทธิ์ใจไม่ต้องเขียนเลย เพราะในการแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่เคยมีการเขียนไว้ ถ้าเป็นไปได้ตนจะเสนอให้ ไม่แตะมาตรา 309 ด้วยซ้ำ การที่เขียนวรรคนี้ขึ้นมา เพราะมีความหวาดระแวงคนบางกลุ่ม เพราะนับวันมีกลุ่มคนที่มีพฤติกรรมจาบจ้วงเบื้องสูงมากขึ้น ดูได้จากเว็บไซต์ โดยเฉพาะปัจจุบันมีมากที่สุด การไปจัดการกับเว็บไซต์ ทำได้น้อยมาก แต่หากเป็นเว็บไซต์ อื่นๆ ที่ไปพาดพิงรัฐบาล หรือตัวนายกฯ จัดการทันทีเลย ปัจจุบันมีเว็บไซต์ ที่หมิ่นพระบรมเดชานุภาพอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเมื่อปี 53 มีคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ กว่าพันคดี ดังนั้นหากรัฐบาลมีความจริงใจ ในการดำเนินคดีกับการละเมิดสถาบันฯ ไม่ใช่ปากว่าตาขยิบ ก็ไม่จำเป็นต้องเขียน วรรค 5 ขึ้นมา
** ค้านให้รัฐสภาเป็นผู้วินิจฉัย ร่างรธน.
นายธนา ชีรวนิช ส.ส. กทม. พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การให้อำนาจรัฐสภาเป็นผู้วินิจฉัย ร่าง รัฐธรรมนูญ ถือเป็นการส่งสัญญาณให้เห็นหรือไม่ว่ามีความต้องการที่จะยกเลิกองค์กรอิสระต่างๆ ตามที่หลายคนวิตกกังวล เพราะเท่ากับว่า ต่อไปนี้ไม่ต้องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความก็ได้ แค่รัฐสภาอย่างเดียว ก็ตีความได้ และเมื่อร่างรัฐธรรมนูญชุดนี้ทำเสร็จ ประเด็นนี้ก็จะถูกกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เมื่อไม่มีศาลรัฐธรรมนูญแล้ว ก็จะอ้างว่า มีการกำหนดให้รัฐสภา มีอำนาจวินิจฉัยในเรื่องต่างๆ ที่มีข้อสงสัย จึงอยากให้กรรมาธิการเสียงข้างมาก ทบทวนอีกครั้ง
** มั่นใจร่างรธน.เสร็จใน 240 วัน
นายสามารถ แก้วมีชัย ประธาน กรรมาธิการ ชี้แจงว่า การกำหนดเงื่อนไขการจัดทำร่าง รธน.ของ ส.ส.ร. ในเวลา 240 วันนั้น สามารถทำได้ทันตามกำหนด เพราะตนเคยร่วมจัดทำร่างรัฐธรรมนูญปี 40 ก็กำหนดระยะเวลา 240 วัน เช่นกัน แต่ก็สามารถทำได้เสร็จทันก่อนกำหนด
ส่วนวรรค 2 แนวทางการจัดทำรัฐธรรมนูญ เราสามารถนำทุกฉบับที่มีความเป็นประชาธิปไตย มาเป็นต้นแบบยกร่างได้ หรือแม้แต่ของต่างประเทศ ถ้านำมาปรับใช้ในประเทศเราให้ดีขึ้น ก็สามารถทำได้
ส่วนวรรค 2 ขณะที่ ส.ส.ร. กำลังทำงาน ถ้าสภาถูกยุบ จะไม่เป็นผลกระทบ ส.ส.ร.ต้องถูกยุบไปด้วย เพราะหลังจากรัฐธรรมนูญมีการประกาศใช้ ก็จะมีผลบังคับตามกฏหมายสูงสุด อะไรก็ตามที่เกิดขึ้นจากรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ก็มีความชอบธรรมที่คงอยู่ต่อไป ไม่จำเป็นต้องยุบไปตามรัฐสภา ที่เป็นผู้จัดตั้งขึ้นมาเหมือน เช่น กรณีส.ส.ร.ชุดก่อนๆ
ส่วนการจัดให้มีการรับฟังความเห็นทุกภูมิภาค โดยไม่ได้กำหนดว่า ต้องจัดให้มีทุกจังหวัดนั้น เพราะการไปล็อกทุกจังหวัด จะเป็นปัญหาในทางปฏิบัติ และ ส.ส.ร.ก็มีกรรมาธิการสามัญ ประจำแต่ละจังหวัด เพื่อดำเนินการเปิดรับฟังความเห็นอยู่แล้ว ขึ้นอยู่กับปัจจัย งบประมาณ และ บุคคลากรของแต่ละพื้นที่
ส่วนวรรค 5 คณะกรรมาธิการได้วางกรอบการเขียนรัฐธรรมนูญของส.ส.ร.ไว้ 3 หลักใหญ่ คือ
1. ห้ามไปมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
2. ห้ามเปลี่ยนรูปแบบของรัฐ โดยประเทศไทยเป็นรัฐเดียวจะแบ่งแยกไม่ได้
3. เป็นการตกผลึกทางความคิดของสาธารณะชนทั่วประเทศ ที่เห็นพ้องต้องกันเพื่อไม่ให้ ส.ส.ร.แตะหมวดกษัตริย์ เลยเพิ่มเติมว่า ....หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขในหมวดพระมหากษัตริย์ จะกระทำมิได้
ส่วนที่ไม่เขียนห้ามเรื่องศาล และองค์กรอิสระ นั้น หากองค์กรใดที่เป็นประโยชน์ อำนวยความยุติธรรม ทำหน้าที่ตรวจสอบอำนาจรัฐ ตนมั่นใจว่าไม่ต้องเขียนไว้ก็ไม่มีใครอยากยกเลิกแน่นอน เพราะการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญของส.ส.ร. ทำท่ามกลางสายตาของสารธาณะชน การตรวจสอบของสื่อ และเสียงวิจารณ์ของสังคม การเขียนอะไรที่กระทบต่อสถาบันฯ องค์กรอิสระ ที่มีประสิทธิภาพนั้น คงไม่ทำกัน หรือถ้าทำแบบนั้น ก็ยังมีการจัดให้ทำประชาพิจารณ์ ซึ่งอาจจะไม่ผ่านในขั้นตอนนั้นก็ได้ กรรมาธิการเสียงข้างมากจึงเห็นควรให้กำหนดเฉพาะ 3 เรื่องใหญ่ๆนี้เท่านั้น
ส่วนกรณีการให้รัฐสภา เป็นผู้วินิจัยร่างรัฐธรรมนูญ นั้น เราไม่มีแนวปฏิบัติที่จะให้ศาลรัฐธรรมนูญ เป็นผู้วินิจฉัยร่างรัฐธรรมนูญ แต่ถ้าเป็นร่างกฏหมายทั่วไป หรือกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ที่ผ่านรัฐสภาไปแล้ว สมาชิก มีสิทธิ์ร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ให้วินิจฉัยได้
" เราเป็นคนกำหนดกรอบ 3 เรื่อง ที่ห้าม ส.ส.ร.ไปแตะ ฉะนั้นเราทราบเจตนารมณ์ดีว่า เพื่ออะไร การให้รัฐสภาเป็นผู้มาวินิจฉัยจะเป็นประโยชน์มากกว่าให้องค์กรอื่นวินิจฉัย พวกเรา 600 กว่าคน สามารถวินิจฉัยประเด็นที่เราเขียนเอง ได้ดีกว่าองค์กรอื่น ผมคิดว่าถูกต้องสมบูรณ์แล้ว เชื่อว่าในทางปฏิบัติ จะไม่มีปัญหา" นายสามารถ กล่าวย้ำ
** ปชป.เตรียมเดินสายชี้แจงปชช.
นายบัญญัติ บรรทัดฐาน กรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ส.ส.ร.ที่จะเกิดขึ้น คงปลอดจากการเมืองได้ยาก แต่สิ่งที่จะช่วยกันได้คือ พรรคการเมือง กลุ่มการเมือง ต้องร่วมกัน สร้างกระแสสังคม ให้ประชาชนรับทราบว่า บทบัญญัติใดที่เป็นอันตรายต่อประเทศ โดยในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ จะมีการจัดตั้งเวทีตามภูมิภาคต่างๆ เพื่อทำความเข้าใจกับประชาชน ซึ่งจุดแรกจะเริ่มในวันที่ 13 พ.ค. ที่ จ.ชุมพร สุราษฎธานี และ สงขลา โดยจะเชิญกลุ่มการเมือง นักวิชาการ และประชาชนทั่วไปมาร่วมกันระดมความเห็นและจะชี้ให้เห็นถึงอันตรายของรัฐธรรมนูญฉบับที่รัฐบาลกำลังผลักดันแก้ไข