กสทช.โชว์ ผลงาน 6 เดือน ชูงานใหญ่จัดทำ 3 แผนแม่บทหลักพร้อมเดินหน้าประมูล3G ภายในไตรมาส3 ขณะที่ประเด็นการเปลี่ยนผ่านทีวีไปสู่ระบบดิจิตอล คาดจะเริ่มเปิดประมูลใบอนุญาตภายในต้นปี 2556 ด้านโทรคมนาคม เดินหน้าเคลีย์ข้อกฏหมาย ปรับปรุงประกาศต่างๆ พร้อมเล็งสะสาง 3 ประเด็นสำคัญก่อนเปิดประมูลใบอนุญาต 3G
พล.อ.อ. ธเรศ ปุณศรี ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวถึงผลงาน 6 เดือนของกสทช.ว่าตั้งแต่โปรดเกล้าแต่งตั้งฯ ให้ปฏิบัติหน้าที่กำกับดูแลกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เมื่อวันที่ 7 ต.ค. 2554 ที่ผ่านมา ผลงานสำคัญที่จะก้าวสู่การเปลี่ยนแปลงของการสื่อสารครั้งใหญ่ของประเทศไทยภายในปีนี้คือเรื่องการจัดทำ 3 แผนแม่บทหลัก ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 4 เม.ย.ที่ผ่านมา เนื่องจากแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม จะเป็นใบเบิกทางในการเปิดประมูลใบอนุญาต 3G บนคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz โดยกสทช.มีเป้าหมายเปิดประมูลภายในเดือนก.ย.นี้
'มั่นใจว่าการประมูล 3G ในไตรมาส 3 ปีนี้จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน เพราะที่ผ่านมาเราทำตามขั้นตอนอย่างถูกต้องทุกอย่างแล้ว จึงไม่น่าจะมีมือมืดหรือใครมาขัดขวาง'
ส่วนแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ก็จะเป็นตัวผลักดันในเรื่องการเปลี่ยนแปลงระบบทีวีอนาล็อกไปสู่ระบบทีวีดิจิตอลในอนาคต โดยในเบื้องต้นจะนำคลื่นความถี่ที่มีอยู่ และไม่ได้ใช้งาน เช่น ช่อง 2, 4, 6, 8 มาจัดสรรเพื่อทดลองออกอากาศ ซึ่งจะสามารถแพร่ภาพได้มากกว่า 50 ช่อง โดยมีเป้าหมายเริ่มทดลองการแพร่ภาพในอีก 6 เดือนข้างหน้า และจะเริ่มเปิดประมูลใบอนุญาตประกอบกิจการทีวีดิจิตอลได้ภายในต้นปี 2556 และคาดว่าในอีก 3 ปีข้างหน้าหรือในปี 2559 ไทยจะก้าวสู่ระบบทีวีดิจิตอลเต็มรูปแบบ
พล.อ.อ.ธเรศ กล่าวอีกว่านอกจากนี้ยังมีผลงานอีกหลายเรื่องที่ดำเนินการเสร็จแล้ว และกำลังอยู่ในกระบวนการ อาทิเช่น ในเรื่องที่ยังอยู่ในระหว่างการจัดระเบียบโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม และเคเบิลทีวี โดยการร่างกฎเกณฑ์การออกใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการโทรทัศน์ทั้ง 2 ประเภท และให้ผู้ประกอบการที่ไม่ได้อยู่ในระบบมาเข้าสู่ระบบใบอนุญาต โดยเฉพาะทีวีดาวเทียม และการให้ความสำคัญกับการคุ้มครองสิทธิในการใช้บริการ
'เราคาดว่าผู้บริโภคจะมีความต้องการใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เพิ่มขึ้นกว่า 60% จากการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น และจะทำให้ต้นทุนในการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ลดลงกว่า 13%'
พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานกสทช. ในฐานะประธานด้านกิจการโทรคมนาคม(กทค.) กล่าวถึงผลงาน 6 เดือนของกสทช.ในฝั่งกทค.ว่าก่อนที่จะเกิดการประมูลใบอนุญาต 3G ในย่านความถี่ 2.1 GHz นั้น ต้องสะสางเรื่องที่ค้างคาอยู่ให้เสร็จก่อน โดยเฉพาะข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และปรับปรุงประกาศของกสทช.ที่เกี่ยวข้องให้มีความสมบูรณ์ และให้สอดคล้องกับหนังสือชี้ชวนการลงทุน ( IM) ฉบับปัจจุบันก่อน ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในต้นเดือนมิ.ย.นี้ โดยจะมีเรื่องวิธีการประมูล และกรอบการขยายโครงข่าย (Roll out) และในส่วนการกำหนดราคาเริ่มต้นการประมูลด้วย
นอกจากนี้ยังมีเรื่องที่ต้องสะสาง 3 เรื่องก่อนการประมูล คือ 1.การผลักดันให้เกิดรูปแบบการตั้งบริษัทให้บริการเสาโทรคมนาคม สถานีฐาน (Tower Co) 2.บริการเช่าโครงข่าย (Network Co) และ3.บริการเช่าไฟเบอร์ออปติก (Fiber Co) ซึ่งจะเป็นการเช่าใช้โครงข่ายพื้นฐานระหว่างกัน(Infrastructure Sharing) เพื่อออกหลักเกณฑ์ หรือใบอนุญาตให้เอกชนทุกราย โดยเฉพาะผู้ไม่มีโครงข่ายของตัวเองเข้ามาเช่าใช้เพื่อลดต้นทุน และสร้างให้เกิดผู้ประกอบการหน้าใหม่
พล.อ.อ. ธเรศ ปุณศรี ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวถึงผลงาน 6 เดือนของกสทช.ว่าตั้งแต่โปรดเกล้าแต่งตั้งฯ ให้ปฏิบัติหน้าที่กำกับดูแลกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เมื่อวันที่ 7 ต.ค. 2554 ที่ผ่านมา ผลงานสำคัญที่จะก้าวสู่การเปลี่ยนแปลงของการสื่อสารครั้งใหญ่ของประเทศไทยภายในปีนี้คือเรื่องการจัดทำ 3 แผนแม่บทหลัก ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 4 เม.ย.ที่ผ่านมา เนื่องจากแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม จะเป็นใบเบิกทางในการเปิดประมูลใบอนุญาต 3G บนคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz โดยกสทช.มีเป้าหมายเปิดประมูลภายในเดือนก.ย.นี้
'มั่นใจว่าการประมูล 3G ในไตรมาส 3 ปีนี้จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน เพราะที่ผ่านมาเราทำตามขั้นตอนอย่างถูกต้องทุกอย่างแล้ว จึงไม่น่าจะมีมือมืดหรือใครมาขัดขวาง'
ส่วนแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ก็จะเป็นตัวผลักดันในเรื่องการเปลี่ยนแปลงระบบทีวีอนาล็อกไปสู่ระบบทีวีดิจิตอลในอนาคต โดยในเบื้องต้นจะนำคลื่นความถี่ที่มีอยู่ และไม่ได้ใช้งาน เช่น ช่อง 2, 4, 6, 8 มาจัดสรรเพื่อทดลองออกอากาศ ซึ่งจะสามารถแพร่ภาพได้มากกว่า 50 ช่อง โดยมีเป้าหมายเริ่มทดลองการแพร่ภาพในอีก 6 เดือนข้างหน้า และจะเริ่มเปิดประมูลใบอนุญาตประกอบกิจการทีวีดิจิตอลได้ภายในต้นปี 2556 และคาดว่าในอีก 3 ปีข้างหน้าหรือในปี 2559 ไทยจะก้าวสู่ระบบทีวีดิจิตอลเต็มรูปแบบ
พล.อ.อ.ธเรศ กล่าวอีกว่านอกจากนี้ยังมีผลงานอีกหลายเรื่องที่ดำเนินการเสร็จแล้ว และกำลังอยู่ในกระบวนการ อาทิเช่น ในเรื่องที่ยังอยู่ในระหว่างการจัดระเบียบโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม และเคเบิลทีวี โดยการร่างกฎเกณฑ์การออกใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการโทรทัศน์ทั้ง 2 ประเภท และให้ผู้ประกอบการที่ไม่ได้อยู่ในระบบมาเข้าสู่ระบบใบอนุญาต โดยเฉพาะทีวีดาวเทียม และการให้ความสำคัญกับการคุ้มครองสิทธิในการใช้บริการ
'เราคาดว่าผู้บริโภคจะมีความต้องการใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เพิ่มขึ้นกว่า 60% จากการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น และจะทำให้ต้นทุนในการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ลดลงกว่า 13%'
พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานกสทช. ในฐานะประธานด้านกิจการโทรคมนาคม(กทค.) กล่าวถึงผลงาน 6 เดือนของกสทช.ในฝั่งกทค.ว่าก่อนที่จะเกิดการประมูลใบอนุญาต 3G ในย่านความถี่ 2.1 GHz นั้น ต้องสะสางเรื่องที่ค้างคาอยู่ให้เสร็จก่อน โดยเฉพาะข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และปรับปรุงประกาศของกสทช.ที่เกี่ยวข้องให้มีความสมบูรณ์ และให้สอดคล้องกับหนังสือชี้ชวนการลงทุน ( IM) ฉบับปัจจุบันก่อน ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในต้นเดือนมิ.ย.นี้ โดยจะมีเรื่องวิธีการประมูล และกรอบการขยายโครงข่าย (Roll out) และในส่วนการกำหนดราคาเริ่มต้นการประมูลด้วย
นอกจากนี้ยังมีเรื่องที่ต้องสะสาง 3 เรื่องก่อนการประมูล คือ 1.การผลักดันให้เกิดรูปแบบการตั้งบริษัทให้บริการเสาโทรคมนาคม สถานีฐาน (Tower Co) 2.บริการเช่าโครงข่าย (Network Co) และ3.บริการเช่าไฟเบอร์ออปติก (Fiber Co) ซึ่งจะเป็นการเช่าใช้โครงข่ายพื้นฐานระหว่างกัน(Infrastructure Sharing) เพื่อออกหลักเกณฑ์ หรือใบอนุญาตให้เอกชนทุกราย โดยเฉพาะผู้ไม่มีโครงข่ายของตัวเองเข้ามาเช่าใช้เพื่อลดต้นทุน และสร้างให้เกิดผู้ประกอบการหน้าใหม่