ASTVผู้จัดการรายวัน- ประเมินผลงาน 6 เดือน รัฐบาล"ยิ่งลักษณ์" สอบตก ทั้งในด้านการบริหาร จัดการ ความเด็ดขาดในการใช้กฎหมาย ขณะที่บทบาทของฝ่ายค้านก็พึ่งพาอะไรไม่ได้ ด้าน"นายกฯนกแก้ว"จัดเวิร์กชอป เรียกรมต. ตรวจการบ้านรายกระทรวง พร้อมสั่งปั่นนโยบายเร่งด่วน เดือนละ 2 โปรเจ็กต์ เตรียมแถลงผลงาน 6 เดือน มีค.นี้
กรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ รายงานผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่อง “ประเมินผลงาน 6 เดือน รัฐบาลนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร”หลังจากดำรงตำแหน่งครบ 6 เดือนในวันที่ 8 ก.พ.นี้ โดยเก็บข้อมูลจากประชาชน อายุ 18 ปีขึ้นไปทุกภูมิภาคทั่วประเทศ จำนวน 1,151 คน เมื่อวันที่ 31 ม.ค. - 3 ก.พ. ที่ผ่านมา
โดยผลการสำรวจประชาชนให้คะแนนความพึงพอใจการทำงานของรัฐบาล 4.94 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ซึ่งเพิ่มขึ้น จากผลสำรวจเมื่อตอนที่รัฐบาลทำงานครบ 3 เดือน 0.16 คะแนน โดยให้คะแนนความพึงพอใจผลงานด้านการต่างประเทศมากที่สุด (5.16 คะแนน) แต่พึงพอใจผลงานด้านการบริหารจัดการ และการบังคับใช้กฎหมาย น้อยที่สุด ( 4.81 คะแนน )
สำหรับผลงานและโครงการของรัฐบาลที่ประชาชนชื่นชอบมากที่สุด คือ การปราบปรามยาเสพติด ( ร้อยละ 35.4 ) การปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการ 15,000 บาท สำหรับวุฒิปริญญาตรี ( ร้อยละ 21.6 ) และการแก้ปัญหาน้ำท่วม และการเยียวยาผู้ประสบภัยหลังน้ำท่วม ( ร้อยละ 14.5 ) ตามลำดับ
ส่วนคะแนนการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะนายกรัฐมนตรีของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้คะแนนเฉลี่ย 5.29 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากผลการประเมินเมื่อตอนที่ทำงานครบ 3 เดือน 0.31 คะแนน โดยได้คะแนนความขยัน ทุ่มเทในการทำงานเพื่อแก้ปัญหาของประเทศมากที่สุด (6.06 คะแนน) แต่ได้คะแนนด้านความเด็ดขาด กล้าตัดสินใจน้อยที่สุด ( 4.64 คะแนน )
ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบคะแนนความพึงพอใจต่อการทำงานของพรรคเพื่อไทยซึ่งเป็นแกนนำรัฐบาล พรรคร่วมรัฐบาล พรรคแกนนำฝ่ายค้าน และพรรคร่วมฝ่ายค้าน พบว่า พรรคเพื่อไทยได้ 5.42 คะแนน พรรคร่วมรัฐบาลได้ 4.39 คะแนน ในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นแกนนำฝ่ายค้าน ได้ 3.88 คะแนน และพรรคร่วมฝ่ายค้านได้ 3.80 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
** "ปู"เวิร์กชอป สั่งปั่นผลงานด่วน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อวานนี้ (8 ก.พ.) มีการประชุมเชิงปฏิบัติการที่ทำเนียบรัฐบาล โดยน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เรียกรองนายกฯ และรัฐมนตรีที่มีหน้าที่รับผิดชอบหลัก ในแต่ละนโยบายมาหารือที่ทำเนียบรัฐบาล
ทั้งนี้ นายกฯได้มอบหมายให้รองนายกฯ เป็นเจ้าภาพหลักดำเนินนโยบายในแต่ละด้าน ทั้งสิ้น 12 ด้าน โดย นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯ และรมว.คลัง รับผิดชอบ 5 ด้านหลัก ประกอบด้วย 1. การพัฒนาระบบลุ่มน้ำทั้งประเทศ 2. ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน เช่น นโยบายปรับเงินเดือน บ้านหลังแรก รถคันแรก เบี้ยผู้สูงอายุ ภาษีนิติบุคคล
3. แก้ไขความเดือดร้อนประชาชน ผู้ประกอบการ เช่น เรื่องเงินเฟ้อ เรื่องพลังงาน 4. ยกระดับราคาสินค้าเกษตร ให้เกษตรกรเข้าถึงเงินทุน ปรับโครงสร้างหนี้ พักหนี้ ทำบัตรเครดิตพลังงาน โครงการรับจำนำข้าว และ 5. ส่งเสริมประชาชนเข้าสู่แหล่งเงินทุน เช่น กองทุนหมู่บ้าน กองทุนสตรี โครงการเอสเอ็มแอล
ส่วน พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกฯ รับผิดชอบ 4 ด้านหลัก ประกอบด้วย 1. ปรับปรุงคุณภาพสถานศึกษา เช่น การจัดหาแท็บเล็ต โครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน 2.ระบบประกันสุขภาพ โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค 3. การสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติ 4. การฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
สำหรับ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯ รับผิดชอบการแก้ไขปัญหายาเสพติด และปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกฯ และรมว.มหาดไทย รับผิดชอบการส่งเสริมผลิตสินค้าท้องถิ่นหรือโอทอป ขณะที่ นายชุมพล ศิลปอาชา รองนายกฯ และรมว.การท่องเที่ยว รับผิดชอบการเพิ่มรายได้จากนักท่องเที่ยว ทั้งภายในและนอกประเทศ
**เตรียมแถลงผลงาน 6 เดือน มี.ค.นี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายกฯ ได้สั่งการให้รองนายกฯ และรัฐมนตรีไปรวบรวมรายละเอียดผลงานที่รัฐบาลได้ทำไปแล้ว พร้อมสั่งการให้เร่งรัดนโยบายที่คั่งค้างอยู่โดยด่วน เนื่องจากรัฐบาล จะทำการแถลงนโยบายต่อประชาชนรอบ 6 เดือน อย่างช้าไม่เกินเดือนมี.ค.นี้
นายกฯ ระบุในที่ประชุมด้วยว่า ตั้งแต่เดือนก.พ.เป็นต้นไป จะต้องมีนโยบายที่ประกาศสู่สาธารณะ เดือนละ 2 นโยบาย
**ปั๊มงานเร่งด่วนได้แค่ 5 จาก 16 นโยบาย
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ว่า หลังจากผ่าน 5 เดือนเศษของรัฐบาลนี้ มีนโยบายที่ได้ดำเนินการไปแล้ว 5 โครงการ จาก 16 นโยบายเร่งด่วน ที่ได้แถลงต่อรัฐสภา ได้แก่ โครงการรถยนต์คันแรก โครงการบ้านหลังแรก เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุที่ดำเนินการไปแล้วตั้งแต่เดือน ต.ค.54 โครงการลดภาษีเงินได้นิติบุคคลจาก 30% เหลือ 23% ในปี 55 และจะให้เหลือ 20% ในปี 56 โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.55 และล่าสุดโครงการปรับโครงสร้างขึ้นเงินเดือนข้าราชการ 15,000 บาท ซึ่งจะมีผลย้อนหลัง 1 ม.ค.55 รวมไปถึงนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ที่จะเริ่มในวันที่ 1 เม.ย.55 ขณะที่อีก 11 นโยบาย ยังอยู่ในระหว่างดำเนินการ
ทั้งนี้ ในที่ประชุม ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯ ได้รายงานความคืบหน้าในการปราบปรามยาเสพติด โดยเห็นว่าการกำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติคงไม่เพียงพอ เพราะพบว่าทั่วโลกมีผู้ติดยาเสพติดกว่า 210 ล้านคน ทำให้จำเป็นต้องมีการผลักดันให้มีประกาศการแก้ปัญหายาเสพติด เป็นวาระแห่งภูมิภาค เพราะจากการสำรวจพบว่า มีคนไทยติดยาเสพติดทั่วประเทศกว่า 400,000 คน
ทั้งนี้ยังนายกรัฐมนตรียังกำชับให้เร่งผลักดันการเข้าถึงแหล่งทุนของประชาชน ผ่าน 5 กองทุน ได้แก่ กองทุนหมู่บ้าน กองทุนเศรษฐกิจพอเพียง กองทุนเอสเอ็มแอล กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี และกองทุนตั้งตัวได้
กรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ รายงานผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่อง “ประเมินผลงาน 6 เดือน รัฐบาลนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร”หลังจากดำรงตำแหน่งครบ 6 เดือนในวันที่ 8 ก.พ.นี้ โดยเก็บข้อมูลจากประชาชน อายุ 18 ปีขึ้นไปทุกภูมิภาคทั่วประเทศ จำนวน 1,151 คน เมื่อวันที่ 31 ม.ค. - 3 ก.พ. ที่ผ่านมา
โดยผลการสำรวจประชาชนให้คะแนนความพึงพอใจการทำงานของรัฐบาล 4.94 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ซึ่งเพิ่มขึ้น จากผลสำรวจเมื่อตอนที่รัฐบาลทำงานครบ 3 เดือน 0.16 คะแนน โดยให้คะแนนความพึงพอใจผลงานด้านการต่างประเทศมากที่สุด (5.16 คะแนน) แต่พึงพอใจผลงานด้านการบริหารจัดการ และการบังคับใช้กฎหมาย น้อยที่สุด ( 4.81 คะแนน )
สำหรับผลงานและโครงการของรัฐบาลที่ประชาชนชื่นชอบมากที่สุด คือ การปราบปรามยาเสพติด ( ร้อยละ 35.4 ) การปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการ 15,000 บาท สำหรับวุฒิปริญญาตรี ( ร้อยละ 21.6 ) และการแก้ปัญหาน้ำท่วม และการเยียวยาผู้ประสบภัยหลังน้ำท่วม ( ร้อยละ 14.5 ) ตามลำดับ
ส่วนคะแนนการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะนายกรัฐมนตรีของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้คะแนนเฉลี่ย 5.29 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากผลการประเมินเมื่อตอนที่ทำงานครบ 3 เดือน 0.31 คะแนน โดยได้คะแนนความขยัน ทุ่มเทในการทำงานเพื่อแก้ปัญหาของประเทศมากที่สุด (6.06 คะแนน) แต่ได้คะแนนด้านความเด็ดขาด กล้าตัดสินใจน้อยที่สุด ( 4.64 คะแนน )
ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบคะแนนความพึงพอใจต่อการทำงานของพรรคเพื่อไทยซึ่งเป็นแกนนำรัฐบาล พรรคร่วมรัฐบาล พรรคแกนนำฝ่ายค้าน และพรรคร่วมฝ่ายค้าน พบว่า พรรคเพื่อไทยได้ 5.42 คะแนน พรรคร่วมรัฐบาลได้ 4.39 คะแนน ในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นแกนนำฝ่ายค้าน ได้ 3.88 คะแนน และพรรคร่วมฝ่ายค้านได้ 3.80 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
** "ปู"เวิร์กชอป สั่งปั่นผลงานด่วน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อวานนี้ (8 ก.พ.) มีการประชุมเชิงปฏิบัติการที่ทำเนียบรัฐบาล โดยน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เรียกรองนายกฯ และรัฐมนตรีที่มีหน้าที่รับผิดชอบหลัก ในแต่ละนโยบายมาหารือที่ทำเนียบรัฐบาล
ทั้งนี้ นายกฯได้มอบหมายให้รองนายกฯ เป็นเจ้าภาพหลักดำเนินนโยบายในแต่ละด้าน ทั้งสิ้น 12 ด้าน โดย นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯ และรมว.คลัง รับผิดชอบ 5 ด้านหลัก ประกอบด้วย 1. การพัฒนาระบบลุ่มน้ำทั้งประเทศ 2. ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน เช่น นโยบายปรับเงินเดือน บ้านหลังแรก รถคันแรก เบี้ยผู้สูงอายุ ภาษีนิติบุคคล
3. แก้ไขความเดือดร้อนประชาชน ผู้ประกอบการ เช่น เรื่องเงินเฟ้อ เรื่องพลังงาน 4. ยกระดับราคาสินค้าเกษตร ให้เกษตรกรเข้าถึงเงินทุน ปรับโครงสร้างหนี้ พักหนี้ ทำบัตรเครดิตพลังงาน โครงการรับจำนำข้าว และ 5. ส่งเสริมประชาชนเข้าสู่แหล่งเงินทุน เช่น กองทุนหมู่บ้าน กองทุนสตรี โครงการเอสเอ็มแอล
ส่วน พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกฯ รับผิดชอบ 4 ด้านหลัก ประกอบด้วย 1. ปรับปรุงคุณภาพสถานศึกษา เช่น การจัดหาแท็บเล็ต โครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน 2.ระบบประกันสุขภาพ โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค 3. การสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติ 4. การฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
สำหรับ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯ รับผิดชอบการแก้ไขปัญหายาเสพติด และปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกฯ และรมว.มหาดไทย รับผิดชอบการส่งเสริมผลิตสินค้าท้องถิ่นหรือโอทอป ขณะที่ นายชุมพล ศิลปอาชา รองนายกฯ และรมว.การท่องเที่ยว รับผิดชอบการเพิ่มรายได้จากนักท่องเที่ยว ทั้งภายในและนอกประเทศ
**เตรียมแถลงผลงาน 6 เดือน มี.ค.นี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายกฯ ได้สั่งการให้รองนายกฯ และรัฐมนตรีไปรวบรวมรายละเอียดผลงานที่รัฐบาลได้ทำไปแล้ว พร้อมสั่งการให้เร่งรัดนโยบายที่คั่งค้างอยู่โดยด่วน เนื่องจากรัฐบาล จะทำการแถลงนโยบายต่อประชาชนรอบ 6 เดือน อย่างช้าไม่เกินเดือนมี.ค.นี้
นายกฯ ระบุในที่ประชุมด้วยว่า ตั้งแต่เดือนก.พ.เป็นต้นไป จะต้องมีนโยบายที่ประกาศสู่สาธารณะ เดือนละ 2 นโยบาย
**ปั๊มงานเร่งด่วนได้แค่ 5 จาก 16 นโยบาย
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ว่า หลังจากผ่าน 5 เดือนเศษของรัฐบาลนี้ มีนโยบายที่ได้ดำเนินการไปแล้ว 5 โครงการ จาก 16 นโยบายเร่งด่วน ที่ได้แถลงต่อรัฐสภา ได้แก่ โครงการรถยนต์คันแรก โครงการบ้านหลังแรก เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุที่ดำเนินการไปแล้วตั้งแต่เดือน ต.ค.54 โครงการลดภาษีเงินได้นิติบุคคลจาก 30% เหลือ 23% ในปี 55 และจะให้เหลือ 20% ในปี 56 โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.55 และล่าสุดโครงการปรับโครงสร้างขึ้นเงินเดือนข้าราชการ 15,000 บาท ซึ่งจะมีผลย้อนหลัง 1 ม.ค.55 รวมไปถึงนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ที่จะเริ่มในวันที่ 1 เม.ย.55 ขณะที่อีก 11 นโยบาย ยังอยู่ในระหว่างดำเนินการ
ทั้งนี้ ในที่ประชุม ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯ ได้รายงานความคืบหน้าในการปราบปรามยาเสพติด โดยเห็นว่าการกำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติคงไม่เพียงพอ เพราะพบว่าทั่วโลกมีผู้ติดยาเสพติดกว่า 210 ล้านคน ทำให้จำเป็นต้องมีการผลักดันให้มีประกาศการแก้ปัญหายาเสพติด เป็นวาระแห่งภูมิภาค เพราะจากการสำรวจพบว่า มีคนไทยติดยาเสพติดทั่วประเทศกว่า 400,000 คน
ทั้งนี้ยังนายกรัฐมนตรียังกำชับให้เร่งผลักดันการเข้าถึงแหล่งทุนของประชาชน ผ่าน 5 กองทุน ได้แก่ กองทุนหมู่บ้าน กองทุนเศรษฐกิจพอเพียง กองทุนเอสเอ็มแอล กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี และกองทุนตั้งตัวได้