วานนี้(29เม.ย.55)นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่า ในวันที่ 30 เม.ย.นี้ พรรคจะมีการประชุม ส.ส.พรรคเพื่อกำหนด กรอบการประชุมร่วมรัฐสภาแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ 2 ในวันที่ 1-3 พ.ค. เนื่องจากในการประชุมที่ผ่านมามีประชาชนสอบถามถึงการประชุมที่ยืดเยื้อ
ทั้งนี้อยากขอให้ประชาชนเข้าใจว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องสำคัญและเป็นนโยบายหาเสียงของพรรคที่ต้องดำเนินการ โดยยืนยันว่าการแก้รัฐธรรมนูญประชาชนจะได้ประโยชน์ และไม่ใช่การแก้ไขเพื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี
อย่างไรก็ตามการที่การประชุมยืดเยื้อก็เพราะต้องการให้ฝ่ายค้านแปรญัติอย่างเต็มที่ แต่ฝ่ายค้านมีการอภิปรายวาระ 2 และย้อนกลับไปในวาระแรกทำให้ประชาชนที่ติดตามเกิดความเบื่อหน่าย จึงขอให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) และลูกพรรคอย่ายื้อการอภิปรายเพื่อต่อรองในประเด็นที่ฝ่ายค้านไม่เห็นด้วย เพราะทำให้ยืดเยื้อไม่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน
ส่วนที่พรรคประชาธิปัตย์เตรียมยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น เป็นเรื่องที่สามารถทำได้ แต่ขอให้ประชาชนติดตามกระบวนการขัดขวางการแก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรคประชาธิปัตย์ตั้งแต่ต้น เพราะเรื่องการกดบัตรแทนกันของ ส.ส.ที่ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนมาเป็นประเด็น ซึ่งถ้าพรรคประชาธิปัตย์ต้องการส่งเสริมประชาธิปไตย ก็ไม่ควรเตะถ่วงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส. นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะกรรมาธิการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เสียงข้างน้อย กล่าวถึงกรณี นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภามีหนังสือเรียกประชุมร่วมรัฐสภา เพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ 2 ในวันที่ 1-3 พ.ค. ว่า ประธานรัฐสภา ไม่ควรที่จะเร่งรัดเรียกประชุมโดยพลการ ควรให้วิป 3 ฝ่าย มีการพูดคุยหาข้อยุติเสียก่อน เพราะการเปิดประชุม 3วันรวด เพื่อพิจารณาเฉพาะการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทำให้เบียดบังเวลาการประชุมของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมีวาระการประชุมเป็นประจำทุกวันพุธ และวันพฤหัสบดี และการประชุมวุฒิสภา ก็จะมีทุกวันจันทร์ ฉะนั้นการประชุมร่วมที่สามารถทำได้ในแต่ละสัปดาห์ ก็ควรเป็นวันอังคารเพียงวันเดียวเท่านั้น
ดังนั้นเพื่อไม่ให้มีข้อครหาว่า รัฐบาลขยายสมัยประชุมเพื่อเร่งแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อนายใหญ่โดยเฉพาะ ก็ควรจะให้ทั้ง ส.ส.และส.ว.ได้ประชุมตามวาระปกติ เพื่อพิจารณากฎหมายฉบับอื่นๆ ที่ค้างคาอยู่ด้วย
" การรวบรัดเพื่อพิจารณาเฉพาะรัฐธรรมนูญเพียงอย่างเดียว ก็เป็นการยืนยันชัดเจนว่าการขยายสมัยประชุมครั้งนี้ ต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้สำเร็จ แต่กลับอ้างเหตุผลเรื่องกฎหมายค้างคา มาเป็นเครื่องบังหน้า จึงอยากจะถามรัฐบาลว่า จะมีการขยายสมัยประชุมอีกนานแค่ไหน และจะปิดสมัยประชุมเมื่อไร เพราะในขณะนี้พี่น้องประชาชน ทวงถามถึงการปิดสมัยประชุมของส.ส. ของตนเอง เพราะตามปกติในการปิดสมัยประชุม ส.ส.ก็จะเข้าร่วมกิจกรรมในพื้นที่กับพี่น้องประชาชนได้เต็มที่ เมื่อขยายสมัยประชุมออกไป ก็ทำให้แผนงานกิจกรรมของประชาชนเกิดความสับสน การเชื้อเชิญส.ส.เข้าร่วมกิจกรรม ก็จะถูกปฏิเสธ เพราะส.ส.ติดการประชุมสภาแทบทุกวัน"
นายเทพไท ยังไม่เห็นด้วยที่พรรคเพื่อไทย จะตีกรอบให้สมาชิกอภิปรายเพียงคนละ10-30 นาที เพราะเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ และขัดต่อข้อบังคับการประชุม เพราะการสงวนคำแปรญัตติเพื่ออภิปรายในรัฐสภา เป็นเอกสิทธิ์ของสมาชิกรัฐสภา และเหตุผลของการอภิปรายแต่ละประเด็น ก็มีความสั้นยาวไม่เท่ากัน ในบางประเด็นใช้เวลาเพียง 5 นาที แต่บางประเด็นที่มีเหตุผลสำคัญ เพื่อโน้มน้าวให้สมาชิกรัฐสภาเห็นด้วย ต้องใช้เวลาเป็นชั่วโมงก็ได้
ดังนั้นไม่ควรทำอะไรในลักษณะผิดข้อบังคับ ขัดขวางการปฏิบติหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภา ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นจริง ก็อาจจะมีการร้องตีความว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้ผ่านการพิจารณาโดยกระบวนการมิชอบด้วยข้อบังคับ ก็อาจจะเป็นโมฆะได้ จึงไม่เข้าใจว่ารัฐบาลเร่งรีบรวบรัดไปทำไม ควรปล่อยให้กระบวนการพิจารณาครั้งนี้เป็นไปตามขั้นตอนปกติ และธรรมชาติที่สุด และควรที่จะปิดสมัยประชุม ค้างการพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญไว้ เพื่อให้สมาชิกรัฐสภาได้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ตนเองวางแผนไว้ แล้วค่อยไปพิจารณาในสมัยประชุมสามัญทั่วไปดีกว่า การขายออกไปโดยไม่มีที่สิ้นสุด จะทำให้ตารางการทำงานของรัฐสภาคลาดเคลื่อน ไม่เกิดความสมดุลระหว่างเวลาสมัยประชุม และการปิดสมัยประชุมที่กำหนดไว้ตามรัฐธรรมนูญ
นายเทพไท ยืนยันด้วยว่า พรรคประชาธิปัตย์ไม่มีเจตนาที่จะขัดขวางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่เมื่อรัฐบาลเสนอร่างแก้ไขขึ้นมาแล้ว ก็ควรจะพิจารณาด้วยความรอบคอบ และจะใช้กระบวนการตามกฎหมายตรวจสอบ ไม่ว่าในขั้นการอภิปราย หรือการใช้สิทธิยื่นตีความ หากกระบวนการแก้ไขเกิดความไม่ชอบมาพากล และมีแนวโน้มที่จะเกิดการขัดต่อรัฐธรรมนูญได้ อยากให้รัฐบาลกลับไปดูผลสำรวจของ เอแบกโพล ที่ 73.5 % เห็นว่ารัฐบาลควรสนใจปัญหาปากท้อง มากกว่าการปรองดอง หรือการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะการแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ได้ทำให้ชีวิตประชาชนดีขึ้นในทันตาเห็น ข้าวของค่าครองชีพไม่ได้ถูกลง มีแต่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เพียงคนเดียว ที่ได้ประโยชน์จากรัฐธรรมนูญเต็มๆ
ทั้งนี้อยากขอให้ประชาชนเข้าใจว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องสำคัญและเป็นนโยบายหาเสียงของพรรคที่ต้องดำเนินการ โดยยืนยันว่าการแก้รัฐธรรมนูญประชาชนจะได้ประโยชน์ และไม่ใช่การแก้ไขเพื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี
อย่างไรก็ตามการที่การประชุมยืดเยื้อก็เพราะต้องการให้ฝ่ายค้านแปรญัติอย่างเต็มที่ แต่ฝ่ายค้านมีการอภิปรายวาระ 2 และย้อนกลับไปในวาระแรกทำให้ประชาชนที่ติดตามเกิดความเบื่อหน่าย จึงขอให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) และลูกพรรคอย่ายื้อการอภิปรายเพื่อต่อรองในประเด็นที่ฝ่ายค้านไม่เห็นด้วย เพราะทำให้ยืดเยื้อไม่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน
ส่วนที่พรรคประชาธิปัตย์เตรียมยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น เป็นเรื่องที่สามารถทำได้ แต่ขอให้ประชาชนติดตามกระบวนการขัดขวางการแก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรคประชาธิปัตย์ตั้งแต่ต้น เพราะเรื่องการกดบัตรแทนกันของ ส.ส.ที่ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนมาเป็นประเด็น ซึ่งถ้าพรรคประชาธิปัตย์ต้องการส่งเสริมประชาธิปไตย ก็ไม่ควรเตะถ่วงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส. นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะกรรมาธิการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เสียงข้างน้อย กล่าวถึงกรณี นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภามีหนังสือเรียกประชุมร่วมรัฐสภา เพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ 2 ในวันที่ 1-3 พ.ค. ว่า ประธานรัฐสภา ไม่ควรที่จะเร่งรัดเรียกประชุมโดยพลการ ควรให้วิป 3 ฝ่าย มีการพูดคุยหาข้อยุติเสียก่อน เพราะการเปิดประชุม 3วันรวด เพื่อพิจารณาเฉพาะการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทำให้เบียดบังเวลาการประชุมของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมีวาระการประชุมเป็นประจำทุกวันพุธ และวันพฤหัสบดี และการประชุมวุฒิสภา ก็จะมีทุกวันจันทร์ ฉะนั้นการประชุมร่วมที่สามารถทำได้ในแต่ละสัปดาห์ ก็ควรเป็นวันอังคารเพียงวันเดียวเท่านั้น
ดังนั้นเพื่อไม่ให้มีข้อครหาว่า รัฐบาลขยายสมัยประชุมเพื่อเร่งแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อนายใหญ่โดยเฉพาะ ก็ควรจะให้ทั้ง ส.ส.และส.ว.ได้ประชุมตามวาระปกติ เพื่อพิจารณากฎหมายฉบับอื่นๆ ที่ค้างคาอยู่ด้วย
" การรวบรัดเพื่อพิจารณาเฉพาะรัฐธรรมนูญเพียงอย่างเดียว ก็เป็นการยืนยันชัดเจนว่าการขยายสมัยประชุมครั้งนี้ ต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้สำเร็จ แต่กลับอ้างเหตุผลเรื่องกฎหมายค้างคา มาเป็นเครื่องบังหน้า จึงอยากจะถามรัฐบาลว่า จะมีการขยายสมัยประชุมอีกนานแค่ไหน และจะปิดสมัยประชุมเมื่อไร เพราะในขณะนี้พี่น้องประชาชน ทวงถามถึงการปิดสมัยประชุมของส.ส. ของตนเอง เพราะตามปกติในการปิดสมัยประชุม ส.ส.ก็จะเข้าร่วมกิจกรรมในพื้นที่กับพี่น้องประชาชนได้เต็มที่ เมื่อขยายสมัยประชุมออกไป ก็ทำให้แผนงานกิจกรรมของประชาชนเกิดความสับสน การเชื้อเชิญส.ส.เข้าร่วมกิจกรรม ก็จะถูกปฏิเสธ เพราะส.ส.ติดการประชุมสภาแทบทุกวัน"
นายเทพไท ยังไม่เห็นด้วยที่พรรคเพื่อไทย จะตีกรอบให้สมาชิกอภิปรายเพียงคนละ10-30 นาที เพราะเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ และขัดต่อข้อบังคับการประชุม เพราะการสงวนคำแปรญัตติเพื่ออภิปรายในรัฐสภา เป็นเอกสิทธิ์ของสมาชิกรัฐสภา และเหตุผลของการอภิปรายแต่ละประเด็น ก็มีความสั้นยาวไม่เท่ากัน ในบางประเด็นใช้เวลาเพียง 5 นาที แต่บางประเด็นที่มีเหตุผลสำคัญ เพื่อโน้มน้าวให้สมาชิกรัฐสภาเห็นด้วย ต้องใช้เวลาเป็นชั่วโมงก็ได้
ดังนั้นไม่ควรทำอะไรในลักษณะผิดข้อบังคับ ขัดขวางการปฏิบติหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภา ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นจริง ก็อาจจะมีการร้องตีความว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้ผ่านการพิจารณาโดยกระบวนการมิชอบด้วยข้อบังคับ ก็อาจจะเป็นโมฆะได้ จึงไม่เข้าใจว่ารัฐบาลเร่งรีบรวบรัดไปทำไม ควรปล่อยให้กระบวนการพิจารณาครั้งนี้เป็นไปตามขั้นตอนปกติ และธรรมชาติที่สุด และควรที่จะปิดสมัยประชุม ค้างการพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญไว้ เพื่อให้สมาชิกรัฐสภาได้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ตนเองวางแผนไว้ แล้วค่อยไปพิจารณาในสมัยประชุมสามัญทั่วไปดีกว่า การขายออกไปโดยไม่มีที่สิ้นสุด จะทำให้ตารางการทำงานของรัฐสภาคลาดเคลื่อน ไม่เกิดความสมดุลระหว่างเวลาสมัยประชุม และการปิดสมัยประชุมที่กำหนดไว้ตามรัฐธรรมนูญ
นายเทพไท ยืนยันด้วยว่า พรรคประชาธิปัตย์ไม่มีเจตนาที่จะขัดขวางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่เมื่อรัฐบาลเสนอร่างแก้ไขขึ้นมาแล้ว ก็ควรจะพิจารณาด้วยความรอบคอบ และจะใช้กระบวนการตามกฎหมายตรวจสอบ ไม่ว่าในขั้นการอภิปราย หรือการใช้สิทธิยื่นตีความ หากกระบวนการแก้ไขเกิดความไม่ชอบมาพากล และมีแนวโน้มที่จะเกิดการขัดต่อรัฐธรรมนูญได้ อยากให้รัฐบาลกลับไปดูผลสำรวจของ เอแบกโพล ที่ 73.5 % เห็นว่ารัฐบาลควรสนใจปัญหาปากท้อง มากกว่าการปรองดอง หรือการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะการแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ได้ทำให้ชีวิตประชาชนดีขึ้นในทันตาเห็น ข้าวของค่าครองชีพไม่ได้ถูกลง มีแต่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เพียงคนเดียว ที่ได้ประโยชน์จากรัฐธรรมนูญเต็มๆ