ASTVผู้จัดการรายวัน - สบน.คาดกู้ไม่เต็มวงเงิน 8 แสนล้านบาท หลังจากโครงการเบิกเงินกู้ล้าช้า ส่งผลให้หนี้สาธารณะจะสูงสุดเพียง 47% จากที่เคยประมาณการจะสูงสุดถึง 50% พร้อมปรับลดวงเงินพันธบัตรลง 1 หมื่นล้านบาท ดัดหลังนักลงทุนที่แห่เก็งกำไร ส่งผลให้ดอกเบี้ยในตลาดพุ่ง
นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า แนวโน้มการใช้เงินของรัฐบาลจะล่าช้าออกไป ทำให้ความต้องการระดมทุนจากตลาดเงินของกระทรวงการคลังต่ำกว่าเป้าหมายที่วางไว้ตามแผนการก่อหนี้ในปีงบประมาณปี 2555 ทั้งหมด 8 แสนล้านบาท จากการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 4 แสนล้านบาท กู้เงินเงินตามพระราชกำหนด (พ.ร.ก.)บริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาทและกู้เงินตามพรก.กองทุนส่งเสริมประกันภัยพิบัติอีก 5 หมื่นล้านบาทซึ่งจะทำให้สัดส่วนหนี้สาธารณะสิ้นปีงบประมาณไม่ถึง 46-47% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) จากเดิมที่คาดว่าจะสูงสุดที่ 50% ของจีดีพี
นายจักรกฤศฏิ์กล่าวถึงการเบิกเงินกู้ ตาม พ.ร.ก.บริหารจัดการน้ำว่า จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีโครงการใดยื่นขอเบิกเงินกู้เข้ามาเลย จากโครงการที่ได้รับอนุมัติไปจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ไปแล้ว 2.4 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นโครงการเร่งด่วนระยะสั้น และที่ได้รับจัดสรรเงินกู้งวดแรก 3 พันล้านบาทเป็นของกรมชลประทานและกรมเจ้าท่า เกี่ยวกับการขุดลอกคูคลอง แต่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีโครงการใดยื่นขอกู้เงินเพื่อการบริหารจัดการน้ำเข้ามาเช่นเดียวกัน เพราะตามขั้นตอนจะต้องยื่นเสนอโครงการไปยังสำนักงบประมาณ เพื่อจัดตารางการอนุมัติเงินกู้ก่อนจะยื่นขอเบิกเงินมายังสบน. เพื่ออนุมัติเงินกู้ แต่สำนักงบประมาณก็ยังไม่ได้ยื่นมาเช่นเดียวกัน
"สบน.ได้ปรับลดวงเงินการออกพันธบัตรที่เป็นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงในปีงบประมารลง 1 หมื่นล้านบาทจากที่เคยตั้งไว้ในแผนก่อนหนี้ 5.25 แสนล้านบาทเหลือ 5.15 แสนล้านบาท หลังจากที่ตลาดมีแรงเก็งกำไรจาก ที่คาดการณ์ว่า รัฐบาลจะระดมทุนในตลาดเงินจำนวนมาก หลังจากมีการออกพรก.บริหารจัดการน้ำ ทำให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดปรับสูงขึ้นเป็น 3.9% สำหรับพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี จากที่เคยอยู่ที่ระดับ 3.7% สบน.จึงต้องปรับลดวงเงินลง เพื่อแสดงให้ตลาดเห็นว่า แผนการออกพันธบัตรจะไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่เคยประกาศไว้ ทำให้ดอกเบี้ยกลับมาอยู่ในภาวะปกติที่ 3.7%"
อย่างไรก็ตาม สบน.ยังมีแผนที่จะออกพันธบัตรออมทรัพย์ขายให้กับประชาชนทั่วไปในเดือนกันยายน วงเงินไม่เกิน 1 แสนล้านบาท เนื่องจากจะมีพันธบัตรกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินครบกำหนดอายุจำนวน 2.6 แสนล้านบาทและเกรงว่า ประชาชนที่ได้รับเงินคืน จะไม่สามารถหาแหล่งลงทุนได้ จึงต้องออกพันธบัตรออมทรัพย์มารองรับ แต่ก็จะมีปัญหาจากสภาพคล่องส่วนเกินที่มีมากในตลาดเงินที่จะต้องประเมินอีกครั้ง เพาะสบน.ไม่ต้องการกู้เงินมาจำนวนมาก แต่ไม่ได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ แต่จะมีภาระต้นทุนกับรัฐบาลมากกว่า ขณะเดียวกันวงเงินที่เหลือจากการขาดดุลงบประมาณก็ไม่มากนัก เพราะได้จัดตารางการออกพันธบัตรแต่ละไตรมาสไว้แล้ว ทำให้วงเงินในการกู้ลดลง
ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 23 เมษายน-13กรกฎาคม สบน.จะเปิดขายพันธบัตรออมทรัพย์พิเศษเพื่อรายย่อยวงเงิน 5 พันล้านบาท อายุ 2.4 ปี อัตราดอกเบี้ย 3.75% โดยจะเป็นการขายผ่านตู้เอทีเอ็มและได้ปรับเงื่อนไขใหม่ขยายวงเงินสูงสุดไม่เกิน 5 ล้านบาทจากเดิมที่กำหนดวงเงินขั้นต่ำไม่เกิน 1 ล้านบาท เพราะต้องการเพิ่มความสะดวกให้กับประชาชนทั่วไป และจะประเมินว่า ได้รับการตอบรับที่ดีขึ้นหรือไม่.
นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า แนวโน้มการใช้เงินของรัฐบาลจะล่าช้าออกไป ทำให้ความต้องการระดมทุนจากตลาดเงินของกระทรวงการคลังต่ำกว่าเป้าหมายที่วางไว้ตามแผนการก่อหนี้ในปีงบประมาณปี 2555 ทั้งหมด 8 แสนล้านบาท จากการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 4 แสนล้านบาท กู้เงินเงินตามพระราชกำหนด (พ.ร.ก.)บริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาทและกู้เงินตามพรก.กองทุนส่งเสริมประกันภัยพิบัติอีก 5 หมื่นล้านบาทซึ่งจะทำให้สัดส่วนหนี้สาธารณะสิ้นปีงบประมาณไม่ถึง 46-47% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) จากเดิมที่คาดว่าจะสูงสุดที่ 50% ของจีดีพี
นายจักรกฤศฏิ์กล่าวถึงการเบิกเงินกู้ ตาม พ.ร.ก.บริหารจัดการน้ำว่า จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีโครงการใดยื่นขอเบิกเงินกู้เข้ามาเลย จากโครงการที่ได้รับอนุมัติไปจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ไปแล้ว 2.4 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นโครงการเร่งด่วนระยะสั้น และที่ได้รับจัดสรรเงินกู้งวดแรก 3 พันล้านบาทเป็นของกรมชลประทานและกรมเจ้าท่า เกี่ยวกับการขุดลอกคูคลอง แต่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีโครงการใดยื่นขอกู้เงินเพื่อการบริหารจัดการน้ำเข้ามาเช่นเดียวกัน เพราะตามขั้นตอนจะต้องยื่นเสนอโครงการไปยังสำนักงบประมาณ เพื่อจัดตารางการอนุมัติเงินกู้ก่อนจะยื่นขอเบิกเงินมายังสบน. เพื่ออนุมัติเงินกู้ แต่สำนักงบประมาณก็ยังไม่ได้ยื่นมาเช่นเดียวกัน
"สบน.ได้ปรับลดวงเงินการออกพันธบัตรที่เป็นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงในปีงบประมารลง 1 หมื่นล้านบาทจากที่เคยตั้งไว้ในแผนก่อนหนี้ 5.25 แสนล้านบาทเหลือ 5.15 แสนล้านบาท หลังจากที่ตลาดมีแรงเก็งกำไรจาก ที่คาดการณ์ว่า รัฐบาลจะระดมทุนในตลาดเงินจำนวนมาก หลังจากมีการออกพรก.บริหารจัดการน้ำ ทำให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดปรับสูงขึ้นเป็น 3.9% สำหรับพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี จากที่เคยอยู่ที่ระดับ 3.7% สบน.จึงต้องปรับลดวงเงินลง เพื่อแสดงให้ตลาดเห็นว่า แผนการออกพันธบัตรจะไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่เคยประกาศไว้ ทำให้ดอกเบี้ยกลับมาอยู่ในภาวะปกติที่ 3.7%"
อย่างไรก็ตาม สบน.ยังมีแผนที่จะออกพันธบัตรออมทรัพย์ขายให้กับประชาชนทั่วไปในเดือนกันยายน วงเงินไม่เกิน 1 แสนล้านบาท เนื่องจากจะมีพันธบัตรกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินครบกำหนดอายุจำนวน 2.6 แสนล้านบาทและเกรงว่า ประชาชนที่ได้รับเงินคืน จะไม่สามารถหาแหล่งลงทุนได้ จึงต้องออกพันธบัตรออมทรัพย์มารองรับ แต่ก็จะมีปัญหาจากสภาพคล่องส่วนเกินที่มีมากในตลาดเงินที่จะต้องประเมินอีกครั้ง เพาะสบน.ไม่ต้องการกู้เงินมาจำนวนมาก แต่ไม่ได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ แต่จะมีภาระต้นทุนกับรัฐบาลมากกว่า ขณะเดียวกันวงเงินที่เหลือจากการขาดดุลงบประมาณก็ไม่มากนัก เพราะได้จัดตารางการออกพันธบัตรแต่ละไตรมาสไว้แล้ว ทำให้วงเงินในการกู้ลดลง
ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 23 เมษายน-13กรกฎาคม สบน.จะเปิดขายพันธบัตรออมทรัพย์พิเศษเพื่อรายย่อยวงเงิน 5 พันล้านบาท อายุ 2.4 ปี อัตราดอกเบี้ย 3.75% โดยจะเป็นการขายผ่านตู้เอทีเอ็มและได้ปรับเงื่อนไขใหม่ขยายวงเงินสูงสุดไม่เกิน 5 ล้านบาทจากเดิมที่กำหนดวงเงินขั้นต่ำไม่เกิน 1 ล้านบาท เพราะต้องการเพิ่มความสะดวกให้กับประชาชนทั่วไป และจะประเมินว่า ได้รับการตอบรับที่ดีขึ้นหรือไม่.