ASTVผู้จัดการรายวัน - โพลชี้ภาพโป๊กลางสภาไม่สมควรเกิดขึ้น ทำภาพลักษณ์รัฐสภาแย่ลง วอนเร่งตรวจสอบโดยเร็ว ส่วนข้ออ้าง “ณัฏฐ์” เปิดไอโฟนลบภาพหวิวฟังไม่ขึ้นถึงร้อยละ 53 ชี้แก้ตัวรักษาชื่อเสียงตัวเอง ด้านเอแบคจี้ ส.ส.ดูภาพโป๊ลาออก
วานนี้ (22 เม.ย.) สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิตได้เปิดเผยผลสำรวจในหัวข้อ “ภาพลักษณ์”ของ “รัฐสภาไทย” กรณี “ภาพโป๊” จากกรณีการปรากฎภาพนิ่งของหญิงสาวที่ไม่เหมาะสมระหว่างที่กำลังมีการอภิปราย และกรณีที่นายณัฏฐ์ บรรทัดฐาน ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ได้หยิบโทรศัพท์ไอโฟนขึ้นมาเปิดดูรูปภาพสาวนุ่งน้อยห่มน้อยในขณะที่กำลังประชุมสภา โดยสำรวจความคิดเห็นจากประชาชนในกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 1,127 คน ระหว่างวันที่ 19-21 เมษายน 2555 พบว่าความคิดเห็นของประชาชน กรณี การปรากฎภาพนิ่งของหญิงสาวที่ไม่เหมาะสมระหว่างที่กำลังมีการถ่ายทอดการอภิปราย ร้อยละ 49.27 เห็นว่าเป็นเหตุการณ์ที่ไม่สมควรจะเกิดขึ้นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะระหว่างที่มีการถ่ายทอดสดการอภิปราย เพราะมีคนดูทั่วประเทศและมีทุกเพศทุกวัย รองลงมา เห็นว่าเกิดจากความประมาทเลินเล่อของเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิคและผู้ที่ดูแลการประชุม ร้อยละ 21.27 อันดับสาม เห็นว่าทำให้ภาพพจน์ของรัฐสภาเสื่อมเสียและภาพลักษณ์ของประเทศดูแย่ลง ร้อยละ 15.65 และอันดับสี่ เห็นว่าไม่ควรด่วนสรุปเร็วเกินไปก่อนที่จะมีการตรวจสอบข้อเท็จจริง หรืออาจเป็นเหตุสุดวิสัย ร้อยละ 13.81
ส่วนความคิดเห็นของประชาชน กรณีที่นายณัฏฐ์ได้หยิบโทรศัพท์ไอโฟนขึ้นมา โดยอ้างว่าเป็นการหยิบขึ้นมาเพื่อลบภาพสาวนุ่งน้อยห่มน้อยทิ้งนั้น ร้อยละ 53.34 เห็นว่าเหตุผลที่ชี้แจงฟังไม่ขึ้น เป็นการแก้ตัวเพื่อรักษาชื่อเสียงของตัวเองมากกว่า รองลงมาเห็นว่าเป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ควรให้ความสนใจและให้ความสำคัญกับเรื่องที่กำลังอภิปรายอยู่ มากกว่าจะเปิดดูภาพในโทรศัพท์มือถือ ร้อยละ 26.59 อันดับสาม เห็นว่าควรมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงอย่างเป็นธรรม ผิดก็ว่าไปตามผิด ร้อยละ 13.22 ส่วนอันดับสี่ เห็นว่าเรื่องที่เกิดขึ้นไม่ควรนำมาเป็นประเด็นหรือเรื่องราวใหญ่โต ทำให้ภาพลักษณ์การเมืองไทยดูแย่ลง มีเพียงร้อยละ 6.85
สำหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ประชาชนคิดว่ามีผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของรัฐสภาไทยหรือไม่ พบว่าร้อยละ 83.44 เห็นว่ามีผลกระทบทำให้ภาพลักษณ์ของรัฐสภาไทยดูแย่ลง เพราะรัฐสภาเป็นสถานที่อันทรงเกียรติ ทุกคนควรเคารพและยึดถือปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด ส่วนประชาชนที่มองว่าไม่มีผลกระทบ มีเพียงร้อยละ 16.56 เพราะเห็นว่าควรใช้วิจารณญาณพิจารณาในเรื่องที่เกิดขึ้น เป็นข้อผิดพลาดหรือข้อบกพร่องที่เกิดจากตัวบุคคล ไม่ควรกล่าวหา หรือมองในแง่ลบทั้งหมด
เมื่อผลสำรวจถามว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นประชาชนคิดว่าจะถูกนำมาใช้เป็นเกมการเมืองหรือไม่ ร้อยละ 44.04 เห็นว่าถูกนำมาใช้เป็นเกมการเมืองอย่างแน่นอน เพราะเป็นการนำข้อผิดพลาดในเรื่องนี้มาใช้โจมตีกันทางการเมือง ต้องการเบี่ยงเบนความสนใจเพื่อประโยชน์ทางการเมือง รองลงมาคือไม่แน่ใจ ร้อยละ 38.13 เพราะขึ้นอยู่กับกระแสสังคมว่าจะให้ความสนใจและให้ความสำคัญมากน้อยเพียงใด รวมทั้งการเผยแพร่ของสื่อ ขณะที่ร้อยละ 17.83 เห็นว่าคงไม่นำมาใช้เป็นเกมการเมือง เพราะการเมืองไทยทุกวันนี้วุ่นวายมากพออยู่แล้ว ยังคงมีอีกหลายประเด็นที่ยังเป็นปมขัดแย้งทางการเมืองอยู่
เมื่อผลสำรวจถามว่า ประชาชนคิดว่า “สำนักงานเลขาธิการสภา” ควรดำเนินการเรื่องนี้อย่างไร พบว่าร้อยละ 56.11 เห็นว่าควรเร่งตรวจสอบเรื่องนี้โดยเร็วและออกมาชี้แจงให้กับสังคมรับรู้ รองลงมาคือ หากพบว่ามีการกระทำที่ไม่ถูกต้องหรือทำผิดจริง ต้องได้รับการลงโทษตามข้อบังคับที่กำหนดไว้ ร้อยละ 23.47 ส่วนอันดับสาม เห็นว่าควรมีการกำหนดกฎระเบียบ มีมาตรการควบคุมและป้องกันที่เข้มงวดให้เหมาะสมกับสภาพสังคม และเทคโนโลยีในปัจจุบันโดยเฉพาะอุปกรณ์สื่อสาร ร้อยละ 20.42
เมื่อผลสำรวจถามว่า ประชาชนคิดว่าจะเกิดเหตุการณ์อย่างกรณีนี้ขึ้นอีกหรือไม่ ร้อยละ 45.76 เห็นว่าไม่แน่ใจ เพราะอุบัติเหตุหรือข้อผิดพลาดในการทำงานมักเกิดขึ้นได้ ขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบและการยึดปฏิบัติตามกฎระเบียบของแต่ละคนมากกว่า รองลงมาเห็นว่าคงจะไม่เกิดขึ้น ร้อยละ 27.86 เพราะจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นบทเรียนครั้งสำคัญ ทำให้ทุกคนต้องตระหนักและระมัดระวังให้มากขึ้น ส่วนอันดับสามเห็นว่าคงจะเกิดขึ้นอีก ร้อยละ 26.38 เพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นยังอยู่ในกระแสที่คนให้ความสนใจ แต่เมื่อเวลาผ่านไปถ้าการควบคุมดูแลไม่เข้มงวดหรือยังหละหลวมอยู่ ก็อาจจะเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นได้อีก
และเมื่อผลสำรวจถามว่า จะมีวิธีการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ลักษณะนี้ขึ้นมาอีกอย่างไร พบว่าร้อยละ 32.63 เห็นว่ารัฐสภาจะต้องมีการกำหนดกฎระเบียบที่เข้มงวด ทุกคนต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดและมีบทลงโทษชัดเจน รองลงมาร้อยละ 26.06 เห็นว่าระหว่างประชุมหรือทำงานควรมีการตรวจสอบอุปกรณ์สื่อสารอื่นๆที่ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องในการทำงานหรืองดใช้ เพื่อไม่ให้เกิดการผิดพลาดหรือเกิดปัญหาขึ้นมาอีก ส่วนอันดับสามเห็นว่าขึ้นอยู่กับความตระหนัก จิตสำนึกในการรับผิดชอบต่อหน้าที่ของแต่ละบุคคล ระหว่างปฏิบัติหน้าที่ควรมีความตั้งใจและจริงจังในการทำงาน ร้อยละ 21.59 และอันดับสี่ เห็นว่า คงจะป้องกันได้ยาก อุบัติเหตุหรือข้อผิดพลาดในการทำงานมักเกิดขึ้นได้เสมอ ร้อยละ 19.72
***เอแบคโพลล์จี้ ส.ส.ดูภาพโป๊ลาออก
นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (เอแบค) เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง ประชาชนรู้สึกอย่างไรต่อสภาอันทรงเกียรติ กับผลการประเมินคุณธรรมเบื้องต้นในสังคมไทย โดยสำรวจประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 2,664 ตัวอย่างใน 17 จังหวัด ทั่วภูมิภาคของประเทศ ซึ่งในขณะที่คณะวิจัยกำลังประเมินคุณธรรมเบื้องต้นในสังคมไทย ระหว่างวันที่ 1 ถึง 19 เม.ย. 55 จำนวน 2,664 ตัวอย่างใน 17 จังหวัดทั่วทุกภูมิภาคของประเทศอยู่นั้น ได้มีข่าวอื้อฉาวที่กระทบต่อความรู้สึกของประชาชนในสังคมไทย และเกิดการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางต่อภาพโป๊ในสภาอันทรงเกียรติของประเทศ
คณะวิจัยจึงได้ทำการสำรวจด้วยระบบเรียลไทม์ผ่านการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ในระบบฐานข้อมูลครัวเรือนที่มีอยู่และลงพื้นที่ศึกษา เพื่อสะท้อนอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดของประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 17 จังหวัดของประเทศเพิ่มเติม ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สระแก้ว พระนครศรีอยุธยา นนทบุรี ชลบุรี สุโขทัย นครสวรรค์ เชียงใหม่ นครพนม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ อุดรธานี ขอนแก่น ปัตตานี นครศรีธรรมราช และสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 1,148 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 19 - 21 เม.ย.ที่ผ่านมาพบว่า
ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 83.3 รู้สึกเสื่อมศรัทธาต่อรัฐสภาอันทรงเกียรติของประเทศ ร้อยละ 68.6 ต้องการให้ประธานในที่ประชุมออกมาแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ภาพโป๊ที่เกิดขึ้นในรัฐสภาด้วยการขอโทษ ในขณะที่ร้อยละ 67.3 ต้องการให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิค และร้อยละ 58.5 ต้องการให้ ส.ส.ที่เปิดดูภาพโป๊ในขณะประชุมออกมาขอโทษต่อสาธารณชน นอกจากนี้ที่น่าสังเกตคือ มีประชาชนเกินกว่า 1 ใน 3 หรือร้อยละ 35.5 ต้องการให้ ส.ส.ที่เปิดดูภาพโป๊ในขณะประชุมลาออก
ผลสำรวจยังพบด้วยว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 84.3 ระบุให้ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ต้องเป็นผู้ดำเนินการตรวจสอบ สืบสวน หาตัวผู้นำภาพโป๊ขึ้นในขณะประชุมสภาฯ ร้อยละ 83.0 ระบุ สื่อมวลชน ร้อยละ 80.5 ระบุผู้ใหญ่ในสังคม หรือ หน่วยงานดูแลด้านคุณธรรม จริยธรรม และร้อยละ 74.7 ระบุ เจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภา ต้องเป็นผู้ดำเนินการตรวจสอบ สืบสวน หาตัวผู้นำภาพโป๊ขึ้นในสภาฯ อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 68.8 คิดว่าเรื่องอื้อฉาวภาพโป๊ในขณะประชุมรัฐสภา จะเงียบหายไป แต่ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 89.6 เห็นว่า รัฐสภาควรถือโอกาสนี้ปฏิรูปคุณภาพสมาชิกด้านคุณธรรมและจริยธรรม
วันเดียวกัน นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย แถลงอ้างโพลว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญ การที่นายเจริญ คันธวงศ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์รวมถึงส.ส.พรรคประชาธิปัตย์หลายคนที่ออกมาปกป้องนายณัฏฐ์นั้น ผลการสำรวจของประชาชนดังกล่าวนี้ก็ถือว่าเป็นการตบหน้า โดยเฉพาะผู้ใหญ่ของพรรคที่ยังนิ่งอยู่ทั้งนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ และนายบัญญัติ บรรทัดฐาน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นผู้ถือกฎเหล็กของพรรคประชาธิปัตย์ เพราะประชาชนร้อยละ 58.5 ต้องการให้ส.ส.ที่เปิดภาพอนาจารออกมากขอโทษต่อสาธารณะและแสดงความรับผิดชอบโดยการลาออก นี่คือประชามติของภาคประชาชนที่สะท้อนผ่านผลการสำรวจ เพราะเป็นความเสื่อมเสียกับการกระทำของส.ส.ที่ทางพรรคประชาธิปัตย์ยังไม่ออกไม่รับผิดชอบ อีกทั้งการตรวจสอบก็ไม่ใช่เรื่องยาก ตนได้จับข้อพิรุธของนายณัฏฐ์ที่อ้างว่าไม่ทราบว่าใครส่งภาพอนาจารมาให้ได้ เพราะเด็กหรือคนไม่มีความรู้ก็รู้ว่าใครส่งภาพมาก็มีเบอร์โชว์โทรศัพท์ แต่วันนี้น่าสังเกตว่านายณัฏฐ์ยังปกปิดว่าใครส่งภาพมาให้ ตนมองว่าคนที่ส่งภาพมาให้น่าจะเป็นคนพิเศษ หรือเป็นคนรู้ใจ และเชื่อว่าน่าจะมีการส่งไปหลายคน ตนขอให้ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ช่วยตรวจสอบ รวมถึงนายไพจิตร ศรีวรขานส.ส.นครพนม พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการกิจการสภาผู้แทนราษฎรต้องตรวจสอบว่าผู้ที่ส่งภาพมาให้นายณัฏฐ์เป็นใคร เพราะมีการปกปิดอย่างมีวาระซ่อนเร้นว่าจำไม่ได้คือใคร ทั้งที่เป็นโทรศัพท์ของนายณัฏฐ์เอง
“นายณัฏฐ์เป็น ส.ส.มีจริยธรรมของนักการเมืองกำกับอยู่ ผมจึงยอมไม่ได้ที่จะให้ผู้แทนปวงชนชาวไทยที่ระหว่างประชุมร่วมรัฐสภาดำเนินการอย่างนี้ เพราะสร้างความอับอายไปทั่วโลก ผมถามว่านายณัฏฐ์นั้นมีคุณธรรมหรือไม่ และการตรวจสอบโทรศัพท์นั้น โทรศัพท์ทุกเครื่องมีเลขประจำเครื่องหรืออีมี่ดังนั้นกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) สามารถกู้ภาพได้ว่าส่งมาจากไหนและใครอย่างไร หากตรวจสอบพบว่าภาพดังกล่าวมาจากโทรศัพท์ยี่ห้อโอโฟนส่งผลกระทบต่อระบบคอมพิวเตอร์ของรัฐสภานั้นน่าจะเข้าข่ายผิดพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ได้ ซึ่งผมจะทำรายละเอียดให้สน.ดุสิตดำเนินการตรวจสอบว่าผิดพ.ร.บ. คอมพิวเตอร์หรือไม่ต่อไป หากนายณัฏฐ์ยังไม่แสดงความรับผิดชอบด้วยการลาออกรวมทั้งพรรคเพื่อไทยจะส่งปี๊บไปให้พรรคประชาธิปัตย์ 3 ใบ เพื่อให้นายอภิสิทธ์ นายบัญญัติและนายณัฐ คลุมหัว เพราะเรื่องนี้ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่” โฆษกพรรคเพื่อไทยกล่าว.
วานนี้ (22 เม.ย.) สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิตได้เปิดเผยผลสำรวจในหัวข้อ “ภาพลักษณ์”ของ “รัฐสภาไทย” กรณี “ภาพโป๊” จากกรณีการปรากฎภาพนิ่งของหญิงสาวที่ไม่เหมาะสมระหว่างที่กำลังมีการอภิปราย และกรณีที่นายณัฏฐ์ บรรทัดฐาน ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ได้หยิบโทรศัพท์ไอโฟนขึ้นมาเปิดดูรูปภาพสาวนุ่งน้อยห่มน้อยในขณะที่กำลังประชุมสภา โดยสำรวจความคิดเห็นจากประชาชนในกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 1,127 คน ระหว่างวันที่ 19-21 เมษายน 2555 พบว่าความคิดเห็นของประชาชน กรณี การปรากฎภาพนิ่งของหญิงสาวที่ไม่เหมาะสมระหว่างที่กำลังมีการถ่ายทอดการอภิปราย ร้อยละ 49.27 เห็นว่าเป็นเหตุการณ์ที่ไม่สมควรจะเกิดขึ้นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะระหว่างที่มีการถ่ายทอดสดการอภิปราย เพราะมีคนดูทั่วประเทศและมีทุกเพศทุกวัย รองลงมา เห็นว่าเกิดจากความประมาทเลินเล่อของเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิคและผู้ที่ดูแลการประชุม ร้อยละ 21.27 อันดับสาม เห็นว่าทำให้ภาพพจน์ของรัฐสภาเสื่อมเสียและภาพลักษณ์ของประเทศดูแย่ลง ร้อยละ 15.65 และอันดับสี่ เห็นว่าไม่ควรด่วนสรุปเร็วเกินไปก่อนที่จะมีการตรวจสอบข้อเท็จจริง หรืออาจเป็นเหตุสุดวิสัย ร้อยละ 13.81
ส่วนความคิดเห็นของประชาชน กรณีที่นายณัฏฐ์ได้หยิบโทรศัพท์ไอโฟนขึ้นมา โดยอ้างว่าเป็นการหยิบขึ้นมาเพื่อลบภาพสาวนุ่งน้อยห่มน้อยทิ้งนั้น ร้อยละ 53.34 เห็นว่าเหตุผลที่ชี้แจงฟังไม่ขึ้น เป็นการแก้ตัวเพื่อรักษาชื่อเสียงของตัวเองมากกว่า รองลงมาเห็นว่าเป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ควรให้ความสนใจและให้ความสำคัญกับเรื่องที่กำลังอภิปรายอยู่ มากกว่าจะเปิดดูภาพในโทรศัพท์มือถือ ร้อยละ 26.59 อันดับสาม เห็นว่าควรมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงอย่างเป็นธรรม ผิดก็ว่าไปตามผิด ร้อยละ 13.22 ส่วนอันดับสี่ เห็นว่าเรื่องที่เกิดขึ้นไม่ควรนำมาเป็นประเด็นหรือเรื่องราวใหญ่โต ทำให้ภาพลักษณ์การเมืองไทยดูแย่ลง มีเพียงร้อยละ 6.85
สำหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ประชาชนคิดว่ามีผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของรัฐสภาไทยหรือไม่ พบว่าร้อยละ 83.44 เห็นว่ามีผลกระทบทำให้ภาพลักษณ์ของรัฐสภาไทยดูแย่ลง เพราะรัฐสภาเป็นสถานที่อันทรงเกียรติ ทุกคนควรเคารพและยึดถือปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด ส่วนประชาชนที่มองว่าไม่มีผลกระทบ มีเพียงร้อยละ 16.56 เพราะเห็นว่าควรใช้วิจารณญาณพิจารณาในเรื่องที่เกิดขึ้น เป็นข้อผิดพลาดหรือข้อบกพร่องที่เกิดจากตัวบุคคล ไม่ควรกล่าวหา หรือมองในแง่ลบทั้งหมด
เมื่อผลสำรวจถามว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นประชาชนคิดว่าจะถูกนำมาใช้เป็นเกมการเมืองหรือไม่ ร้อยละ 44.04 เห็นว่าถูกนำมาใช้เป็นเกมการเมืองอย่างแน่นอน เพราะเป็นการนำข้อผิดพลาดในเรื่องนี้มาใช้โจมตีกันทางการเมือง ต้องการเบี่ยงเบนความสนใจเพื่อประโยชน์ทางการเมือง รองลงมาคือไม่แน่ใจ ร้อยละ 38.13 เพราะขึ้นอยู่กับกระแสสังคมว่าจะให้ความสนใจและให้ความสำคัญมากน้อยเพียงใด รวมทั้งการเผยแพร่ของสื่อ ขณะที่ร้อยละ 17.83 เห็นว่าคงไม่นำมาใช้เป็นเกมการเมือง เพราะการเมืองไทยทุกวันนี้วุ่นวายมากพออยู่แล้ว ยังคงมีอีกหลายประเด็นที่ยังเป็นปมขัดแย้งทางการเมืองอยู่
เมื่อผลสำรวจถามว่า ประชาชนคิดว่า “สำนักงานเลขาธิการสภา” ควรดำเนินการเรื่องนี้อย่างไร พบว่าร้อยละ 56.11 เห็นว่าควรเร่งตรวจสอบเรื่องนี้โดยเร็วและออกมาชี้แจงให้กับสังคมรับรู้ รองลงมาคือ หากพบว่ามีการกระทำที่ไม่ถูกต้องหรือทำผิดจริง ต้องได้รับการลงโทษตามข้อบังคับที่กำหนดไว้ ร้อยละ 23.47 ส่วนอันดับสาม เห็นว่าควรมีการกำหนดกฎระเบียบ มีมาตรการควบคุมและป้องกันที่เข้มงวดให้เหมาะสมกับสภาพสังคม และเทคโนโลยีในปัจจุบันโดยเฉพาะอุปกรณ์สื่อสาร ร้อยละ 20.42
เมื่อผลสำรวจถามว่า ประชาชนคิดว่าจะเกิดเหตุการณ์อย่างกรณีนี้ขึ้นอีกหรือไม่ ร้อยละ 45.76 เห็นว่าไม่แน่ใจ เพราะอุบัติเหตุหรือข้อผิดพลาดในการทำงานมักเกิดขึ้นได้ ขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบและการยึดปฏิบัติตามกฎระเบียบของแต่ละคนมากกว่า รองลงมาเห็นว่าคงจะไม่เกิดขึ้น ร้อยละ 27.86 เพราะจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นบทเรียนครั้งสำคัญ ทำให้ทุกคนต้องตระหนักและระมัดระวังให้มากขึ้น ส่วนอันดับสามเห็นว่าคงจะเกิดขึ้นอีก ร้อยละ 26.38 เพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นยังอยู่ในกระแสที่คนให้ความสนใจ แต่เมื่อเวลาผ่านไปถ้าการควบคุมดูแลไม่เข้มงวดหรือยังหละหลวมอยู่ ก็อาจจะเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นได้อีก
และเมื่อผลสำรวจถามว่า จะมีวิธีการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ลักษณะนี้ขึ้นมาอีกอย่างไร พบว่าร้อยละ 32.63 เห็นว่ารัฐสภาจะต้องมีการกำหนดกฎระเบียบที่เข้มงวด ทุกคนต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดและมีบทลงโทษชัดเจน รองลงมาร้อยละ 26.06 เห็นว่าระหว่างประชุมหรือทำงานควรมีการตรวจสอบอุปกรณ์สื่อสารอื่นๆที่ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องในการทำงานหรืองดใช้ เพื่อไม่ให้เกิดการผิดพลาดหรือเกิดปัญหาขึ้นมาอีก ส่วนอันดับสามเห็นว่าขึ้นอยู่กับความตระหนัก จิตสำนึกในการรับผิดชอบต่อหน้าที่ของแต่ละบุคคล ระหว่างปฏิบัติหน้าที่ควรมีความตั้งใจและจริงจังในการทำงาน ร้อยละ 21.59 และอันดับสี่ เห็นว่า คงจะป้องกันได้ยาก อุบัติเหตุหรือข้อผิดพลาดในการทำงานมักเกิดขึ้นได้เสมอ ร้อยละ 19.72
***เอแบคโพลล์จี้ ส.ส.ดูภาพโป๊ลาออก
นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (เอแบค) เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง ประชาชนรู้สึกอย่างไรต่อสภาอันทรงเกียรติ กับผลการประเมินคุณธรรมเบื้องต้นในสังคมไทย โดยสำรวจประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 2,664 ตัวอย่างใน 17 จังหวัด ทั่วภูมิภาคของประเทศ ซึ่งในขณะที่คณะวิจัยกำลังประเมินคุณธรรมเบื้องต้นในสังคมไทย ระหว่างวันที่ 1 ถึง 19 เม.ย. 55 จำนวน 2,664 ตัวอย่างใน 17 จังหวัดทั่วทุกภูมิภาคของประเทศอยู่นั้น ได้มีข่าวอื้อฉาวที่กระทบต่อความรู้สึกของประชาชนในสังคมไทย และเกิดการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางต่อภาพโป๊ในสภาอันทรงเกียรติของประเทศ
คณะวิจัยจึงได้ทำการสำรวจด้วยระบบเรียลไทม์ผ่านการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ในระบบฐานข้อมูลครัวเรือนที่มีอยู่และลงพื้นที่ศึกษา เพื่อสะท้อนอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดของประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 17 จังหวัดของประเทศเพิ่มเติม ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สระแก้ว พระนครศรีอยุธยา นนทบุรี ชลบุรี สุโขทัย นครสวรรค์ เชียงใหม่ นครพนม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ อุดรธานี ขอนแก่น ปัตตานี นครศรีธรรมราช และสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 1,148 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 19 - 21 เม.ย.ที่ผ่านมาพบว่า
ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 83.3 รู้สึกเสื่อมศรัทธาต่อรัฐสภาอันทรงเกียรติของประเทศ ร้อยละ 68.6 ต้องการให้ประธานในที่ประชุมออกมาแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ภาพโป๊ที่เกิดขึ้นในรัฐสภาด้วยการขอโทษ ในขณะที่ร้อยละ 67.3 ต้องการให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิค และร้อยละ 58.5 ต้องการให้ ส.ส.ที่เปิดดูภาพโป๊ในขณะประชุมออกมาขอโทษต่อสาธารณชน นอกจากนี้ที่น่าสังเกตคือ มีประชาชนเกินกว่า 1 ใน 3 หรือร้อยละ 35.5 ต้องการให้ ส.ส.ที่เปิดดูภาพโป๊ในขณะประชุมลาออก
ผลสำรวจยังพบด้วยว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 84.3 ระบุให้ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ต้องเป็นผู้ดำเนินการตรวจสอบ สืบสวน หาตัวผู้นำภาพโป๊ขึ้นในขณะประชุมสภาฯ ร้อยละ 83.0 ระบุ สื่อมวลชน ร้อยละ 80.5 ระบุผู้ใหญ่ในสังคม หรือ หน่วยงานดูแลด้านคุณธรรม จริยธรรม และร้อยละ 74.7 ระบุ เจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภา ต้องเป็นผู้ดำเนินการตรวจสอบ สืบสวน หาตัวผู้นำภาพโป๊ขึ้นในสภาฯ อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 68.8 คิดว่าเรื่องอื้อฉาวภาพโป๊ในขณะประชุมรัฐสภา จะเงียบหายไป แต่ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 89.6 เห็นว่า รัฐสภาควรถือโอกาสนี้ปฏิรูปคุณภาพสมาชิกด้านคุณธรรมและจริยธรรม
วันเดียวกัน นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย แถลงอ้างโพลว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญ การที่นายเจริญ คันธวงศ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์รวมถึงส.ส.พรรคประชาธิปัตย์หลายคนที่ออกมาปกป้องนายณัฏฐ์นั้น ผลการสำรวจของประชาชนดังกล่าวนี้ก็ถือว่าเป็นการตบหน้า โดยเฉพาะผู้ใหญ่ของพรรคที่ยังนิ่งอยู่ทั้งนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ และนายบัญญัติ บรรทัดฐาน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นผู้ถือกฎเหล็กของพรรคประชาธิปัตย์ เพราะประชาชนร้อยละ 58.5 ต้องการให้ส.ส.ที่เปิดภาพอนาจารออกมากขอโทษต่อสาธารณะและแสดงความรับผิดชอบโดยการลาออก นี่คือประชามติของภาคประชาชนที่สะท้อนผ่านผลการสำรวจ เพราะเป็นความเสื่อมเสียกับการกระทำของส.ส.ที่ทางพรรคประชาธิปัตย์ยังไม่ออกไม่รับผิดชอบ อีกทั้งการตรวจสอบก็ไม่ใช่เรื่องยาก ตนได้จับข้อพิรุธของนายณัฏฐ์ที่อ้างว่าไม่ทราบว่าใครส่งภาพอนาจารมาให้ได้ เพราะเด็กหรือคนไม่มีความรู้ก็รู้ว่าใครส่งภาพมาก็มีเบอร์โชว์โทรศัพท์ แต่วันนี้น่าสังเกตว่านายณัฏฐ์ยังปกปิดว่าใครส่งภาพมาให้ ตนมองว่าคนที่ส่งภาพมาให้น่าจะเป็นคนพิเศษ หรือเป็นคนรู้ใจ และเชื่อว่าน่าจะมีการส่งไปหลายคน ตนขอให้ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ช่วยตรวจสอบ รวมถึงนายไพจิตร ศรีวรขานส.ส.นครพนม พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการกิจการสภาผู้แทนราษฎรต้องตรวจสอบว่าผู้ที่ส่งภาพมาให้นายณัฏฐ์เป็นใคร เพราะมีการปกปิดอย่างมีวาระซ่อนเร้นว่าจำไม่ได้คือใคร ทั้งที่เป็นโทรศัพท์ของนายณัฏฐ์เอง
“นายณัฏฐ์เป็น ส.ส.มีจริยธรรมของนักการเมืองกำกับอยู่ ผมจึงยอมไม่ได้ที่จะให้ผู้แทนปวงชนชาวไทยที่ระหว่างประชุมร่วมรัฐสภาดำเนินการอย่างนี้ เพราะสร้างความอับอายไปทั่วโลก ผมถามว่านายณัฏฐ์นั้นมีคุณธรรมหรือไม่ และการตรวจสอบโทรศัพท์นั้น โทรศัพท์ทุกเครื่องมีเลขประจำเครื่องหรืออีมี่ดังนั้นกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) สามารถกู้ภาพได้ว่าส่งมาจากไหนและใครอย่างไร หากตรวจสอบพบว่าภาพดังกล่าวมาจากโทรศัพท์ยี่ห้อโอโฟนส่งผลกระทบต่อระบบคอมพิวเตอร์ของรัฐสภานั้นน่าจะเข้าข่ายผิดพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ได้ ซึ่งผมจะทำรายละเอียดให้สน.ดุสิตดำเนินการตรวจสอบว่าผิดพ.ร.บ. คอมพิวเตอร์หรือไม่ต่อไป หากนายณัฏฐ์ยังไม่แสดงความรับผิดชอบด้วยการลาออกรวมทั้งพรรคเพื่อไทยจะส่งปี๊บไปให้พรรคประชาธิปัตย์ 3 ใบ เพื่อให้นายอภิสิทธ์ นายบัญญัติและนายณัฐ คลุมหัว เพราะเรื่องนี้ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่” โฆษกพรรคเพื่อไทยกล่าว.