เมื่อคืนวันที่ 11 เมษายนที่ผ่านมา ผมได้เข้าร่วมรายการ “คนเคาะข่าว” ของเอเอสทีวี ประเด็นที่เคาะกันค่อนข้างนานได้แก่การเสพติดยาประชานิยมของสังคมไทยไม่ต่างกับอาร์เจนตินา ที่มาของประเด็นได้แก่หนังสือชื่อ “ประชานิยม : ทางสู่ความหายนะ” ซึ่งผมเคยอ้างถึงแล้วในคอลัมน์นี้ประจำวันที่ 26 มีนาคมในหัวข้อ “อาถรรพ์ของสอง 7”
สอง 7 ของอาร์เจนตินาเป็นช่วงเวลา 77 ปีนับจากวันเริ่มมีรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยในแนวของสหรัฐอเมริกาเมื่อปี พ. ศ. 2396 ถึงวันยึดอำนาจของทหารซึ่งอ้างว่าการใช้รัฐธรรมนูญฉบับนั้นไม่เป็นไปตามหลักประชาธิปไตย นำไปสู่การใช้นโยบายประชานิยม ตามด้วยความแตกแยกในสังคมอันมีความฉ้อฉลเป็นปัจจัยหลัก สอง 7 ของไทยได้แก่ช่วงเวลา 77 ปีนับจากวันที่เมืองไทยเปิดรับแนวคิดฝรั่งหลังลงนามในสนธิสัญญาเบาว์ริงเมื่อปี พ. ศ. 2398 ถึงวันที่คนไทยซึ่งมักใหญ่ใฝ่สูงยึดอำนาจจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง ทั้งสองประเทศวิวัฒน์ไปในแนวเดียวกันหลังวันเริ่มใช้นโยบายประชานิยม
หนังสือเรื่องนั้นชี้ให้เห็นว่านโยบายประชานิยมหากทำตามอุดมการณ์จริงๆ จะเป็นสิ่งดีมากเนื่องจากมันยึดประโยชน์ของประชาชนทั่วไปเป็นเป้าหมายหลัก แต่นโยบายประชานิยมที่อาร์เจนตินาใช้และนักการเมืองไทยไปลอกเลียนมาเป็นประชานิยมแบบเลวร้ายซึ่งมีจุดมุ่งหมายทางด้านการเมืองเท่านั้น นั่นคือ นักการเมืองเสนอนโยบายจำพวกให้ของเปล่าเพื่อมอมเมาประชาชนโดยหวังผลทางด้านการเข้าสู่อำนาจอันเป็นการเปิดทางสร้างความร่ำรวยด้วยความฉ้อฉล หลังเริ่มใช้ไม่นาน นโยบายเลวร้ายนั้นก็จะมีลักษณะของยาเสพติดทุกประการ แม้แต่รัฐบาลทหารก็ต้องใช้เพื่อเอาใจประชาชน
ในอาร์เจนตินา ทหารยึดอำนาจ 16 ปีหลังวันที่นโยบายเลวร้ายนั้นถูกเริ่มใช้ในประเทศ ทุกครั้งที่ทหารยอมให้มีการเลือกตั้ง นักการเมืองต่างก็เสริมนโยบายเลวร้ายนั้นให้เข้มข้นยิ่งขึ้น ผู้ที่ใช้นโยบายประชานิยมเข้มข้นที่สุดได้แก่นายทหารนอกราชการชื่อ ฮวน เปรอง นโยบายลดแลกแจกแถมของเขาเข้มข้นเสียจนไม่มีเงินจ่ายยังผลให้ต้องใช้เงินสำรองของประเทศจำนวนมหาศาลจนหมด หลังจากนั้นก็ไปขอกู้จากต่างประเทศ เมื่อกู้จนไม่มีใครให้กู้อีกต่อไปเพราะเขากลัวจะไม่ได้เงินคืนก็หันมาพิมพ์ธนบัตรเพิ่มขึ้นตามใจชอบ กระบวนการนั้นนำไปสู่ความล้มละลายส่งผลให้ทหารขับไล่เปรองออกนอกประเทศ 40 ปีหลังวันที่อาร์เจนตินาเริ่มใช้นโยบายประชานิยม
เมื่อขับไล่เปรองออกนอกประเทศแล้ว ทั้งรัฐบาลทหารและรัฐบาลพลเรือนต่างก็ไม่สามารถแก้ปัญหาอันเนื่องมาจากประชานิยมแบบเลวร้ายนั้นได้ จนในที่สุดถูกประชาชนกดดันให้เชิญเปรองกลับเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีอีกครั้ง แต่เขาก็ทำอะไรไม่ได้เนื่องจากไม่มีเงินพอที่จะสนองความต้องการอันไม่มีที่สิ้นสุดของประชาชน ผลที่ตามมาได้แก่อาร์เจนตินาต้องล้มลุกคลุกคลานพร้อมกับการแตกแยกร้ายแรงจนฆ่าแกงกันเป็นเบือระหว่างกลุ่มต่างๆ ในสังคม
อนึ่ง โลกปัจจุบันเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมากเนื่องจากศักยภาพของเทคโนโลยีดิจิตอล ทหารไทยยึดอำนาจและขับไล่นายกรัฐมนตรีหลังเมืองไทยใช้นโยบายประชานิยมเพียง 5 ปีเท่านั้น แต่รัฐบาลทหารก็มิได้ยกเลิกโครงการประชานิยมทั้งหลายและรัฐบาลพลเรือนที่ตามมาต่างก็พากันเพิ่มความเข้มข้นให้นโยบายประชานิยม กระนั้นก็ตาม ประชาชนจำนวนมากก็ยังไม่พอใจจึงพยายามกดดันให้รัฐบาลแจกของเปล่าเพิ่มขึ้น รัฐบาลปัจจุบันเริ่มเคลื่อนไหวอย่างจริงจังเพื่อหวังเปิดโอกาสให้รัฐสามารถกู้หนี้ยืมสินเพิ่มขึ้นได้อีกเป็นจำนวนมาก การสร้างหนี้ครั้งนี้จะมีผลทำให้เมืองไทยล้มละลายในวันข้างหน้า
ในขณะเดียวกัน นโยบายประชานิยมแบบเลวร้ายเสริมด้วยความฉ้อฉลในแวดวงการเมืองเริ่มนำไปสู่ความแตกแยกในสังคมไทยถึงขนาดใช้อาวุธสงครามห้ำหั่นกันเป็นครั้งคราวแล้ว นอกจากนั้น ยังมีการสร้างความกดดันที่จะให้อดีตนายกรัฐมนตรีที่เริ่มนำประชานิยมแบบเลวร้ายเข้ามาใช้กลับเข้ามารับตำแหน่งใหม่อีกครั้งทั้งที่เขาฉ้อฉลจนถูกศาลตัดสินจำคุก การที่ประชาชนจำนวนมากพร้อมนักการเมืองและรัฐมนตรีในรัฐบาลปัจจุบันเดินทางไปถึงต่างประเทศเพื่อกราบกรานอดีตนายกรัฐมนตรีซึ่งมีสภาพเป็นนักโทษหนีคุกในช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมาพร้อมๆ กับสมาชิกรัฐสภาส่วนใหญ่ร่วมกันเคลื่อนไหวที่จะยกโทษให้เขาแสดงให้เห็นว่าเมืองไทยตกอยู่ในภาวะไม่ปกติอย่างมีนัยสำคัญ การกระทำดังกล่าวเหล่านั้นก่อให้เกิดการต่อต้านอย่างเข้มข้นจากประชาชนที่เห็นต่างซึ่งจะจบลงด้วยการเข่นฆ่ากันเป็นเบือเมื่อนักโทษหนีคุกพยายามเดินทางเข้าประเทศแบบวีรบุรุษ
ในตอนสุดท้าย ผู้ดำเนินรายการถามแบบย่ำเน้นอีกว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนที่เมืองไทยจะล้มละลายและประสบความหายนะ ดังที่หนังสือเล่มนั้นกล่าวไว้ในบทสรุป เนื่องจากวิวัฒนาการที่ผ่านมาบ่งชี้อย่างแจ้งชัดว่าไทยเดินตามอาร์เจนตินาเกือบทุกฝีก้าวหลังจากใช้นโยบายประชานิยม ฉะนั้น จึงเป็นไปได้สูงมากที่เมืองไทยจะล้มละลายในวันหนึ่งข้างหน้าซึ่งจะน้อยกว่า 40 ปีนับจากวันที่เริ่มใช้นโยบายประชานิยมเมื่อปี 2544 อย่างแน่นอน นอกจากนั้น การแตกแยกกันนับวันจะยิ่งร้ายแรงขึ้นเนื่องจากคนไทยจำนวนมากยึดความเลวทรามเป็นความดีดังที่แสดงออกมาให้เห็นแบบเป็นที่ประจักษ์รวมทั้งเหตุการณ์ในช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมาด้วย
การยึดความเลวทรามเป็นความดีมีผลทำให้เมืองไทยตกอยู่ในภาวะวิบัติแบบเต็มอัตราอยู่ในขณะนี้แม้จะไม่ค่อยมีคนเห็นด้วยก็ตาม วิวัฒนาการขั้นต่อไปจึงได้แก่ความหายนะอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้นอกเสียจากว่าคนส่วนใหญ่ที่เปลี่ยนไปยึดความเลวทรามเป็นความดีจะกลับใจหันมายึดความดีเป็นที่ตั้งอีกครั้งอย่างเร่งด่วน หากถามว่าโอกาสที่ผู้ยึดความเลวทรามเป็นความดีจะกลับใจอย่างเร่งด่วนมีมากแค่ไหน คงต้องฟันธงลงไปว่ามีไม่เกินขนาดเมล็ดข้าวสาร ฉะนั้น จงเตรียมตัวเตรียมใจกันไว้ให้พร้อมเพื่ออยู่กับเหตุการณ์วันสิ้นโลกซึ่งจะเริ่มขึ้นในปี 2555 ตามคำจำกัดความและคำทำนายของเอร์วิน ลาสซโล เสียตั้งแต่บัดนี้เถิด
สอง 7 ของอาร์เจนตินาเป็นช่วงเวลา 77 ปีนับจากวันเริ่มมีรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยในแนวของสหรัฐอเมริกาเมื่อปี พ. ศ. 2396 ถึงวันยึดอำนาจของทหารซึ่งอ้างว่าการใช้รัฐธรรมนูญฉบับนั้นไม่เป็นไปตามหลักประชาธิปไตย นำไปสู่การใช้นโยบายประชานิยม ตามด้วยความแตกแยกในสังคมอันมีความฉ้อฉลเป็นปัจจัยหลัก สอง 7 ของไทยได้แก่ช่วงเวลา 77 ปีนับจากวันที่เมืองไทยเปิดรับแนวคิดฝรั่งหลังลงนามในสนธิสัญญาเบาว์ริงเมื่อปี พ. ศ. 2398 ถึงวันที่คนไทยซึ่งมักใหญ่ใฝ่สูงยึดอำนาจจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง ทั้งสองประเทศวิวัฒน์ไปในแนวเดียวกันหลังวันเริ่มใช้นโยบายประชานิยม
หนังสือเรื่องนั้นชี้ให้เห็นว่านโยบายประชานิยมหากทำตามอุดมการณ์จริงๆ จะเป็นสิ่งดีมากเนื่องจากมันยึดประโยชน์ของประชาชนทั่วไปเป็นเป้าหมายหลัก แต่นโยบายประชานิยมที่อาร์เจนตินาใช้และนักการเมืองไทยไปลอกเลียนมาเป็นประชานิยมแบบเลวร้ายซึ่งมีจุดมุ่งหมายทางด้านการเมืองเท่านั้น นั่นคือ นักการเมืองเสนอนโยบายจำพวกให้ของเปล่าเพื่อมอมเมาประชาชนโดยหวังผลทางด้านการเข้าสู่อำนาจอันเป็นการเปิดทางสร้างความร่ำรวยด้วยความฉ้อฉล หลังเริ่มใช้ไม่นาน นโยบายเลวร้ายนั้นก็จะมีลักษณะของยาเสพติดทุกประการ แม้แต่รัฐบาลทหารก็ต้องใช้เพื่อเอาใจประชาชน
ในอาร์เจนตินา ทหารยึดอำนาจ 16 ปีหลังวันที่นโยบายเลวร้ายนั้นถูกเริ่มใช้ในประเทศ ทุกครั้งที่ทหารยอมให้มีการเลือกตั้ง นักการเมืองต่างก็เสริมนโยบายเลวร้ายนั้นให้เข้มข้นยิ่งขึ้น ผู้ที่ใช้นโยบายประชานิยมเข้มข้นที่สุดได้แก่นายทหารนอกราชการชื่อ ฮวน เปรอง นโยบายลดแลกแจกแถมของเขาเข้มข้นเสียจนไม่มีเงินจ่ายยังผลให้ต้องใช้เงินสำรองของประเทศจำนวนมหาศาลจนหมด หลังจากนั้นก็ไปขอกู้จากต่างประเทศ เมื่อกู้จนไม่มีใครให้กู้อีกต่อไปเพราะเขากลัวจะไม่ได้เงินคืนก็หันมาพิมพ์ธนบัตรเพิ่มขึ้นตามใจชอบ กระบวนการนั้นนำไปสู่ความล้มละลายส่งผลให้ทหารขับไล่เปรองออกนอกประเทศ 40 ปีหลังวันที่อาร์เจนตินาเริ่มใช้นโยบายประชานิยม
เมื่อขับไล่เปรองออกนอกประเทศแล้ว ทั้งรัฐบาลทหารและรัฐบาลพลเรือนต่างก็ไม่สามารถแก้ปัญหาอันเนื่องมาจากประชานิยมแบบเลวร้ายนั้นได้ จนในที่สุดถูกประชาชนกดดันให้เชิญเปรองกลับเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีอีกครั้ง แต่เขาก็ทำอะไรไม่ได้เนื่องจากไม่มีเงินพอที่จะสนองความต้องการอันไม่มีที่สิ้นสุดของประชาชน ผลที่ตามมาได้แก่อาร์เจนตินาต้องล้มลุกคลุกคลานพร้อมกับการแตกแยกร้ายแรงจนฆ่าแกงกันเป็นเบือระหว่างกลุ่มต่างๆ ในสังคม
อนึ่ง โลกปัจจุบันเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมากเนื่องจากศักยภาพของเทคโนโลยีดิจิตอล ทหารไทยยึดอำนาจและขับไล่นายกรัฐมนตรีหลังเมืองไทยใช้นโยบายประชานิยมเพียง 5 ปีเท่านั้น แต่รัฐบาลทหารก็มิได้ยกเลิกโครงการประชานิยมทั้งหลายและรัฐบาลพลเรือนที่ตามมาต่างก็พากันเพิ่มความเข้มข้นให้นโยบายประชานิยม กระนั้นก็ตาม ประชาชนจำนวนมากก็ยังไม่พอใจจึงพยายามกดดันให้รัฐบาลแจกของเปล่าเพิ่มขึ้น รัฐบาลปัจจุบันเริ่มเคลื่อนไหวอย่างจริงจังเพื่อหวังเปิดโอกาสให้รัฐสามารถกู้หนี้ยืมสินเพิ่มขึ้นได้อีกเป็นจำนวนมาก การสร้างหนี้ครั้งนี้จะมีผลทำให้เมืองไทยล้มละลายในวันข้างหน้า
ในขณะเดียวกัน นโยบายประชานิยมแบบเลวร้ายเสริมด้วยความฉ้อฉลในแวดวงการเมืองเริ่มนำไปสู่ความแตกแยกในสังคมไทยถึงขนาดใช้อาวุธสงครามห้ำหั่นกันเป็นครั้งคราวแล้ว นอกจากนั้น ยังมีการสร้างความกดดันที่จะให้อดีตนายกรัฐมนตรีที่เริ่มนำประชานิยมแบบเลวร้ายเข้ามาใช้กลับเข้ามารับตำแหน่งใหม่อีกครั้งทั้งที่เขาฉ้อฉลจนถูกศาลตัดสินจำคุก การที่ประชาชนจำนวนมากพร้อมนักการเมืองและรัฐมนตรีในรัฐบาลปัจจุบันเดินทางไปถึงต่างประเทศเพื่อกราบกรานอดีตนายกรัฐมนตรีซึ่งมีสภาพเป็นนักโทษหนีคุกในช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมาพร้อมๆ กับสมาชิกรัฐสภาส่วนใหญ่ร่วมกันเคลื่อนไหวที่จะยกโทษให้เขาแสดงให้เห็นว่าเมืองไทยตกอยู่ในภาวะไม่ปกติอย่างมีนัยสำคัญ การกระทำดังกล่าวเหล่านั้นก่อให้เกิดการต่อต้านอย่างเข้มข้นจากประชาชนที่เห็นต่างซึ่งจะจบลงด้วยการเข่นฆ่ากันเป็นเบือเมื่อนักโทษหนีคุกพยายามเดินทางเข้าประเทศแบบวีรบุรุษ
ในตอนสุดท้าย ผู้ดำเนินรายการถามแบบย่ำเน้นอีกว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนที่เมืองไทยจะล้มละลายและประสบความหายนะ ดังที่หนังสือเล่มนั้นกล่าวไว้ในบทสรุป เนื่องจากวิวัฒนาการที่ผ่านมาบ่งชี้อย่างแจ้งชัดว่าไทยเดินตามอาร์เจนตินาเกือบทุกฝีก้าวหลังจากใช้นโยบายประชานิยม ฉะนั้น จึงเป็นไปได้สูงมากที่เมืองไทยจะล้มละลายในวันหนึ่งข้างหน้าซึ่งจะน้อยกว่า 40 ปีนับจากวันที่เริ่มใช้นโยบายประชานิยมเมื่อปี 2544 อย่างแน่นอน นอกจากนั้น การแตกแยกกันนับวันจะยิ่งร้ายแรงขึ้นเนื่องจากคนไทยจำนวนมากยึดความเลวทรามเป็นความดีดังที่แสดงออกมาให้เห็นแบบเป็นที่ประจักษ์รวมทั้งเหตุการณ์ในช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมาด้วย
การยึดความเลวทรามเป็นความดีมีผลทำให้เมืองไทยตกอยู่ในภาวะวิบัติแบบเต็มอัตราอยู่ในขณะนี้แม้จะไม่ค่อยมีคนเห็นด้วยก็ตาม วิวัฒนาการขั้นต่อไปจึงได้แก่ความหายนะอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้นอกเสียจากว่าคนส่วนใหญ่ที่เปลี่ยนไปยึดความเลวทรามเป็นความดีจะกลับใจหันมายึดความดีเป็นที่ตั้งอีกครั้งอย่างเร่งด่วน หากถามว่าโอกาสที่ผู้ยึดความเลวทรามเป็นความดีจะกลับใจอย่างเร่งด่วนมีมากแค่ไหน คงต้องฟันธงลงไปว่ามีไม่เกินขนาดเมล็ดข้าวสาร ฉะนั้น จงเตรียมตัวเตรียมใจกันไว้ให้พร้อมเพื่ออยู่กับเหตุการณ์วันสิ้นโลกซึ่งจะเริ่มขึ้นในปี 2555 ตามคำจำกัดความและคำทำนายของเอร์วิน ลาสซโล เสียตั้งแต่บัดนี้เถิด