ASTVผู้จัดการรายวัน- ส.อ.ท.ถกกระทรวงแรงงาน 20เม.ย.เสนอเลื่อนปรับค่าจ้าง 300 บาทต่อวันทั่วประเทศที่จะมีผล 1 ม.ค. 56 ออกไปเป็นปี 2558 แทนพร้อมหามาตรการช่วยเอสเอ็มอีด่วนก่อนเจ๊งกันถ้วนหน้า
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า วันที่ 20 เม.ย.นี้ส.อ.ท.จะหารือร่วมกับนายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและ นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงานถึงข้อคิดเห็นต่อผลกระทบการปรับเพิ่มขึ้นของอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันนำร่อง 7 จังหวัด โดยจะเสนอให้ภาครัฐได้เลื่อนเวลาการปรับค่าจ้าง 300 บาทต่อวันที่จะมีผลทั่วประเทศ 1 ม.ค. 2556 ออกไปเป็นปี 2558 แทนเพื่อลดผลกระทบโดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและย่อม(เอสเอ็มอี)ที่ได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก
นอกจากนี้ควรจะมีมาตรการลดผลกระทบต่อค่าแรงที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะกับเอสเอ็มอีในเรื่องของการลดภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ธุรกิจขนาดใหญ่ได้ลดลงจาก 30% เหลือ 23% หรือลดลงไป 7% แต่เอสเอ็มอีกลับไม่ได้รับการช่วยเหลือโดยควรจะลดลง 7% เช่นกันจากขณะนี้ธุรกิจมีรายได้ 1 แสน-1 ล้านบาท เสียภาษี 15%, 1-3 ล้านบาท เสียภาษี 25% ซึ่งถ้าปรับลดลงก็จะเป็น 1 แสน-1 ล้านบาท เสียภาษี 8%, 1-3 ล้านบาทเสียภาษี 18%
ขณะเดียวกันยังต้องการให้มีซอฟต์โลนให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เพื่อที่จะนำไปซื้อเครื่องจักรวงเงิน 1-2 หมื่นล้านบาท โดยให้ดอกเบี้ยที่ถูกลงประมาณ 3% ในระยะเวลา 5-6 ปี พร้อมให้ช่วยส่งเสริมในเรื่องทักษะของแรงงานให้มีทักษะมากขึ้นและโครงการอบรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เพื่อลดต้นทุนในการผลิต เช่นเดียวกับภาษีโรงเรือนที่ขณะนี้เสีย 12.5%ซึ่งเป็นอัตราที่สูงควรจะลดลงมา 40% ให้มีการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างชาติมีความรวดเร็ว ลดขั้นตอนต่างๆ ให้สะดวกขึ้น รวมไปถึงทบทวนกองทุนผู้พิการแก้กฎหมายให้มีความเป็นธรรมและให้สอดคล้องกับความเป็นจริง เงินสมทบกองทุนแรงงานต่างด้าวที่มีการนำเงินเข้ากองทุนจำนวน 3.5% นั้น อยากให้มีการตั้งคณะศึกษาว่าในส่วนกองทุนนี้ไม่มีได้หรือไม่รวมถึงการลดการส่งค่าประกันสังคมจาก 5% เหลือ 3% เป็นต้น
นายสมมาต ขุนเศษฐ เลขาธิการส.อ.ท.กล่าวว่า เมื่อรัฐเลื่อนการปรับขึ้นเงินเดือนปริญญาตรีเป็น 1.5 หมื่นบาทเป็นปี 2557 ได้ก็อยากให้รัฐเลื่อนการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำออกไปเป็นปี 2558 ส่วนที่จะต้องขึ้นทั่วประเทศ 1 ม.ค.นี้ แต่ 7 จังหวัดนั้นมีผลไปแล้วคงไม่มีปัญหาเพราะ 7 จังหวัดนั้นมีค่าครองชีพสูงกว่าอยู่แล้วซึ่งเวลานี้เอสเอ็มอีลำบากมากเชื่อว่าถ้าขึ้นทั่วประเทศจะเห็นการปิดกิจการเพิ่มแน่นอนและควรจะหามาตรการเยียวยาผลกระทบเพราะขณะนี้รัฐไม่มีมาตรการมาดูแลใดๆ ทั้งเอสเอ็มอี 2.9 ล้านรายเหล่านี้เป็นคนไทย
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า วันที่ 20 เม.ย.นี้ส.อ.ท.จะหารือร่วมกับนายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและ นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงานถึงข้อคิดเห็นต่อผลกระทบการปรับเพิ่มขึ้นของอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันนำร่อง 7 จังหวัด โดยจะเสนอให้ภาครัฐได้เลื่อนเวลาการปรับค่าจ้าง 300 บาทต่อวันที่จะมีผลทั่วประเทศ 1 ม.ค. 2556 ออกไปเป็นปี 2558 แทนเพื่อลดผลกระทบโดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและย่อม(เอสเอ็มอี)ที่ได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก
นอกจากนี้ควรจะมีมาตรการลดผลกระทบต่อค่าแรงที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะกับเอสเอ็มอีในเรื่องของการลดภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ธุรกิจขนาดใหญ่ได้ลดลงจาก 30% เหลือ 23% หรือลดลงไป 7% แต่เอสเอ็มอีกลับไม่ได้รับการช่วยเหลือโดยควรจะลดลง 7% เช่นกันจากขณะนี้ธุรกิจมีรายได้ 1 แสน-1 ล้านบาท เสียภาษี 15%, 1-3 ล้านบาท เสียภาษี 25% ซึ่งถ้าปรับลดลงก็จะเป็น 1 แสน-1 ล้านบาท เสียภาษี 8%, 1-3 ล้านบาทเสียภาษี 18%
ขณะเดียวกันยังต้องการให้มีซอฟต์โลนให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เพื่อที่จะนำไปซื้อเครื่องจักรวงเงิน 1-2 หมื่นล้านบาท โดยให้ดอกเบี้ยที่ถูกลงประมาณ 3% ในระยะเวลา 5-6 ปี พร้อมให้ช่วยส่งเสริมในเรื่องทักษะของแรงงานให้มีทักษะมากขึ้นและโครงการอบรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เพื่อลดต้นทุนในการผลิต เช่นเดียวกับภาษีโรงเรือนที่ขณะนี้เสีย 12.5%ซึ่งเป็นอัตราที่สูงควรจะลดลงมา 40% ให้มีการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างชาติมีความรวดเร็ว ลดขั้นตอนต่างๆ ให้สะดวกขึ้น รวมไปถึงทบทวนกองทุนผู้พิการแก้กฎหมายให้มีความเป็นธรรมและให้สอดคล้องกับความเป็นจริง เงินสมทบกองทุนแรงงานต่างด้าวที่มีการนำเงินเข้ากองทุนจำนวน 3.5% นั้น อยากให้มีการตั้งคณะศึกษาว่าในส่วนกองทุนนี้ไม่มีได้หรือไม่รวมถึงการลดการส่งค่าประกันสังคมจาก 5% เหลือ 3% เป็นต้น
นายสมมาต ขุนเศษฐ เลขาธิการส.อ.ท.กล่าวว่า เมื่อรัฐเลื่อนการปรับขึ้นเงินเดือนปริญญาตรีเป็น 1.5 หมื่นบาทเป็นปี 2557 ได้ก็อยากให้รัฐเลื่อนการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำออกไปเป็นปี 2558 ส่วนที่จะต้องขึ้นทั่วประเทศ 1 ม.ค.นี้ แต่ 7 จังหวัดนั้นมีผลไปแล้วคงไม่มีปัญหาเพราะ 7 จังหวัดนั้นมีค่าครองชีพสูงกว่าอยู่แล้วซึ่งเวลานี้เอสเอ็มอีลำบากมากเชื่อว่าถ้าขึ้นทั่วประเทศจะเห็นการปิดกิจการเพิ่มแน่นอนและควรจะหามาตรการเยียวยาผลกระทบเพราะขณะนี้รัฐไม่มีมาตรการมาดูแลใดๆ ทั้งเอสเอ็มอี 2.9 ล้านรายเหล่านี้เป็นคนไทย