เมื่อเวลา 09.30 น. วานนี้ ( 18 เม.ย.) ที่รัฐสภา มีการประชุมร่วมกันของรัฐสภา เพื่อพิจารณา ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่...) พ.ศ.... มาตรา 4 หมวด 16 การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มาตรา 291/1 ถึง มาตรา 291/17 ต่อเนื่องมาจากเมื่อวันที่ 11 เม.ย. ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มีการพิจารณา มาตรา 291/1 ให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ทำหน้าที่จัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ตามหมวดนี้ ประกอบด้วย สมาชิก (1) สมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน จังหวัดละหนึ่งคน (2) สมาชิกซึ่งมาจากการคัดเลือกโดยที่ประชุมของรัฐสภา จำนวน 22 คน ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญสาขากฎหมายมหาชน 6 คน ผู้เชี่ยวชาญสาขารัฐศาสตร์ หรือรัฐประศาสนศาสตร์ 6 คน ผู้มีประสบการณ์ด้านการเมือง การบริหารราชการแผ่นดิน เศรษฐกิจ สังคม กฎหมาย หรือการร่างรัฐธรรมนูญ 10 คน
ทั้งนี้ สมาชิกได้แปรญัตติ ทั้งให้มีการเลือกตั้ง ส.ส.ร. จากประชาชนโดยตรงเพียงอย่างเดียว เสนอให้มี ส.ส.ร. จากการเลือกตั้งของประชาชน แต่ให้มีจำนวนมากกว่า 77 คน และให้มีการเลือกส.ส.ร. จากการสรรหา 22 คน ขณะที่มีบางส่วนเสนอให้เพิ่มจำนวนส.ส.ร.ทั้ง 2 ประเภทขึ้นมาอีก
โดยนพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ ส.ว. อภิปรายว่า ตนเห็นด้วยกับหลักการที่ให้มี ส.ส.ร.ที่มาจากการเลือกตั้ง และมาจากการสรรหา โดยมาจากการเลือกตั้ง 200 คน เลือกตามเขตพื้นที่ แต่ยังคง ส.ส.ร.ที่มาจากการสรรหาจำนวน 22 คนไว้เหมือนเดิม เพื่อให้เห็นว่าเสียงข้างมากและรัฐบาล รับฟังเสียงข้างน้อย และเสียงของประชาชน
นายธนา ชีรวินิจ ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะกมธ.เสียงข้างน้อย เสนอให้ส.ส.ร.มาจากการเลือกตั้งของประชาชนจังหวัดละ 2 คน โดยให้ประชาชนมีสิทธิเลือกส.ส.ร.ได้ 1 คนโดยยกเลิก ส.ส.ร.ที่มาจากการคัดเลือกจำนวน 22 คน เพราะเกรงว่าจะมีการล็อกสเปกจากฝ่ายการเมืองสอดแทรกเข้ามา
นพ.เหวง โตจิราการ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย เสนอให้มี ส.ส.ร. 100 คน โดยมาจากการเลือกตั้งโดยตรง เพื่อให้มาจัดทำร่างรัฐธรรมนูญใหม่แทนฉบับปี 50 โดยให้มีการรับฟังความเห็นประชาชน และการเลือกตั้งแต่ละจังหวัดให้คำนวนตามจำนวนราษฏร์ ตามทะเบียนราษฏร์ หากไม่ครบ 100 คน จังหวัดไหนมีเศษมาสุด ให้มีเพิ่มขึ้นอีก1 คน และเพิ่มในจังหวัดลำดับรองลงมาจนครบจำนวน
นายเจริญ ภักดีวานิช ส.ว. พัทลุง เสนอให้มี ส.ส.ร. 222 คน และห้ามประเภท บุพการีนักการเมืองมาเป็นด้วย เพื่อให้เป็นที่ยอมรับได้ โดยมีกำหนดเวลาในการร่างรธน. 240 วัน และ เมื่อร่างเสร็จ ส.ส.ร.ห้ามลงสมัคร ส.ส.- ส.ว. ในสมัยแรก
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฏร เสนอให้มี ส.ส.ร.150 คน โดยมาจากสรรหา 25 คน และมาจากการเลือกตั้ง125 คน โดยให้บางจังหวัดมีมากกว่า 1 คน ให้ผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงลงได้เพียง 1 คะแนน
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนเสนอให้มี ส.ส.ร.2 ประเภท คือจากเลือกตั้ง และจากผู้เชี่ยวชาญ แต่กรณีผู้เชี่ยวชาญมาอย่างไร ไม่ติดใจ แต่ที่ติดใจคือ ที่มาจากการเลือกตั้ง เพราะควรมาฐานที่มาจากอำนาจอธิปไตย คือประชาชน โดยที่หลักการเป็นกฏหมาย กติกาบ้านเมือง เราต้องสร้างให้มีความมั่นคงให้อยู่คู่บ้านเมืองในอนาคต จึงต้องเป็นที่ยอมรับ และมีส่วนร่วมจากประชาชน แต่ก็ย่อมมีความคิดหลากหลาย ถ้าเราใช้วิธีเลือกตั้งจังหวัดละ1 คน สุ่มเสี่ยงมากที่จะได้ส.ส.ร. เหมือนแบบจำลองของสภาผู้แทนราษฎร เป็นก้าวที่ผิดพลาดครั้งใหญ่ ถ้าจะให้เสียงข้างมากกำหนดกติกา เป็นอันตรายที่จะทำให้รัฐธรรมนูญยั่งยืน เพราะขาดการยอมรับจากสังคมอีกหลายส่วน ตนจึงคิดว่าควรมาจากระบบที่มีหลักประกันความหลากหลาย รูปแบบที่คุ้นเคยเช่น การเลือกตั้ง ส.ว. ตามรัฐธรรมนูญฉบับ ปี 40
" ต้องไม่สร้างหรืออกแบบ ส.ส.ร.มาเพื่อให้มีเสียงข้างมาก ควรมีการกระจายตัว อยากเห็นรัฐบาลพิสูจน์ความจริงใจว่าต้องการให้ประชาชนเป็นเจ้าของอย่างแท้จริง ผมขอให้ทบทวนว่าเราจะจัดทำรัฐธรรมนูญ สำหรับคนทั้งประเทศด้วยการมี ส.ส.ร.ที่กระจายหลากหลาย ผมทราบดีว่ารัฐบาลต้องการเร่งรัดให้พิจารณาเสร็จ แต่เรื่องนี้เป็นหัวใจ และจะเป็นบทพิสูจน์ว่า เราจะทำเพื่อใคร" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มีการพิจารณา มาตรา 291/1 ให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ทำหน้าที่จัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ตามหมวดนี้ ประกอบด้วย สมาชิก (1) สมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน จังหวัดละหนึ่งคน (2) สมาชิกซึ่งมาจากการคัดเลือกโดยที่ประชุมของรัฐสภา จำนวน 22 คน ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญสาขากฎหมายมหาชน 6 คน ผู้เชี่ยวชาญสาขารัฐศาสตร์ หรือรัฐประศาสนศาสตร์ 6 คน ผู้มีประสบการณ์ด้านการเมือง การบริหารราชการแผ่นดิน เศรษฐกิจ สังคม กฎหมาย หรือการร่างรัฐธรรมนูญ 10 คน
ทั้งนี้ สมาชิกได้แปรญัตติ ทั้งให้มีการเลือกตั้ง ส.ส.ร. จากประชาชนโดยตรงเพียงอย่างเดียว เสนอให้มี ส.ส.ร. จากการเลือกตั้งของประชาชน แต่ให้มีจำนวนมากกว่า 77 คน และให้มีการเลือกส.ส.ร. จากการสรรหา 22 คน ขณะที่มีบางส่วนเสนอให้เพิ่มจำนวนส.ส.ร.ทั้ง 2 ประเภทขึ้นมาอีก
โดยนพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ ส.ว. อภิปรายว่า ตนเห็นด้วยกับหลักการที่ให้มี ส.ส.ร.ที่มาจากการเลือกตั้ง และมาจากการสรรหา โดยมาจากการเลือกตั้ง 200 คน เลือกตามเขตพื้นที่ แต่ยังคง ส.ส.ร.ที่มาจากการสรรหาจำนวน 22 คนไว้เหมือนเดิม เพื่อให้เห็นว่าเสียงข้างมากและรัฐบาล รับฟังเสียงข้างน้อย และเสียงของประชาชน
นายธนา ชีรวินิจ ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะกมธ.เสียงข้างน้อย เสนอให้ส.ส.ร.มาจากการเลือกตั้งของประชาชนจังหวัดละ 2 คน โดยให้ประชาชนมีสิทธิเลือกส.ส.ร.ได้ 1 คนโดยยกเลิก ส.ส.ร.ที่มาจากการคัดเลือกจำนวน 22 คน เพราะเกรงว่าจะมีการล็อกสเปกจากฝ่ายการเมืองสอดแทรกเข้ามา
นพ.เหวง โตจิราการ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย เสนอให้มี ส.ส.ร. 100 คน โดยมาจากการเลือกตั้งโดยตรง เพื่อให้มาจัดทำร่างรัฐธรรมนูญใหม่แทนฉบับปี 50 โดยให้มีการรับฟังความเห็นประชาชน และการเลือกตั้งแต่ละจังหวัดให้คำนวนตามจำนวนราษฏร์ ตามทะเบียนราษฏร์ หากไม่ครบ 100 คน จังหวัดไหนมีเศษมาสุด ให้มีเพิ่มขึ้นอีก1 คน และเพิ่มในจังหวัดลำดับรองลงมาจนครบจำนวน
นายเจริญ ภักดีวานิช ส.ว. พัทลุง เสนอให้มี ส.ส.ร. 222 คน และห้ามประเภท บุพการีนักการเมืองมาเป็นด้วย เพื่อให้เป็นที่ยอมรับได้ โดยมีกำหนดเวลาในการร่างรธน. 240 วัน และ เมื่อร่างเสร็จ ส.ส.ร.ห้ามลงสมัคร ส.ส.- ส.ว. ในสมัยแรก
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฏร เสนอให้มี ส.ส.ร.150 คน โดยมาจากสรรหา 25 คน และมาจากการเลือกตั้ง125 คน โดยให้บางจังหวัดมีมากกว่า 1 คน ให้ผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงลงได้เพียง 1 คะแนน
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนเสนอให้มี ส.ส.ร.2 ประเภท คือจากเลือกตั้ง และจากผู้เชี่ยวชาญ แต่กรณีผู้เชี่ยวชาญมาอย่างไร ไม่ติดใจ แต่ที่ติดใจคือ ที่มาจากการเลือกตั้ง เพราะควรมาฐานที่มาจากอำนาจอธิปไตย คือประชาชน โดยที่หลักการเป็นกฏหมาย กติกาบ้านเมือง เราต้องสร้างให้มีความมั่นคงให้อยู่คู่บ้านเมืองในอนาคต จึงต้องเป็นที่ยอมรับ และมีส่วนร่วมจากประชาชน แต่ก็ย่อมมีความคิดหลากหลาย ถ้าเราใช้วิธีเลือกตั้งจังหวัดละ1 คน สุ่มเสี่ยงมากที่จะได้ส.ส.ร. เหมือนแบบจำลองของสภาผู้แทนราษฎร เป็นก้าวที่ผิดพลาดครั้งใหญ่ ถ้าจะให้เสียงข้างมากกำหนดกติกา เป็นอันตรายที่จะทำให้รัฐธรรมนูญยั่งยืน เพราะขาดการยอมรับจากสังคมอีกหลายส่วน ตนจึงคิดว่าควรมาจากระบบที่มีหลักประกันความหลากหลาย รูปแบบที่คุ้นเคยเช่น การเลือกตั้ง ส.ว. ตามรัฐธรรมนูญฉบับ ปี 40
" ต้องไม่สร้างหรืออกแบบ ส.ส.ร.มาเพื่อให้มีเสียงข้างมาก ควรมีการกระจายตัว อยากเห็นรัฐบาลพิสูจน์ความจริงใจว่าต้องการให้ประชาชนเป็นเจ้าของอย่างแท้จริง ผมขอให้ทบทวนว่าเราจะจัดทำรัฐธรรมนูญ สำหรับคนทั้งประเทศด้วยการมี ส.ส.ร.ที่กระจายหลากหลาย ผมทราบดีว่ารัฐบาลต้องการเร่งรัดให้พิจารณาเสร็จ แต่เรื่องนี้เป็นหัวใจ และจะเป็นบทพิสูจน์ว่า เราจะทำเพื่อใคร" นายอภิสิทธิ์ กล่าว