วานนี้ ( 12 เม.ย.) ที่สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้จัดงานครบรอบ 12 ปี การก่อตั้งสำนักงานฯ โดยมีการประกอบพิธีทางศาสนา ทำบุญ เลี้ยงพระ พร้อมทั้งจัดงานรดน้ำขอพรผู้ตรวจการแผ่นดินทั้ง 3 คน ประกอบด้วย นางผาณิต นิติทัณฑ์ประภาศ ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน นายศรีราชา เจริญพาณิช และนายประวิช รัตนเพียร ผู้ตรวจการแผ่นดิน เนื่องในโอกาสเทศกาลสงกรานต์ โดยมีผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินเข้าร่วมจำนวนมาก
นางผาณิต กล่าวว่า ในโอกาสสำนักงานฯ ครบรอบ 12 ปี จะทำหน้าที่อย่างดีที่สุด ในการดูแลเยียวยาความเดือดร้อนของประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม จากการกระทำของรัฐ อย่างไรก็ตาม เป็นห่วงเรื่องความขัดแย้งทางการเมืองโดยผู้ตรวจการแผ่นดินจะทำหน้าที่ด้วยความเป็นกลาง ยึดหลักความถูกต้อง แม้จะอยู่ท่ามกลางความขัดแย้ง โดยเฉพาะประเด็นเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่อาจเป็นปมขัดแย้ง จึงขอฝากไปยังผู้เกี่ยวข้อง ทั้ง ส.ส. และส.ว. จะต้องยึดหลักประมวลจริยธรรมของนักการเมือง และมองเห็นประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก รวมทั้งรู้รักสามัคคี ตามแนวพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
นางผาณิต ยังกล่าวถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่เข้าสู่วาระ 2 ของที่ประชุมรัฐสภา ว่า แม้หลายฝ่ายต้องการให้ทบทวน แต่ส่วนตัวเห็นว่า เลยขั้นตอนมาแล้ว ไม่สามารถย้อนกลับได้ ดังนั้น การเดินหน้าพิจารณาต้องดำเนินการอย่างรอบคอบ และคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมของประชาชนเป็นหลัก
อย่างไรก็ตาม ผู้ตรวจการแผ่นดินมีหน้าที่เสนอแนะตามรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ ซึ่งไม่ได้คัดค้านไม่ให้มีการแก้ไข แต่หากเกิดความผิดพลาดขึ้น ผู้เกี่ยวข้องต้องรับผิดชอบ
** รัฐบาลจงใจล้มล้างรัฐธรรมนูญ
ในวันเดียวกันนี้ นายเกียรติชัย พงษ์พาณิชย์ ประธานชมรม ส.ส.ร.2550 ได้เข้ายื่นหนังสือต่อนางผาณิต นิติทัณฑ์ประภาศ ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ขอให้ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของ คณะรัฐมนตรี ส.ส. และส.ว เนื่องจากจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ และกฎหมาย ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง โดยนายเกียรติชัย กล่าวว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ มีความพยายามเร่งรีบดำเนินการแก้ไข ไม่เป็นไปตามขั้นตอนตามรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 291 บัญญัติไว้ เพราะไม่มีการชี้แจงเหตุผลข้อบกพร่องของรัฐธรรมนูญเดิม และแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญใหม่ อีกทั้งไม่มีการเปิดเผยให้ประชาชนทราบ และเข้าถึงข้อมูลรายละเอียด จึงถือเป็นการจงใจฝ่าฝืนกฎหมาย จงใจล้มล้างรัฐธรรมนูญ ถือว่ามีความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร จึงขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดินสอบสวนเรื่องดังกล่าว และส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย เพราะแม้รัฐสภาจะรับหลักการวาระ 1ไปแล้ว แต่ให้เพิกถอนมตินั้น เพราะหากปล่อยให้ดำเนินการต่อจะส่งผลเสียหายอย่างกว้างขวางต่อประเทศและประชาชน
** "มาร์ค"แปรญัตติขวางอำนาจปธ.สภา
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีผู้ตรวจการแผ่นดินมีหนังสือถึงประธานรัฐสภา ระบุเกี่ยวกับการยกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขัดรัฐธรรมนูญขึ้นในอนาคตรวม 3 ประเด็น ว่า ความเป็นห่วงดังกล่าวเป็นข้อเรียกร้องเดียวกับพรรคประชาธิปัตย์ ที่ขอให้ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา แจ้งให้สมาชิกทราบ ซึ่งนายสมศักดิ์ ก็ได้รับปากแล้วว่า จะชี้แจงให้สมาชิกทราบ
แต่การประชุมเมื่อวันที่ 11 เม.ย.ที่ผ่านมา ยังพิจารณาถึงหลักการใน มาตรา 4 ยังไม่เข้าเนื้อหาในมาตรา 291 จึงยังไม่มีการหยิบยกประเด็นนี้มาหารือ กับที่ประชุม
ทั้งนี้ การจะพิจารณาว่าจะขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่เป็นเรื่องที่ประธานรัฐสภา ต้องชี้แจงให้สมาชิกทราบ
นายอภิสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า ตนเป็นผู้แปรญัตติ ที่แสดงความไม่เห็นด้วยกับการมอบอำนาจให้ประธานรัฐสภา กำหนดหลักเกณฑ์องค์กรต่างๆ ทั้งภาคเศรษฐกิจ สังคม ในการมีสิทธิ์เสนอชื่อผู้เชี่ยวชาญให้ดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) และไม่เห็นด้วยกับการที่ให้อำนาจประธานสภา ชี้ขาดว่ารัฐธรรมนูญที่จะร่างขึ้นใหม่นี้ ขัดต่อการเปลี่ยนรูปแบบของรัฐ หรือข้อกำหนดอื่นๆ ในรัฐธรรมนูญหรือไม่ เพราะควรเป็นหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ ที่จะชี้ขาดเท่านั้น ไม่ใช่อำนาจของรัฐสภา
นอกจากนี้หากกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญแล้วเสร็จ ก็ควรจะให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบก่อน แต่ทางกรรมาธิการเสียงข้างมากไม่เห็นด้วย ทั้งนี้ พรรคประชาธิปัตย์ ขอเรียกร้องให้ประธานสภา มีท่าทีของการรับฟังความเห็นจากที่ประชุมจริงๆ เพราะที่ผ่านมาฝ่ายแปรญัตติพูดไป แต่ทางกมธ.กลับไม่ตอบข้อสงสัยใดๆ เลย เอาแต่พยายามจะให้ลงมติอย่างเดียว แตกต่างจากการพิจารณากฎหมายอื่นๆ ที่กรรมาธิการต้องชี้แจงข้อสงสัยของเพื่อนสมาชิกในประเด็นที่ยังมีความเห็นไม่ตรงกัน
อย่างไรก็ตาม ตนได้มอบหมายให้วิปฯฝ่ายค้าน และทีมกฎหมาย กลับไปศึกษารายละเอียด เช่นเดียวกับที่ผู้ตรวจการแผ่นดินก็เป็นช่องทางหนึ่งที่มีอำนาจดำเนินการได้ในประเด็นที่ยังมีข้อสงสัย อาทิ การที่กรรมาธิการมีองค์ประชุมไม่ครบ แต่กลับมีมติ เป็นต้น
**จี้กมธ.ปรับจุดบกพร่องให้สมบูรณ์
นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การประชุมรัฐสภา เพื่อพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในวาระ 2 ที่รัฐบาลพยายามที่จะดึงดันให้เสร็จก่อนวันสงกรานต์ แต่ในที่สุดรัฐบาลก็ไม่สามารถฝืนความจริงไปได้ เพระการพิจารณาในวาระที่ 2 ถือเป็นเอกสิทธิ์ของผู้สงวนคำแปรญัตติ ที่ไม่สามารถรวบรัดหรือกำหนดเวลาได้ จึงทำให้การพิจารณาต้องยืดเยื้อออกไปอีกหลายวัน ในที่สุดก็ยอมจำนนจากแรงกดดันของ 3 ฝ่าย คือ
1. ฝ่ายค้านที่พยายามจะให้ กมธ.ถอนรายงานออกไปพิจารณาใหม่ เพื่อความสมบูรณ์ของร่างแก้ไขรธน.ฉบับนี้
2. ฝ่ายวุฒิสภา ที่มีท่าทีไม่เห็นด้วยกับการพิจารณาต่างอภิปรายอย่างต่อเนื่อง ใช้เวลายาวนาน ซึ่งมีผลต่อการทำงานของสมาชิกวุฒิสภาที่สูงอายุ
3. แรงกดดันจากสมาชิกพรรคเพื่อไทย ที่ต้องการเดินทางไปพบ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ประเทศลาว และกัมพูชา ในวันที่ 12 เม.ย. จนในที่สุดรัฐบาลก็ยอมถอยให้มีการประชุมในวันที่ 18-19 เม.ย. และลงมติ ในวันที่ 8 พ.ค.
ดังนั้น ก็จะต้องมีการขยายสมัยประชุมนิติบัญญัติออกไปจนถึงวันที่ 8 พ.ค.เป็นอย่างน้อย ซึ่งอาจจะต้องกระทบต่อการศึกษาดูงานของกมธ.สามัญของสภา และวุฒิสภา ซึ่งไม่ทราบว่า ใครจะต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่มีการวางมัดจำการเดินทางล่วงหน้าวไว้แล้ว
นายเทพไท กล่าวว่า แม้ขณะนี้ได้ยืดเวลาพิจารณาออกไปแล้ว ก็อยากให้กรรมาธิการใช้เวลาที่มีอยู่ ไปปรับปรุงทบทวนรายงานของ กมธ.ที่มีความบกพร่องหลายจุด ให้มีความสมบูรณ์ เพื่อจะได้ไม่มีการถกเถียงในการพิจารณาครั้งต่อไป และการเลื่อนการพิจารณาไปครั้งนี้ ที่ฝ่ายรัฐบาลยินยอมอ่อนข้อให้ ก็น่าจะเป็นการส่งสัญญาณจากนายใหญ่ ที่ไม่ต้องการจะให้การเผชิญหน้าเกิดขึ้นในช่วงนี้ เพราะตลอดระยะเวลาในการประชุม จะเห็นการประสานงานทางโทรศัพท์ของประธานรัฐสภา ประธานวิป กับบุคลลสำคัญอยู่ตลอดเวลา และเหตุการณ์ครั้งนี้ก็เป็นอุทธาหรณ์ กับบทเรียนให้กับรัฐบาลว่า การใช้อำนาจใดๆ ที่ขาดความชอบธรรม จะไม่ประสบผลสำเร็จ และจะเกิดแรงต่อต้านจากสังคมอย่างรุนแรง
นางผาณิต กล่าวว่า ในโอกาสสำนักงานฯ ครบรอบ 12 ปี จะทำหน้าที่อย่างดีที่สุด ในการดูแลเยียวยาความเดือดร้อนของประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม จากการกระทำของรัฐ อย่างไรก็ตาม เป็นห่วงเรื่องความขัดแย้งทางการเมืองโดยผู้ตรวจการแผ่นดินจะทำหน้าที่ด้วยความเป็นกลาง ยึดหลักความถูกต้อง แม้จะอยู่ท่ามกลางความขัดแย้ง โดยเฉพาะประเด็นเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่อาจเป็นปมขัดแย้ง จึงขอฝากไปยังผู้เกี่ยวข้อง ทั้ง ส.ส. และส.ว. จะต้องยึดหลักประมวลจริยธรรมของนักการเมือง และมองเห็นประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก รวมทั้งรู้รักสามัคคี ตามแนวพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
นางผาณิต ยังกล่าวถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่เข้าสู่วาระ 2 ของที่ประชุมรัฐสภา ว่า แม้หลายฝ่ายต้องการให้ทบทวน แต่ส่วนตัวเห็นว่า เลยขั้นตอนมาแล้ว ไม่สามารถย้อนกลับได้ ดังนั้น การเดินหน้าพิจารณาต้องดำเนินการอย่างรอบคอบ และคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมของประชาชนเป็นหลัก
อย่างไรก็ตาม ผู้ตรวจการแผ่นดินมีหน้าที่เสนอแนะตามรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ ซึ่งไม่ได้คัดค้านไม่ให้มีการแก้ไข แต่หากเกิดความผิดพลาดขึ้น ผู้เกี่ยวข้องต้องรับผิดชอบ
** รัฐบาลจงใจล้มล้างรัฐธรรมนูญ
ในวันเดียวกันนี้ นายเกียรติชัย พงษ์พาณิชย์ ประธานชมรม ส.ส.ร.2550 ได้เข้ายื่นหนังสือต่อนางผาณิต นิติทัณฑ์ประภาศ ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ขอให้ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของ คณะรัฐมนตรี ส.ส. และส.ว เนื่องจากจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ และกฎหมาย ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง โดยนายเกียรติชัย กล่าวว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ มีความพยายามเร่งรีบดำเนินการแก้ไข ไม่เป็นไปตามขั้นตอนตามรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 291 บัญญัติไว้ เพราะไม่มีการชี้แจงเหตุผลข้อบกพร่องของรัฐธรรมนูญเดิม และแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญใหม่ อีกทั้งไม่มีการเปิดเผยให้ประชาชนทราบ และเข้าถึงข้อมูลรายละเอียด จึงถือเป็นการจงใจฝ่าฝืนกฎหมาย จงใจล้มล้างรัฐธรรมนูญ ถือว่ามีความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร จึงขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดินสอบสวนเรื่องดังกล่าว และส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย เพราะแม้รัฐสภาจะรับหลักการวาระ 1ไปแล้ว แต่ให้เพิกถอนมตินั้น เพราะหากปล่อยให้ดำเนินการต่อจะส่งผลเสียหายอย่างกว้างขวางต่อประเทศและประชาชน
** "มาร์ค"แปรญัตติขวางอำนาจปธ.สภา
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีผู้ตรวจการแผ่นดินมีหนังสือถึงประธานรัฐสภา ระบุเกี่ยวกับการยกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขัดรัฐธรรมนูญขึ้นในอนาคตรวม 3 ประเด็น ว่า ความเป็นห่วงดังกล่าวเป็นข้อเรียกร้องเดียวกับพรรคประชาธิปัตย์ ที่ขอให้ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา แจ้งให้สมาชิกทราบ ซึ่งนายสมศักดิ์ ก็ได้รับปากแล้วว่า จะชี้แจงให้สมาชิกทราบ
แต่การประชุมเมื่อวันที่ 11 เม.ย.ที่ผ่านมา ยังพิจารณาถึงหลักการใน มาตรา 4 ยังไม่เข้าเนื้อหาในมาตรา 291 จึงยังไม่มีการหยิบยกประเด็นนี้มาหารือ กับที่ประชุม
ทั้งนี้ การจะพิจารณาว่าจะขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่เป็นเรื่องที่ประธานรัฐสภา ต้องชี้แจงให้สมาชิกทราบ
นายอภิสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า ตนเป็นผู้แปรญัตติ ที่แสดงความไม่เห็นด้วยกับการมอบอำนาจให้ประธานรัฐสภา กำหนดหลักเกณฑ์องค์กรต่างๆ ทั้งภาคเศรษฐกิจ สังคม ในการมีสิทธิ์เสนอชื่อผู้เชี่ยวชาญให้ดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) และไม่เห็นด้วยกับการที่ให้อำนาจประธานสภา ชี้ขาดว่ารัฐธรรมนูญที่จะร่างขึ้นใหม่นี้ ขัดต่อการเปลี่ยนรูปแบบของรัฐ หรือข้อกำหนดอื่นๆ ในรัฐธรรมนูญหรือไม่ เพราะควรเป็นหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ ที่จะชี้ขาดเท่านั้น ไม่ใช่อำนาจของรัฐสภา
นอกจากนี้หากกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญแล้วเสร็จ ก็ควรจะให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบก่อน แต่ทางกรรมาธิการเสียงข้างมากไม่เห็นด้วย ทั้งนี้ พรรคประชาธิปัตย์ ขอเรียกร้องให้ประธานสภา มีท่าทีของการรับฟังความเห็นจากที่ประชุมจริงๆ เพราะที่ผ่านมาฝ่ายแปรญัตติพูดไป แต่ทางกมธ.กลับไม่ตอบข้อสงสัยใดๆ เลย เอาแต่พยายามจะให้ลงมติอย่างเดียว แตกต่างจากการพิจารณากฎหมายอื่นๆ ที่กรรมาธิการต้องชี้แจงข้อสงสัยของเพื่อนสมาชิกในประเด็นที่ยังมีความเห็นไม่ตรงกัน
อย่างไรก็ตาม ตนได้มอบหมายให้วิปฯฝ่ายค้าน และทีมกฎหมาย กลับไปศึกษารายละเอียด เช่นเดียวกับที่ผู้ตรวจการแผ่นดินก็เป็นช่องทางหนึ่งที่มีอำนาจดำเนินการได้ในประเด็นที่ยังมีข้อสงสัย อาทิ การที่กรรมาธิการมีองค์ประชุมไม่ครบ แต่กลับมีมติ เป็นต้น
**จี้กมธ.ปรับจุดบกพร่องให้สมบูรณ์
นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การประชุมรัฐสภา เพื่อพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในวาระ 2 ที่รัฐบาลพยายามที่จะดึงดันให้เสร็จก่อนวันสงกรานต์ แต่ในที่สุดรัฐบาลก็ไม่สามารถฝืนความจริงไปได้ เพระการพิจารณาในวาระที่ 2 ถือเป็นเอกสิทธิ์ของผู้สงวนคำแปรญัตติ ที่ไม่สามารถรวบรัดหรือกำหนดเวลาได้ จึงทำให้การพิจารณาต้องยืดเยื้อออกไปอีกหลายวัน ในที่สุดก็ยอมจำนนจากแรงกดดันของ 3 ฝ่าย คือ
1. ฝ่ายค้านที่พยายามจะให้ กมธ.ถอนรายงานออกไปพิจารณาใหม่ เพื่อความสมบูรณ์ของร่างแก้ไขรธน.ฉบับนี้
2. ฝ่ายวุฒิสภา ที่มีท่าทีไม่เห็นด้วยกับการพิจารณาต่างอภิปรายอย่างต่อเนื่อง ใช้เวลายาวนาน ซึ่งมีผลต่อการทำงานของสมาชิกวุฒิสภาที่สูงอายุ
3. แรงกดดันจากสมาชิกพรรคเพื่อไทย ที่ต้องการเดินทางไปพบ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ประเทศลาว และกัมพูชา ในวันที่ 12 เม.ย. จนในที่สุดรัฐบาลก็ยอมถอยให้มีการประชุมในวันที่ 18-19 เม.ย. และลงมติ ในวันที่ 8 พ.ค.
ดังนั้น ก็จะต้องมีการขยายสมัยประชุมนิติบัญญัติออกไปจนถึงวันที่ 8 พ.ค.เป็นอย่างน้อย ซึ่งอาจจะต้องกระทบต่อการศึกษาดูงานของกมธ.สามัญของสภา และวุฒิสภา ซึ่งไม่ทราบว่า ใครจะต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่มีการวางมัดจำการเดินทางล่วงหน้าวไว้แล้ว
นายเทพไท กล่าวว่า แม้ขณะนี้ได้ยืดเวลาพิจารณาออกไปแล้ว ก็อยากให้กรรมาธิการใช้เวลาที่มีอยู่ ไปปรับปรุงทบทวนรายงานของ กมธ.ที่มีความบกพร่องหลายจุด ให้มีความสมบูรณ์ เพื่อจะได้ไม่มีการถกเถียงในการพิจารณาครั้งต่อไป และการเลื่อนการพิจารณาไปครั้งนี้ ที่ฝ่ายรัฐบาลยินยอมอ่อนข้อให้ ก็น่าจะเป็นการส่งสัญญาณจากนายใหญ่ ที่ไม่ต้องการจะให้การเผชิญหน้าเกิดขึ้นในช่วงนี้ เพราะตลอดระยะเวลาในการประชุม จะเห็นการประสานงานทางโทรศัพท์ของประธานรัฐสภา ประธานวิป กับบุคลลสำคัญอยู่ตลอดเวลา และเหตุการณ์ครั้งนี้ก็เป็นอุทธาหรณ์ กับบทเรียนให้กับรัฐบาลว่า การใช้อำนาจใดๆ ที่ขาดความชอบธรรม จะไม่ประสบผลสำเร็จ และจะเกิดแรงต่อต้านจากสังคมอย่างรุนแรง