ถึงแม้ประเทศไทยจะก้าวถึงยุคเปลี่ยนผ่านโครงสร้างสังคมต่างๆ ตั้งแต่ด้านการเมืองการปกครองที่เปิดพื้นที่ให้กับการมีส่วนร่วมของประชาชนมากขึ้น ด้านวัฒนธรรมที่เปิดพื้นที่ให้กับความแตกต่างทางความคิดความเชื่อได้โลดแล่นโดยไม่กีดกันให้เป็นชายขอบที่ต้องถูกกลืนกลายหรือกำจัด และด้านสังคมที่เปิดพื้นที่ให้กับการเลื่อนชั้นฐานะทางเศรษฐกิจ กระนั้นกลไกสร้าง ‘ความเท่าเทียม’ ทางสังคมในระดับโครงสร้างเพื่อจะมากำกับความเหลื่อมล้ำไม่ให้ขยายตัวและคอยควบคุมความอยุติธรรมไม่ให้ทำร้ายคนเล็กคนน้อยก็ยังไม่มี หรือมีก็สุดล้าหลังไม่ทันต่อนวัตกรรมการคอร์รัปชันเชิงนโยบายเพื่อผลิตผลประโยชน์แก่พวกพ้องโดยการใช้นโยบายสาธารณะที่ขาดกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นกลไกปฏิบัติการ
การจัดเวทีนโยบายสาธารณะเพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนนับแต่ขั้นตอนการกำหนดประเด็นปัญหา การก่อตัวความมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย การกำหนดขอบเขตทางนโยบาย ไปจนถึงการกำกับการนำนโยบายไปปฏิบัติของภาครัฐอันจะนำไปสู่การเดินหน้าหรือยุตินโยบายสาธารณะนั้นๆ ก็นับเป็นคุณูปการมากแล้วต่อการสร้างความเป็นไปได้ในการสร้างความเท่าเทียมทางสังคมไทยในประเด็นด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรเศรษฐกิจ ทรัพยากรสังคม และทรัพยากรการเมือง
เนื่องจากที่ผ่านมาไม่มีเวทีที่สามารถระดมพลังประชาสังคมที่หลากหลายเข้ามากำหนดนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมแต่อย่างใดได้ แม้แต่ในกระบวนการประชาพิจารณ์รับฟังความคิดของประชาชนก็เป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มทุนมากกว่าผู้คนในพื้นที่ที่ต้องทุกข์ทรมานกับนโยบาย กิจกรรม และโครงการขนาดใหญ่ต่างๆ ของรัฐที่ฉวยใช้ทรัพยากรทุกด้านจากชุมชน ตลอดจนทิ้งมลภาวะเลวร้ายสุดขั้วไว้ข้างหลัง
ดังนั้น มติสมัชชาปฏิรูปจึงเป็นความหวังประเทศไทยในการจะหลุดพ้นผลกระทบร้ายแรงต่างๆ จากการดำเนินนโยบายสาธารณะก่อนหน้าที่ทั้งผิดพลาดและขาดความสมเหตุสมผล เพราะมีหลายนโยบายที่ไม่ผ่านการประเมินความสมเหตุสมผลทางเศรษฐศาสตร์ (economic rationality) แต่ก็ยังผลักดันออกมาเป็นนโยบายหลอกหลอนประชาชนได้โดยอาศัยแนวนโยบายประชานิยมดึงดูดใจผู้คนเป็นกลไกผลักดัน
ด้วยเวทีสมัชชาปฏิรูปที่มีผู้คนจำนวนไม่น้อยเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และมีบทบาทในฐานะเสียงสำคัญของ ‘การแสวงหาฉันทามติ’ ที่เป็นกระบวนการที่ทุกฝ่ายต้องเห็นพ้องต้องกันก่อนกำหนดออกมาเป็นมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติครั้งที่ 2 นี้ นับเป็นเวทีที่ทุกฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนและชุมชนท้องถิ่นได้เข้ามามีส่วนร่วมกำหนดนโยบายเพื่อประโยชน์ต่อสาธารณะแท้จริง นอกจากนี้ยังมีความก้าวหน้ากว่าเดิมด้วยเป็นการ ‘ปฏิรูป’ กระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะของประเทศไทยที่ไปพ้นอำนาจผลประโยชน์ของกลุ่มการเมืองและอำนาจครอบงำและการได้รับความชอบธรรมของกลุ่มเทคโนแครตด้วย
ดังนั้น มติหรือแนวทางปฏิบัติ (guideline) ที่เกิดขึ้นในเวทีนี้จึงมีคุณค่าควรแก่ที่ภาครัฐ ภาคเอกชน ตลอดจนภาคประชาสังคมที่ปรารถนาขับเคลื่อนสังคมไทยให้บรรลุจุดหมายสังคมที่มีความเป็นธรรมและไม่มีความเหลื่อมล้ำด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ต้องคำนึงถึง แทนที่จะปัดปฏิเสธเพียงเพราะความแตกต่างทางการเมืองเนื่องมาจากสวมเสื้อหรือสมาทานอุดมการณ์การเมืองต่างกัน
ที่สำคัญด้วยสภาวการณ์สังคมไทยที่ยังอยู่ในโหมดการเมืองแบ่งขั้วมานานจนยากจะสมานฉันท์ปรองดองนั้น การเปลี่ยนผ่านประเทศไทยไปสู่ความเท่าเทียมที่เป็นเป้าหมายร่วมสำคัญของขบวนการทางสังคมของประเทศไทย ไม่ว่าจะสวมใส่เสื้อสีใดจึงต้องให้ความสำคัญกับทุกเวทีที่มีประชาชนเข้าร่วม ยิ่งมีคนข้นแค้นยากจนถูกเอารัดเอาเปรียบเข้าร่วมมากเท่าใดยิ่งสำคัญมาก ยิ่งถูกกระทำกดขี่บีฑาจากอำนาจรัฐและทุนยิ่งต้องได้รับความสำคัญในฐานะเสียงที่ไม่เคยได้ส่งเสียง (voiceless) เหตุนี้มติเวทีนี้จึงไม่อาจถูกละเลยหรือลดทอนความสำคัญได้ ไม่นับแรงปรารถนาของทุกคนที่เข้าร่วมต้องการเปลี่ยนแปลงสังคมไทยในระดับโครงสร้างทั้งเชิงกว้างและลึกเพื่อจะรื้อถอนรากฐานความเหลื่อมล้ำและสร้างความเท่าเทียมขึ้นมาใหม่ให้คนที่เคยถูกกระทำ และตัดรอนโอกาสเพราะฐานะหรือชนชั้นได้กลับมามีโอกาสที่เท่าเทียมกัน
แต่กระนั้นเส้นทางสร้างความเท่าเทียมทางสังคมก็ใช่แค่การเปิดพื้นที่หรือเวทีสาธารณะเพื่อระดมสรรพกำลัง ความคิดเห็น และบอกเล่าเรื่องราวปัญหาที่กลายมาเป็นวิกฤตชีวิตปัจเจกและชาติเท่านั้น ด้วยแท้จริงแล้วสิ่งสำคัญคือการเร่งเปิดโอกาสการเข้ามามีส่วนร่วมกำหนดนโยบายการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมแก่คนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน โดยเบื้องต้นต้องปฏิวัติสัมพันธภาพทางอำนาจระหว่างกลุ่มต่างๆ ที่เหลื่อมล้ำอย่างยิ่งเพื่อจะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนโครงสร้างอำนาจทางสังคมของสังคมไทยเสียใหม่
ในการจะทำเช่นนี้ได้ก็ต้องมีวิสัยทัศน์หรืออุดมการณ์ ‘สร้างความเป็นธรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคม’ เป็นเป้าหมายร่วมกันก่อน โดยอาจวางอยู่บนชุดอุดมคติคุณภาพชีวิตคนไทยที่ทั้งคณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) และคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป (คสป.) กำหนดเป้าหมายร่วมกัน 3 ประการ คือ
1) เป็นชีวิตที่มีศักดิ์ศรีและเท่าเทียมกันในฐานะความเป็นมนุษย์ มีส่วนร่วมทางสังคม มีสำนึกต่อประโยชน์สุขของส่วนรวม และมีโอกาสในการพัฒนาศักยภาพของตน ทั้งทางกาย ใจ ภูมิปัญญา และจิตวิญญาณ 2) เป็นชีวิตที่สงบสุขตามวิถีวัฒนธรรมแห่งสันติภาพ ปราศจากภัยคุกคามจากผู้อื่น หรือการคุกคามซึ่งกันและกันตลอดจนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาวะ และ 3) เป็นชีวิตที่มีหลักประกันในด้านเงื่อนไขการครองชีพ และมีกลไกการคุ้มครองทางสังคม
ทั้งนี้ การจะร่วมกันสถาปนาความเป็นธรรมทางสังคมจึงจำเป็นต้องทบทวนที่มาที่ไปของนโยบายสาธารณะต่างๆ ที่ผ่านมาว่าเป็นไปเพื่อประโยชน์ประชาชนหรือไม่ การใช้อำนาจตัดสินใจกำหนดนโยบายของนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งยึดโยงกับความต้องการที่จำเป็นของประชาชนมากกว่าดอกผลของกลุ่มทุนหนุนหลังและพวกพ้องครอบครัวมากน้อยแค่ไหน ในระหว่างเดียวกันนั้นก็ต้องเพียรสร้างเวทีนโยบายสาธารณะต่างๆ ขึ้นมาเพื่อระดมความคิดเห็นของคนระดับล่างในการกำหนดนโยบายที่มีความสมเหตุสมผลทางสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมขึ้นมา นอกเหนือไปจากการใช้อำนาจอธิปไตยไปเลือกนโยบายสาธารณะที่พรรคการเมืองต่างๆ เสนอมาให้เลือกกันสี่ปีครั้งหนึ่ง ซึ่งถึงที่สุดก็เป็นโนยายประชานิยม
ด้วยเหตุปัจจัยเช่นนี้ การไปให้ไกลกว่านโยบายประชานิยมที่ถึงที่สุดก็สร้างความเหลื่อมล้ำและไม่เป็นธรรมชุดใหม่นั้น การก้าวตาม 6 แนวทางการปฏิรูปประเทศไทยที่กอปรด้วย 1) การปฏิรูปแรงงานและสวัสดิการ : การเพิ่มอำนาจต่อรองของแรงงาน การปรับโครงสร้างค่าจ้าง การเพิ่มผลิตภาพและการคุ้มครองแรงงาน 2) การปฏิรูปโครงสร้างอำนาจสู่การปรับดุลอำนาจที่เหมาะสมระหว่างรัฐบาลกับชุมชนท้องถิ่น 3) การปฏิรูประบบเกษตรกรรมเพื่อความเป็นธรรมและความมั่นคงทางอาหาร
4) การปฏิรูประบบการเมือง : พัฒนาความเข้มแข็งของพลเมืองเพื่อปฏิรูปประเทศไทย 5) การปฏิรูปโครงสร้างและกฎหมายด้านที่ดิน : การบริหารจัดการที่ดิน และ 6) การปฏิรูปการศึกษา : ปรับทิศทางการศึกษาเพื่อสร้างคุณภาพและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม จึงเป็นเข็มทิศขับเคลื่อนประเทศไทยในระยะเปลี่ยนผ่านเชิงโครงสร้างเพื่อสร้างความเท่าเทียมได้
การจัดเวทีนโยบายสาธารณะเพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนนับแต่ขั้นตอนการกำหนดประเด็นปัญหา การก่อตัวความมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย การกำหนดขอบเขตทางนโยบาย ไปจนถึงการกำกับการนำนโยบายไปปฏิบัติของภาครัฐอันจะนำไปสู่การเดินหน้าหรือยุตินโยบายสาธารณะนั้นๆ ก็นับเป็นคุณูปการมากแล้วต่อการสร้างความเป็นไปได้ในการสร้างความเท่าเทียมทางสังคมไทยในประเด็นด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรเศรษฐกิจ ทรัพยากรสังคม และทรัพยากรการเมือง
เนื่องจากที่ผ่านมาไม่มีเวทีที่สามารถระดมพลังประชาสังคมที่หลากหลายเข้ามากำหนดนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมแต่อย่างใดได้ แม้แต่ในกระบวนการประชาพิจารณ์รับฟังความคิดของประชาชนก็เป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มทุนมากกว่าผู้คนในพื้นที่ที่ต้องทุกข์ทรมานกับนโยบาย กิจกรรม และโครงการขนาดใหญ่ต่างๆ ของรัฐที่ฉวยใช้ทรัพยากรทุกด้านจากชุมชน ตลอดจนทิ้งมลภาวะเลวร้ายสุดขั้วไว้ข้างหลัง
ดังนั้น มติสมัชชาปฏิรูปจึงเป็นความหวังประเทศไทยในการจะหลุดพ้นผลกระทบร้ายแรงต่างๆ จากการดำเนินนโยบายสาธารณะก่อนหน้าที่ทั้งผิดพลาดและขาดความสมเหตุสมผล เพราะมีหลายนโยบายที่ไม่ผ่านการประเมินความสมเหตุสมผลทางเศรษฐศาสตร์ (economic rationality) แต่ก็ยังผลักดันออกมาเป็นนโยบายหลอกหลอนประชาชนได้โดยอาศัยแนวนโยบายประชานิยมดึงดูดใจผู้คนเป็นกลไกผลักดัน
ด้วยเวทีสมัชชาปฏิรูปที่มีผู้คนจำนวนไม่น้อยเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และมีบทบาทในฐานะเสียงสำคัญของ ‘การแสวงหาฉันทามติ’ ที่เป็นกระบวนการที่ทุกฝ่ายต้องเห็นพ้องต้องกันก่อนกำหนดออกมาเป็นมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติครั้งที่ 2 นี้ นับเป็นเวทีที่ทุกฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนและชุมชนท้องถิ่นได้เข้ามามีส่วนร่วมกำหนดนโยบายเพื่อประโยชน์ต่อสาธารณะแท้จริง นอกจากนี้ยังมีความก้าวหน้ากว่าเดิมด้วยเป็นการ ‘ปฏิรูป’ กระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะของประเทศไทยที่ไปพ้นอำนาจผลประโยชน์ของกลุ่มการเมืองและอำนาจครอบงำและการได้รับความชอบธรรมของกลุ่มเทคโนแครตด้วย
ดังนั้น มติหรือแนวทางปฏิบัติ (guideline) ที่เกิดขึ้นในเวทีนี้จึงมีคุณค่าควรแก่ที่ภาครัฐ ภาคเอกชน ตลอดจนภาคประชาสังคมที่ปรารถนาขับเคลื่อนสังคมไทยให้บรรลุจุดหมายสังคมที่มีความเป็นธรรมและไม่มีความเหลื่อมล้ำด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ต้องคำนึงถึง แทนที่จะปัดปฏิเสธเพียงเพราะความแตกต่างทางการเมืองเนื่องมาจากสวมเสื้อหรือสมาทานอุดมการณ์การเมืองต่างกัน
ที่สำคัญด้วยสภาวการณ์สังคมไทยที่ยังอยู่ในโหมดการเมืองแบ่งขั้วมานานจนยากจะสมานฉันท์ปรองดองนั้น การเปลี่ยนผ่านประเทศไทยไปสู่ความเท่าเทียมที่เป็นเป้าหมายร่วมสำคัญของขบวนการทางสังคมของประเทศไทย ไม่ว่าจะสวมใส่เสื้อสีใดจึงต้องให้ความสำคัญกับทุกเวทีที่มีประชาชนเข้าร่วม ยิ่งมีคนข้นแค้นยากจนถูกเอารัดเอาเปรียบเข้าร่วมมากเท่าใดยิ่งสำคัญมาก ยิ่งถูกกระทำกดขี่บีฑาจากอำนาจรัฐและทุนยิ่งต้องได้รับความสำคัญในฐานะเสียงที่ไม่เคยได้ส่งเสียง (voiceless) เหตุนี้มติเวทีนี้จึงไม่อาจถูกละเลยหรือลดทอนความสำคัญได้ ไม่นับแรงปรารถนาของทุกคนที่เข้าร่วมต้องการเปลี่ยนแปลงสังคมไทยในระดับโครงสร้างทั้งเชิงกว้างและลึกเพื่อจะรื้อถอนรากฐานความเหลื่อมล้ำและสร้างความเท่าเทียมขึ้นมาใหม่ให้คนที่เคยถูกกระทำ และตัดรอนโอกาสเพราะฐานะหรือชนชั้นได้กลับมามีโอกาสที่เท่าเทียมกัน
แต่กระนั้นเส้นทางสร้างความเท่าเทียมทางสังคมก็ใช่แค่การเปิดพื้นที่หรือเวทีสาธารณะเพื่อระดมสรรพกำลัง ความคิดเห็น และบอกเล่าเรื่องราวปัญหาที่กลายมาเป็นวิกฤตชีวิตปัจเจกและชาติเท่านั้น ด้วยแท้จริงแล้วสิ่งสำคัญคือการเร่งเปิดโอกาสการเข้ามามีส่วนร่วมกำหนดนโยบายการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมแก่คนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน โดยเบื้องต้นต้องปฏิวัติสัมพันธภาพทางอำนาจระหว่างกลุ่มต่างๆ ที่เหลื่อมล้ำอย่างยิ่งเพื่อจะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนโครงสร้างอำนาจทางสังคมของสังคมไทยเสียใหม่
ในการจะทำเช่นนี้ได้ก็ต้องมีวิสัยทัศน์หรืออุดมการณ์ ‘สร้างความเป็นธรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคม’ เป็นเป้าหมายร่วมกันก่อน โดยอาจวางอยู่บนชุดอุดมคติคุณภาพชีวิตคนไทยที่ทั้งคณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) และคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป (คสป.) กำหนดเป้าหมายร่วมกัน 3 ประการ คือ
1) เป็นชีวิตที่มีศักดิ์ศรีและเท่าเทียมกันในฐานะความเป็นมนุษย์ มีส่วนร่วมทางสังคม มีสำนึกต่อประโยชน์สุขของส่วนรวม และมีโอกาสในการพัฒนาศักยภาพของตน ทั้งทางกาย ใจ ภูมิปัญญา และจิตวิญญาณ 2) เป็นชีวิตที่สงบสุขตามวิถีวัฒนธรรมแห่งสันติภาพ ปราศจากภัยคุกคามจากผู้อื่น หรือการคุกคามซึ่งกันและกันตลอดจนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาวะ และ 3) เป็นชีวิตที่มีหลักประกันในด้านเงื่อนไขการครองชีพ และมีกลไกการคุ้มครองทางสังคม
ทั้งนี้ การจะร่วมกันสถาปนาความเป็นธรรมทางสังคมจึงจำเป็นต้องทบทวนที่มาที่ไปของนโยบายสาธารณะต่างๆ ที่ผ่านมาว่าเป็นไปเพื่อประโยชน์ประชาชนหรือไม่ การใช้อำนาจตัดสินใจกำหนดนโยบายของนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งยึดโยงกับความต้องการที่จำเป็นของประชาชนมากกว่าดอกผลของกลุ่มทุนหนุนหลังและพวกพ้องครอบครัวมากน้อยแค่ไหน ในระหว่างเดียวกันนั้นก็ต้องเพียรสร้างเวทีนโยบายสาธารณะต่างๆ ขึ้นมาเพื่อระดมความคิดเห็นของคนระดับล่างในการกำหนดนโยบายที่มีความสมเหตุสมผลทางสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมขึ้นมา นอกเหนือไปจากการใช้อำนาจอธิปไตยไปเลือกนโยบายสาธารณะที่พรรคการเมืองต่างๆ เสนอมาให้เลือกกันสี่ปีครั้งหนึ่ง ซึ่งถึงที่สุดก็เป็นโนยายประชานิยม
ด้วยเหตุปัจจัยเช่นนี้ การไปให้ไกลกว่านโยบายประชานิยมที่ถึงที่สุดก็สร้างความเหลื่อมล้ำและไม่เป็นธรรมชุดใหม่นั้น การก้าวตาม 6 แนวทางการปฏิรูปประเทศไทยที่กอปรด้วย 1) การปฏิรูปแรงงานและสวัสดิการ : การเพิ่มอำนาจต่อรองของแรงงาน การปรับโครงสร้างค่าจ้าง การเพิ่มผลิตภาพและการคุ้มครองแรงงาน 2) การปฏิรูปโครงสร้างอำนาจสู่การปรับดุลอำนาจที่เหมาะสมระหว่างรัฐบาลกับชุมชนท้องถิ่น 3) การปฏิรูประบบเกษตรกรรมเพื่อความเป็นธรรมและความมั่นคงทางอาหาร
4) การปฏิรูประบบการเมือง : พัฒนาความเข้มแข็งของพลเมืองเพื่อปฏิรูปประเทศไทย 5) การปฏิรูปโครงสร้างและกฎหมายด้านที่ดิน : การบริหารจัดการที่ดิน และ 6) การปฏิรูปการศึกษา : ปรับทิศทางการศึกษาเพื่อสร้างคุณภาพและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม จึงเป็นเข็มทิศขับเคลื่อนประเทศไทยในระยะเปลี่ยนผ่านเชิงโครงสร้างเพื่อสร้างความเท่าเทียมได้