จากกรณีที่ครม.มีมติไปเมื่อวันที่ 10 เม.ย.ที่ผ่านมา อนุมัติให้สร้างเขื่อนแม่วงก์ ในพื้นที่ จ.นครสวรรค์ วงเงินงบประมาณกว่า 1.3 หมื่นล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการทั้งสิ้น 8 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2555 – 2562 โดยเขื่อนดังกล่าว จะสร้างขึ้นบริเวณลุ่มน้ำสะแกกรัง ซึ่งประกอบด้วยแม่น้ำ 3 สาย ได้แก่ แม่น้ำสะแกกรัง ลำห้วยทับเสลา และห้วยแม่วงก์ เมื่อแล้วเสร็จจะมีพื้นที่ครอบคลุม 5 พัน ตร.กม. มีประสิทธิภาพในการรองรับน้ำได้ 1.3 พันล้าน ลบ.ม.ต่อปี ทั้งนี้ จะช่วยป้องกันผลกระทบเรื่องน้ำท่วม ในพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยา และ กทม.
วานนี้ (11 เม.ย.) นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคม ต่อต้านสภาวะโลกร้อน ได้ออกแถลงการณ์คัดค้าน โดยระบุว่า โครงการเขื่อนแม่วงก์ จะกินพื้นที่ จ.นครสวรรค์-กำแพงเพชร ในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ซึ่งติดต่อกับผืนป่าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ห้วยขาแข้งและทุ่งใหญ่นเรศวร พื้นที่ป่ามรดกโลกทางธรรมชาติ
การสร้างเขื่อนโดยมีข้ออ้างที่เป็นสูตรสำเร็จ ว่าเพื่อป้องกันน้ำท่วม และช่วยเหลือเกษตรกรให้มีน้ำใช้เพื่อการเกษตร ทั้งๆที่ในพื้นที่ภาคเหนือและภาคเหนือตอนล่าง มีเขื่อนขนาดใหญ่และขนาดกลางมากกว่า 10 เขื่อนแล้ว แต่ก็ไม่สามารถป้องกันปัญหาน้ำท่วมเมื่อปี 2554 ได้
อีกทั้งโครงการดังกล่าวนี้ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ มีมติไม่เห็นชอบในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ไปแล้วตั้งแต่ปี 2545 และยังเสนอให้กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กลับไปศึกษาเพิ่มเติม ในเรื่องการบริหารจัดการลุ่มน้ำทั้งระบบ ในลักษณะบูรณาการมากกว่าที่จะเสนอให้มีการสร้างเขื่อนเป็นทางเลือกเดียวเท่านั้น
แต่รัฐบาลยุคนี้กลับใช้ข้ออ้างปัญหาน้ำท่วม เมื่อปี 2554 มาเป็นตัวประกัน เพื่อสร้างความชอบธรรมในการเร่งรีบการสร้างเขื่อนดังกล่าว โดยมิได้พิจารณาเลยว่า น้ำท่วมที่ผ่านมาเป็นความผิดพลาดล้มเหลวของรัฐบาล และหน่วยงานราชการทั้งระบบมากกว่าการไม่มีเขื่อนต่างหาก
การก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ จะทำให้ประเทศชาติต้องสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ไปมากกว่า 13,000 ไร่ ต้องสูญเสียผืนป่าแหล่งดูดซับก๊าซที่ก่อปัญหาโลกร้อน โดยมีไม้สักหนาแน่นเป็นอันดับสองของประเทศไทย รองจากอุทยานแห่งชาติแม่ยม จ.แพร่ ซึ่งจะถูกนำมาเป็นช่องทางหาผลประโยชน์ในการทำสัมปทานไม้ที่มีมูลค่านับหมื่นล้านบาท ชักลากไม้ออกจากป่า 4-5 ปี ก็ยังไม่หมด
นอกจากนั้น ลักษณะเด่นของผืนป่าแม่วงก์ คือ มีสภาพเป็นป่าลุ่ม ซึ่งแตกต่างจากป่าในบริเวณที่สูงกว่า เพราะเป็นที่อยู่อาศัย แหล่งน้ำ และแหล่งหากินของสัตว์ป่า โดยเฉพาะในหน้าแล้ง สัตว์ป่าบางชนิดจะอาศัยอยู่เฉพาะที่ลุ่มหรือใกล้แม่น้ำเท่านั้น ป่าที่ลุ่มในเขตอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ก็เหลืออยู่น้อยมาก หากถูกน้ำท่วมอ่างเก็บน้ำจะเป็นตัวกีดขวางทางเดินของสัตว์ป่า และแบ่งพื้นที่ป่าออกเป็นสองส่วน จึงนับว่าเป็นการสูญเสียในด้านระบบนิเวศ และความหลากหลายทางชีวภาพที่ประเมินค่าไม่ได้
นอกจากนั้น มีข้อที่น่าสังเกต คือ เมื่อมีการเสนอโครงการนี้ใหม่ๆ ในปี 2528 กรมชลประทาน เสนอใช้งบประมาณในการก่อสร้างเพียง 3,187 ล้านบาทเท่านั้น โดยมีความจุของน้ำเหนือเขื่อน 380 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่พอมาเดือนสิงหาคม 2554 กรมชลประทานเพิ่มงบประมาณเป็น 9,629 ล้านบาท โดยลดความจุของน้ำเหนือเขื่อน เหลือ 258 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่เพียงชั่วระยะเวลาไม่ถึง 8 เดือน กลับมีการเพิ่มงบประมาณในการก่อสร้างไปถึง 13,000 ล้านบาท อันเป็นข้อน่าสงสัยว่า จะเป็นโครงการผลาญงบประมาณของชาติอีกโครงการหนึ่งจากเงินกู้ 3.5 แสนล้านหรือไม่
ที่สำคัญโครงการดังกล่าว เป็นโครงการที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรงฯ ตามรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 67 วรรคสอง ซึ่งรัฐบาลต้องดำเนินการให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายเสียก่อน โดยเฉพาะในมาตรา 57 มาตรา 58 มาตรา 66 มาตรา 85 และมาตรา 87 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง แต่หากรัฐบาลรวบรัดดำเนินการ และใช้เทคนิกเลี่ยงขั้นตอนตามกฎหมาย สมาคมฯ และชาวบ้านก็พร้อมจะใช้กระบวนการยุติธรรมตาม มาตรา 60 และมาตรา 67 วรรคสาม เพื่อยับยั้งและเพิกถอนโครงการดังกล่าวแน่นอน
วานนี้ (11 เม.ย.) นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคม ต่อต้านสภาวะโลกร้อน ได้ออกแถลงการณ์คัดค้าน โดยระบุว่า โครงการเขื่อนแม่วงก์ จะกินพื้นที่ จ.นครสวรรค์-กำแพงเพชร ในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ซึ่งติดต่อกับผืนป่าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ห้วยขาแข้งและทุ่งใหญ่นเรศวร พื้นที่ป่ามรดกโลกทางธรรมชาติ
การสร้างเขื่อนโดยมีข้ออ้างที่เป็นสูตรสำเร็จ ว่าเพื่อป้องกันน้ำท่วม และช่วยเหลือเกษตรกรให้มีน้ำใช้เพื่อการเกษตร ทั้งๆที่ในพื้นที่ภาคเหนือและภาคเหนือตอนล่าง มีเขื่อนขนาดใหญ่และขนาดกลางมากกว่า 10 เขื่อนแล้ว แต่ก็ไม่สามารถป้องกันปัญหาน้ำท่วมเมื่อปี 2554 ได้
อีกทั้งโครงการดังกล่าวนี้ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ มีมติไม่เห็นชอบในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ไปแล้วตั้งแต่ปี 2545 และยังเสนอให้กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กลับไปศึกษาเพิ่มเติม ในเรื่องการบริหารจัดการลุ่มน้ำทั้งระบบ ในลักษณะบูรณาการมากกว่าที่จะเสนอให้มีการสร้างเขื่อนเป็นทางเลือกเดียวเท่านั้น
แต่รัฐบาลยุคนี้กลับใช้ข้ออ้างปัญหาน้ำท่วม เมื่อปี 2554 มาเป็นตัวประกัน เพื่อสร้างความชอบธรรมในการเร่งรีบการสร้างเขื่อนดังกล่าว โดยมิได้พิจารณาเลยว่า น้ำท่วมที่ผ่านมาเป็นความผิดพลาดล้มเหลวของรัฐบาล และหน่วยงานราชการทั้งระบบมากกว่าการไม่มีเขื่อนต่างหาก
การก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ จะทำให้ประเทศชาติต้องสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ไปมากกว่า 13,000 ไร่ ต้องสูญเสียผืนป่าแหล่งดูดซับก๊าซที่ก่อปัญหาโลกร้อน โดยมีไม้สักหนาแน่นเป็นอันดับสองของประเทศไทย รองจากอุทยานแห่งชาติแม่ยม จ.แพร่ ซึ่งจะถูกนำมาเป็นช่องทางหาผลประโยชน์ในการทำสัมปทานไม้ที่มีมูลค่านับหมื่นล้านบาท ชักลากไม้ออกจากป่า 4-5 ปี ก็ยังไม่หมด
นอกจากนั้น ลักษณะเด่นของผืนป่าแม่วงก์ คือ มีสภาพเป็นป่าลุ่ม ซึ่งแตกต่างจากป่าในบริเวณที่สูงกว่า เพราะเป็นที่อยู่อาศัย แหล่งน้ำ และแหล่งหากินของสัตว์ป่า โดยเฉพาะในหน้าแล้ง สัตว์ป่าบางชนิดจะอาศัยอยู่เฉพาะที่ลุ่มหรือใกล้แม่น้ำเท่านั้น ป่าที่ลุ่มในเขตอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ก็เหลืออยู่น้อยมาก หากถูกน้ำท่วมอ่างเก็บน้ำจะเป็นตัวกีดขวางทางเดินของสัตว์ป่า และแบ่งพื้นที่ป่าออกเป็นสองส่วน จึงนับว่าเป็นการสูญเสียในด้านระบบนิเวศ และความหลากหลายทางชีวภาพที่ประเมินค่าไม่ได้
นอกจากนั้น มีข้อที่น่าสังเกต คือ เมื่อมีการเสนอโครงการนี้ใหม่ๆ ในปี 2528 กรมชลประทาน เสนอใช้งบประมาณในการก่อสร้างเพียง 3,187 ล้านบาทเท่านั้น โดยมีความจุของน้ำเหนือเขื่อน 380 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่พอมาเดือนสิงหาคม 2554 กรมชลประทานเพิ่มงบประมาณเป็น 9,629 ล้านบาท โดยลดความจุของน้ำเหนือเขื่อน เหลือ 258 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่เพียงชั่วระยะเวลาไม่ถึง 8 เดือน กลับมีการเพิ่มงบประมาณในการก่อสร้างไปถึง 13,000 ล้านบาท อันเป็นข้อน่าสงสัยว่า จะเป็นโครงการผลาญงบประมาณของชาติอีกโครงการหนึ่งจากเงินกู้ 3.5 แสนล้านหรือไม่
ที่สำคัญโครงการดังกล่าว เป็นโครงการที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรงฯ ตามรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 67 วรรคสอง ซึ่งรัฐบาลต้องดำเนินการให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายเสียก่อน โดยเฉพาะในมาตรา 57 มาตรา 58 มาตรา 66 มาตรา 85 และมาตรา 87 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง แต่หากรัฐบาลรวบรัดดำเนินการ และใช้เทคนิกเลี่ยงขั้นตอนตามกฎหมาย สมาคมฯ และชาวบ้านก็พร้อมจะใช้กระบวนการยุติธรรมตาม มาตรา 60 และมาตรา 67 วรรคสาม เพื่อยับยั้งและเพิกถอนโครงการดังกล่าวแน่นอน