ในวันที่ 1 เมษายน ของทุกปี ฝรั่งมีประเพณีล้อเล่นกันอันชื่อว่า “เมษาน่าโง่” (April Fools’ Day) ในวันนี้ พวกเขามักทำอะไรแผลงๆ สักอย่างเพื่อทำให้ใครก็ได้เป็นที่ขบขัน
เมื่อตอนผมอ่านรายงานตามหน้าหนังสือพิมพ์ประจำวันที่ 1 เมษายนที่ผ่านมา เกี่ยวกับการเสนอแนวคิดของอดีตนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เรื่องพรรคประชาธิปัตย์จะสร้างพิมพ์เขียวของประเทศ ผมหวังอย่างลึกๆ ว่ามันเป็นการล้อเล่นเนื่องจากข้อเสนอของเขาทำให้รู้สึกประหลาดใจยังไงชอบกล เขาเสนอว่า เขาและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคประชาธิปัตย์จะลุยทำสมัชชาประชาชนทั่วประเทศเพื่อร่วมกันออกแบบและสร้างพิมพ์เขียวของประเทศใหม่ภายในเดือนสิงหาคมนี้ โดยเสนอการสร้างฐานรากของประเทศ 10 อย่างจาก 4 ด้านคือ ด้านสังคม 4 อย่าง ด้านเศรษฐกิจ 3 อย่าง ด้านการเมือง 2 อย่าง และด้านการเป็นส่วนหนึ่งของสมาคมอาเซียน 1 อย่าง
ด้านสังคมประกอบด้วย 1. สังคมอบอุ่นปรองดอง 2. สังคมแห่งการเรียนรู้ 3. สังคมสวัสดิการ 4. สังคมที่เป็นธรรม ด้านเศรษฐกิจประกอบด้วย 1. การเกษตรเข้มแข็ง 2. เศรษฐกิจนวัตกรรมสร้างสรรค์ 3. ประเทศไทยสีเขียว ด้านการเมืองประกอบด้วย 1. การเมืองเสรีตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 2. รัฐโปร่งใสและยุติธรรม และด้านสมาคมอาเซียนที่ไทยเป็นศูนย์กลาง ส่วนประกอบของสังคมตามอุดมการณ์เหล่านี้คงไม่มีใครโต้แย้ง แต่บริบทและรายละเอียดบางอย่างที่มีอยู่บ้างในรายงานก่อให้เกิดความสงสัยเกี่ยวกับความจริงใจและสติปัญญาของพรรคประชาธิปัตย์
ตามรายงาน หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เสนอว่า เราต้องก้าวให้พ้นประชานิยมอันเป็นนโยบายที่ไม่ยั่งยืนและมีไว้เพื่อประโยชน์ของนักการเมืองในการหาคะแนนเสียงแต่ไม่ได้แก้ปัญหาให้ประชาชน ประเด็นนี้มีหลายปัจจัยที่ควรได้รับการพิจารณา เช่น เราต้องแยกให้ออกว่าประชานิยมตามอุดมการณ์จริงๆ เป็นสิ่งที่ดี เรื่องนี้มีคำอธิบายอยู่ในหนังสือชื่อ “ประชานิยม : ทางสู่ความหายนะ”
สาเหตุที่ประชานิยมนำมาซึ่งความชั่วร้ายก็เพราะรัฐบาลไทยในสมัยนักโทษชายทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรีนำเอาด้านชั่วร้ายของมันเข้ามาใช้ในปี 2544 ดังมีรายละเอียดอยู่ในหนังสือเล่มดังกล่าวเช่นกัน ในตอนที่รัฐบาลนั้นนำมันเข้ามาใช้ครั้งแรก พรรคประชาธิปัตย์ก็ประณามความชั่วร้ายของมัน แต่เมื่อพรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นรัฐบาล แทนที่จะยกเลิกโครงการประชานิยมทั้งหลายกลับต่อยอดพวกมันออกไปพร้อมกับเพิ่มโครงการใหม่ๆ เข้าไปด้วย รวมทั้งโครงการเบี้ยยังชีพและโครงการต้นกล้าอาชีพ ยิ่งกว่านั้น พรรคประชาธิปัตย์ยังจงใจตบตาประชาชนโดยการเรียกนโยบายประชานิยมของตนว่า “ประชาภิวัฒน์” นั่นเป็นเสมือนการชูอุตพิดขึ้นมาแล้วประกาศว่ามันคือกุหลาบแสนงามอันเป็นการกระทำจำพวกเด็กอมมือ
ความจริงเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่า การเสนอให้ก้าวพ้นประชานิยมมีค่าเพียงการผายลมทางปากเท่านั้น
ในด้านการสร้างฐานรากของการเกษตรเข้มแข็งนั้นมีการระบุว่าเมืองไทยจะต้องไม่เสียแชมป์ผู้ส่งออกข้าว นั่นเป็นการตั้งเป้าหมายแบบไม่คิดให้รอบคอบเสียก่อน ทั้งนี้เพราะในวันหนึ่งข้างหน้าถ้าการผลิตอย่างอื่นเกิดความคุ้มค่าสูงกว่าการผลิตข้าว เราควรหันไปผลิตสิ่งเหล่านั้นมากขึ้น นอกจากนั้น ยังมีการเสนอให้นำนโยบายประกันรายได้กลับมาใช้อีก การกระทำเช่นนั้นไม่ใช่การหาทางออกที่ทันสมัยเท่ากับการกระทำตามแนวคิด “รู้กำไรก่อนไถหว่าน” ซึ่งใช้กลไกของการขายล่วงหน้าและการประกันราคาให้เป็นประโยชน์สูงสุดดังที่ประเทศก้าวหน้าเขาทำกัน แนวคิดนี้ใช้ได้ดีกับผลผลิตอื่นด้วยและจะทำให้ชาวไร่ชาวนาร่ำรวยแบบพอเพียง มีผู้เสนอแนวคิดนี้ให้พรรคประชาธิปัตย์พิจารณา แต่หัวหน้าพรรคไม่ยอมรับฟัง หรือฟังแต่ “ไม่ได้ยิน” (หากหัวหน้าพรรคอยากรู้จักฟังให้ได้ยิน ผมจะส่งหนังสือชื่อ “ฟังอย่างไรจะได้ยิน” มาให้โดยไม่คิดเงิน)
ผมเชื่อว่าถ้าเรานำแนวคิดเรื่อง “รู้กำไรก่อนไถหว่าน” มาใช้ การเกษตรของไทยจะไม่มีปัญหาเช่นในปัจจุบัน
เมื่อตอนเป็นรัฐบาล พรรคประชาธิปัตย์แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศซึ่งมีอดีตนายกรัฐมนตรีอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธานขึ้นมา คณะกรรมการชุดนั้นเสนอแนวนโยบายที่ดีมากแต่พรรคประชาธิปัตย์กลับไม่นำไปพิจารณา ยิ่งกว่านั้น เมื่อเป็นรัฐบาลครั้งที่แล้ว พรรคประชาธิปัตย์ประกาศว่าจะน้อมนำเอาหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เป็นแนวนโยบายพัฒนาประเทศ นั่นก็เป็นเพียงการผายลมทางปาก หากพรรคนี้มีความจริงใจและต้องการน้อมนำแนวคิดอันประเสริฐนั้นมาใช้อย่างจริงจัง ผมยินดีจะส่งหนังสือสองเล่มที่เคยส่งมาให้แล้วมาให้อีกครั้งเพื่อนำไปใช้ในการระดมสมองว่าจะทำอย่างไร (ถ้าหัวหน้าพรรคจำไม่ได้ ขอเรียนว่าหนังสือชื่อ “สู่ความเป็นอยู่แบบยั่งยืน” และ “ทางข้ามเหว : แนวคิดสำหรับแก้วิกฤติไทย”)
กิจกรรมต่างๆ ที่หวังผลเพียงเพื่อการสร้างภาพนั้นเป็นส่วนประกอบสำคัญของ “ระบอบทักษิณ” ซึ่งมีด้วยกัน 6 อย่างดังที่มีรายละเอียดอยู่ในเรื่อง “ประชานิยมฯ” กล่าวคือ อัตตานิยม ธนานิยม ขโมยานิยม ญาติกานิยม ประชานิยมและโฆษณานิยมซึ่งเป็นการใช้เล่ห์กลต่างๆ รวมทั้งการกระทำจำพวกบิดเบือนความจริงและข้อมูลด้วย การกระทำเช่นนั้นเป็นการผายลมทางปากอย่างหนึ่งซึ่งรัฐบาลปัจจุบันนำมาใช้อย่างกว้างขวางและพรรคประชาธิปัตย์ดูจะเรียนรู้อย่างรวดเร็ว
ตอนนี้บ้านเมืองกำลังมีปัญหาหนักหนาสาหัส เลิกเล่นการเมืองจำพวกวิบัติโดยการผายลมทางปากกันเสียทีเถิด
เมื่อตอนผมอ่านรายงานตามหน้าหนังสือพิมพ์ประจำวันที่ 1 เมษายนที่ผ่านมา เกี่ยวกับการเสนอแนวคิดของอดีตนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เรื่องพรรคประชาธิปัตย์จะสร้างพิมพ์เขียวของประเทศ ผมหวังอย่างลึกๆ ว่ามันเป็นการล้อเล่นเนื่องจากข้อเสนอของเขาทำให้รู้สึกประหลาดใจยังไงชอบกล เขาเสนอว่า เขาและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคประชาธิปัตย์จะลุยทำสมัชชาประชาชนทั่วประเทศเพื่อร่วมกันออกแบบและสร้างพิมพ์เขียวของประเทศใหม่ภายในเดือนสิงหาคมนี้ โดยเสนอการสร้างฐานรากของประเทศ 10 อย่างจาก 4 ด้านคือ ด้านสังคม 4 อย่าง ด้านเศรษฐกิจ 3 อย่าง ด้านการเมือง 2 อย่าง และด้านการเป็นส่วนหนึ่งของสมาคมอาเซียน 1 อย่าง
ด้านสังคมประกอบด้วย 1. สังคมอบอุ่นปรองดอง 2. สังคมแห่งการเรียนรู้ 3. สังคมสวัสดิการ 4. สังคมที่เป็นธรรม ด้านเศรษฐกิจประกอบด้วย 1. การเกษตรเข้มแข็ง 2. เศรษฐกิจนวัตกรรมสร้างสรรค์ 3. ประเทศไทยสีเขียว ด้านการเมืองประกอบด้วย 1. การเมืองเสรีตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 2. รัฐโปร่งใสและยุติธรรม และด้านสมาคมอาเซียนที่ไทยเป็นศูนย์กลาง ส่วนประกอบของสังคมตามอุดมการณ์เหล่านี้คงไม่มีใครโต้แย้ง แต่บริบทและรายละเอียดบางอย่างที่มีอยู่บ้างในรายงานก่อให้เกิดความสงสัยเกี่ยวกับความจริงใจและสติปัญญาของพรรคประชาธิปัตย์
ตามรายงาน หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เสนอว่า เราต้องก้าวให้พ้นประชานิยมอันเป็นนโยบายที่ไม่ยั่งยืนและมีไว้เพื่อประโยชน์ของนักการเมืองในการหาคะแนนเสียงแต่ไม่ได้แก้ปัญหาให้ประชาชน ประเด็นนี้มีหลายปัจจัยที่ควรได้รับการพิจารณา เช่น เราต้องแยกให้ออกว่าประชานิยมตามอุดมการณ์จริงๆ เป็นสิ่งที่ดี เรื่องนี้มีคำอธิบายอยู่ในหนังสือชื่อ “ประชานิยม : ทางสู่ความหายนะ”
สาเหตุที่ประชานิยมนำมาซึ่งความชั่วร้ายก็เพราะรัฐบาลไทยในสมัยนักโทษชายทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรีนำเอาด้านชั่วร้ายของมันเข้ามาใช้ในปี 2544 ดังมีรายละเอียดอยู่ในหนังสือเล่มดังกล่าวเช่นกัน ในตอนที่รัฐบาลนั้นนำมันเข้ามาใช้ครั้งแรก พรรคประชาธิปัตย์ก็ประณามความชั่วร้ายของมัน แต่เมื่อพรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นรัฐบาล แทนที่จะยกเลิกโครงการประชานิยมทั้งหลายกลับต่อยอดพวกมันออกไปพร้อมกับเพิ่มโครงการใหม่ๆ เข้าไปด้วย รวมทั้งโครงการเบี้ยยังชีพและโครงการต้นกล้าอาชีพ ยิ่งกว่านั้น พรรคประชาธิปัตย์ยังจงใจตบตาประชาชนโดยการเรียกนโยบายประชานิยมของตนว่า “ประชาภิวัฒน์” นั่นเป็นเสมือนการชูอุตพิดขึ้นมาแล้วประกาศว่ามันคือกุหลาบแสนงามอันเป็นการกระทำจำพวกเด็กอมมือ
ความจริงเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่า การเสนอให้ก้าวพ้นประชานิยมมีค่าเพียงการผายลมทางปากเท่านั้น
ในด้านการสร้างฐานรากของการเกษตรเข้มแข็งนั้นมีการระบุว่าเมืองไทยจะต้องไม่เสียแชมป์ผู้ส่งออกข้าว นั่นเป็นการตั้งเป้าหมายแบบไม่คิดให้รอบคอบเสียก่อน ทั้งนี้เพราะในวันหนึ่งข้างหน้าถ้าการผลิตอย่างอื่นเกิดความคุ้มค่าสูงกว่าการผลิตข้าว เราควรหันไปผลิตสิ่งเหล่านั้นมากขึ้น นอกจากนั้น ยังมีการเสนอให้นำนโยบายประกันรายได้กลับมาใช้อีก การกระทำเช่นนั้นไม่ใช่การหาทางออกที่ทันสมัยเท่ากับการกระทำตามแนวคิด “รู้กำไรก่อนไถหว่าน” ซึ่งใช้กลไกของการขายล่วงหน้าและการประกันราคาให้เป็นประโยชน์สูงสุดดังที่ประเทศก้าวหน้าเขาทำกัน แนวคิดนี้ใช้ได้ดีกับผลผลิตอื่นด้วยและจะทำให้ชาวไร่ชาวนาร่ำรวยแบบพอเพียง มีผู้เสนอแนวคิดนี้ให้พรรคประชาธิปัตย์พิจารณา แต่หัวหน้าพรรคไม่ยอมรับฟัง หรือฟังแต่ “ไม่ได้ยิน” (หากหัวหน้าพรรคอยากรู้จักฟังให้ได้ยิน ผมจะส่งหนังสือชื่อ “ฟังอย่างไรจะได้ยิน” มาให้โดยไม่คิดเงิน)
ผมเชื่อว่าถ้าเรานำแนวคิดเรื่อง “รู้กำไรก่อนไถหว่าน” มาใช้ การเกษตรของไทยจะไม่มีปัญหาเช่นในปัจจุบัน
เมื่อตอนเป็นรัฐบาล พรรคประชาธิปัตย์แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศซึ่งมีอดีตนายกรัฐมนตรีอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธานขึ้นมา คณะกรรมการชุดนั้นเสนอแนวนโยบายที่ดีมากแต่พรรคประชาธิปัตย์กลับไม่นำไปพิจารณา ยิ่งกว่านั้น เมื่อเป็นรัฐบาลครั้งที่แล้ว พรรคประชาธิปัตย์ประกาศว่าจะน้อมนำเอาหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เป็นแนวนโยบายพัฒนาประเทศ นั่นก็เป็นเพียงการผายลมทางปาก หากพรรคนี้มีความจริงใจและต้องการน้อมนำแนวคิดอันประเสริฐนั้นมาใช้อย่างจริงจัง ผมยินดีจะส่งหนังสือสองเล่มที่เคยส่งมาให้แล้วมาให้อีกครั้งเพื่อนำไปใช้ในการระดมสมองว่าจะทำอย่างไร (ถ้าหัวหน้าพรรคจำไม่ได้ ขอเรียนว่าหนังสือชื่อ “สู่ความเป็นอยู่แบบยั่งยืน” และ “ทางข้ามเหว : แนวคิดสำหรับแก้วิกฤติไทย”)
กิจกรรมต่างๆ ที่หวังผลเพียงเพื่อการสร้างภาพนั้นเป็นส่วนประกอบสำคัญของ “ระบอบทักษิณ” ซึ่งมีด้วยกัน 6 อย่างดังที่มีรายละเอียดอยู่ในเรื่อง “ประชานิยมฯ” กล่าวคือ อัตตานิยม ธนานิยม ขโมยานิยม ญาติกานิยม ประชานิยมและโฆษณานิยมซึ่งเป็นการใช้เล่ห์กลต่างๆ รวมทั้งการกระทำจำพวกบิดเบือนความจริงและข้อมูลด้วย การกระทำเช่นนั้นเป็นการผายลมทางปากอย่างหนึ่งซึ่งรัฐบาลปัจจุบันนำมาใช้อย่างกว้างขวางและพรรคประชาธิปัตย์ดูจะเรียนรู้อย่างรวดเร็ว
ตอนนี้บ้านเมืองกำลังมีปัญหาหนักหนาสาหัส เลิกเล่นการเมืองจำพวกวิบัติโดยการผายลมทางปากกันเสียทีเถิด