คลังเลื่อนปรับแผนจัดเก็บภาษีรถยนต์ออกไปไม่มีกำหนด หลังประกาศจุดยืน 3 แนวทาง ประหยัดพลังงาน เป็นมิตรสิ่งแวดล้อมและหนุนพลังงานทดแทนยังมีรายละเอียดที่ต้องปรับปรุงก่อนบังคับใช้ ขณะที่กรมสรรพาสามิตเตรียมรื้อจัดเก็บ 43 อัตราเหตุซ้ำซ้อนมากเกินไป
นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลังเปิดเผยถึงการปรับโครงสร้างภาษีรถยนต์ว่า กระทรวงการคลังได้ขยายเวลาการบังคับใช้ออกไปอย่างไม่มีกำหนด จากเดิมที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 31 มีนาคมนี้ เพราะยังมีความเห็นที่แตกต่างในรายละเอียดปลีกย่อยของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง จึงได้มอบหมายให้กรมสรรพสามิตไปหารือกับผู้ประกอบการอีกครั้งและเมื่อได้ข้อสรุปที่ชัดเจนจึงเสนอกลับมาที่กระทรวงการคลัง เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ต่อไป
สำหรับแนวคิดการจัดเก็บภาษีรถยนต์ เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันได้ยึดหลัก 3 ข้อที่สำคัญคือ ประหยัดพลังงาน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทน จึงได้นำแนวคิดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์มาเป็นตัววัดในการจัดเก็บภาษี ขณะเดียวกันก็ต้องประเมินถึงผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ของกระทรวงการคลังด้วย เพราะหากอัตราใหม่ที่จัดเก็บแล้วทำให้รายได้หายไปเป็นหมื่นล้านบาทก็คงไม่สามารถรับได้ ดังนั้น หลักการจึงเป็นว่า รายได้ภาษีไม่ลดลงและไม่กระทบต่อผู้ประกอบการ
ทั้งนี้ได้เแบ่งประเภทรถยนต์ในการจัดเก็บภาษีออกเป็น ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ก็จะประเมินจากระดับคาร์บอนไดออกไซด์ กรณีที่ประหยัดพลังงานก็จะวัดจากระดับเครื่องยนต์ หากเกิน 3 พันซีซีก็จะเสียภาษีในอัตราที่สูง และในกรณีที่ใช้พลังงานทดแทนก็จะได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาล เช่นที่ใช้ อี85 จะได้รับการอุดหนุนคันละ 3 หมื่นบาท
ส่วนอัตราการจัดเก็บภาษีจะแบ่งเป็น รถยนต์นั่ง จะวัดที่ระดับคารณ์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกสู่ชั้นบรรยากาศ 200 กรัมต่อกิโลเมตร หากสามารถดูแลให้มากหรือน้อยกว่าระดับดังกล่าวจะได้รับสิทธิภาษี 5% รถปิดอัพ ซึ่งปัจจุบันจัดเก็บภาษีต่ำมากเพียง 3% จะยังคงอัตราไว้เท่าเดิม แต่จะไปเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และกลุ่มสุดท้ายเป็นรถยนต์ประหยัดพลังงาน อีโคคาร์ ที่จัดเก็ บในอัตรา 17% และรถไฟฟ้าจัดเก็บ 10%
นางวิไล ตันตินันท์ธนา ผู้อำนวยการสำนักแผนภาษี กรมสรรพสามิตกล่าวว่า ปัจจุบันอัตราการจัดเก็บภาษีสรรพสาติรถยนต์มีถึง43 อัตรา ซึ่งมีความซ้ำซ้อน การพิจารณาโครงสร้างภาษีใหม่จึงเน้นการจัดเก็บอัตราเดียว แต่ผันแปรตามการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะทำงาน คาดว่า จะมีการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากภาคเอกชนอีกครั้งในเร็วๆนี้ โดยต้องคำนึงถึงรายได้ของรัฐบาล ความเป็นธรรมในการจัดเก็บและการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ เนื่องจากภาษีรถยนต์เป็นรายได้ลำดับต้นๆ ปีละ 1.6 แสนล้านบาท.
นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลังเปิดเผยถึงการปรับโครงสร้างภาษีรถยนต์ว่า กระทรวงการคลังได้ขยายเวลาการบังคับใช้ออกไปอย่างไม่มีกำหนด จากเดิมที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 31 มีนาคมนี้ เพราะยังมีความเห็นที่แตกต่างในรายละเอียดปลีกย่อยของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง จึงได้มอบหมายให้กรมสรรพสามิตไปหารือกับผู้ประกอบการอีกครั้งและเมื่อได้ข้อสรุปที่ชัดเจนจึงเสนอกลับมาที่กระทรวงการคลัง เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ต่อไป
สำหรับแนวคิดการจัดเก็บภาษีรถยนต์ เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันได้ยึดหลัก 3 ข้อที่สำคัญคือ ประหยัดพลังงาน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทน จึงได้นำแนวคิดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์มาเป็นตัววัดในการจัดเก็บภาษี ขณะเดียวกันก็ต้องประเมินถึงผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ของกระทรวงการคลังด้วย เพราะหากอัตราใหม่ที่จัดเก็บแล้วทำให้รายได้หายไปเป็นหมื่นล้านบาทก็คงไม่สามารถรับได้ ดังนั้น หลักการจึงเป็นว่า รายได้ภาษีไม่ลดลงและไม่กระทบต่อผู้ประกอบการ
ทั้งนี้ได้เแบ่งประเภทรถยนต์ในการจัดเก็บภาษีออกเป็น ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ก็จะประเมินจากระดับคาร์บอนไดออกไซด์ กรณีที่ประหยัดพลังงานก็จะวัดจากระดับเครื่องยนต์ หากเกิน 3 พันซีซีก็จะเสียภาษีในอัตราที่สูง และในกรณีที่ใช้พลังงานทดแทนก็จะได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาล เช่นที่ใช้ อี85 จะได้รับการอุดหนุนคันละ 3 หมื่นบาท
ส่วนอัตราการจัดเก็บภาษีจะแบ่งเป็น รถยนต์นั่ง จะวัดที่ระดับคารณ์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกสู่ชั้นบรรยากาศ 200 กรัมต่อกิโลเมตร หากสามารถดูแลให้มากหรือน้อยกว่าระดับดังกล่าวจะได้รับสิทธิภาษี 5% รถปิดอัพ ซึ่งปัจจุบันจัดเก็บภาษีต่ำมากเพียง 3% จะยังคงอัตราไว้เท่าเดิม แต่จะไปเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และกลุ่มสุดท้ายเป็นรถยนต์ประหยัดพลังงาน อีโคคาร์ ที่จัดเก็ บในอัตรา 17% และรถไฟฟ้าจัดเก็บ 10%
นางวิไล ตันตินันท์ธนา ผู้อำนวยการสำนักแผนภาษี กรมสรรพสามิตกล่าวว่า ปัจจุบันอัตราการจัดเก็บภาษีสรรพสาติรถยนต์มีถึง43 อัตรา ซึ่งมีความซ้ำซ้อน การพิจารณาโครงสร้างภาษีใหม่จึงเน้นการจัดเก็บอัตราเดียว แต่ผันแปรตามการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะทำงาน คาดว่า จะมีการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากภาคเอกชนอีกครั้งในเร็วๆนี้ โดยต้องคำนึงถึงรายได้ของรัฐบาล ความเป็นธรรมในการจัดเก็บและการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ เนื่องจากภาษีรถยนต์เป็นรายได้ลำดับต้นๆ ปีละ 1.6 แสนล้านบาท.