ค่าเงินบาทเปลี่ยนแปลง 1 บาทต่อ หนึ่งดอลลาร์ จะมีผลต่อการการเปลียนแปลงราคาน้ำมันลิตรละ 50 - 60 สตางค์ ดังนั้น หาก ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงไปจากปัจจุบัน2-3 บาทต่อ หนึ่งดอลลาร์ คือ จาก 30 บาทกว่าๆต่อหนึ่งดอลลาร์ โดยประมาณ เป็น 32-33 บาท ตามความต้องการ ของนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง คนไทยจะต้องจ่ายค่าน้ำมันแพงขึ้นอีกลิตรละ 1- 2 บาท โดยไม่รวมราคาที่จะสูงขึ้นตามตลาดโลก และต้องจ่ายให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
วัตถุดิบ และสินค้าอื่นๆ ที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ก็จะต้อแพงขึ้นเช่นเดียวัน เพราะต้องจ่ายเป็นเงินบาทมากขึ้นกว่าเดิม
ส่วนผู้ที่จะได้ประโยชน์ คือ ผู้ส่งออกนั้น ในความเป็นจริง ระยะสองสามปีที่ผ่านมานี้ เราแทบจะไมได้ยินเสียงร้องของผู้ส่งออกว่า ได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทแข็งมากนัก เมื่อเปรียบเทียบกับห้าหกปีก่อน ตอนที่ ค่าเงิน บาทเริ่มแข็งตัวขึ้นจาก ดอลลาร์ละ 35 บาท เพิ่มขึ้นเป็น 32-33 บาท ตอนนั้น ภาคธุรกิจต่างเรียกร้องให้รัฐบาล และธนาคารแห่งประเทศไทย เข้าแทรกแซงค่าเงินบาท เพราะมิฉะนั้น สินค้าส่งออกของไทย จะแข่งขันไม่ได้ และเศรษฐกิจของไทย จะพังพินาศ ด้วยน้ำมือของแบงก์ชาติ
จากวันนั้น ถึงวันนี้ ค่าเงินบาทแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง แต่เศรษฐกิจไทยยังเติบโตด้วยดี ภาคการส่งออกขยายตัวสูงอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ยกเว้นปีที่แล้ว ที่ได้รับผลกระทบจาก น้ำท่วม ที่ทำให้การส่งออกติดลบ ทั้งๆที่ ค่าเงินบาทแข็งขึ้นไปจนถึง 30 บาทต่อ 1 ดอลลาร์ แสดงว่า ผู้ส่งออกของไทยเองก็ปรับตัว จัดการกับปัญหาความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ได้ดี โดยไม่ต้องให้ รัฐเข้ามาอุ้ม
ที่สำคัญคือ เงินของชาติอื่นๆ เมื่อเทียบกับดอลลาร์แล้ว ก็แข็งขึ้นด้วยเช่นกัน ประเทศไทยจึงไมได้เสียเปรียบในการแข่งขัน เพราะบาทแข็ง แต่อย่างใด
ด้วยเหตุนี้เอ ง จึงไม่มีใครฟังนายกิตติรัตน์ ที่ประกาศว่าต้องให้ค่าเงินบาทอ่อน ถึงแม้นายกิตติรัตน์ จะแนะนำตัวว่า เขาไม่ใช่รองนายกรัฐมนตรีธรรมดา แต่เป็นรองนายกรัฐมนตรี ที่ดูแลเศรษฐกิจทั้งหมด ดังนั้น ทุกคนจึงต้องฟังเขา แต่ ก็ไม่มีใครฟั เพราะไม่มีใครเห็นว่า ค่าเงินบาทอ่อนแล้ว จะเกิดประโยชน์ตรงไหน มีแต่ผลกระทบด้านเงินเฟ้อ และของแพง ที่จะตกอยู่กับประชาชน
แม้แต่ ตัวแทนของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งจะเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากค่าเงินบาทอ่อน ยังบอกว่า นายกิตติรัตน์ ไม่ควรพูด หรือแสดงท่าทีที่เป็นการแทรกแซงค่าเงินบาท เพราะเรื่องค่าเงินเป็นหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย การส่งสัญญาณแบบนี้ จะทำให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาเก็งกำไร เพราะรู้ว่า ค่าเงินบาทจะอ่อนลง
น่าสนใจว่า ทำไมนายกิตติรัตน์ ต้องการให้บาทอ่อน อะไรเป็นแรงจูใจให้ คนที่เป็นรองนายกรัฐมนตรีที่เป็นหัวหน้าทีมเศรษฐกิจกล้าบอกให้สังคมฟัง และเชื่อในสิ่งที่เขาพูด ทั้งๆที่สิ่งที่เขาพูดนั้น ผิดทั้ง หลักการบริหารเศรษฐกิจ และผิดทั้งหลักการบริหารราชการแผ่นดิน เพราะเป็นการก้าวก่าย แทรกแซง การบริหารนโยบายการเงิน อย่างเปิดเผย
สมมติว่า แม้ว เตรียมเงิน 12,000ล้านบาท ไว้เสียภาษี แต่กรมสรรพากร บอกว่า ไม่ต้องเสีย เพราะแม้ว เป็นคนเดียวในโลกนี้ ที่สามารถทำในสิ่งที่กฎหมายห้ามไว้ได้ แม้วจะทำอย่างไร กับเงินที่เตรียมไว้เสียภาษีตามหน้าที่พลเมืองดี
ถ้าแม้ว คิดต่างกับคนอื่นๆ คือ เชื่อว่า คำพูดของโต้งจะเป็นจริง ค่าเงินบาทที่เหมาะสมคือ 32-33 บาท เพราะคนพูดเป็นถึงรองนายกรัฐมนตรีที่ดูแลเรื่องเศรษฐกิจ แม้วก็จะเอาเงิน 12,000 ล้านบาท ไป ซื้อดอลลลาร์ในราคา 30 บาท ต่อ 1 เหรียญ ได้เงินมา 400 ล้านดอลลาร์
อีก 3 เดือนต่อมา หลังจากแบงก์ชาติเข้าแทรกแซงเงินบาท ตามความต้องการของรองนายกรัฐมนตรี เงินบาทอ่อนค่าลงมาเหลือ 32 บาทต่อ 1 ดอลลาร์ แม้ว ขายดอลลาร์ ที่ถืออยุ่ จะได้กำไรทันทีถึง 800 ล้านบาท
เรื่องนี้ เป็นเพียงเรื่องสมมติ บนพิ้นฐานของการคาดเดาว่า ทำไมนายกิตติรัตน์ จึงกล้าสั่งอย่างเปิดเผยให้แบงก์ขาติทำให้ค่าเงินบาทอ่อน เพราะเมื่อพิจารณาดูเหตุผลอื่นๆ ที่น่าจะเป็นแล้ว ล้วนแต่เป็นสิ่งที่ไม่น่าจะเป็น ประโยชน์ที่จะได้จากค่าเงินบาทอ่อน ไม่คุ้มกับผลเสียที่จะเกิดขึ้น
มีแต่นักเก็งกำไรค่าเงินเท่านั้น ที่จะได้ประโยชน์จากการส่งสัญญาณของนายกิตติรัตน์ แต่แม้แต่นักเก็งกำไรก็ไม่เชื่อ และไม่ฟังในสิ่งที่นายกิติตรัตน์พูด
วัตถุดิบ และสินค้าอื่นๆ ที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ก็จะต้อแพงขึ้นเช่นเดียวัน เพราะต้องจ่ายเป็นเงินบาทมากขึ้นกว่าเดิม
ส่วนผู้ที่จะได้ประโยชน์ คือ ผู้ส่งออกนั้น ในความเป็นจริง ระยะสองสามปีที่ผ่านมานี้ เราแทบจะไมได้ยินเสียงร้องของผู้ส่งออกว่า ได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทแข็งมากนัก เมื่อเปรียบเทียบกับห้าหกปีก่อน ตอนที่ ค่าเงิน บาทเริ่มแข็งตัวขึ้นจาก ดอลลาร์ละ 35 บาท เพิ่มขึ้นเป็น 32-33 บาท ตอนนั้น ภาคธุรกิจต่างเรียกร้องให้รัฐบาล และธนาคารแห่งประเทศไทย เข้าแทรกแซงค่าเงินบาท เพราะมิฉะนั้น สินค้าส่งออกของไทย จะแข่งขันไม่ได้ และเศรษฐกิจของไทย จะพังพินาศ ด้วยน้ำมือของแบงก์ชาติ
จากวันนั้น ถึงวันนี้ ค่าเงินบาทแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง แต่เศรษฐกิจไทยยังเติบโตด้วยดี ภาคการส่งออกขยายตัวสูงอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ยกเว้นปีที่แล้ว ที่ได้รับผลกระทบจาก น้ำท่วม ที่ทำให้การส่งออกติดลบ ทั้งๆที่ ค่าเงินบาทแข็งขึ้นไปจนถึง 30 บาทต่อ 1 ดอลลาร์ แสดงว่า ผู้ส่งออกของไทยเองก็ปรับตัว จัดการกับปัญหาความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ได้ดี โดยไม่ต้องให้ รัฐเข้ามาอุ้ม
ที่สำคัญคือ เงินของชาติอื่นๆ เมื่อเทียบกับดอลลาร์แล้ว ก็แข็งขึ้นด้วยเช่นกัน ประเทศไทยจึงไมได้เสียเปรียบในการแข่งขัน เพราะบาทแข็ง แต่อย่างใด
ด้วยเหตุนี้เอ ง จึงไม่มีใครฟังนายกิตติรัตน์ ที่ประกาศว่าต้องให้ค่าเงินบาทอ่อน ถึงแม้นายกิตติรัตน์ จะแนะนำตัวว่า เขาไม่ใช่รองนายกรัฐมนตรีธรรมดา แต่เป็นรองนายกรัฐมนตรี ที่ดูแลเศรษฐกิจทั้งหมด ดังนั้น ทุกคนจึงต้องฟังเขา แต่ ก็ไม่มีใครฟั เพราะไม่มีใครเห็นว่า ค่าเงินบาทอ่อนแล้ว จะเกิดประโยชน์ตรงไหน มีแต่ผลกระทบด้านเงินเฟ้อ และของแพง ที่จะตกอยู่กับประชาชน
แม้แต่ ตัวแทนของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งจะเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากค่าเงินบาทอ่อน ยังบอกว่า นายกิตติรัตน์ ไม่ควรพูด หรือแสดงท่าทีที่เป็นการแทรกแซงค่าเงินบาท เพราะเรื่องค่าเงินเป็นหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย การส่งสัญญาณแบบนี้ จะทำให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาเก็งกำไร เพราะรู้ว่า ค่าเงินบาทจะอ่อนลง
น่าสนใจว่า ทำไมนายกิตติรัตน์ ต้องการให้บาทอ่อน อะไรเป็นแรงจูใจให้ คนที่เป็นรองนายกรัฐมนตรีที่เป็นหัวหน้าทีมเศรษฐกิจกล้าบอกให้สังคมฟัง และเชื่อในสิ่งที่เขาพูด ทั้งๆที่สิ่งที่เขาพูดนั้น ผิดทั้ง หลักการบริหารเศรษฐกิจ และผิดทั้งหลักการบริหารราชการแผ่นดิน เพราะเป็นการก้าวก่าย แทรกแซง การบริหารนโยบายการเงิน อย่างเปิดเผย
สมมติว่า แม้ว เตรียมเงิน 12,000ล้านบาท ไว้เสียภาษี แต่กรมสรรพากร บอกว่า ไม่ต้องเสีย เพราะแม้ว เป็นคนเดียวในโลกนี้ ที่สามารถทำในสิ่งที่กฎหมายห้ามไว้ได้ แม้วจะทำอย่างไร กับเงินที่เตรียมไว้เสียภาษีตามหน้าที่พลเมืองดี
ถ้าแม้ว คิดต่างกับคนอื่นๆ คือ เชื่อว่า คำพูดของโต้งจะเป็นจริง ค่าเงินบาทที่เหมาะสมคือ 32-33 บาท เพราะคนพูดเป็นถึงรองนายกรัฐมนตรีที่ดูแลเรื่องเศรษฐกิจ แม้วก็จะเอาเงิน 12,000 ล้านบาท ไป ซื้อดอลลลาร์ในราคา 30 บาท ต่อ 1 เหรียญ ได้เงินมา 400 ล้านดอลลาร์
อีก 3 เดือนต่อมา หลังจากแบงก์ชาติเข้าแทรกแซงเงินบาท ตามความต้องการของรองนายกรัฐมนตรี เงินบาทอ่อนค่าลงมาเหลือ 32 บาทต่อ 1 ดอลลาร์ แม้ว ขายดอลลาร์ ที่ถืออยุ่ จะได้กำไรทันทีถึง 800 ล้านบาท
เรื่องนี้ เป็นเพียงเรื่องสมมติ บนพิ้นฐานของการคาดเดาว่า ทำไมนายกิตติรัตน์ จึงกล้าสั่งอย่างเปิดเผยให้แบงก์ขาติทำให้ค่าเงินบาทอ่อน เพราะเมื่อพิจารณาดูเหตุผลอื่นๆ ที่น่าจะเป็นแล้ว ล้วนแต่เป็นสิ่งที่ไม่น่าจะเป็น ประโยชน์ที่จะได้จากค่าเงินบาทอ่อน ไม่คุ้มกับผลเสียที่จะเกิดขึ้น
มีแต่นักเก็งกำไรค่าเงินเท่านั้น ที่จะได้ประโยชน์จากการส่งสัญญาณของนายกิตติรัตน์ แต่แม้แต่นักเก็งกำไรก็ไม่เชื่อ และไม่ฟังในสิ่งที่นายกิติตรัตน์พูด